ร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาเมืองนคร


งานองค์กรชุมชนและประชาสังคมที่ผมรับผิดชอบได้ใช้ยุทธศาสตร์ชาติและงานโครงสร้างหน้าที่เป็นเครื่องมือในการบูรณาการงานทั้งหมดให้ตอบสนองชุมชนเชิงพื้นที่ โดยทำงานกับองค์กรชุมชนและภาคประชาสังคม(ซึ่งนับรวมรัฐอยู่ในนั้นด้วย)

จังหวัดนครศรีธรรมราชมีงานพัฒนาผ่านกลไก3ด้านหลักคือ
1)โครงสร้างหน้าที่ตามกระทรวง/กรม
2)อปท.ทั้งอบต.เทศบาลและอบจ.
3)ยุทธศาสตร์ชาติ

งานองค์กรชุมชนและประชาสังคมที่ผมรับผิดชอบได้ใช้ยุทธศาสตร์ชาติและงานโครงสร้างหน้าที่เป็นเครื่องมือในการบูรณาการงานทั้งหมดให้ตอบสนองชุมชนเชิงพื้นที่ โดยทำงานกับองค์กรชุมชนและภาคประชาสังคม(ซึ่งนับรวมรัฐอยู่ในนั้นด้วย)

ยุทธศาสตร์ชาติในปี2550ได้งบมาจากรัฐบาลไทยรักไทยที่ตั้งงบซีอีโอและSMLไว้ รัฐบาลเฉพาะกิจเปลี่ยนชื่อเป็นยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข และโครงการสนับสนุนชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง(พพพ./ปลูกต้นไม้ใช้หนี้)

ในปี2551รัฐบาลตั้งงบอยู่ดีมีสุขไว้จำนวน15,000ล้านบาทกระจายไปตามจังหวัดต่างๆตามฐานคิดของงบซีอีโอ โดยกันงบยุทธศาสตร์พิเศษไว้ประมาณ1,300 ล้านบาทสำหรับบางจังหวัดที่มีหน่วยก้านดี

ทีมงานของเราได้ร่วมงานกับจังหวัดตั้งแต่การนำร่องทำงานจัดการความรู้พื้นที่3ตำบลในปี2548โดยการสนับสนุนของจังหวัดผ่านทางสำนักงานพัฒนาชุมชนในขณะที่ผมได้ใช้งบวิจัยของสกว.มาเสริมหนุนบางส่วน
ปี2549 ท่านผู้ว่าสนับสนุนงบซีอีโอประมาณ13ล้านบาทผ่านทางกศน.ทำงานจัดการความรู้ชุมชนอินทรีย์ มีroadmapการพัฒนา6ปี
ปี2550 จังหวัดถูกตัดงบซีอีโอแต่ได้งบยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขมาต่อยอดการพัฒนาผ่านทางกระทรวงมหาดไทย

งบทั้งหมดเน้นชุมชนเป็นแกนกลาง เปลี่ยนบทบาทราชการเป็นหน่วยสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้หรือคุณอำนวย โดยบูรณาการการทำงานทุกภาคส่วน    
ใช้กระบวนการแผนแม่บทชุมชนเป็นฐานสำคัญในการสร้างการเรียนรู้และจัดทำข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนาชุมชนโดยชุมชนเอง รวมทั้งเชื่อมโยงสู่อบต.และหน่วยงานสนับสนุนอย่างบูรณาการ

ผมได้เชื่อมโยงเรื่องเหล่านี้เข้าสู่มหาวิทยาลัย จนทำให้ทีมงานจังหวัดเข้ามาอบรมการจัดการความรู้โดยหน่วยพัฒนาองค์กรเป็นผู้จัด2-3รุ่น (ท่านผู้ว่ามาเข้ารับการอบรมด้วยตนเอง)
นอกจากนี้หน่วยพัฒนาองค์กรได้ส่งวิทยากรลงพื้นที่กับคณะของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อให้ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ในอำเภอต่างๆด้วย

ปีนี้ผมได้รับมอบหมายจากผอ.ศบว.ให้เป็นผู้ประสานสำนักวิชาเข้าร่วมให้บริการวิชาการ ทั้งได้ฟังจากอาจารย์วิจารณ์ พานิชในงานUKM11ว่าอาจารย์ควรร่วมเรียนรู้กับชุมชน มิใช่จะลงไปให้ความรู้อย่างเดียว

ดังนั้น ถ้าอาจารย์ท่านใดสนใจเรียนรู้หรือต้องการจะให้บริการวิชาการที่เป็นการเสริมสร้างองค์กรชุมชนและประชาสังคม
ติดต่อได้ที่ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โทร.ภายใน3501 ภายนอก 075 673501
เพราะจังหวัด ต้องการทีมวิชาการมาช่วยเป็นจำนวนมากครับ

หมายเลขบันทึก: 140116เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2007 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท