Post Modern in Iraq


เลือดไม่ใช่น้ำตา:บทสรุปสงครามเลบานอน – อิสราเอล
นายบูรฮานูดิง นิเกาะ

รหัสนักศึกษา 4630263 

นักศึกษาชั้นปีที่ 4 วิชาเอกมลายูศึกษา  โท ตะวันออกกลางศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 มหาวิทยาลัยสงขลนครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

บทคัดย่อ

 บทความฉบับนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโพสท์โมเดิร์นของอิรัก มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงการเมืองอิรักหลังสมัยใหม่ การฟื้นฟูการเมืองอิรัก การเมืองมุสลิมนิกายซีอะห์ และนโยบายของสหรัฐอเมริกาต่อการฟื้นฟูประเทศอิรัก หลังจากอิรักถูกคว่ำบาตรจากสหประชาชาติ เพื่อให้อิรักอยู่ในกรอบนโยบายของสหรัฐอเมริกาบทความนี้จะกล่าวถึงประเทศมหาอำนาจที่ต้องการให้อิรักอยู่ภายใต้การครอบครองของตน และการคว่ำบาตรจากสหประชาชาตินั้นมิใช่ความเต็มใจของสหประชาชาติแต่เป็นความพอใจของสหรัฐอเมริกาที่อยากจะเห็นประเทศอิรักล้มสลาย และยืนมือให้ความช่วยเหลือเพื่อให้เห็นความดีของตน เหตุการณ์นี้สหประชาชาติเป็นเครื่องมือของสหรัฐอย่างชัดเจน เนื่องจากการกล่าวหานั้นไม่ได้เป็นความจริง เพราะอิรักมิได้มีนิวเคลียร์อย่างที่สหรัฐอเมริกากล่าวหา แต่ความมีอำนาจและอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาสามารถทำได้หากประเทศใดดำเนินการทำให้ไม่พอใจ                เกี่ยวกับการเมืองแล้วหลังจากที่ซัดดัมถูกจับที่ถูกกล่าวหาว่าอิรักนั้นมีนิวเคลียร์ และเป็นผู้นำที่เผด็จการ หลังจากนั้นการเมืองในอิรักได้รับการฟื้นฟูในด้านต่างๆ โดยสหรัฐอเมริกา แต่การเมืองนั้นก็ไม่ได้เป็นไปตามที่สหรัฐคาดหมาย เนื่องจากยังมีกลุ่มหนึ่งที่ต้องการมีอำนาจเช่นกัน คือ กลุ่มมุสลิมซีอะห์ เป็นกลุ่มที่เน้นการปกครองในรูปแบบอิสลาม และบุคคลกลุ่มนี้เคยถูกไล่โดยซัดดัม และบุคคลกลุ่มนี้ก็เคยสนับสนุนสหรัฐกับสหประชาชาติโคนล้มซัดดัม เพื่อต้องการผลประโยชน์ทางการเมืองในอนาคตหลังจากที่ซัดดัมพ้นจากตำแหน่งประธานาธิบดี

                จากการเขียนบทความโพสท์โมเดิร์นอิรัก ทำให้บทความเล่มนี้สามารถนำเสนอข้อมูลเผยแพร่ และเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้กับผู้สนใจที่ต้องการศึกษาค้นคว้าต่อไป

Abstract

This article is to study about post modern Iraq. And  objective of this article is  to study about new  political  in Iraq , political restore ,political of Muslim Shi-ah and  America policy for Iraq political after rejection by United Nation. And an objective of  rejection Iraq is underof America policy.

 This article tells about great country wants Iraq become it under possession. A rejection by United Nation under controling by America which want Iraq to destroy. The helping of United Nation just shou that United Nation is good. This  even  United Nation like a tool of Ameica clearly. Because a blame is not true and Iraq doesn’t has nuclear any moer. And because of power of America can control United Nation.

About politic , after Zaddam was catched because of  blam about nuclear and ditator. Iraq has been develop by America but it doesn’t seem successful because Iraq still has a small power is group of Muslim Shi-ah. This group usde to help United Nation to destroy Zaddam. Because they holp benefit in Iraq after Zaddam full from president position in Iraq.

A writing of this article causes the information is spread and be a base information for any people who attent and want to learn about post modern Iraq.

 

  

อิรัก (Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (Republic of Iraq) เป็นประเทศในตะวันออกกลางที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใหญ่ของเมโสโปเตเมีย จุดสิ้นสุดทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาแซกรอส และทิศตะวันออกของทะเลทรายซีเรีย อิรักมีพรมแดนร่วมกับซาอุดีอาระเบียและคูเวตทางทิศใต้ ติดต่อกับตุรกีทางทิศเหนือ ติดต่อกับซีเรียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับจอร์แดนทางทิศตะวันตก และติดต่อกับอิหร่านทางทิศตะวันออกอิรักได้จัดตั้งคณะผู้นำปัจจุบันเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2547 หลังจากการบุกเข้าอิรักเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 นำโดยกองทัพสหรัฐฯ และอังกฤษเพื่อโค่นล้มประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนลงจากอำนาจ
              ขณะนี้สายตาของชาวโลกกำลังจับตามองอยู่ที่แผ่นดินอิรัก ชะตากรรมของผู้คนในประเทศอิรักนั้น และวิวัฒนาการของสงครามที่กำลังดำเนินอยู่ว่าจะเป็นไปในแนวทางไหน มีโอกาศที่จะยุติลงหรือว่าจะเพิ่มความรุนแรงพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆโดยที่ยากต่อการที่จะยุติลง อย่างไรก็ตามดินแดนที่เพิ่งเป็นที่รู้จักกันว่าอิรักเมื่อไม่นานมานี้เคยเป็นแหล่งอารยธรรมที่ได้เห็นทั้งการรุ่งเรือง และตกต่ำของหลากหลายอารยธรรม และได้ยินเสียงของสงครามเหนือแผ่นดินของตนเองมาหลายครั้งแล้ว นอกจากนั้น อิรักยังเป็นแผ่นดินที่เต็มไปด้วยรอยเท้าของศาสดาหลายคนก่อนหน้านี้และมันเป็นแผ่นดินที่เป็นที่ตั้งของแม่น้ำสำคัญสองสายนั่นคือ
ดิญละฮ์และ ฟุรอต” (ไทกริส และยูเฟรตีส) อีกทั้งยังเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำมันที่มากที่สุดเป็นอันดับสองของโลกเลยที่เดียว จึงเป็นที่หมายปองของกลุ่มประเทศที่ต้องการทรัพยากรดังกล่าว และในการที่จะเข้าไปแทรกแซงและเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการบริหารทรัพยากรน้ำมันแล้วจะต้องเป็นประเทศที่มีกำลัง และมีอำนาจ จึงจะเข้าไปได้ เช่น สหรัฐอเมริกา ที่เกิดสงครามอยู่นี้ก็เพราะว่าสหรัฐจะเข้าไปแทรกแซงในเรื่องของน้ำมัน เลยหาข้อกล่าวหาให้กับอิรักว่ามีการผลิตอาวุธนิวเคลียและมีอาวุธนิวเคลียอยู่ในความครอบครองด้วยเหตุนี้จึงสงครามขึ้นในอิรัก
              ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ค.ศ.
2004 มาจนถึงขณะนี้ การดำเนินไปสู่ ระบอบใหม่ซึ่งสหรัฐอเมริกาเชื่อว่า จะเป็นกระบวนการที่นำไปสู่สันติภาพและความเป็นประชาธิปไตยในอิรักนั้น จะมีขึ้นในลักษณะและขั้นตอนต่างๆดังต่อไปนี้:
             1. เมื่อเราย้อนเวลาไปตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2003 ในระหว่างที่สหรัฐอเมริกายังไม่ได้ประกาศยุติการโจมตีอิรัก รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาก็ได้มีการจัดตั้งสำนักงานบูรณะและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยภารกิจแรกในฐานะเป็นผู้ที่ประสานงาน ระหว่างองค์กรต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ และองค์กรเอกชนระหว่างประเทศในกลุ่มพันธมิตรที่ร่วมการทำสงครามในอิรัก

 สำนักงานบูรณะและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมีบุคคลผู้ที่ประสานงานซึ่งก็ได้รับการแต่งตั้งมาจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา นั้นก็ คือ พลโท เจย์ การ์เนอร์ (Lt. Gen Jay Garner) เป็นนายทหารนอกราชการ โดยมีหน้าที่รายงานผลการปฏิบัติงานต่อแม่ทัพของกองทัพพันธมิตรในอิรัก และแม่ทัพจะต้องรายงานต่อไปยังรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาอีก ซึ่ง สำนักงานบูรณะและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม มีเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันซึ่งเป็น ข้าราชและ ไม่มีประสบการณ์ด้านการบูรณะประเทศใดเลย

    หลังจาก สำนักงานบูรณะและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม อยู่ภายใต้การประสานงานของนายพลการ์เนอร์ ได้เริ่มปฏิบัติงานในอิรักได้ไม่ถึง 1 เดือนก็ได้รับการตำหนิจากหลายฝ่ายว่าทำงานไม่ได้ผล ไม่มีทิศทาง และมีประโยชน์ใกล้ชิดร่วมกับบริษัทขายอาวุธกับกลุ่มอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็ได้แต่รอเวลาและแสวงหาประโยชน์เต็มที่จากการบูรณะอิรัก จึงได้มีการเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ระดับสูงใน สำนักงานบูรณะและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เป็นจำนวนมาก

2. ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2003 นายพอล เบรเมอร์ ที่ 3 (Paul Bremer III) อดีตนักการทูตชาวอเมริกัน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในเรื่องการต่อต้านการก่อการร้าย ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ประสานงานของ สำนักงานบูรณะและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม แทน โดยจะต้องรายงานผลการปฏิบัติงานต่อกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็นับว่าเป็นการลดบทบาทของกองทัพและกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ออกไปจากกระบวนการฟื้นฟูบูรณะอิรักภายหลังสงคราม

3. หลังจากที่ สำนักงานบูรณะและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ได้ปฏิบัติหน้าที่ในอิรักภายในเวลาอันไม่นาน ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างว่า สหรัฐอเมริกานั้นไม่มีสิทธิทางกฎหมายและความชอบธรรมใดๆ ที่จะบริหารการจัดการในเรื่องการฟื้นฟูบูรณะอิรักในลักษณะ เอกภาคี’ (unilateralism) คือวางนโยบายและตัดสินใจกระทำการฝ่ายเดียว โดยไม่ใช้มาตรการพหุภาคี’ (multilateralism) คือปรึกษาหารือและร่วมกระทำการกับนานาประเทศพันธมิตรและองค์การระหว่างประเทศ

หลังจากที่ได้พยายามจากหลายฝ่าย รวมทั้งความไม่เต็มใจที่จะร่วมมือของสหรัฐอเมริกา คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติก็ได้ลงมติผ่านที่ประชุม ว่าให้ยุติการแทรกแซงในอิรัก และให้สหประชาชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการบูรณะอิรักด้วย มตินี้จึงมีผลให้โครงสร้างและกระบวนการฟื้นฟูบูรณะอิรักเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

4. โดยทางการแล้วมติที่ประชุมก็ได้กำหนดบทบาทของสหประชาชาติ ในการฟื้นฟูบูรณะอิรัก แต่ในทางปฏิบตินั้นสหรัฐอเมริกายังคงมีบทบาทในการเป็นผู้ตัดสินใจในการฟื้นฟูบูรณะอิรักต่อไป

5. เพื่อสร้างความกระชับและรวดเร็วในการปกครองบริหารอิรัก สหรัฐอเมริกาได้เปลี่ยนจาก สำนักงานบูรณะและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม มาเป็นคณะบริหารชั่วคราวของกลุ่มพันธมิตร’ (Coalition Provisional Authority - CPA) โดยมีนายพอล เบรเมอร์ ที่ 3 เป็นผู้อำนวยการร่วมกับผู้แทนจากอังกฤษคือนายจอห์น ซอว์เยอร์ส (John Sawyers)

6. เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่กลุ่มพันธมิตรที่เข้าไปจัดระเบียบในอิรักคณะบริหารชั่วคราวของกลุ่มพันธมิตรได้มีการจัดตั้งคณะมนตรีปกครองอิรักขึ้น ซึ่งจะประกอบไปด้วยประชาชนชาวอิรัก 25 คน ซึ่ง คณะบริหารชั่วคราวของกลุ่มพันธมิตร ได้ทำการคัดเลือกมาจากบุคคลต่างๆ ที่คาดว่าจะเป็นตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์ที่แตกต่างกันของชาวอิรัก ดังนั้น สมาชิก IGC ทั้ง 25 คนนี้จึงมีลักษณะที่หลากหลาย คือประกอบด้วยชนมุสลิมชิอะห์ 13 คน ชนมุสลิมสุหนี่ 5 คน ชนชาติเคิร์ด 5 คน ชนชาติอัสสิเรีย คริสเตียน 1 คน และชนชาติเติร์ก 1 คน ในจำนวนนี้มีสตรี 3 คน

7. อย่างไรก็ดี เป็นที่รู้กันว่า อำนาจการบริหารปกครองอิรักขั้นเด็ดขาดนั้นอยู่ที่ คณะบริหารชั่วคราวของกลุ่มพันธมิตรนั่นเอง ดังนั้น เพื่อให้ภาพลักษณ์และเป้าหมายของภารกิจของ คณะบริหารชั่วคราวของกลุ่มพันธมิตร ชัดเจน ชอบธรรม และเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ต่อมา นายพอล เบรเมอร์ ผู้อำนวยการ คณะบริหารชั่วคราวของกลุ่มพันธมิตรก็ได้ประกาศแนวปฏิบัติ ‘7 ขั้นตอนขึ้น                                         โดยมีมาตรการสำคัญดังต่อไปนี้:

ขั้นแรก

ตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้นในอิรัก ซึ่งก็คือ IGC ที่ได้ตั้งมาแล้วตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม

ขั้นที่ 2

หารือว่าจะร่างรัฐธรรมนูญในลักษณะใด

ขั้นที่ 3

กำหนดเงื่อนเวลาว่าเมื่อใดชาวอิรักจะมีสิทธิในการปกครองบริหารประเทศได้ด้วยตนเอง

ขั้นที่ 4

เริ่มลงมือร่างรัฐธรรมนูญ

ขั้นที่ 5

ให้สัตยาบันต่อร่างรัฐธรรมนูญนั้น

ขั้นที่ 6

เลือกรัฐบาลใหม่แทนสำนักงานบูรณะและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

ขั้นที่ 7

สิ้นสุดภารกิจของคณะบริหารชั่วคราวของกลุ่มพันธมิตร

    ปรากฏว่ามาตรการต่างๆ ทั้ง 7 ข้อนี้ไม่ได้รับการปฏิบัติตามที่ได้ประกาศไว้ เนื่องจากมีความเห็นไม่ลงตัวกันจากหลายๆฝ่ายด้วยกันคือ สำนักงานบูรณะและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม,คณะบริหารชั่วคราวของกลุ่มพันธมิตร, ตลอดจนกลุ่มอำนาจต่างๆ ซึ่งเป็นชาวอิรักที่ต่างชาติพันธุ์ต่างนิกาย โดยบางกลุ่มเห็นว่าควรมีการเลือกตั้งสภาเพื่อทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ บางกลุ่มเห็นว่ารัฐบาลชุดใหม่นี้ ไม่ควรเป็นชุดได้รับการแต่งตั้งอีกต่อไป แต่ควรมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนบางกลุ่มเห็นว่าเงื่อนไขที่เสนอให้มีมาตรการแต่ละอย่างนั้นน้อยเกินไป ซึ่งจะเตรียมงานไม่ทัน โดยเฉพาะเรื่องการเลือกตั้งสภา ซึ่งมีอุปสรรคสำคัญคือยังไม่มีการสำรวจประชากรเพื่อที่จะกำหนดผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน ซึ่งจะต้องใช้เวลามาก

                เนื่องจากมาตรการต่างๆ ทั้ง 7 ข้อนี้ไม่ได้รับการปฏิบัติ ด้วยความเห็นที่แตกต่างกันและไม่ลงรอยกันจากหลายๆฝ่ายทั้ง สำนักงานบูรณะและช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม, คณะบริหารชั่วคราวของกลุ่มพันธมิตร, ตลอดจนกลุ่มอำนาจต่างๆ ซึ่งเป็นชาวอิรักที่ต่างชาติพันธุ์ต่างนิกาย ในเมื่อมีความไม่ลงรอยกันเกิดขึ้น จึงยากต่อการที่จะทำการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของอิรัก ซึ่งสหรัฐอเมริกาต้องการให้อิรักปกครองแบบประชาธิปไตย โดยที่มีเงื่อนไขที่จะต้องเชื่อฟังและให้สหรัฐมีส่วนร่วมในการปกครองครั้งนี้ด้วย จึงเป็นเหตุที่สหประชาชาติต้องส่งเจ้าหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติเข้ามาจัดการเลือกตั้งโดยตรงขึ้นในอิรัก

ทีมเจ้าหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติได้เดินทางถึงแผ่นดินอาณานิคมอิรักภายใต้การยึดครองของสหรัฐ เพื่อทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งโดยตรงขึ้นในอิรัก ก่อนหน้ารัฐบาลสหรัฐจะส่งมอบอำนาจให้อิรัก และตามข้อเสนอของอยาตุลเลาะห์ อาลี อัล-ซิสทานี่ ผู้นำกลุ่มชาวชิอะห์ซึ่งเป็นกบฏกลุ่มใหญ่ที่สุดที่ให้การช่วยเหลือสหรัฐในการก่อสงครามปีที่ผ่านมาในการยึดครองแผ่นดินของชาวอิรัก

นายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ก็ได้ออกมาแสดงความหวังว่าการเข้าไปปฎิบัตหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติน่าจะช่วยคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับการถ่ายโอนอำนาจในอิรัก ได้เป็นผลสำเร็จจนนำไปสู่การสถาปนารัฐบาลชั่วคราวขึ้นในอาณานิคมอิรักได้เป็นผลสำเร็จในที่สุด

หลังการเลือกตั้งผ่านไปกว่า 5 เดือน ขณะที่คนอิรักทั้งประเทศแทบจะลืมไปแล้วว่าตัวเองกำลังรออะไร อยู่ๆรัฐบาลชุดใหม่ของอิรักก็โผล่ขึ้นมา พอชาวอิรักที่ได้ยินข่าวรัฐบาลใหม่ขึ้นมานั้นไม่รู้ว่าจะดีใจหรือว่าเสียใจดี และนูรี อัล-มาลิกี นายกรัฐมนตรีคนใหม่และล่าสุดของอิรัก ได้มีการหารายชื่อรัฐมนตรีการท่องเที่ยวมาให้ แต่ยังคงหาตัวรัฐมนตรีสำคัญๆ อย่างมหาดไทย กลาโหม และกระทรวงความมั่นคงแห่งชาติยังไม่ได้ ซึ่งอัล-มาลิกี นายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ให้สัญญาว่าจะหาคนมานั่งเก้าอี้ให้ได้เร็วๆ นี้ แต่ระหว่างนี้ ทั้งนายกฯ และรองนายกฯ อีก 2 คน จำเป็นต้องช่วยๆ กันดูแลและนั่งควบกันไปก่อน และนี่ก็คือรัฐบาลใหม่ของอิรักที่ผ่านการโหวตจากรัฐสภาที่มาการเลือกตั้ง กลายเป็นรัฐบาลชุดแรกตัวจริงที่จะได้ทำหน้าที่ครบ 4 ปี หลังจากทิ้งช่วงมานาน คณะรัฐมนตรีชุดใหม่เป็นผลลัพธ์ของการจับมือกันระหว่างแกนนำคือพรรคชีอะต์ฟันดะเมนทัลลิสต์ ยูไอเอ (UIA United Iraqi Alliance) ร่วมกับพรรคพันธมิตรเคิร์ด (KA - Kurdistan Alliance) พรรคซุนนีฟันดะเมนทัลลิสต์ (IAF - Iraqi Accord Front) และพรรคฆราวาสของอิยัด อาลาวี (National Iraqi List)สำหรับพรรคหลัง แม้ว่าอดีตสินทรัพย์ซีไอเอ และอดีตนายกรัฐมนตรีชั่วคราวที่ทำเนียบขาวตั้งมาเองกับมือก็จะไม่มีตำแหน่งอยู่ในรัฐบาลนี้ แต่ก็ยังคงได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธาน สภาความมั่นคงแห่งชาติ (NSC - National Security Council) ยิ่งกว่านั้น เพื่อรับประกันถึงเสรีภาพและประชาธิปไตยสุดๆอเมริกายังคงส่งคนของตนจำนวนหนึ่งไปช่วยดูแลกระทรวงสำคัญๆ เหมือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ถึงแม้รัฐสภาชุดใหม่จะมาจากส่วนผสมที่หลากหลายมากกว่าชุดก่อน แต่ในส่วนของซุนนี ลางไม่ดีเริ่มปรากฏให้เห็นในสภาแล้ว เมื่อซุนนีกลุ่มหนึ่งวอล์คเอาท์เพื่อประท้วงการจัดตั้งรัฐบาลที่อิงศาสนาและชาติพันธุ์มากไป เกินกว่าจะรับได้ว่าเป็นรัฐบาลเพื่อความสมานฉันท์หรือรัฐบาลเพื่อคนทุกกลุ่ม และเมื่อนายกรัฐมนตรี อัล-มาลิกี ชีอะต์เคร่งลัทธิจากพรรคยูไอเอ ได้ประกาศนโยบายว่าจะใช้ทุกมาตรการที่จำเป็นเพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้นในประเทศ รวมทั้งการปราบปรามผู้ก่อการร้ายแบบ ใช้กำลังเต็มพิกัด

คำสำคัญ (Tags): #ตะวันออกกลาง
หมายเลขบันทึก: 140097เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2007 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 06:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท