More than Art


การจัดการเรียนการสอนศิลปะเพื่อการพัฒนาความเป็นมนุษย์

การจัดการเรียนการสอนศิลปะเพื่อการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นกระบวนการสำคัญในการสอนศิลปะ(ทัศนศิลป์)ในปัจจุบัน ที่ครูผู้สอนจำเป็นต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ในฐานะศึกษานิเทศก์ที่ดูแลกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ผมจึงอยากฝากแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนศิลปะ(ทัศนศิลป์)ไว้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยคน ดังนี้ครับ อดีต เป็นการเรียนการสอนศิลปะที่เน้นผลงาน คือ - เน้นพัฒนาทักษะในทางกายภาพ ความชำนาญในทักษะการสร้างงานศิลปะ เช่น การใช้เครื่องมือต่าง ๆ การปั้น การผูก ฯลฯ - ประเมินผลจากผลงาน ทำให้เกิดการสร้างกรอบให้กับความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และยังเป็นการสร้างทัศนคติในเชิงลบต่อศิลปะให้กับเด็ก ๆ - มองข้ามศักยภาพในการพัฒนามนุษย์ของ “กระบวนการสร้างงานศิลปะ” ไปอย่างน่าเสียดาย เด็ก ๆ วัยประถม ยังไม่สามารถพัฒนาทักษะการสร้างงานศิลปะได้มากนัก เนื่องจากกล้ามเนื้อมือยังไม่พัฒนาเต็มที่ และประสบการณ์ในการสังเกตยังมีน้อย แต่เด็ก ๆ ก็มีศักยภาพในการสร้างสรรค์งานเกินกว่ากรอบของรูปแบบชิ้นงาน ที่ครูกำหนดให้ และพร้อมที่จะทดลองสิ่งใหม่ ๆ เสมอ ครูศิลปะจึงต้องมาทบทวนกันใหม่ว่า...เราสอนศิลปะเด็กไปเพื่ออะไร ? คงไม่ใช่เพื่อสร้างความเป็นเลิศในการทำงานศิลปะ เพราะเด็กในวัยนี้ยังต้องการพัฒนาทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิตมากกว่าความชำนาญการในด้านใดด้านหนึ่งดังนั้น การจัดการเรียนการสอนศิลปะให้แก่เด็กวัยประถมจึงควรเป็นไปเพื่อสร้างและพัฒนาทักษะพื้นฐาน ของการเป็นมนุษย์ ทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ ลักษณะการเรียนการสอนศิลปะเพื่อพัฒนามนุษย์ 1.ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนการสอนที่ยืดหยุ่นและสามารถประยุกต์ใช้วัสดุที่หลากหลายในบริบทต่าง ๆ 2.ครูมีไหวพริบในการใช้สถานการณ์ต่าง ๆ ในห้องเรียนได้อย่างแยบคาย 3.ประเมินผลจากพัฒนาการทั้งทางด้านกายภาพและจิตใจของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก 4.เด็กได้แลกเปลี่ยนและดูงานซึ่งกันและกันหลังการทำงานแต่ละครั้ง 5.ครูตระหนักว่าต้องคอยสังเกตและเรียนรู้จากเด็กอยู่ตลอดเวลาเพื่อปรับปรุงให้กระบวนการเรียนการสอนเป็นไปอย่างเหมาะสม การออกแบบวิธีการสอนศิลปะเพื่อพัฒนามนุษย์ ๑. การสร้างขั้นตอนการเรียนรู้ แบ่งคาบเรียนออกเป็น ๓ ขั้นตอน เพื่อสร้างแบบแผนให้เด็กเดินตามได้ง่าย ๆ ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑ นำสู่จินตนาการ : มีช่วงนำเข้าสู่บทเรียนเพื่อรวบรวมสมาธิ หรือบอกเล่ากิจกรรมวันนั้นด้วยนิทาน ตำนาน กิจกรรมบทบาทสมมุติ หรือการพาชี้ชวนดู ขั้นตอนที่ ๒ พาทำ : เริ่มจากการทำความรู้จกกับวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และฝึกทักษะการทำงานด้วยความพินิจพิจารณา จนสามารถผสมผสานทักษะกับจินตนาการเพื่อการสร้างงาน ขั้นตอนที่ ๓ ประมวลผล : เกิดการมองกลับไปตรวจทานกระบวนการทำงานของตนและเพื่อนร่วมกัน จนได้ประจักษ์ด้วยตนเองว่ามีอะไรต้องแก้ไขปรับปรุงบ้าง ความหลากหลายจากงานของเพื่อนช่วยเสริมประสบการณ์ และขยายความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานครั้งต่อๆ ไป ๒. การกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เมื่อไม่ได้เน้นที่ตัวผลงานแล้ว ครูต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่า จะพัฒนาเด็กไปในด้านใดบ้าง เพื่อเลือกงานและออกแบบกระบวนการ ให้เหมาะสม ตัวอย่าง เช่น - การซึมซับเรื่อง ความพอดี ผ่านงาน “ปั้นดิน” โดยฝึกผสมเตรียมดินให้เหนียวพอดีที่จะใช้ปั้น และฝึกรู้จักความพอดีในขณะทำงานปั้น - ความเสียหายหลังการเผาในหน่วย “ปั้นดิน”สอนให้รู้จักปรับตัวปรับใจยอมรับความจริงตามเงื่อนไขของธรรมชาติที่มักไม่เป็นไปดังใจอยาก - งานที่มีแบบแผนขั้นตอนที่ชัดเจนและต้องอาศัยการทำซ้ำ ๆ อย่าง “นิตติ้ง”ช่วยฝึกหัดการทำงานอย่างเป็นระบบ ๓. โอกาสแห่งการเรียนรู้ องค์ประกอบอื่น ๆ ที่ครูสามารถสอดแทรกในการเรียนการสอน เป็นการประยุกต์ใช้บริบทเหตุการณ์เฉพาะหน้าให้ได้ศักยภาพมากที่สุด เช่น - สร้างบรรยากาศที่กระตุ้นการเรียนรู้ เช่น การตกแต่งห้องด้วยผลงานทั้งของครูและเด็ก - การใช้กิจกรรมแทนการออกคำสั่งในการรวมความสนใจและสร้างฉันทะในการทำงานทั้งก่อนเริ่มงานและในระหว่างการทำงาน เช่น กิจกรรมบทบาทสมมุติ - การใช้วิธีเล่านิทานเพื่อบอกขั้นตอนการทำงาน แทนที่จะบอกตรง ๆ เพื่อสอดแทรกเอาความปลอดภัยในการทำงานและคุณธรรมเข้าไปด้วย แน่นอนครับ หากครูผู้สอนในกลุ่มสาระศิลปะทั้งที่จบตรงสาขาหรือไม่ตรงสาขาก็สามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนศิลปะได้ดียิ่งขึ้นอย่างแน่นแน ผมจะคอยเป็นกำลังใจให้ครูศิลป์ทุกคนนะครับ ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จในการพัฒนาตนและพัฒนางานต่อไป แล้วพบกันใหม่นะครับ ด้วยความเคารพครับ คุณชายเล็ก

หมายเลขบันทึก: 140071เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2007 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 20:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท