การจัดการความรู้ กลุ่ม "ขุนคีรี"


ศูนย์การศึกษาแนวทางเกษตรอินทรีย์

การจัดการความรู้ 

 โดย  กลุ่ม  "ขุนคีรี" 

ชื่อ  ศูนย์การศึกษาแนวทางเกษตรอินทรีย์ตำบลท่าขนอน 

อำเภอคีรีรัฐนิคม  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ประวัติความมา          ตำบลท่าขนอน  อำเภอคีรีรัฐนิคม  ทางด้านกายภาพเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการต่าง    ระดับอำเภอ  หน่วยงานปกครองท้องถิ่น  มีทั้งเทศบาลตำบลท่าขนอนและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น  สภาพพื้นที่โดยทั่วไป  ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขาลาดชันและพื้นที่ราบ  พอจะจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ดังนี้          

        พื้นที่ป่าอนุรักษ์ภูเขา  จำนวน  57,607  ไร่        

        พื้นที่ทำการเกษตร     จำนวน  38,435  ไร่            

        และพื้นที่อื่น           จำนวน    4,000  ไร่         

        เกษตรกรส่วนใหญ่     จำนวน    1,044  ครอบครัว 

        ปลูกยางพาราพื้นที่ จำนวน 15,976  ไร่                

        รองลงมา  327  ครอบครัว  ปลูกปาล์มน้ำมันพื้นที่  จำนวน  6,411  ไร่ 

        และทำสวนไม้ผล  เช่น  ลองกอง  ทุเรียน  เงาะ  ฯลฯ     

             เนื่องจากพื้นที่เป็นภูเขาทางด้านตะวันตกของตำบลจังหวัดระนอง  ทำให้มีลำคลองหลายสายไหลผ่านได้แก่  คลองพุมดวง  คลองกะเปา  คลองปังหลา  คลองตุย  คลองกำปัง  คลองเกาะ             

            ในอดีต  พื้นที่สองฝั่งคลอง  ระยะห่างข้างละ  1  กิโลเมตร  เกษตรกรจะทำการปลูกพืชแบบผสมผสาน  คือ  ไม้ผล  ไม้ยืนต้น  และพืชผักสมุนไพร  เป็นการปลูกพืชเพื่อสนองความต้องการการบริโภคในครัวเรือน  มีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาน้อยเกื้อกูลต่อนิเวศน์และวิถีชีวิตของเกษตรกร  ที่ปลูกสร้างบ้านเรือนในบริเวณสองฝั่งคลองเพื่อความสะดวกในการเดินทางและการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค  จนเมื่อประมาณ  40-50  ปี  มานี้มีการเกษตรแผนใหม่การปลูกพืชแบบอุตสาหกรรมเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจของครัวเรือนเกษตรกร  พื้นที่ปลูกเหล่านี้ค่อย    ขยายออกไปมากขึ้นจากพื้นที่รกร้างพื้นที่ป่าธรรมชาติ  และบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์  จนถึงปัจจุบันพื้นที่เหล่านี้ถูกจำกัดไม่สามารถขยายได้อีกต่อไป  ประกอบในช่วง  2 - 3  ปีที่ผ่านมา   ยางพารามีราคาดี  ทำให้เกษตรกรจำนวนหนึ่งล้มล้างการเกษตรแบบสวนสมรมเพื่อปลูกยางพาราทดแทน  ส่วนในพื้นที่นา  หรือ  นาร้าง  มีการปรับเปลี่ยนเพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน  ตามนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐ  ซึ่งเป็นรูปแบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยวต้องพึ่งพิงการใช้สารเคมีที่อาจจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นเรื่อย    ขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอื่น    ในทางเสื่อมโทรมมากขึ้นเช่นกัน  รูปแบบการเกษตรเช่นนี้ทำให้เกษตรกรรายย่อยที่มีฐานะยากจนจะไม่สามารถเดินบนเส้นทางนี้ได้อย่างมีความหวังและมีศักดิ์ศรี  สถานการณ์การประกอบอาชีพเกษตรเช่นนี้  ทำให้คณะกรรมการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี  ได้ตระหนักและแสวงหาทางเลือกใหม่

 วัตถุประสงค์ 

              1.  เพื่อศึกษารวบรวมองค์ความรู้  ประสบการณ์  การทำเกษตรอินทรีย์ตำบลท่าขนอน          

              2.  เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการสวนที่เหมาะสมกับพื้นที่และสภาพแวดล้อม             

             3.  เพื่อพัฒนาองค์ความรู้  สร้างการเรียนรู้  และจัดการความรู้   ในเรื่องเกษตรอินทรีย์                        

  พื้นที่ศึกษาวิจัย              ตำบลท่าขนอน  อำเภอคีรีรัฐนิคม  จังหวัดสุราษฎร์ธานีแผนการดำเนินงาน

1.       ประชุมทีมวิจัยประจำเดือน

2.       ประชุมชี้แจงโครงการ

3.       เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์

4.     รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของแปลงวิจัย

5.     ศึกษาดูงานเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ที่จังหวัดระยอง

6.     สรุปการศึกษาดูงาน/วางแผนการจัดการสวนของตนเอง

7.     การจัดการสวน

8.     การอบรมเพื่อพัฒนาปัจจัยการผลิตที่เหมาะสม

9.     เวทีเสริมทักษะความรู้แก่ทีมวิจัยและเครือข่าย

10.   จัดเวทีนำเสนอผลงานวิจัยสู่ชุมชนระยะเวลาดำเนินงาน       จำนวน  18  เดือนงบประมาณ   292,750  บาท  (สองแสนเก้าหมื่นสองพันเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.       ได้ทราบองค์ความรู้และประสบการณ์การทำเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ตำบลท่าขนอน

2.       ได้รูปแบบในการจัดการสวนที่เหมาะสมกับพื้นที่และสภาพแวดล้อม3.       เกษตรกรเกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิด  และพฤติกรรม  หันมาทำเกษตรอินทรีกันมากขึ้น

4.       ทีมวิจัย  สมาชิกเครือข่าย  และเกษตรกรในพื้นที่ตำบลท่าขนอน เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์  และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

รายชื่อทีมวิจัย     

 1. นายปัญจะ สร้วงชู                                หัวหน้าโครงการ              

 2. นายวิชิต  จิตรสม                                   ทีมวิจัย      

 3.นายสมทบ  จันทร์ปาน                            ทีมวิจัย             

 4.นายไตรศักดิ์  ศรีสกุล                               ทีมวิจัย           

  5.นายสุจินต์ บูรณา                                      ทีมวิจัย            

  6.นายครินทร์  แย้มมณี                                ทีมวิจัย             

7.นายสุภาพ  แก้วศรีสุข                               ทีมวิจัย             

8.นายสมศักดิ์  วิมัติ                                       ทีมวิจัย             

9. นายนรา  นิลเวช                                       ทีมวิจัย

ที่ปรึกษาโครงการ             

1. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าขนอน             

2. เกษตรอำเภอคีรีรัฐนิคม             

3. สำนักงานการวิจัยท้องถิ่น  (สกว)

แผนงานโครงการการศึกษาแนวทางพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ต.ท่าขนอน อ.คีรีรัฐนิคม  จ.สุราษฎร์ธานี

กิจกรรม

1. ประชุมทีมวิจัย

2. ประชุมชี้แจงโครงการ

3. รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรอินทรีย์

4. รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของแปลงวิจัย

5. ศึกษาดูงาน  จ.ระยอง

6. สรุปการศึกษาดูงาน/วางแผนการจัดการสวนของตนเอง

7.การปฏิบัติการจัดการสวน

8. การอบรมเพื่อพัฒนาปัจจัยการผลิต

9. เวทีเสริมทักษะความรู้ให้กับทีมวิจัยและเครือข่าย

10. การนำเสนอผลงานวิจัยสู่ชุมชน   

-  เวทีนำเสนอผลงานในชุมชน   

-  จัดทำรายงานสรุปผลการวิจัยเป็นรูปเล่ม

วัตถุประสงค์

1.เพื่อชี้แจงกรอบคิดงานวิจัยและสรุปผลการดำเนินงานในแต่ละเดือน

2.เพื่อชี้แจงกรอบงานวิจัยและประชาสัมพันธ์โครงการวิจัยให้ชุมชนทราบ

3.เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ของทีมวิจัยและคนในชุมชน

4.เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานในแปลงวิจัยแต่ละแปลงเพื่อนำมาเปรียบเทียบความแตกต่าง

5.แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

6.เพื่อศึกษารูปแบบและวิธีการทำเกษตรอินทรีย์7.ศึกษารูปแบบการจัดการและองค์ความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์

8.  เพื่อสรุปสิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงาน

9.  เพื่อวางแผนในการปรับปรุงและจัดการสวนของทีมวิจัยแต่ละคนก่อนการลงมือปรับปรุง

10.  เพื่อปรับปรุงและจัดระบบการทำงานในสวนให้เป็นระบบและเกิดประสิทธิผลมากขึ้น

11.  เพื่อพัฒนาความรู้ในการใช้ปัจจัยการผลิตแบบต่าง    ที่เหมาะสมและถูกวิธี12.  เพื่อให้ทีมวิจัยและเครือข่ายได้ศึกษาความรู้ใหม่ 

13.  เพื่อถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ให้กับเครือข่ายและผู้สนใจ

14.  เพื่อนำเสนอผลการทำงานให้ชุมชนได้รับรู้

15.  เพื่อรายงานผลการดำเนินงานไปยังสำนักงานภาคเป็นรูปเล่ม

วิธีการดำเนินการ

1.  รายงานความคืบหน้าของการทำกิจกรรม

2.  ชี้แจงปัญหา  อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการทำงานเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขร่วมกัน

3.  จัดเวทีนำเสนอจุดประสงค์  แผนการทำงานของโครงการและกิจกรรมที่จะทำให้ชุมชนได้ทราบ

4.  จัดเวทีรวบรวมความรู้ด้านต่าง    ในเรื่องของการทำเกษตรอินทรีย์ของทีมวิจัยจากการทำงานที่ผ่านมาทั้งในเรื่องของปัจจัยการผลิต  และระบบการปลูกพืช

5.  เก็บข้อมูลทั้งก่อนและหลังวิจัยเพื่อนำมาเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างกัน6.  จัดเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดเห็น

7.  เดินทางไปดูงานเรื่องเกษตรอินทรีย์ที่  จ.ระยอง  ในเรื่องรูปแบบการบริหารจัดการสวนที่เหมาะสม  เทคนิคการทำเกษตรอินทรีย์  การใช้และการผลิตปัจจัยการผลิต

8.  พูดคุยสรุปสิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงานว่าได้อะไรมาบ้าง  สิ่งใดที่สามารถนำมาปรับใช้ในสวนของตนเองได้บ้างอย่างไร

9.  วางแผนปรับปรุงสวนของแต่ละคนว่าจะทำการปรับเปลี่ยนในส่วนใดบ้างอย่างไร

10.  ปรับปรุงพื้นที่และข้อบกพร่องของแต่ละสวนจัดระบบการทำงานในสวนให้เป็นระบบ

11.  เลือกใช้ปัจจัยในการผลิตทีเหมาะสมกับพื้นที่และชนิดของพืชที่มีในสวน

12.  จัดอบรมและสาธิตให้กับทีมวิจัยและผู้สนใจได้เรียนรู้วิธีการใช้ปัจจัยการผลิตแบบต่าง 

13.  จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในชุมชน

14.  จัดทำเวทีเสนอผลงาน

15.  จัดทำรายงานเป็นรูปเล่ม

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.  สมาชิกทีมวิจัยได้รับรู้ความก้าวหน้าในการทำงาน

2.  ได้พุดคุยแลกเปลี่ยนและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงาน3.  ชุมชนได้รู้กรอบงานแนวคิด  วัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้

4.  ได้องค์ความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์ในด้านต่าง    ที่เกี่ยวกับปัจจัยการผลิตระบบการปลูกพืช

5.  ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการศึกษาในแปลงวิจัย

6.  ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน

7.  ได้เรียนรู้รูปแบบและวิธีการในการทำเกษตรอินทรีย์ที่เหมาะสมรวมทั้งเทคนิคในการทำเกษตรอินทรีย์  วิธีการและรูปแบบในการผลิตและใช้ปัจจัยการผลิตในรูปแบบต่าง 

8.  ได้นำสิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงานมาปรับใช้ในส่วนของสมาชิก

9.  ได้แนวทางในการปรับปรุงพัฒนาสวนของแต่ละคนในแปลง

10.  ได้ยกระดับสวนของสมาชิกให้มีการจัดการที่ได้ผลผลิตมากขึ้น

11.  มีผู้เข้าร่วมรู้วิธีการใช้ปัจจัยการผลิตแบบต่าง    ที่สนใจและเลือกนำไปใช้ในสวนของตนเองตามความเหมาะสม

12.  ทีมวิจัยและเครือข่ายได้เรียนรู้สิ่งใหม่    เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงการทำงานในสวนของตนเอง

13.  ทีมวิจัยได้นำเสนอผลการทำงานให้ชุมชนรับรู้

14.  ชุมชนได้ทราบผลการทำงานของโครงการวิจัยและสามารถนำความรู้ที่ได้กลับไปปฏิบัติได้15.  ผลการดำเนินงานเป็นรูปเล่ม

กลุ่มเป้าหมาย

1.  ทีมวิจัย

2.  ที่ปรึกษาโครงการ

3.  คนในชุมชน

4.  สมาชิกเครือข่าย

5.  เกษตรกรผู้สนใจในชุมชน

6.  ผู้ที่สนใจ

7.  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

หมายเลขบันทึก: 139169เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2007 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 11:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท