ถอดความจากการสัมมนาวิชาการ(ต่อ)


เลือดไม่ใช่น้ำตา:บทสรุปสงครามเลบานอน – อิสราเอล

อาจารย์.ดร.อับดุลรอนิง สือแต: อาอูซูบิลละฮีมีนัชชัยตอนนิรอญีม อัสสาลามูอาลัยกุมวาเราะห์ มาตุลลอฮีวาบารอกาตุฮ เรียนท่านอาจารย์หัวหน้าแผนกตะวันออกกลางศึกษา  อาจารย์    ดร.ซาฝีอี  อาดำ  แล้วก็น้องนักศึกษาทุกๆท่าน  ที่เข้าร่วมโครงการ  ผมก็รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง  ที่ได้ร่วมในโครงการของพวกเราในวันนี้  เพราะคิดว่าประเด็นปัญหาที่เรากำลังพูดถึง คือ ปัญหาเลบานอน  ซึ่งเป็นปัญหาที่ช่วงระยะเวลาเกือบ 21 เดือน  ที่ร้อนรุ่มมาโดยตลอด  ที่พึ่งจะสิ้นสุดไปเมื่อเร็วๆมานี้เอง  อาจจะพูดถึงในแง่ของการสิ้นสุดจริงๆ เมื่อมีประเด็นร้อนอย่างอื่นที่ขึ้นมาแทรก  ในแง่ของข่าวนั้นก็คือประเด็นใหม่ที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ  ปัญหาที่โปปมาพูดพาดพิงถึงท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) คิดว่าตอนนี้ก็ยังคงดำเนินอยู่ก็ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่กำลังร้อน กำลังเรียกร้องให้ประชาชาติมุสลิมทั้งหมดนั้นได้ออกมา เพื่อที่จะประท้วง  เรียกร้อง  ในสิ่งที่พวกเขาหรือที่โปปคนนี้ได้พูดออกมา  ซึ่งจริงๆแล้วจนกระทั่งถึงวันนี้  เขาก็ออกมาแสดงความเสียใจในสิ่งที่พูดออกไป  แต่ก็ยังไม่ได้แสดงความยอมรับผิดในสิ่งที่ตัวเองได้พูดไป  นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ถ้าหากว่าเราคิดว่ามันไม่เกี่ยวข้องกับตัวของพวกเรา  คิดว่า เราก็คงจะไม่เกี่ยวกับข้าวที่เรากินในจานที่อยู่ข้างหน้าเรา  แต่ถ้าเราคิดว่าเกี่ยวข้องกับจิตสำนึกของเรา  มันสำคัญยิ่งกว่าข้าวที่เรากำลังกินข้างหน้าเสียอีก  นั่นคือ  สิ่งที่เรารัก  และหวงแหนมากที่สุด ท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล) ผู้ซึ่งเป็นศาสดาของพวกเรา  เพราะฉะนั้น  นี่คือหน้าที่ของพี่น้องมุสลิมผู้ที่อยู่ในสายเชือกเดียวกัน จะต้องพิจารณาร่วมกันแล้ว  แล้วก็จะต้องพิจารณาใคร่ครวญเป็นอย่างยิ่ง  สิ่งเหล่านี้เป็นวิถีที่มุสลิมจะต้องยึดถือเป็นแนวทางในการที่จะใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมของอิสลาม  โดยเฉพาะสังคมในยุคใหม่

                เพราะฉะนั้น  ผมเข้าในประเด็นปัญหาในเรื่องของเลบานอนแล้วก็คิดว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรากำลังพูดถึงในวันนี้  อาจารย์ดัรวิช  คงจะมาพูดเสริมต่อในสิ่งที่ผมพูดไปหรือว่าอาจจะพูดย้ำในสิ่งที่ผมพูดถึง  แต่คิดว่าทั้งนี้ทั้งนั้น  ก็คงเป็นสารประโยชน์แก่พวกเราโดยทั้งหมด  ถ้าหากจะพูดถึงประเทศเลบานอน  เลบานอนเป็นประเทศที่ว่าน่าสงสารมาก  ถ้ามองในแง่ประวัติศาสตร์  ก็คือว่า  นอกจากจะถูกครอบครองโดยฝรั่งเศส  หลังจากที่ถูกปลดปล่อยแล้ว  เป็นประเทศที่เกิดสงครามกันโดยตลอดเพราะว่าภายในประเทศเอง  นอกจากจะมีชีอะฮฺมุสลิม  ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มใหญ่ที่อยู่ในสังคมใหญ่  คือ  ชาวคริสเตียนหลายประเทศที่อยู่ในตะวันตกแม้แต่ชาวยิวเองพยายามที่จะให้พวกเขาเป็นผู้ครองอำนาจในเลบานอน  จึงทำให้เกิดหลายๆฝ่ายของ ฝ่ายมุสลิมเองพยายามที่จะรณรงค์เพื่อที่จะไม่ให้เกิดรัฐที่สอง  ที่เป็นรัฐนอกเหนือจากรัฐมุสลิมในตะวันออกกลาง  ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่จนกระทั่งถึงที่สุดแล้ว  คือเกิดสภาพสงครามการเมืองระหว่างชนชาติต่างๆ ระหว่างคริสเตียน  ระหว่างมุสลิมซุนนีและชีอะฮฺแล้ว  ซึ่งเป็นชนมุสลิมอีกกลุ่มหนึ่งที่ทำให้ต่างฝ่ายต่างก็เป็นผู้มีอำนาจต้องมาแบ่งแยกต้องมาจัดสรรกันออกมาในระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบการเมือง  ที่มีรูปแบบที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง  จากรูปแบบประชาธิปไตยในส่วนอื่น  ส่วนนี้เป็นส่วนที่ว่าเป็นพื้นฐานในสังคมของพวกเขา  ก็คือว่า  การแบ่งสรรอำนาจที่เท่าเทียมกันระหว่างชาวคริสเตียน  มุสลิม 2  กลุ่มก็คือ ชีอะฮฺแล้วก็ซุนนี  เราจะไม่เจอรูปแบบนี้ในประเทศอื่น  เฉพาะเลบานอนเท่านั้น  จึงเห็นว่ามีการแบ่งสรรว่าประธานาธิบดีจะต้องเป็นชาวคริสเตียน นายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นชาวมุสลิมซุนนี  ประธานสภาจะต้องเป็นมุสลิมชีอะฮฺอย่างนี้เป็นต้น  จึงเป็นรูปแบบที่แปลกออกไป   ในการที่จะอยู่ในสภาพดังกล่าวสิ่งที่มันเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายๆ หลายอย่าง  ก็ถือว่า  ปัจจัยที่เกิดขึ้นจากภายนอก  เพราะในแต่ละฝ่ายแต่ละกลุ่มที่อยู่ภายในประเทศนั้น  กลุ่มต่างๆก็มีกลุกลุ่มที่สนับสนุนจากภายนอก  ซึ่งกลุ่มพวกนี้เองทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างยิ่ง  เพิ่มความรุนแรงมากขึ้นทุกที  เราจะเห็นได้ว่า  หลังจากที่ฝรั่งเศสถอนตัวออกไปช่วงนั้นเป็นช่วงที่อเมริกาเริ่มมามีผลประโยชน์อย่างมากมายในตะวันออกกลาง  คือช่วงหลังสงครามโลก    อเมริกาดังที่พวกเรารู้ว่า อเมริกต้องการอย่างแรกในเลบานอนก็คือ  อเมริกาต้องการให้รัสเซียหมดอำนาจออกไปจากตะวันออกกลางออกไปจากผลประโยชน์ของอเมริกาคือ ไม่ต้องการให้รัสเซียมีอำนาจในตะวันออกกลางสิ่งแรก  คือ  การที่ไม่ต้องการให้รัสเซียเข้ามามีอำนาจในตะวันออกกลาง  ประการที่ 2 สิ่งที่พวกเรารู้นั้นคือ  ในเรื่องของน้ำมัน ประการที่ 3 คือการอยู่รอดของอิสราเอลในปัญหาในเรื่องของปาเลสไตน์  ประการที่ 4 การคงอยู่ของรัฐอิสราเอลเป็นผลประโยชน์อย่างยิ่งของอเมริกาในการที่จะให้อิสราเอลนั้นอยู่รอดในตะวันออกกลาง  เพราะฉะนั้น  การที่จะอยู่ในลักษณะอย่างนี้  ทำให้เกิดการป้องกันอย่างสุดความสามารถเพื่อที่จะรักษาผลประโยชน์เหล่านี้เอาไว้ให้ได้  ในส่วนของอิสราเอลตรงนี้การที่อิสราเอลจะอยู่รอดปลอดภัยอยู่ได้นี้คือ  การที่จะต้องทำยังไงก็ได้ที่จะป้องกันไม่ให้ชาวอาหรับบุกเข้ามาตีอิสราเอลในทันทีทันใดเหมือนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังปี 1948 หลังจากที่อิสราเอล  ประกาศตั้งรัฐเมื่อประเทศตั้งขึ้นจะเห็นได้ว่าประเทศอาหรับจู่โจมเข้ามาจนกระทั่งอิสราเอลเกือบจะเสียแผ่นดินในครั้งแรก  ทั้งนี้ทั้งนั้นพวกเขายังสามารถปกป้องเอาไว้ได้  ทำให้อิสราเอลเริ่มคิดว่าอย่างแรกที่เขาจะต้องทำก็คือ  นโยบายการรักษาเสถียรภาพของประเทศของพวกเขาเอาไว้  นั่นก็คือนโยบายความมั่นคงจะทำยังไงที่จะทำให้ประเทศอาหรับไม่สามารถที่จะบุกยึดในอิสราเอลจึงเกิดความต้องการรวมพลังรัฐกันชนเอาไว้รอบด้าน  ผมคิดว่าที่นั่งอยู่ตรงนี้ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาตะวันออกกลาง ก็คือว่าเราจะเห็นว่าประเทศอิสราเอลล้อมรอบด้วยประเทศ  ด้านตะวันออก ของอิสราเอลคือ เอปแบงค์หรือจอร์แดน  ด้านเหนือ คือ เลบานอน ด้านล่าง คือ อียิปต์  แล้วก็ด้านตะวันตกคือ  ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในช่วงสงคราม 6 วัน ในปี 1967 จะเห็นได้ว่าชาวอาหรับประเทศอาหรับอยู่ด้านข้างทั้งหมด  ได้เสียดินแดนส่วนนี้ออกไป  สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนเหตุการณ์บังเอิญที่เขาได้ชัยชนะได้ดินแดนส่วนนี้  มาอยู่ภายใต้ความต้องการอิสราเอล  จะทำยังไงให้สร้างรัฐกันชน จึงทำให้ประเทศอาหรับต้องสูญเสียดินแดนทางด้านซีนาย  ก็คือว่า  อิยิปต์เสียซีนาย   แล้วก็ทางด้านตะวันออกของอิสราเอลจอร์แดนก็เสียเวปแบงค์ไปทางด้านซีเรีย  ทางด้านบนออกทางตะวันออกเฉียงเหนือก็เสียไปและต่อมาในปี 1978  ปรากฏว่า  เลบานอนเสียภาคใต้ของเลบานอนไป  จึงเห็นว่า  เมื่อเกิดลักษณะอย่างนี้อิสราเอลต้องมีรัฐกันชนเอาไว้  ทั้งด้านบน  ด้านล่าง  ด้านข้าง  และก็เมดิเตอร์เรเนียน นี้คือสิ่งที่อิสราเอลได้วางไว้ก็คือว่าอิสราเอลต้องมีรัฐกันชนบ้าง  ทำให้เกิดสิ่งต่างๆ มากมายในเหตุการณ์ในตะวันออกกลางเพราะสิ่งเดียวก็คือ เหตุการณ์ต่างๆในตะวันออกกลางปัญหาของเลบานอนเช่นเดียวกัน  ก็คือ เกิดจากที่อิสราเอล การที่อิสราเอลได้ดำเนินนโยบายในลักษณะอย่างนี้  จึงทำให้อิสราเอลไม่สามารถสู้รบเลยในทีเดียว  ทางตอนใต้ของเลบานอนจึงทำให้เกิดจากเจรจา  แต่ปรากฏว่าการยกเสถียรภาพแทนที่ประเทศอาหรับทุกๆฝ่าย  นโยบายดำเนินการเจรจาในรูปแบบที่ว่าถ้าหากเกิดก็คือ ทิสเซนเจอร์ก็คือ  การรุกในแต่ละก้าวโดยจะเริ่มในแต่ละด้านโดยทั้งหมดกับประเทศอาหรับในทุกๆฝ่าย อิสราเอลโดยการนำของอเมริกา  ก็มีการตกลงพูดคุยกัน  แคมป์ เดวิดในปี  1978และปี 1979 เมื่อเกิดแคมป์เดวิดก็มีการตกลงกันระหว่างอิสราเอลและอียิปต์  ทำให้อิสราเอลและอียิปต์ยุติสงครามพวกเขาจึงมีความสามารถในตอบโต้ ไปรุกในด้านอื่นๆ จึงทำให้เกิดสงคราม  ในปี 1982 เกิดสงครามในเลบานอน  อิสราเอลบุกเข้าไปในเลบานอนแล้วก็ยิงทำลายทุกๆจุดที่คิดว่าเป็นยุทธ์ศาสตร์ปาเลสไตน์  ซึ่งกลุ่มปาเลสไตน์ที่หนีจากสงครามในปี 1967และปี 1973 หนีเข้าไปอยู่ในเลบานอน  บางส่วนหนีเข้าไปอยู่ในซีเรีย  จอร์แดน แต่ส่วนใหญ่ผู้ที่อยู่ในเลบานอนก็กลับไป  ผู้ปฏิบัติการณ์ที่ว่าเป็นเขตของอิสราเอลหรือ ในเซ็ตเต็ลเมนต์เข้ามาปฏิบัติกันแล้วกลับเข้าไปอยู่ในเลบานอน  ทำให้อิสราเอลต้องการกำจัดกลุ่มนี้ออกไป  จะต้องสงบศึกทางด้านตอนใต้กับอียิปต์ไว้ก่อน  จึงเกิดแคมป์เดวิดขึ้นมา  ผมคิดว่าเป็นการไล่ไปทีละขั้นๆ เมื่อเกิดแคมป์เดวิดจึงทำให้เกิดสงครามอิสราเอลกับเลบานอนครั้งนั้นในปี1982 จำนวนผู้เสียชีวิตมีถึง 20,000 คน ถือว่ารุนแรงมาก วิกฤติเลบานอนในครั้งนี้มีคนตาย 1,181 คน เทียบกันไม่ได้เลยกับการสูญเสียชีวิตในปี 1982 ที่อิสราเอลบุกเข้าเลบานอนมีคนสูญเสีย 20,000 คน ชีวิตของมนุษย์นี้ลองจินตนภาพดูว่าศพของคนที่เรียงราย ถ้ามากองสูงได้ขนาดไหน ในปี 1982 รุนแรงมากยิ่งกว่าครั้งนี้  ตามที่เราได้เห็นตามรูปภาพที่เห็นจากสื่อในครั้งนี้จะเห็นได้ว่ามันรุนแรงจริงๆ ผู้เสียชีวิต 20,000 คน ยังไม่นับของคนที่สูญเสียที่อยู่อาศัย  และต้องอพยพที่ต่างๆ นับจำนวนเป็นแสนเป็นล้านๆคน จากการพวกเขาได้สูญเสียในครั้งหนึ่ง  หลังจากปี 1982 และปี 1991 จนถึงปี 1996 ถ้าดูในชีทที่ผมได้แจกไปจะเห็นได้ว่าช่วงนั้นเกิดเหตุการณ์บุกยิงเข้าไปในแต่ละกลุ่ม ๆ ที่ทำงานในเลบานอน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากปี1982  อิสราเอลหวังว่าเขาต้องการที่จะทำลายกลุ่มในเลบานอนได้  ปรากฏว่าเขาไม่สามารถทำลาย ploทำให้ ploกลับมาและแตกกระจายออกไปอยู่ในประเทศอาหรับต่างๆ กระจายไปอยู่ใน  ตูนีเซีย ไนจีเรียไปตั้งศูนย์ปฏิบัติการณ์ต่างๆนอกเหนือไปจากเลบานอน และจอร์แดน ทำให้พวกนี้ยิ่งกระจายออกไปสู่โลกอาหรับกว้างขึ้น  ซึ่งสิ่งนี้คิดว่าเป็นการงานของอัลลอฮฺ (ซบ.)ที่แม้แต่ชาวปาเลสไตน์เองเขาไม่เคยคิดว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้น  หลังจากที่พวกเขากระจายออกไปทำให้พวกเขายิ่งมีอำนาจในต่อรองมากขึ้น และก็เช่นเดียวกันสิ่งที่เกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่งหลังจากสงครามในปี 1982 การเกิดขึ้นของฮิสบุลลอฮฺโดยที่เชคฟัฏลุลลอฮฺเป็นคนหนึ่งที่เคยอยู่ร่วมกับกลุ่มอามัน  กลุ่มอามันเป็นกลุ่มชีอะฮฺกลุ่มหนึ่งที่ทำงานปฏิบัติการณ์ในรูปแบบที่ค่อนข้างที่จะรอมชอมมากกว่าคือ ใช้กระบวนการต่อรองมากกว่าและก็ยังไม่ได้ยึดแนวทางทางด้านศาสนามาเป็นวิถีในการดำเนินการ  ไม่ต้องการเรียกร้องให้มุสลิมหรือว่าผู้ที่เข้ามาอยู่ในขบวนการนี้ต้องไปสู่การใช้ระบบอิสลาม  ทำให้เชคฟัฏลุลลอฮฺอกหักจากอามันก็เลยออกจากกลุ่มอามัน  ในช่วงนั้นในปี 1979  มีการปฏิวัติอิสลามในอีหร่าน  เป็นสิ่งที่ปลุกกระแสความรู้สึกของคนหนุ่มสาวชาวชีอะฮฺอย่างสูงมาก  พวกเขาเริ่มมองหนทางที่จะแก้ปัญหาของประชาชาติไม่มีทางใดนอกจากอิสลามเท่านั้น  ทำให้กลุ่มพวกนี้เรียกร้องการที่จะรวมตัวกันแล้วก็นำไปสู่อิสลามที่ถูกต้องตามแนวทางอิสลามอีมามียะฮฺชีอะฮฺนั่นเอง  เพราะฉะนั้นทำให้เกิดสงครามของฮิสบุลลอฮฺในปี 1982  กลุ่มฮิสบุลลอฮฺเกิดในปี 1982  ในขณะนั้นทางด้านอิหร่านส่งหน่วยทหารมาปฏิบัติเข้ามาอยู่ในเขตแดนทางตอนใต้แล้วก็ในเขตบาการ์ของเลบานอน  ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเลบานอน  อยู่ติดกับชายแดนตะวันตกของซีเรีย   อิหร่านส่งคนพวกนี้ประมาณ 1,500 คนไปอยู่ที่นั่นเพื่อให้ความช่วยเหลือ  เลบานอน แต่ปรากฏว่าอิสราเอลถอยออกไป ทำให้กลุ่มพวกนี้รวมตัวกับคนหนุ่มสาวให้การสนับสนุนโดยอิหร่าน จึงเกิดฮิสบุลลอฮ์ขึ้นมา การที่อิสราเอลจะทำลายกลุ่มหนึ่งนั่นคือ กลุ่มปาเลสไตน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง plo กลับทำให้เกิดอีกกลุ่มหนึ่งทดแทนก็คือฮิสบุลลอฮ์  ซึ่งมีแนวทางการต่อสู้ เรื่องการใช้อาวุธ การใช้ยุทธการณ์ ทางด้านทหารจึงจะเห็นได้ว่าฮิสบุลลอฮฺต่อสู้ช่วงระยะเวลา 30 ปี ในปี 1982 จนถึงปัจจุบัน  ฮิสบุลลอฮฺจึงสามารถกอบกู้ทางด้านการทหารมาโดยตลอด  และมีน้อยครั้งที่จะพ่ายแพ้  จึงเห็นได้ว่าแม้แต่วันที่ 12  กรกฎาคม  สิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ ทหารอิสราเอลพยายามที่จะบุกรุกเข้ามาในพรมแดนของเลบานอน  จะเห็นได้ว่ากลุ่มของฮิสบุลลอฮฺเข้าไปจู่โจมทหารลาดตระเวนแต่ที่จริงในฝ่ายอีกด้านหนึ่ง ก็คือว่ากลุ่มของพวกนี้พยายามที่จะบุกเข้ามาในพรมแดนของเลบานอน  ทำให้เกิดการต่อต้าน  ทำให้ทางฝ่ายของฮิสบุลลอฮฺได้ฆ่าจนเหลือแค่ 2 คนเท่านั้นเองแล้วก็เอามาเป็นเชลย  ให้อิสราเอลปล่อยตัวนักโทษของเลบานอนและกลุ่มฮิสบุลลอฮฺที่ทางฝ่ายอิสราเอลจับตัวไว้เป็นจำนวนมากที่ยังอยู่ในคุกของอิสราเอล แต่ปรากฏว่าทางอิสราเอลไม่ยอมส่งอีกกลุ่มหนึ่งเพื่อที่จะชิงตัวประกัน 2 คนนี้ ทำให้เกิดการต่อรองครั้งนี้  ปรากฏว่ากลุ่มที่ส่งไปฮิสบุลลอฮฺฆ่าหมดเลยทางฝ่ายอิสราเอลที่ส่งไปในรอบหลังไม่มีใครรอดชีวิตสักคน  ทำให้เห็นชัดเจนว่าศักยภาพของฮิสบุลลอฮฺในทางด้านการทหารของ ฮิสบุลลอฮฺค่อนข้างที่จะมีความเก่งกาจมีระบบในเรื่องการควบคุมคนในของเขาไว้อย่างชัดเจนมาก  เมื่อพูดถึงฮิสบุลลอฮฺ  ผมก็อยากจะพูดอีกด้านเช่นกัน  ฮิสบุลลอฮฺไม่ใช่เพียงแต่เป็นกลุ่มหัวรุนแรงใช้กำลังอย่างเดียว  แต่ฮิสบุลลอฮฺมีความคล้ายคลึงกับกลุ่มฮามาสมาก ซึ่งที่รู้ชัดเจนว่าฮามาสเป็นส่วนหนึ่งของอิควานุลมุสลีมีน  ที่มีความคิดในการสร้างสังคมอิสลาม  โดยเริ่มตัวจากตัวเอง ครอบครัว  สังคม  รัฐศาสตร์จนถึงที่สุดก็คือคอลีฟะฮฺ อาณาจักรของอิสลามที่ยิ่งใหญ่  แนวทางอย่างนี้เป็นการช่วยเหลือทางสังคม  พยาบาล และทุกๆด้าน จึงทำให้ฮิสบุลลอฮฺได้รับการสนับสนุนจากสังคมในเลบานอนอย่างดียิ่งไม่เพียงแต่มุสลิมชีอะฮฺเท่านั้นที่เป็นสมาชิกของฮิสบุลลอฮฺ  แม้แต่คนนอกที่ไม่ใช่สมาชิกของฮิสบุลลอฮฺก็ให้การสนับสนุนฮิสบุลลอฮฺ   เพราะว่าถ้ามองในแง่ของสวัสดิการในสังคม  ความคิดทางสังคมของฮิสบุลลอฮฺค่อนข้างที่จะชัดเจนเป็นประโยชน์ให้แก่สังคมทั่วไป  จึงทำให้อิสราเอลการที่ต้องการกำจัดกลุ่ม  ฮิสบุลลอฮฺต้องการทำสงครามมาโดยตลอด  ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมาแต่ก็ไม่สำเร็จ  ถึงแม้ว่าจะพยายามยิงเข้าไปทุกจุดที่เขาคิดว่าเป็นจุดที่มีกลุ่มฮิสบุลลอฮฺอยู่และทุกๆจุดที่เป็นบริเวณที่อยู่ของมุสลิมชีอะฮฺเพื่อที่จะตัดขาด  ส่วนหนึ่งที่เราต้องคิดการจู่โจมในครั้งนี้ทำไมจึงมุ่งตรงไปที่มุสลิมชีอะฮฺเท่านั้น  สิ่งที่สำคัญที่สุดเพื่อที่จะตัดทอนออกไปในส่วนที่เขาต้องการที่จะต่อสู้ ก็คือรับหน้าเพียงด้านเดียว  ซึ่งเป็นยุทธวิธีของอิสราเอลมาโดยตลอด โดยเฉพาะใน 30 ปี หลัง ก็คือสู้หน้าอย่างเดียว  พยายามพนมมือข้างและรอบอื่นๆ  ยื่นอาวุธไปหาผู้ที่คิดว่าจะกำจัดพยายามที่จะเจรจากับผู้คนรอบด้านเอาไว้เพื่อที่จะสงวนกำลังของเขา  แล้วก็เพื่อที่จะให้เป้าในการต่อสู้ของเขานั้นชัดเจน  สิ่งที่สำคัญอีประการหนึ่งในครั้งนี้ก็คือ  การที่อิสราเอลเคยเข้ามายึดครองภาคใต้ของเลบานอนมาโดยตลอด  และได้ถอนตัวออกไปในปี 1999  ฮิสบุลลอฮฺซึ่งเป็นกลุ่มที่...การถอนตัวของฮิสบุลลอฮฺทำให้เกิดโอกาส  และก็ได้ถอนตัวเอง ไปในปี 1999ฮิสบุลลอฮฺซึ่งเป็นกลุ่มที่รู้แน่ชัดว่าการถอนตัวของอิสราเอลนั้นจะเป็นการหาโอกาส จนทำให้เกิดสูญญากาศขึ้นในช่วงภาคใต้ของเลบานอน เพราะฉะนั้น การที่เขาพยายามที่จะคงไว้กองทัพของอิสราเอลจนกระทั่งถึงเขตแดนและ  สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือจุดหนึ่งที่อิสราเอลยังไม่ยอมคืนให้แก่เลบานอนคือ ซีบาร์ฟาร์ม แล้วก็เป็นเขตแดนที่มีความสำคัญ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของอิสราเอลที่ต้องการที่จะสร้างจุดเอาไว้ เพื่อที่จะให้ตรงนี้เอาไว้ใช้ เพื่อที่จะใช้ทหารของพวกเขาเอาไว้ เพื่อที่จะสามารถที่จะส่งเข้ามาในเลบานอน เวลาใดก็ได้  เพราะฉะนั้น ในส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเลบานอน

ในความคิดของผมแล้วมีความคิดว่าเหตุการณ์ที่สงบอยู่ทุกวันนี้นั้นเป็นเพียงแค่ชั่วขณะแค่นั้นเอง เหมือนกับบางช่วงของเหตุการณ์อย่างเช่น หลังจากปี 1982 มีอยู่ตลอด สงบมาแล้วพักหนึ่งแล้วก็หลังจากนั้นก็เกิดการตีเข้ามา บุกรุกเข้ามาอีกในปี 1988 และในปี 1991 ,1992 ,1993, 1994 1995และปี 1996ก็มีอยู่ตลอด การที่อิสราเอล พยายามที่ทำสงครามกับเลบานอน คิดว่าเป็นสิ่งพวกเขามองว่า อยู่ในช่วงเวลาและโอกาส เพราะฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นในเดือนที่ผ่านมาก็คือ ในวันที่ 12 เดือนกรกฏาคมนั้น จะ เห็นได้ว่าสภาพที่เป็นอยู่ในสถานการณ์โลกนั้นก็คือว่าซีเรียซึ่งถอนตัวออกจากเลบานอนในปี 2005 ซึ่งซีเรียเข้ามาอยู่ ในปี 1975 ที่ อาเบะห์อาซะห์  ได้ส่งกำลังเข้ามาในเลบานอนเพื่อยึดเลบานอนไว้ เพื่อที่จะเข้ามาช่วยตริสเตียนมารอไนท์ซึ่งสิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่แปลก ในแง่ของประวัติศาสตร์แทนที่ซีเรียจะเข้ามาช่วยทหารในเลบานอน กลับกลายเป็นว่าซีเรียนั้นได้ส่งทหารเข้ามาช่วยเหลือคริสเตียนมารอไนท์และไม่ต้องการ ที่จะให้ฝ่ายของปาเลสไตน์เข้าไปมีอำนาจเหนือในเลบานอนซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนผันในแง่ของการเมืองนั้นอย่างมาก  ถ้าหากว่าทางฝ่ายของ plo  เข้าไปยึดอำนาจในเลบานอน ตั้งแต่ ปี 1975 แต่ซีเรีย ก็ส่งคนเข้าไปช่วยเกิดบาลานส์ขึ้น ใหม่ในเลบานอนขึ้นมา เป็นตัวกัน เป็นตัวเทียบท่าใหม่บาลานส์ ใหม่ ตั้งแต่ ปี 1975 ตลอดมาจนกระทั่ง ในปี 1975 จนถึงปี 2005  ในการถอนตัวครั้งนี้สาเหตุอย่างหนึ่งก็คือว่าซีเรียถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วม  โดยหลังจากที่เขาถอนตัวออกไปแล้ว มีส่วนร่วมในการลอบฆ่า รอฟิอฺ  ฮารีรีย์  จึงทำให้ระหว่างซีเรียและเลบานอนนั้นมองหน้ากันไม่ติดเมื่อถอนตัวออกไปแล้ว ทางฝ่ายของเลบานอนเองก็มีการประท้วง ด่า ต้องการไม่ให้ซีเรียไปมีบทบาทอีกทางการเมือง ทางการทหารในเลบานอน จึงทำให้ซีเรียไม่มีบทบาทใดๆทั้งสิ้นในขณะที่อิสราเอลนั้นบุกเข้ามาถ้าหากว่าซีเรียยังอยู่ การที่บุกเข้า เมื่อบุกเข้ามาในเลบานอน ก็จะต้องผ่านซีเรียก่อนในการที่เข้ามา ก็คิดถึงซีเรียก่อน  แต่วันนี้เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่มีซีเรีย  ซีเรียอยู่ในสภาพที่กำลังถูกประณาม จึงทำให้เกิดการขาดอำนาจในการที่จะให้บัลลานส์ให้กับอิสราเอล  มาดูในอีกด้านหนึ่ง นั่นก็คือว่าซีเรียเป็นตัวหนุนให้กับอามัน เมื่อซีเรียขาดอามัน อามันก็ขาดกำลังแล้วก็ทางด้านฮิสบุลลอฮ์ ซึ่งได้รับการหนุนจากอิหร่าน อิหร่านเองก็อยู่ในสภาพที่ง่อนแง่นเต็มที่ เพราะมีปัญหาในเรื่องของนิวเคลียร์ที่ทางฝ่ายสหประชาชาติโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาต้องการที่จะลงโทษ และบอยคอตอิหร่านพร้อมที่จะยิงตอบโต้ และทำลาย  ถ้าหากต้องการที่จะใช้กำลังทางฝ่ายของอิสราเอล พร้อมที่จะยิงเข้าไปทำให้อิหร่านซึ่งเป็นตัวหนุนให้กับอามันก็ไม่ได้ช่วยเหลืออะไรมากนักในสงครามครั้งนี้ ทำให้ทางด้านอิสราเอลจึงขาดกำลัง จึงไม่จำเป็นต้องกลัวอิหร่านเพราะถ้าอิหร่านยื่นมือเข้ามา ส่งคนเข้ามาเหมือนกับปี 1982 ครั้งนี้ทางอิสราเอลยิงสวนกลับที่เตหารานได้ทันทีแล้วถ้าสหรัฐอเมริกาพร้อมที่จะใช้เงื่อนไขทางด้านนิวเคลียร์ในการที่จะทำลายอิหร่านได้ทันที  ซึ่งเกมนี้จึงทำให้เห็นทางฝ่ายอิหร่านไม่หลงตามเกม เพียงแต่ประณามเพราะมิได้ปฏิบัติทางด้านการทหาร  อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญก็คือว่ารัฐบาลของเลบานอนไม่ได้ให้การช่วยเหลือในรูปแบบที่ชัดเจนทางด้านกองกำลังหรืออำนวยให้แก่ฮิสบุลลอฮฺในการที่จะต่อสู้กับอิสราเอลในครั้งนี้เพียงแต่อยู่ในระดับเหมือนกับว่าตัวเองอยู่เหนือปัญหา แล้วก็ผู้คนที่ได้รับความเดือดร้อนในครั้งนี้นับเป็นจำนวนนับล้านคน  เป็นชนชาวเลบานอนเอง เหมือนกับว่าหมดหน้างาน  ฮิสบุลลอฮฺเคยมีต่อเลบานอนมากมาย   แต่เมื่อถึงเวลานั้น เมื่อไม่ต้องการที่จะใช้ พร้อมที่จะให้ตัวเองนั้นมากำจัดออกไปเสีย เพื่อที่จะลดสัดส่วนทางด้านประชาชาติของชาวชีอะฮฺให้ลดลง และกลุ่มที่มีความเข้มแข็งมากที่สุด อย่างฮิสบุลลอฮฺหมดอำนาจลงเช่นเดียวกัน  ในส่วนที่เสียหายส่วนใหญ่เป็นชาวชีอะฮฺ แล้วก็บ้านเรือน สิ่งต่างๆ ดังนั้นในแง่ของการวิเคราะห์ การเมือง ในส่วนนี้ผมคิดว่า  จำเป็นสำหรับเราโดยเฉพาะเราเป็นนักศึกษา ตะวันออกลางศึกษา  เราจะต้องรู้ back ground โดยทั้งหมดของมันว่าจริงๆแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่เพราะว่า เมื่อมีปืนแล้วก็ยิงได้เลย  เราจะต้องดู back ground ทั้งหมดของมัน บางครั้งในมิติทางด้านสังคม  การเมืองแม้แต่ทางด้านภูมิศาสตร์ ทางด้านนโยบายการต่างประเทศ  เช่นเดียวกัน เราจึงจะเห็นภาพอย่างชัดเจน  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  มันเกิดอะไรขึ้น เพราะฉะนั้นในส่วนตัวของผมแล้ว เลบานอนกับ อิสราเอลนั้น เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยตั้งแต่สมัย ที่เลบานอนนั้นได้รับอิสรภาพ ในปี 1943 แล้วก็ได้รับอิสรภาพจริงๆ ในปี 1946 โดยที่ฝรั่งเศส ยอมถอยตัวออกไป จนกระทั่ง ถึงบางครั้งบางคราว ก็ส่งตัวแทนเข้ามาอยู่  แล้วก็วันนี้ก็เช่นเดียวกัน ตัวแทนฝรั่งเศสก็ทยอยเข้ามาอยู่ เพื่อเป็นกองกำลัง รักษาสันติภาพ ในเลบานอน อิสราเอลเป็นตัวหลักในการที่จะเข้ามาในส่วนนี้ ผมคิดว่าสำหรับผมในส่วนนี้ ผมคงจะพูดในรอบแรกนี้ก่อนน่ะ วัสสาลาม

คำสำคัญ (Tags): #ตะวันออกกลาง
หมายเลขบันทึก: 140047เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2007 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2012 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท