ถอดความจากการสัมมนาวิชาการ(ต่อ)


เลือดไม่ใช่น้ำตา:บทสรุปสงครามเลบานอน – อิสราเอล
                อาจารย์  ดัรวิช มูอาวัด : พูดเป็นภาษาอังกฤษ                คุณ ฮาฟิซ  สาและ  :   ขอขอบคุณอาจารย์ดัรวิช ทีได้ฉายภาพให้เราเห็นถึงตะวันออกกลางรวมถึงเบื้องลึกต่างๆที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับมหาอำนาจอเมริกาผมพยายามจะสรุปให้ได้ภายใน10-15นาทีนี้นะครับ เพราะเรามีคำถามเยอะเหลือเกินประมาณ 20 คำถามได้คงต้องเลือกและกำหนดประเด็นคำถามที่ใกล้เคียงไว้ด้วยกัน  ขอใช้เวลาในการสรุปเนื้อหาดังนี้ อ. ดาวิช ได้เริ่มต้นด้วยเรื่องราวปาเลสไตน์ก่อนโดย อาจารย์พูดถึง ในฐานะที่เป็นคนปาเลสไตน์ มีอำนาจที่จะพูดเพราะพ่อกับแม่เป็นคนปาเลสไตน์โดยดั้งเดิม อาจารย์ได้พูดนอกเหนือจาก Paper ที่เขียนมาให้ ได้ปูพื้นของเรื่องราวต่างๆของประวัติศาสตร์ในอดีตที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ในดินแดนปาเลสไตน์ ประวัติศาสตร์ของของชนชาติคริสเตียน และมุสลิมในดินแดนนี้ว่าเป็นมาอย่างไร และจุดประสงค์ที่อาจารย์พูดในเรื่องนี้ก็เพราะในอดีตเป็นอย่างนี้ ปัจจุบันก็ยังเป็นอย่างนี้อยู่ ไม่แตกต่างจากบทความของอาจารย์ ดร. อับดุลรอนิง ที่พูดถึงอิสราเอลไม่เคยเปลียนแปลง ตรงนี้ก็เหมือนกันวิธีการของมหาอำนาจตะวันตกใช้ก็ไม่เคยเปลียนแปลงเช่นกัน ขอเข้าสู่เนื้อหาที่อาจารย์นำเสนอ  อาจารย์เริ่มต้นด้วยคำนิยามของ New Concenventive  เรามักได้ยินกัน Neo-con คืออุดมการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 1991  กลุ่มนี้ไม่ได้ยึดหลักในทฤษฎีเดิมๆ คือจะยึดทฤษฎีของพวกเขาเอง จุดเด่นคือ การเน้นใช้อำนาจ ที่เด่นชัดที่สุดคือการทำสงครามที่บ่อยมาก อาจารย์จะปูพื้นฐานให้เห็นสงครามในอดีตที่ผ่านมาว่า เมื่อโลกมีสงครามก็ต้องการองค์กรที่จะมาจัดการตรงนี้ ต้องการความมั่นคงร่วม  ซึ่งตรงนี้ก็คือ UN(สหประชาชาติ)  แต่ว่าในส่วนของ Neo –Con ก็ไม่ให้ความสำคัญต่อ UN เท่าไร เห็นเป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น ถ้าอุดมการณ์ขัดแย้งกับเป้าหมายของตนก็จะไม่ฟัง จะเอามาใช้ก็ต่อเมื่อเห็นว่ามันสอดคล้องกับเป้าหมายของตน   อาจารย์ได้พูดถึงโลกที่ สาม ว่าเราไม่ใช่โลกที่ สาม เราเป็นโลกที่หนึ่งด้วยซ้ำไป เพราะ อัลลอฮ (ซบ. ) ได้ ให้เราประชาชาติตัวอย่าง เราต้องตระหนักไม่ใช่ พอเขาใส่กรอบให้เรา เราก็บอกว่า เราคือ ประเทศกำลังพัฒนาด้อยกว่าเขา  เมื่อพูดถึง ชาวอเมริกัน อย่าไปนึกถึงชาวอเมริกันทั้งหมดแต่ให้แยกแยะ ที่ควรเกลียด คือ รัฐบาลอเมริกาที่มีนโยบาย ต่อต้านมุสลิม เพราะมุสลิมในอเมริกามีอยู่เยอะ ฉะนั้นเมื่อพูดถึงอเมริกา ก็ไม่ใช่คนอเมิกาทังหมด  แต่หมายถึงกลุ่มที่ก่อการอธรรมต่อสันติภาพของโลก  อาจารย์พูดถึง Neo–Con  อุดมการณ์ของเขาคือการต้องการครอบโลกด้วยการใช้เงินซื้อองค์กรต่างๆ การจัดตั้งเขาเรียกว่าเป็นองค์กรเครือข่าย อย่างเช่น IMF, World Bank องค์กรต่างๆเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อรับใช้ อเมริกา เพื่อครอบครองผลประโยชน์ทั่วโลก นอกจากใช้องค์กรเหล่านี้แล้ว วิธีการของ Neo–Con ก็ยังใช้สงครามตามที่เราเห็น รัฐบาล บุช พอขึ้นนมาแล้ว ก็เต็มไปด้วยสงคราม อย่างที่อาจารย์อับดุลรอนิง บอกว่า นโยบายของอเมริกาจะไปทีละก้าว อันนี้ ก็เช่นเดียวกัน เริ่มจากอัฟกานิสถาน โจมตีอิรักแน่นอนต่อไปคือ อิหร่าน ซีเรีย โดยที่สร้างเหตุการณ์หลายๆอย่างขึ้นมา เพื่อจะให้ความชอบธรรมแก่ตัวเอง ดังที่บทความของอาจารย์ที่บอกว่า เป้าหมายของมันคือให้ความชอบธรรมต่อวิธีการ เช่นประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ดี เขาจะสร้างสิ่งที่ดีให้กับสังคมให้กับโลกและสร้างสันติภาพ และเอาเป้าหมายนี้มาให้ความชอบธรรมกับวิธีการ ถึงแม้วิธีการนั้นจะไม่ชอบธรรมเขาพยายามจะหาเหตุผลสารพัด เพื่อให้ชอบธรรม นี่คือวิธีการของอเมริกา หัวข้อของอาจารย์ คือตะวันออกกลางใหม่ในรูปแบบเก่าคือตะวันออกกลางใหม่ คือสิ่งที่อเมริกาพยายามให้มันเป็นคือ New World Order และ อาจารย์บอกว่าให้คำจำกัดความมันเป็นสิ่งที่ไม่ปราถนาและก็ไม่สมกับความคาดหวังของอเมริกา คือออกแบบมาอย่างหนึ่งแต่ผลออกมาอีกอย่างหนึ่ง ที่บอกว่าเป็นเรื่องเก่าๆ ก็คือเรื่องนโยบายของจักวรรดิ์นิยมในอดีต ไม่ว่า อังกฤษ  ฝรังเศส ก็มีการใช้กฎของการแบ่งแยกและการปกครอง ผลพวงในอิรัก คือการจับเอาชนชาติพันธ์ต่างๆ มาอยู่ด้วยกัน ชาว เคิร์ด ขีดเส้นแบ่งว่าข้างบนเป็นตุรกี  และข้างล้างเป็นอิรัก ถูกตัดออกจากกัน มันก็เลยกลายเป็นระเบิดเวลาที่รอการปะทุขึ้นนมาเหมือนกับตรงนี้เช่นกัน  อังกฤษ ขีดเส้นแบ่งให้คนมาลายูอยู่ฝั่งไทยส่วนหนึ่ง  และอยู่ฝั่งมาเลเซีย อีกส่วนหนึ่งตรงนี้เป็นระเบิดเวลาของที่ตั้งไว้ เช่นเดียวกันอเมริกาก็นำวิธีการนี้มาใช้ในตะวันออกกลาง เพื่อโจมตีอิรัก เลบานอน เพื่อต้องการให้เกิดรัฐขึ้นมา แต่อาจารย์ก็ได้ตั้งคำถามว่า ทำไมกับปาเลสไตน์ยังไม่ให้สักที   นี่เป็นสิ่งที่สวนกับกับคำพูดที่ออกมาจากอเมริกา นอกจากนี้มีคำคาดการณ์ของทีปรึกษาบุชในปี 1997 ว่าหลังจากซัดดัมลงจากตำแห่นงในอิรักจะเกิดเหตุการณ์วุ่นวายปั่นป่วน เกิดการแตกแยกทางด้านอุดมการณ์ ชาติพันธ์ต่างๆ คือเขาได้คาดการณ์จากการศึกษาข้อมูลไว้แล้ว ว่าถ้าซัดดัมไม่อยู่จะเกิดปัญหา ซุนนี่ ชีอะฮ เชื้อชาติอาหรับกับกลุ่มต่างๆ ถึงแม้ว่าจะรู้แล้วก็ตามอเมริกาก็ยังเข้ามา เพื่อก่อให้เกิดสิ่งเหล่านี้ให้เร็วขึ้น สิ่งเหล่านี้นี้ก็เข้าไปสนับสนุนอุดมการณ์ของ  Neo-con อีกประการหนึ่งคือ ความวุ่นวายความไร้ระเบียบที่สร้างสรรค์ ยกตัวอย่าง ง่ายๆว่าเรามีกระดานที่หนึ่ง ที่ละกลุ่มมันก็มีระเบียบของมันอยู่แล้ว แต่อเมริกาบอกว่ามันไม่ดี จึงต้องล้มกระดานซะ  ให้มันวุ่นวาย เพื่อก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ เช่น ของเขาอยู่ดีๆแต่กูไม่ชอบกูจะทำให้เละ พอมันเละแล้วก็จะเสนอแนวทางเข้าไป คือ New World Order แต่วิธีการของอเมริกาคือสร้างความวุ่นวายความไร้ระเบียบอย่างนี้ไปทั่วโลก ในเลบานอนก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นของแผนการของเขา แผนการของอเมริกาคือต้องการให้มีการนองเลือดทั่วโลกเกิดการใช้ระเบียบ เกิดความวุ่นวายไม่เฉพาะในตะวันออกกลางเท่านั้น  เมื่อเหตุการณ์วุ่นวายก็จะอาศัยอำนาจขององค์กรต่างๆ เช่น องค์กรการฟื้นฟูความร่วมมือต่างๆเข้าไปจัดการ โดยวิธีแบ่ง ประเทศไหนต้องการเข้าช่วยบ้าง นี้คือเป้าหมายในเชิงผลประโยชน์ที่อยู่เบื่องหลังของการทำสงครามต่างๆ อาจารย์ได้พูดว่าอุดมการณ์ของบุชที่ได้อ้างภารกิจจากพระเจ้าว่า พระเจ้าได้มอบหมายให้ถล่ม อัล-กออิดะฮ  ถล่มอัฟกัน อิรัก และบอกว่า พระเจ้าได้ภารกิจนำสันติภาพมาสู่ตะวันออกกลาง ให้เอกราชกับปาเลสไตน์ ให้ความมั่นคงแก่อิสราเอล  นั้นคือสิ่งที่เขายกมาลวงโลก เช่นเดียวกับอุดมการณ์ ประชาธิปไตย เสรีต่างๆเป็นสิ่งที่เขายกขึ้นแต่วิธีการไม่สอดคล้องกับเป้าหมายที่เขาวางไว้ทั้งสิ้น อาจารย์เตือนให้เรามองดูว่า New World Order  จริงๆแล้วมันคืออะไร Neo –Con จะชอบพื้นที่เป็น Anarchy ในเชิงรัฐศาสตร์จะหมายถึง ภาวะที่ไม่มีรัฐบาล ไม่มีระเบียบ อานารยะจึงต้องหาองค์กรมาดูแลช่วยเหลือ  เช่น IMF World Bank ล้วนได้รับการสนับสุนจาก อเมริกานโยบายต่างๆที่ออกมาก็ไปสนับสนุนอเมริกาทั้งสิ้น อาจารย์กล่าวถึงเลบานอนเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการนี้ อาจารย์ได้กล่าวถึงแนวคิด Grash Of Civilization ที่ฮันตินเติลได้กล่าวไว้ ซึ่งอาจารย์ได้ต่อต้านอย่างสิ้นเชิง เป็นทฤษฏีที่มาสนับสนุนสิ่งที่อเมริกาคิด คืออยากให้มันชนกันอยู่แล้วคือโลกอยู่ดีๆของมัน แต่ไปบอกว่ามันกำลังปะทะ พอไปดูภาพมันเป็นแบบนั้นจริงๆ เราก็ปะทะ เขาก็ปะทะ มันก็เลยไปเข้าล็อกเขา อาจารย์บอกว่าการปะทะนี้ไม่ใช่การปะทะเชิงศาสนาซะทีเดียว มันไม่ใช่คริเตียนแต่มันคือ Neo-con  บทความหนึ่งบอกว่า บุชเป็นผู้ที่เคร่งศาสนาในสายสุดโต้งสายเหยียวของคริส ที่กระหายสงคราม กระหายเลือดคือกลุ่มที่ใช้สงคราม ใช้ความรุนแรง สุดท้ายอาจารย์ก็ได้ฝากกับพวกเราว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ เรื่องราวที่เรารู้ เราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจ อุดมการณ์ของ Neo-con เข้าใจ เป้าหมายของ New World Order ใครอยู่เบื้องหลังของ New World Order ใครกำลังทำอะไร เพื่อจะนำไปสู่เป้าหมาย ของ New World Order เราต้องวิเคราะห์และกลับมามองตัวเอง อาจารย์มองว่ามันเป็นสิงที่เป็นภัยต่อมวลมนุษยชาติ ต่อสันติภาพโลก และภัยต่อตัวมุสลิมเอง ดังนั้นเมื่อเราเห็นภัยคุกคามแล้ว ต้องกลับมาดูตัวเองว่า สังคมเราเป็นอย่างไรมีแต่การแบ่งแยกกัน ทะเลาะกันไม่เป็นเอกภาพ นั้นคือ สิ่งที่อาจารย์ฝากไว้กับพวกเรา อาจารย์บอกว่าพวกเราคือผู้รู้ในอนาคตที่จะต้องมองยุทธศาสตร์นี้ให้ชัด และยึดที่จะทำงานกับผู้อื่น ไม่ใช่ว่า ใครมีความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ศาสนา ก็เป็นศัตรูไปหมด คนคริส พุทธ เราก็ต้องปฏิสัมพันธ์ด้วย เป็นบุคคลที่เราจะต้องดะวะห์เขา เรียกร้องเขา ให้ฝึกอยู่ร่วมกับเขา ทำงานกับเขาแต่ให้มีจุดยืนของมุสลิม 

                คุณฮาฟิซ สาและ: หลังจากนี้จะให้อาจารย์ได้ตอบคำถาม

                อาจารย์ดัรวิช มูอาวัด: What is Hamas?

                คุณฮาฟิซ สาและ: เมื่อสักครู่ผมยังไม่ได้เห็นคำถามชัดเจน ไม่แน่ใจว่าเป็นคำถามที่ว่าฮามาสคือใคร? และได้สรุปจากอาจารย์ดัรวิชว่า ฮามาสคือกลุ่มขบวนการที่เคลื่อนไหวในปาเลสไตน์ เราก็รู้ดีในอดีต ผมอาจจะเสริมข้อมูลส่วนตัวลงไปด้วย ในอดีตนั้นกลุ่มฮามาสถูกตราหน้าว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายอยู่ในบัญชีดำของอเมริกา ว่าเป็นกลุ่มหนึ่งที่ก่อการร้ายในปัจจุบัน ฮามาสนี้ได้ทำงานในระดับรากหญ้าอย่างแข่งขัน เข้มข้น และเป็นที่ไว้วางใจของคนปาเลสไตน์นะครับ เมื่อมองจากมุมมองของอเมริกาไม่คิดว่าฮามาสจะสามารถเข้ามาเล่นการเมืองในกระแสหลักได้ อเมริกาคาดหวังว่าประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นในปาเลสไตน์ความคาดหวังที่จะให้มีการเลือกตั้ง โดยวิธีการตามระบอบประชาธิปไตย แต่เมื่อมีการเลือกตั้งขึ้นมาแล้ว ปรากฏว่าเมื่อครั้งล่าสุด ฮามาสเป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ ได้รับเสียงข้างมาก ทำให้นายกรัฐมนตรีเป็นของฮามาสคือ อิสมาอิล ฮานียะห์ ซึ่งเป็นสัญญาณหนึ่งที่ผมอาจจะเสริมว่าคือเป็นสัญญาณของการมาของ Islam Political ที่ตะวันตกได้พูดถึงกันว่า มุสลิมเข้ามาในกระแสการเมืองมากยิ่งขึ้น ใช้อิสลามมาเล่นในการเมืองมากขึ้น แต่ว่าตรงนี้มันเป็สิ่งที่ขัดกับการมองของอเมริกา อเมริกาตั้งกติกาอย่างนี้แต่กลุ่มที่เข้ามาไม่ใช้พวกที่เขาต้องการ เขาก็จะพยายามล้มฮามาส จึงทำให้ฮามาสถูกบอยคอตจากอเมริกา อิสราเอล และจากอียู โดยที่เขาบอกว่าฮามาสนั้นไม่ยอมรับการมีอยู่ของอิสราเอล และยังไม่ปฏิเสธที่ใช้ความรุนแรง เมื่อเรามองอเมริการแล้ว เขาก็ใช้ความรุนแรงเหมือนกัน และใช้อยู่ตลอดเวลา และขณะเดียวกัน ไม่ต้องการให้คนอื่นใช้ความรุนแรงตรงนี้ เช่นเดียวกัน ผมขอเสริมตัวอย่างในอัลจีเรีย พบว่ามีการจัดเลือกตั้งตามที่ตะวันตกคาดหวังไว้ แต่ปรากฏว่ากลุ่มที่ชนะการเลือกตั้งก็เป็นนักการเมืองสายมุสลิมเช่นเดียวกัน ที่มีแนวความคิดอิสลาม ก็เลยไม่ยอม สุดท้ายก็ไม่ได้เป็นรัฐบาลเช่นกัน  นี้คือภาพที่ตะวันตก กระทำต่อขบวนการเคลื่อไหวของมุสลิม และปัจจุบันนี้ด้วย ผมขอย้อนกลับมาที่ฮามาสที่พยายามจะรวมกลุ่มต่าง ๆ ในปาเลสไตน์และพยายามสร้างเอกภาพให้เกิดขึ้นให้ได้ โดยไม่อยากให้เกิดความขัดแย้ง ระหว่างฮามาสกับฮามาส และฮามาสกับฟาตะฮฺ ซึ่งเป็นอีกกลุ่มการเมืองหนึ่งที่เคยมีอำนาจในอดีต โดยการนำของมะห์มูด อับบาส แต่หลังจากการเลือกตั้งก็พ่ายแพ้แก่ฮามาส นี้ก็คร่าว ๆ

 

                อาจารย์.ดร.อับดุลรอนิง สือแต: สำหรับคำถามที่ได้ถามมาเกี่ยวกับฮามมาสนั้นผมจะให้ส่วนที่เป็นรายละเอียดนิดหนึ่งว่า ฮามาสเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์อินติฟาเดาะห์ในปาเลสไตน์ ในปี 1987 หลังจากนั้นปีหนึ่งก็ได้เกิดกลุ่มฮามาสขึ้นมาโดยการนำของเชคอะห์หมัด ยาซีน สมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนในขบวนการอิควานในปาเลสไตน์ ฉะนั้นแนวคิดของฮามาสเบื้องต้นคือเป็นแนวคิดที่มองอิสลามทั้งรูปแบบ ทั้งระบบ ไม่ใช่มองเพียงแค่การญิฮาดที่ใช้ความรุนแรง ใช้ดาบ ใช้อาวุธอย่างเดียว ในส่วนนี้เองจึงทำให้ฮามาสสามารถที่จะดึงใจของคนและสามารถกำคะแนนส่วนใหญ่ได้จากสังคมชาวปาเลสไตน์ จึงทำให้ฮามาสในวันนี้ประสบความสำเร็จในด้านการเมือง และในส่วนนี้เช่นเดียวกันก็เกิดขึ้นกับกลุ่มฮิซบุลลอฮฺ ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1982 หลังจากนั้นในปี 1994 ก็ได้ร่วมทางด้านการเมืองและได้ต่อสู้ทางด้านการเมือง และได้รับชัยชนะในปี 1994 และปี 1996 อีกครั้งหนึ่ง อีกทั้งยังมีเสียงในรัฐสภาของเลบานอนด้วย จึงทำให้ลักษณะการเคลื่อนไหวนั้นมีรูปแบบเช่นเดียวกับกลุ่มฮามาส เพียงแต่นิยมรูปแบบของอิหร่าน เพราะยึดถือในตัวของโคมัยนีในการเป็นผู้นำสูงสุดทางด้านจิตวิญญาณ ในส่วนเรื่องของฮามาสนั้นผมก็จะตอบคร่าว ๆ เพียงเท่านี้

                และในส่วนของคำถามอื่น ๆ ที่ถามมาว่าทำไมปาเลสไตน์จึงทำสงครามกับเลบานอนเป็นการเข้าใจผิด ที่จริงแล้วอิสราเอลกับเลบานอนนั้นเองที่ทำสงครามอยู่ในขณะนี้ ก็ไม่เป็นไรสำหรับสงครามที่เกิดขึ้น เป้าหมายที่แท้จริงนั้นเพื่ออะไร เป็นคำถามหลาย ๆ คำถามที่ถามมา ที่จริงผมจะบอกว่าถ้าเรามองในวงกว้างในลักษณะที่ใช้ทฤษฎี Neo-con ตามที่อาจารย์ดัรวิชได้บอกก็ถูกต้องในแง่องค์รวมที่ครอบคลุมจากส่วนบน ซึ่ง Neo-con มีจุดหลักก็คือเป็นกลุ่มของบุช และสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้ ตั้งแต่บุชผู้พ่อก็มีแนวความคิดอย่างนี้มาแล้ว ตั้งแต่สมัยเรแกนมาจนถึงบุชซึ่งช่วงหนึ่งขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี สามารถที่จะสืบทอดความคิดนี้ แต่พอลูกขึ้นมาก็สามารถที่จะสืบทอดแนวคิด Neo-con ขึ้นมา เราจะเห็นได้ว่า พวกที่ไม่อยู่ในสายของ Neo-con อย่างเช่น Pawell ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในสายกลาง เมื่อได้ขึ้นมาเป็นรัฐบาลปรากฏว่า Pawell ก็ถูกเด้งออกไป และ Cororiza Right ขึ้นมาแทน เป็นตัวแทนที่จะขึ้นมาพิสูจน์ว่ารัฐบาลชุดนี้ของอเมริกาดำเนินนโยบายแข็งกร้าว และใช้การทหารนำการเมืองอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นบทพิสูจน์ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกนั้นคือการมองในแง่ขององค์รวม ถ้าเรามองในจุดย่อยลงมา มองในส่วนของทฤษฎี และนโยบายต่างประเทศของอเมริกาเองนั้น เพื่อเป็นการปกป้องผลประโยชน์ให้กับอิสราเอล และพยายามที่จะให้รัฐอิสราเอลคงอยู่ในตะวันออกกลาง เพราะว่ารัฐอิสราเอลเป็นรัฐที่ 52 ของสหรัฐอเมริกาในการสนับสนุนในทุก ๆ ด้าน จะเห็นได้ว่าในแต่ละปี อเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือเป็นเงินหมื่น ๆ ล้านต่ออิสราเอล เสมือนเป็นรัฐหนึ่งของอเมริการเลยที่เดียว ถ้าหากเราจะคงไว้ซึ่งอิสราเอล แน่นอนก็เหมือนกับทฤษฎีที่ผมได้บอกไปแล้ว การสร้างรัฐกันชน แน่นอนเลบานอนซึ่งมีฮิซบุลลอฮฮอยู่ได้ทำการโจมตีอยู่ตลอดได้รบกวนอยู่ทางภาคใต้ตลอดเวลา จึงทำให้อิสราเอลคิดว่าตนเองไม่มีความปลอดภัยในช่วงนี้ ต้องการที่จะทำลายทั้งหมดโดยจะใช้โอกาสทองในช่วงนี้ก็คือว่า อิหร่านไม่อยู่สภาพที่จะช่วยเหลือซีเรียก็อยู่ในสภาพที่ถูกทีบออกจากเลบานอน และโลกมุสลิมไม่มีความสามารถที่จะช่วยอีกทั้งสหประชาชาติก็เปรียบเสมือนเสือกระดาษที่ทำอะไรไม่ได้ จุดนี้เองคือโอกาสทองที่ทำให้อิสราเอลตัดสินใจบุกเข้าไปในเลบานอน กวาดกลุ่มฮิซบุลลอฮฺทั้งหมดแต่ทั้งหมดก็อยู่ในความดูแลของอัลลอฮฺ และอิสราเอลก็ได้ทำเพียงแค่นิดเดียว ซึ่งที่จริงแล้วสมาชิกของกลุ่มฮิซบุลลอฮฺที่เสียชีวิตไปมีเพียง 50 คนเท่านั้น แต่ว่าประชาชนที่ไม่รู้อะไร เป็นประชาชนธรรมดา ที่อยู่บริเวณนั้นก็ต้องเสียชีวิตเป็นจำนวนนับพันคน และเป็นจำนวนนับล้านที่จะต้องอพยพถิ่นฐานออกไป และยังมีอีกวิธีการหนึ่งที่อิสราเอลได้ใช้คือ การยิงเข้าไปแล้วทำให้คนที่แตกออกไปเสมือนผึ้งที่แตกรัง จากนั้นก็ต่อยเจ้าบ้าน คือว่าเมื่อเจ้าบ้านโดนผึ้งต่อยก็จะมาตีรังผึ้งเอง หมายความว่าการที่จะทำให้คนเกิดความระส่ำระส่าย และเป็นเหตุให้รัฐบาลนั้นคิดว่าจะต้องกำจัดกลุ่มฮิซบุลลอฮฺ เพราะรัฐบาลคิดว่ากลุ่มดังกล่าวนี้เป็นกลุ่มที่ทำให้เกิดความร่ำระส่ายในบ้านเมือง ซึ่งวิธีนี้เคยใช้มาแล้วในปี 1982 เป็นช่วงที่ ชัยซัน อิสมานเคยใช้ตีชีอะห์แตกเข้าไปทางตอนเหนือของเบรุต รบกวนจนเลบานอนทั้งประเทศอยู่ไม่ได้ จึงต้องมีการเจรจาเพื่อต้องเอามาสกัดกลุ่มที่ทำการเคลื่อนไหวอยู่ทางภาคใต้ นี้คือวิธีการของอิสราเอล การตีในครั้งนี้ก็ยังคงใช้นโยบายเหมือนเดิม ในส่วนนี้คือคำตอบที่ผมให้

                และยังมีคำถามที่ถามว่า ทำไมสหประชาชาติไม่ทำอะไรเลย ก็คือปัญหาเรื่องอิสราเอลกับอาหรับ ที่จริงแล้วสหประชาติและคณะมนตรีใหญ่ทั้งหมด พยายามที่จะออกกฎบัตรออกมา แต่ไม่สามารถที่จะบังคับใช้ได้ อย่างเช่นหลังจากปี 1967 ดินแดนของอาหรับโดนยึดไปมากแล้วจึงออกกฎบัตรมาตรา 336 ,338 และ342 ปรากฏว่าไม่สามารถที่จะใช้ได้ แต่จะต้องถอนทหารออกไปให้หมด ถอนคืนดินแดน แต่ก็ไม่สามารถบังคับใช้ได้ นี้คือสหประชาชาติ และสิ่งที่ทำได้คือว่า ต้องให้อเมริกาเป็นตัวกลางในการเข้ามาเจรจา อย่างเช่นในกรณีของแคมป์เดวิดในปี 1979 ก็สามารถที่จะทำให้อิสราเอลถอนทหารออกจากซีนาย ซึ่งป็นดินแดนของอียิปต์ลงไปได้ จึงเป็นการมองเห็นได้ชัดเจนว่า สหประชาชาตินั้นเป็นเพียงแค่เสือกระดาษที่ถ้าหากไม่มีอเมริกาเป็นเสียงส่วนใหญ่ในการสนับสนุนกก็จะไม่มีอำนาจอะไร เพราะเสียงวีโต้ของอเมริการในการโต้แย้งนั้นก็จะตกหมด

                สำหรับคำถามของสหประชาชาติที่น่าจะเกี่ยวข้องบ้างในส่วนนี้ และมีคำถามหนึ่งที่ถามว่า กรณีปัญหาเลบานอน เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร กับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มันไม่เหมือนเลย ปัญหาแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คือว่าของเรานั้นกำลังเริ่มต้น ของเขาไปถึงไหนต่อไหนกันแล้ว และยังมีนัยอีกมากมายที่เป็นเบื้องหลังที่เรายังไม่รู้อีกเยอะ นัยทางการเมืองภายในประเทศที่มีความขัดแย้งอย่างรุนแรงมีผลทำให้เกิดสิ่งเลวร้ายต่อสังคมไทย และยังมีในเรื่องการล้มล้างสถาบันต่าง ๆ อีกมากมาย ถ้าจะนำมาวิเคราะห์กับปัญหาของเลบานอน ผมคิดว่ามันไม่เหมือนกันเนื่องจากว่ากองกำลังของต่างชาตินั้นได้รุกเข้ามาอย่างชัดเจน ถึงแม้ภายในประเทศจะมีความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา แต่ของเรานั้นยังไม่ถึงระดับนั้น

                ในส่วนของคำถามที่ว่าจะแก้ปัญหาอาหรับ-อิสราเอลอย่างไร ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นก็มาจากขบวนการยิวไซออนนิสม์ ในส่วนนี้มันไม่ใช่ปัญหาของยิวและมุสลิม และไม่ใช่ปัญหาของคน 2 คนที่ต่อยกัน แน่นอนหลังจากนั้นเขาก็ต้องแยกย้ายกันกลับบ้าน แต่นี้มันไม่ใช่ เพราะนี้เกิดจากขบวนการหนึ่งที่พยายามจะเข้าไปยึดครองบ้านอีกคนหนึ่ง และทำกันเป็นขบวนการและรู้สึกว่า การเข้าไปยึดครองนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเหมือนกับเห็นด้วยที่จะเข้าไปยึดครองหมู่บ้านนี้ ดังนั้นขบวนการที่มีเป้าหมายในลักษณะเดียวกันนี้ แน่นอนไม่อาจที่จะสงบขึ้นมาได้ ดังเช่นเจ้าของแผ่นดินอย่างอาจารย์ดัรวิชก็ไม่ยอมให้บ้านเกิดของตัวเองตกอยู่ภายใต้ของผู้อื่น และผมคิดว่าการแก้ปัญหาที่ถูกต้องก็คือการดับความต้องการของผู้ที่ไม่ใช่สิทธิ์ที่จะได้รับสิ่งนั้นมา จึงจะทำให้เหตุการณ์นั้น

 

คำสำคัญ (Tags): #ตะวันออกกลาง
หมายเลขบันทึก: 140046เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2007 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 14:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท