บทบาทเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการจัดการศึกษา


บทบาทของเทคโนโลยีกับการจัดการศึกษา

บทบาทเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการจัดการศึกษา     

        ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างมากต่อชีวิตประจำวันของคนเรา ซึ่งก็รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับการศึกษาด้วย การให้ความสำคัญของเทคโนโลยีต่อการศึกษาปรากฎอย่างเด่นชัด

          ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ มาตรา 66 ที่กล่าวไว้ว่า ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต บทบาทของเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการศึกษา ซึ่งเมื่อสังเกตสภาพ แวดล้อมรอบ ๆ ตัวในเรื่องเทคโนโลยีกับบทบาทในการพัฒนาการศึกษา

               จะเห็นว่า เทคโนโลยีมีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดการศึกษาด้านต่าง ๆ เช่น1. ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ ตำรา เอกสารชุดวิชาและสิ่งพิมพ์อื่น 2. ด้านสื่อโสตทัศน์ เช่น วัสดุอุปกรณ์ และโสตทัศนูปกรณ์เทปเสียงและวีดิทัศน์3. ด้านสื่อสารมวลชน เช่น รายการวิทยุกระจายเสียงทางการศึกษา/รายการวิทยุโทรทัศน์ การศึกษา4. ด้านสารสนเทศ เช่น ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย เครือข่ายฐานข้อมูล และ Internet                ซึ่งส่วนเกี่ยวข้องในด้านเหล่านี้ เทคโนโลยีจะช่วยส่งเสริมคุณภาพ และประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา โดยนำมาเป็นตัวที่ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนให้เกิดความสะดวก และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ช่วยเอื้อประโยชน์ในเรื่องความหลากหลายของแหล่งเรียนรู้หากจะพิจารณาถึงเทคโนโลยีใหม่และการเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาในปัจจุบัน

                     จะเห็นว่าการนำคอมพิวเตอร์ และระบบการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN : Local Area Network) หรืออินทราเนต(Intra network) ตลอดไปจนถึงการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เนต (Internet) เพื่อเป็นช่องทางในการรับรู้ข่าวสาร    การสืบค้นข้อมูลที่มีประโยชน์ หรือแม้แต่การนำเสนอข้อสนเทศของตนเองสู่สังคมโลก มีความแพร่หลายมาก ซึ่งในบรรดาสื่อหรือบริการต่างๆที่มีการค้นคิดและนำเสนอออกมาอย่างมากมายหลายรูปแบบโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลักนี้ e-Learning  ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการเรียนการสอนใหม่   ที่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นทุกขณะ เพราะเป็นการเปิดเข้าสู่แนวคิดใหม่  ที่ให้โอกาสทางการศึกษาใหม่ๆ กับคนทุกสังคม          E-Learning คือการจัดศึกษาที่ผ่านการเรียนการสอนโดยอาศัยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ท โดยผู้เรียนจะเรียนรู้ด้วยตนเอง ไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่และเวลา (Any where Any time) การเรียนการสอนจะอาศัยบริการ World Wide Web และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology : CT) ทำให้มีการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนคนเดียว หรือเป็นกลุ่ม สามารถสนทนาโต้ตอบส่งข่าวสารระหว่างกันได้ ทำให้สามารถทราบผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้              รูปแบบของ E-Learning การเรียนโดยอาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีรูปแบบต่างๆและอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้
              1. Distance Learning คือการจัดการเรียนการสอนที่นำระบบ Video Conference มาใช้โดยระบบดังกล่าวจะอาศัยกล้องโทรทัศน์ถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงจากผู้สอน ซึ่งอยู่ที่หนึ่ง ไปยังผู้เรียนซึ่งอยู่อีกที่หนึ่ง อาจจะเป็นคนละอำเภอคนละจังหวัด หรือแม้แต่คนละประเทศ ขึ้นอยู่กับระบบการสื่อสารไปถึงหรือไม่

               2. Computer Based Training (CBT) เป็นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสื่อ CD-ROM ซึ่งคล้ายกับดูหนังจากวิดีโอเทป แต่ที่ดีกว่าคือสามารถควบคุมการเรียนได้เองว่าจะเริ่มจากตรงไหน มีภาพนิ่ง เสียงภาพเคลื่อนไหวและอาจจะมีแบบทดสอบความเข้าใจด้วยก็ได้ ซึ่งข้อดีของ CBT ก็คือผู้เรียนอยากเรียนเมื่อไรก็ได้ ที่ไหนก็ได้ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่จุดอ่อนคือผู้เรียนไม่สามารถโต้ตอบกับผู้สอนได้โดยตรง

               3. Web Based Training (WBT) เป็นการเรียนแบบ Asynchronous Learning คือผู้เรียนไม่จำเป็นรอครูผู้สอน อยากเรียนเมื่อไรก็มาเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อเข้าเครือข่าย สามารถเรียนได้ตามความต้องการ การเรียนในลักษณะนี้ต้องมีเครือข่ายที่มีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลสูงพอสมควรถึงจะได้ผล        

                4. Internet Based Learning คือการเรียนรู้ของบุคคลทั่วไปที่ได้รับอนุญาต (เช่นลงทะเบียน มี Password) สามารถเข้าไปเรียนรู้ได้โดยอาศัย Internet ความเร็วสูงเทคโนโลยีกับการบริหารในการจัดการศึกษา เทคโนโลยีที่นำมาใช้ในสถานศึกษา มุ่งประโยชน์เพ่อคุณภาพการเรียนการสอนได้แก่  1. เทคโนโลยีการสื่อสาร (  Telecommunication  TechnoLogy )    คอมพิวเตอร์เป็นผลิตผลของการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านอิเลคทรอนิกส์ ที่สามารถนำมาใช้งานตามความประสงค์ของผู้ใช้ด้วยคำสั่งที่สร้างขึ้น หรือเรียกว่าโปรแกรม  ผู้ที่สร้างเรียกว่าโปรแกรมเมอร์   ช่องทางของการมีปฏิสัมพันธกับเครื่องคอมพิวเตอร์นับวันจะเพิ่มมากขึ้น

                     คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ทางด้านการเรียนการสอน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่

                      1.       computer – assisted  instruction  หรือ  cai เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับผู้เรียนเป็นส่วนใหญ่

                      2.       computer – managed  instruction  หรือ  cmi  เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการดำเนินการหรือจัดกระบวนการของการเรียนการสอน

2.  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ( computinG TechnoLogy )  เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลเก็บไว้ในรูปของ digital  code พัฒนาควบคู่กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จะมีประโยชน์น้อยถ้าไม่มีข้อมูล3.เทคโนโลยีฐานข้อมูล ( data -  based TechnoLogy )  เป็นเทคโนโลยีโทรคมนาคม เป็นการพัฒนาระบบการสื่อสารโดยเป็นตัวเชื่อมให้คอมพิวเตอร์กับฐานข้อมูลที่กระจายกันอยู่ทั่วโลก หรือคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ในแต่ละที่ที่ห่างไกลกันสามารถเชื่อมต่อกันได้เกิดสภาวการณ์ไร้พรมแดนกับสังคมโลก4.เทคโนโลยีการศึกษา ( educational TechnoLogy ) การนำความสามารถพิเศษของเทคโนโลยีมาใช้กับผู้เรียนที่มีธรรมชาติการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน  มาจัดกระทำเป็นระบบ คัดสรร จัดขั้นตอน จนผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้  ตลอดจนช่วยให้การวัดและประเมินผลดำเนินไปอย่างมีคุณภาพ การบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา    การพัฒนาการของเทคโนโลยีฐานข้อมูลกำลังได้รับการเอาใจใส่และสนใจอย่างมาก  เพราะข้อมูลเหล่านี้คือปัจจัยสำคัญของยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ   เรามีเทคโนโลยีโทรคมนาคมเป็นช่องทางของการติดต่อ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมต่อการรับส่ง และแปลค่าของข้อมูลให้เป็นไปตามความต้องการ   

                      การปรับตัวของสถานศึกษาเพื่อรับการพัฒนาของเทคโนโลยีมีตัวอย่างให้เห็นคือ ห้องสมุดหรือศูนย์วิทยบริการ  สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษาและศูนย์คอมพิวเตอร์ การนำเทคโนโลยีในรูปของ  “ระบบ  เพื่อนำมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีในรูปของเครื่องมือต้องให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน  การบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเป็นการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆเพื่อประโยชน์ของการจัดการศึกษาในแบบแผนของการบูรณาการที่นำเทคโนโลยีทั้ง 4 ด้าน เป็นการบูรณาการในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของการบริหารการศึกษาให้เกิดทั้งประสิทธิภาพ  (  EFFiciency  )และประสิทธิผล  (  EFFECTiveness )  เพื่อนำไปสู่คุณภาพ ( Quality )  ของผู้จบการศึกษาและคุณภาพของระบบบริหารและจัดการเรียนการสอน     

คำสำคัญ (Tags): #เทคโนโลยี
หมายเลขบันทึก: 138690เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2007 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุรที่ให้ความรู้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท