วิกฤตการณ์การเมืองในเลบานอน(ต่อ)


เลือดไม่ใช่น้ำตา:บทสรุปสงครามเลบานอน – อิสราเอล

คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ จึงมีมติที่ 425 และ 426 เรียกร้องให้อิสราเอลถอนตัวออกไป และมอบดินแดนที่ยึดครองไว้ให้อยู่ภายใต้การดูแลของกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในเลบานอน(UNIFIL)แต่อิสราเอลก็ไม่ยอมถอนทหารออกไป นอกจากจะไม่ยอมถอนทหารแล้ว ยังยกบริเวณชายแดนที่ควรจะดูแลโดย UNIFIL ให้กับกองกำลัง SLA ของชาวคริสเตียน นำโดย ซะอ์ ฮัดดาด (Sa"d Haddad) อีกด้วยไม่ว่าจะวิธีสงบศึกอย่างไร   เลบานอนก็เป็นประเทศที่ดำรงอยู่อย่างล่อแหลมแม้จะผ่านสงครามกลางเมืองมากว่าสิบปีแล้ว  ทั้งนี้เพราะเลบานอนมีกลุ่มทางการเมืองจำนวนมากมาย  ซึ่งล้วนแต่มีกองทัพของตัวเอง  โดยที่รัฐบาลแทบจะทำอะไรไม่ได้เลย กลุ่มทางการเมืองทางฝ่ายของคริสเตียน และฝ่ายมุสลิมแยกออกได้ดังนี้                                                                                                               

                   

                กลุ่ม อามาล(Amal)หมายถึง การต่อต้านอย่างเป็นกลุ่มเป็นขบวนการของชาวเลบานอน มีนาย นาเบอร์รี่ เป็นผู้นำ เป็นกลุ่มที่อิงกับซีเรีย มีชนชั้น ชีอะฮ์ (Shi a ) สนับสนุน        ต่อมาเป็นกลุ่มฮิซบุลลออฮฺ (พรรคของอัลลออฮ ) เป็นกลุ่มที่เคร่งศาสนาอย่างมีสำนึก มีอิทธิพลเหนือประชาชนชาวชีอะฮในแถบยากจน คือทางตะวันออกของหุบเขาเบ้ก้า ชานเมืองทางใต้ของนครเบรุต และเขตตะวันออกของเบรุต เป็นกลุ่มที่ได้รับการท้าทายจากกลุ่ม อามาล ฮิซบุลลอฮ มีจุดมุ่งมายอยู่ที่การโจมตีทหารคริสเตียนในเลบานอนและดินแดนทางใต้ของอิสราเอลที่มีอิทธิพลอยู่                                                      ส่วนคริสเตียน ได้แก่  กองทหารเลบานอนทางใต้ (South labanon Army: SLA ) เป็นกองกำลังที่หนุนอิสราเอลเพื่อต่อต้านปาเลสไตน์และในพรรคฟาแลงซ์   ตระกูลยีมาเยล มีบทบาท อยู่มาก  ส่วนกองกำลังของเลบานอนก็สนับสนุนตระกูลยีมาเยลเช่นกันในขณะที่พรรคเสรีนิยมแห่งชาติ ซึ่งมีตระกูลชามุน แผ่อิทธิพลอยู่ใน กลุ่มมอรอไนท์                                                                                             ความผันผวนทางการเมืองรุนแรงขึ้น  เมื่อนายอามีน  ยีมาเยล  ประธานาธิบดีเลบานอล  หมดวาระการปกครองลงในปี 1988  จากนั้นเขาก็ได้จัดตั้งรัฐบาลรักษาการขึ้น  โดยได้แต่งตั้งนายพล  มิเชล  อาอูน  ผู้บัญชาการทหารสูงสุด  เป็นนายกรัฐมนตรีและได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายมุสลิม  เพราะรัฐธรรมนูญของเลบานอลกำหนดไว้ว่าประธานาธิบดีต้องมาจากกลุ่มคริสเตียน  และนายกรัฐมนตรีจากฝ่ายมุสลิมสุนนีย์ (sunni)เลบานอลจึงมีสองรัฐบาล  คือรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี  ซาลีม  ฮอสส์  ซึ่งสนับสนุนโดยฝ่ายมุสลิม  และรัฐบาลของนายพลมิเชล  อาอูน  ซึ่งรัฐบาลอิรักผู้เป็นปฏิปักษ์กับซีเรียให้การรับรอง  เลบานอลจึงเป็นดินแดนสองรัฐบาลที่มีปัญหามาก  มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง  ระหว่างชาวคริสเตียนเลบานอล  กับมุสลิมเลบานอล  ในหลายแห่งของดินแดนเลบานอลมีการยิงถล่มกันด้วยปืนใหญ่  ระหว่างกองกำลังคริสเตียนมารอไนท์และกองกำลังแห่งชาติเลบานอล  ซึ่งทำให้ผู้คนเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก แน่นอนความรุนแรงครั้งนี้ก็เป็นการสนับสนุนของกลุ่มสองกลุ่มที่อยู่เบื่องหลังก็คืออิสราเอลและ PLO และบวกกับความขัดแย้งเป็นศัตรูกันอยู่แล้วเพียงแค่เปลี่ยนดินแดนแต่ประเด็นความขัดแย้งเดิมยังคงอยู่ และประกอบไปด้วยการที่อำนาจของฟาตะห์ (Fatah) ซึ่งเป็นปีกที่มีความเข้มแข็งของขบวนการปลดปล่อยปาเลสไตน์และองค์การจรยุทธ์อื่นๆ ในจอร์แดนได้แตกทำลายลง ความพยายามในการปลดปล่อยแผ่นดินของชาวปาเลสไตน์ก็มารวมศูนย์อยู่ที่เลบานอน ซึ่งมีเขตแดนติดต่อกับอิสราเอล อันเป็นที่แห่งเดียวซึ่งนักรบปาเลสไตน์จะข้ามไปสู่ดินแดนของพวกเขาที่ถูกอิสราเอลยึดครองและขับไล่พวกเขาออกมาจากแผ่นดินแม่ได้ (ชาฟีอี อาดำ  เอกสารการเรียนสอน วิชาความสัมพันธ์อาหรับ อิสราเอล ,2547 :161 )               การเคลื่อนไหวดังกล่าวสร้างความตระหนกให้แก่ผู้นำคนสำคัญๆ ในหมู่ชาวคริสเตียนโดยเฉพาะพรรคการเมืองของพวกเขาที่มีการจัดการได้อย่างดีคือพรรคกออาติบ หรือรู้จักกันในนามแฟลแลนจีส (Phalanges) เพราะปฏิบัติการของชาวปาเลสไตน์ทางภาคใต้จะนำไปสู่การตอบโต้อย่างรุนแรงของอิสราเอล รัฐบาลอิสราเอลพยายามที่จะทำลายกลุ่มนี้และรวมทั้งกองกำลังทางทหารและทางการเมืองของ PLO ในเลบานอน เพื่อมิให้มีการต่อต้านอิสราเอลของชาวปาเลสไตน์มีประสิทธิภาพ เหล่านี้ล้วนเป็นฉนวนจุดไฟของสงครามอาหรับอิสราเอลในดินแดนเลบานอนให้เกิดขึ้น              หลังจากใช้เวลานาน สงครามกลางเมืองก็มีทีท่าว่าจะสงบลงแต่คงไม่นาน หลังจากนั้นกองกำลังที่เป็นต่างชาติ ต่างออกจากลบานอน แต่สำหรับซีเรียยังได้เป็นกองกำลังที่มีบทบาทในเลบานอนต่อไปและซีเรียก็ย่อมจะได้รับผลประโยชน์จากการที่มีกองกำลังอยู่ในดินแดนนี้                  ในช่วงที่เกิดสงครามในเลบานอน ซีเรียซึ่งได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่จะเข้ามาไกลเกลียและแก้ปัญหาก็เกิดความรู้สึกไม่พอใจที่เริ่มผ่อนปรนกับอิสราเอล และต้องการจะเปิดฉากการรบกับอิสราเอลอีกด้านหนึ่งทางด้านเลบานอน จึงเข้าสนับสนุนกองกำลังปาเลสไตน์ และส่งทหารเข้าช่วย มุสลิมเลบานอนรบกับชาวคริสเตียน ซีเรียต้องการผลประโยชน์จากเลบานอน โดยการรวมเลบานอนเข้ากับซีเรียเพื่อเป็นสหพันธ์ซีเรีย หรือซีเรียใหญ่ และต้องการกีดกั้นไม่ให้อิสราเอล เข้ามามีอิทธิพลในเลบานอน เพราะจะทำให้อิสราเอลเข้ามาประชิดพรมแดนซีเรียและซีเรียก็ไม่ต้องการให้เลบานอนแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนของชาวคริสเตียนและส่วนของชาวมุสลิม โดยซีเรียแน่ใจว่าส่วนของชาวคริสเตียนจะต้องได้รับการสนับสนุน และเป็นการทำให้ดินของชาวคริสเตียนดังกล่าวเป็นรัฐกันชนระหว่างซีเรียกับอิสราเอล และอยู่ภายใต้อิทธิพลของอิสราเอล ซึ่งเป็นอันตรายต่อซีเรีย และซีเรียต้องการในเลบานอนอ่อนแอ เพื่อจะได้เข้าไปแทรกแซง และจัดตั้งรัฐกันชนระหว่างซีเรียกับอิสราเอล แต่จะเป็นรัฐที่อยู่ภายการควบคุมของซีเรีย                                                                                                    ดังนั้นไม่แปลกหากเราจะวิเคราะห์ประเด็นทางการเมืองของเลบานอนในช่วงที่ซีเรียมีบทบาทอยู่ ซึ่งนำมาซึ่งการเสียชีวิตของ ฮารีรี ผู้นำเลบานอนในเวลานั้น จากการเสียชีวิติ ของฮารีรีโดยไม่ทราบกลุ่มใดว่า เป็นผู้สังหารและบวกกับความสงสัยของนานาชาติซีเรียอาจจะอยู่เบื่องหลัง จึงทำให้ซีเรียต้องถอนกองกำลังออกจากเลบานอน อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่การสังหาร รอฟีก ฮารีรี อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อต้นปี 2005 เป็นต้นไป การเมืองของเลบานอนก็กระโจนเข้าสู่ศักราชใหม่ การที่ซีเรียถอนทหารออกไปจะเหมือนกับการส่งประเทศกลับไปสู่สงครามกลางเมืองหรือไม่? การเมืองที่เคลื่อนไหวและเปลี่ยนผ่าน จะส่งผลต่อความมั่นคงของภูมิภาคในศูนย์กลางของความวุ่นวายหรือไม่นั้น มีผู้เล่นที่มีผลต่อสิ่งที่ตามมามากกว่าใครๆคือกองกำลังฮิซบุลลอฮฺ หลังจากที่ซีเรียถอนกำลังออกจากเลบานอนการเมืองของเลบานอนก็ไม่ได้ราบรื่นอะไรมากนัก เพราะปัญหาทางการเมืองของเลบานอนยังคงมีอยู่มากมายเช่นเดิม ฮิซบุลลอฮฺก็เป็นอีกกลุ่มที่เคร่งและได้รับยอมรับจากประชาชน                                                                                                                                                              ฮิซบุลลอฮฺ เป็นองค์กรของชาวมุสลิมชีอะฮฺในเลบานอนภาคใต้ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในฐานะที่เป็นองค์กรช่วยเหลือสังคม กิจกรรมของกลุ่มมีทั้งการทำสื่อ การช่วยเหลือด้านการศึกษา การบริการสาธารณสุข การวิจัย ฯลฯ ซึ่งบทบาททางด้านการช่วยเหลือสังคมดังกล่าว ถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญมากที่สุดขององค์กรนับตั้งแต่สงครามกลางเมืองในเลบานอนยุติลงเมื่อหลายปีก่อน นอกจากนั้นกลุ่มฮิซบุลลอฮฺยังเข้าไปเล่นการเมืองในระดับชาติอีกด้วย แต่กระนั้นคนส่วนใหญ่ทั่วโลกกลับรู้จักฮิซบุลลอฮฺในฐานะที่เป็นกลุ่มขบวนการติดอาวุธที่ใช้ความรุนแรงเพียงด้านเดียวมากกว่า คนส่วนใหญ่ทั่วโลกกลับรู้จักฮิซบุลลอฮฺในฐานะที่เป็นกลุ่มขบวนการติดอาวุธที่ใช้ความรุนแรงเพียงด้านเดียวมากกว่า แม้จะก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค..1982 แต่จุดกำเนิดของฮิซบุลลอฮฺก็เริ่มต้นขึ้นก่อนหน้านั้นแต่เริ่มจากการที่นักการศาสนาชาวอิหร่านคนหนึ่งที่ชื่อ มุอัสสา ศอดร์ ซึ่งย้ายมาอยู่ที่เลบานอนทางภาคใต้ในช่วงทศวรรษที่ 1960 ได้ก่อตั้งขบวนการหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า "ขบวนการของคนด้อยโอกาส" (Movement of the Deprived) ที่เรียกร้องสิทธิและการปกป้องคนยากคนจนในพื้นที่ภาคใต้ของเลบานอน โดยมีกองกำลัง "อะมัล" (Armal) เป็นปีกทางการทหารที่คอยสู้รบกับศัตรูในสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้น แต่กลุ่มฮิซบุลลอฮฺก่อได้กำเนิดขึ้นจริงๆ ในช่วงที่อิสราเอลเข้ามารุกรานเลบานอนในปี 1982 เป้าหมายหลักของกลุ่มจึงอยู่ที่การต่อต้านการยึดครองเลบานอนของอิสราเอล พร้อมกันนั้น ก็พยายามสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ชุมชนชาวชีอะฮฺทางภาคใต้ของประเทศ นอกจาการต่อต้านอิสราเอลแล้ว ฮิซบุลลอฮฺยังเข้าไปเล่นการเมือง โดยสามารถครองที่นั่งในรัฐสภาได้ถึง 23 ที่นั่ง จากทั้งหมด 128 ที่นั่ง ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด   รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและน้ำมันคนปัจจุบันก็เป็นสมาชิกของกลุ่มฮิซบุลลอฮฺ ความจริงกลุ่มฮิซบุลลอฮฺเข้ามามีบทบาททางการเมืองนับตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกหลังสงครามกลางเมืองในปี 1992 แล้ว
คำสำคัญ (Tags): #ตะวันออกกลาง
หมายเลขบันทึก: 140091เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2007 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท