รัชชานนท์ คนรักสุขภาพ
สเน่ห์คนเมือง คนเมืองมีเสน่ห์ รัชชานนท์ คนรักสุขภาพ น่วมนา

โรคที่มากับหน้าฝน ภูมิแพ้ หรือ ไข้หวัด กันแน่


โรคที่มากับหน้าฝน ภูมิแพ้ หรือ ไข้หวัด กันแน่
 

โรคที่มากับหน้าฝน ภูมิแพ้ หรือ ไข้หวัด กันแน่

เข้าหน้าฝนนี้ เวลาที่ท่านมีอาการ น้ำมูกไหล ไม่ว่าจะเป็น ๆ หาย ๆ หรือ เป็นเรื้อรัง ท่านสับสนไหมครับว่าเป็นอะไรกันแน่ ระหว่างภูมิแพ้ หรือ ไข้หวัด ทำไมจึงนำเรื่องนี้มาพูดกัน เพราะว่าหากเราวิเคราะห์โรคผิดแน่นอนเราก็คงต้องรับประทานยาผิด ทำให้ไม่หายจากอาการดังกล่าว และ ผลที่ตามมาจากการรับประทานยาผิด
โรคไข้หวัด นั้นเกิดจากการติดเชื้อไวรัสบริเวณจมูกและคอ ผู้ใหญ่มีอาการจาม และน้ำมูกไหลจะนำมาก่อน อ่อนเพลีย ปวดศีรษะเล็กน้อย แต่มักไม่ค่อยมีไข้ เชื้อจะออกจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย 2-3 ชั่วโมง และ หมดใน 2 สัปดาห์ บางรายอาจมีอาการปวดหู เยื่อแก้วหู มีเลือดคั่ง บางรายเยื่อบุตาอักเสบ เจ็บคอกลืนลำบาก โรคมักเป็นไม่เกิน 2-5 วัน แต่อาจมีน้ำมูกไหลนานถึง 2 สัปดาห์ การป้องกันและดูแลร่างกายให้ปลอดจากโรคไข้หวัด คือ ไม่ควรอยู่ในเขตชุมชนที่มีการแพร่เชื้อ , พักผ่อนให้เพียงพอ , รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และ ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ( Influenza Vaccine )
ส่วน โรคภูมิแพ้ นั้น เกิดจากร่างกาย ตามเยื่อบุจมูก – ตา , หลอดลม สัมผัสกับสารอินทรีย์ ในสิ่งแวดล้อม เช่น เกสรดอกไม้ , ซากแมลง – ฝุ่น , เชื้อรา , ขนสัตว์ ฯลฯ เกิดปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เยื่อยุบวม มีน้ำมูกไหล จาม หลอดลมอักเสบ เกิดกับผู้ที่แพ้ต่อสิ่งสัมผัสเท่านั้น ไม่ใช่ทุกคนที่จะแพ้ และ จะมีอาการเหมือนกันหมด ผู้ที่ไม่แพ้อาจจะไม่รู้สึกอะไรเลยก็เป็นได้ แต่สำหรับผู้ที่สัมผัสกับควันบุหรี่ ควันไอเสียรถยนต์ หรือ สารเคมี กลิ่นฉุน ๆ แล้วคัดจมูก แสบจมูก แน่นหน้าอก อาการเหล่านี้ไม่ใช่โรคภูมิแพ้ แต่เป็นผลของการระคายเคืองที่มีต่อเยื่อบุทางเดินหายใจโดยตรง ทุกคนที่สัมผัสก็จะมีอาการเหมือนกันหมด ความแตกต่างกันที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ก็คือการทานยาแก้แพ้กลุ่ม Antihistamaine หรือ พ่นยากลุ่ม Topical Steroid จะลดอาการโรคภูมิแพ้ได้ แต่จะไม่สามารถป้องกันอากาศเป็นพิษ หรือ กลิ่นไอที่ฉุน ๆ ได้ โรคภูมิแพ้ที่พบบ่อย มักเกิดในช่วงเวลาเฉพาะ เช่น กลางคืน หรือ ตอนเช้า หรือ มีมากในช่วงหนึ่งช่วงใดของปีที่มีเกสรดอกไม้ ต้นหญ้าในอากาศหนาแน่นมาก อย่างไรก็ตามเนื่องจากกลไกการเกิดอาการที่คล้ายคลึงกันทำให้โรคหวัดช่วง 1 – 2 วันแรก แยกได้ยากมากกับอาการโรคภูมิแพ้ หากไม่มีอาการไข้
คนส่วนมากเข้าใจว่าถ้าจามบ่อย ๆ มีน้ำมูกใสคัดจมูก ไอ เจ็บคอ คงคิดว่าเป็นภูมิแพ้ แต่ที่จริงอาจเป็นอาการของโรคโพรงจมูกอักเสบได้ ถ้ารักษาทางโรคภูมิแพ้ คือ กินยา ฉีดยา เป็นเวลาหลาย ๆ เดือนแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรจะไปพบแพทย์ หู – คอ - จมูก เพื่อตรวจให้ละเอียดว่ามีโรคไซนัส ริดสีดวงจมูก โครงสร้างจมูกตีบแคบ หรือ ไม่ รวมทั้งต่อม Adenoid หลังจมูกโตมากในเด็กเล็ก อายุ 3 – 6 ปี เหล่านี้เป็นต้น เพราะวิธีการรักษาจะแตกต่างกัน ไม่ควรปล่อยให้อาการเหล่านี้เรื้อรังนาน ๆ เพราะจะทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากขึ้น คนจำนวนไม่น้อย ที่รักษาด้วยยาภูมิแพ้เป็นเวลานาน ๆ อาการไม่ดีขึ้น พอเปลี่ยนมารักษาด้วยยาไซนัส ทานยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่อง 2 – 3 สัปดาห์ อาการกลับดีขึ้น จมูกก็หายบวมได้ หายใจได้คล่องขึ้น ผู้ที่ช่องจมูกแคบ ผนังกั้นจมูกคด หรือ ช่องเปิดไซนัสตีบแคบ เวลาอากาศ เปลี่ยนฉับพลัน อากาศเย็นจะคัดจมูก จาม ปวดศรีษะ อาการเหล่านี้อาจไม่ใช่โรคภูมิแพ้ มีหลายคนที่พบว่าหลังผ่าตัดแก้ไขช่องจมูกให้กว้างขึ้น เปิดช่องไซนัสให้สะดวก อาการจาม คัดจมูก ปวดศรีษะ ก็จะหายไปได้ เด็กเล็กอายุ 3 – 6 ขวบ น้ำมูกไหลตลอดปี ใสบ้างมีข้นบ้าง มีขี้มูกบ้าง ไอบ่อย นอนอ้าปากหายใจ อาจจะไม่ใช่โรคภูมิแพ้อย่างเดียว แต่เป็นเพราะต่อม Adenoid โต ขวางช่องหลังจมูก หรือ มีโพรงจมูกอักเสบร่วมด้วย บางคนปวดหู หูอื้อ

การผ่าตัดเอาต่อม Adenoid ออก จะช่วยให้อาการส่วนใหญ่ดีขึ้นได้ เป็นที่น่าสังเกตุอีกอย่างหนึ่ง ผู้ที่ช่องจมูกกว้าง โพรงจมูกมีช่องระบายดี แม้จะมีโรคภูมิแพ้ ก็จะมีอาการเพียงเล็กน้อย และ มักไม่ค่อยไปพบแพทย์ซื้อยาแก้แพ้มาทานเองก็พอ ส่วนผู้ที่มีปัญหาช่องจมูกอักเสบแคบโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง ร่วมกับอาการภูมิแพ้ จะมีอาการรุนแรง และ ทนทุกข์ทรมาน
การทดสอบหาสารที่เป็นสาเหตุของการเกิดภูมิแพ้ ทำได้ไม่ยากโดยที่โรงพยาบาลลานนา ได้ใช้วิธีการตรวจแบบ ใช้ พลาสเตอร์ทดสอบผื่นแพ้สัมผัส ( Skin Patch Test ) ไม่เจ็บ เริ่มจากแพทย์จะปิดพลาสเตอร์ที่มีสารภูมิแพ้ (allergen) ไว้ที่หลังของผู้ป่วยจากนั้นอีก 2 วัน แพทย์จะนัดมาแกะพลาสเตอร์ออกในระหว่างการทดสอบ ควรหลีกเลี่ยงภาวะที่มีเหงื่อออกมาก เช่น วิ่ง เล่นกีฬา หรือ ถูกแสงแดดมากๆ สำหรับสตรีที่ตั้งครรภ์ก็ไม่ควรทำการทดสอบชนิดนี้รวมถึงผู้ได้รับยากลุ่มสเตียรอยด์หยุดยา อย่างน้อย 1 – 2 สัปดาห์
หมายเลขบันทึก: 139676เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2007 09:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท