จรรยาบรรณว่าด้วยการทำประมงอย่างรับผิดชอบ


จรรยาบรรณ เป็นกฎเกณฑ์ของมาตรฐานของพฤติกรรม และความประพฤติ ในการทำประมงด้วยความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันระหว่างประเทศ

จรรยาบรรณว่าด้วยการทำประมงอย่างรับผิดชอบ Code of Conduct คืออะไร
  จรรยาบรรณ เป็นกฎเกณฑ์ของมาตรฐานของพฤติกรรม และความประพฤติ ในการทำประมงด้วยความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันระหว่างประเทศ สามารถเป็นเอกสารอ้างอิงเบื้องต้น สำหรับองค์กรหรือบุคคลทั่วไปที่มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างมาตรฐานพฤติกรรมและกรอบทางกฎหมาย และขนบธรรมเนียม เพื่อการทำประมงอย่างมีความรับผิดชอบ เช่นการใช้ประโยชน์และการผลิตสัตว์น้ำ อย่างมีความรับผิดชอบ นอกจากนี้ จรรยาบรรณยังช่วยสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการ  และการเงินเพื่อให้การจัดการ อนุรักษ์ คุ้มครอง และการพัฒนาการประมงบรรลุผล ช่วยสนับสนุนการช่วยเหลือด้านการประมง ที่มีต่อความมั่นคงทางอาหารและการทำมาหากิน ประกันการรักษามาตรฐานที่ต้องการ ทางด้านสาธารณสุขและคุณภาพอาหาร โดยเน้นถึงความต้องการอาหารและโภชนาการ ของชุมชนท้องถิ่น  สนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศในการวิจัยด้านประมงและการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี
วัตถุประสงค์ของ Code of Conduct for Resp. Fisheries

กำหนดหลักการทำประมงด้วยความรับผิดชอบ ตามกฎหมายระหว่างประเทศกำหนดหลักการและบรรทัดฐาน เพื่อนำไปปฏิบัติในการกำหนดนโยบายของรัฐ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง ด้วยความรับผิดชอบให้เป็นหลักอ้างอิงสำหรับในการออกกฎ ระเบียบ และมาตรการใหม่ หรือปรับปรุงกฎระเบียบ หรือมาตรการที่มีอยู่แล้ว ตามกรอบของกฎหมาย  ในการทำประมงอย่างรับผิดชอบ  

สาระสำคัญของจรรยาบรรณ ฯ
การใช้ประโยชน์สัตว์น้ำแบบยั่งยืน โดยให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม การจัดการเพาะเลี้ยง จะไม่เป็นผลเสียต่อระบบนิเวศวิทยา ทรัพยากรและคุณภาพ ของทรัพยากรธรรมชาติ การเพิ่มมูลค่าสัตว์น้ำจากการแปรสภาพ ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานทางสุขอนามัย เพื่อผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีคุณภาพ สำหรับการบริโภคใช้เป็นหลักการแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ จัดการ และการพัฒนาประมง เพื่อให้ประเทศต่างๆ นำไปใช้เป็นนโยบายและแผนปฏิบัติงาน ทางการประมงของประเทศ อย่างรับผิดชอบตามความสมัครใจ (Voluntary) โดยไม่มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ
องค์ประกอบของจรรยาบรรณฯ

จรรยาบรรณในการทำประมงอย่างรับผิดชอบ มีขอบเขตครอบคลุมการประมงใน 6 สาขา คือ

การบริหารและการจัดการประมง
การจับสัตว์น้ำจากธรรมชาติทั้งในแหล่งน้ำจืดและท้องทะเล
การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
การผสมผสานการประมงกับการบริหารและการจัดการบริเวณชายฝั่ง
อุตสาหกรรมประมงและการค้า
การวิจัยทางด้านการประมง
มาตรา 1 ลักษณะและขอบเขตของ Code
1.1 จรรยาบรรณนี้ มีเพื่อใช้ โดยความสมัครใจ อย่างไรก็ตาม บางส่วนของจรรยาบรรณ มีพื้นฐาน ตามกฏเกณฑ์ ของกฎหมาย ระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้บัญญัติไว้ ในอนุสัญญา สหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ฉบับที่วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2525 จรรยาบรรณ ยังประกอบด้วย บทบัญญัติต่าง ๆ ซึ่งอาจจะ หรือได้มีผลผูกพัน ไปแล้ว โดยตราสารอื่น ซึ่งก่อพันธกรณี ทางกฎหมาย ระหว่างภาคี เช่น ความตกลง เพื่อส่งเสริม การควบคุม เรือประมง ที่ทำการประมง ในทะเลหลวง ให้ปฏิบัติตาม มาตรการ สากล เพื่อการอนุรักษ์ และการจัดการ ประมง พ.ศ.2536 (Compliance Agreement) ตามมติ ของการประชุม สมัชชาของ FAO ที่ 15/93 วรรค 3 ซึ่งถือว่า เป็นส่วนหนึ่ง ของจรรยาบรรณนี้
1.2 จรรยาบรรณ มีขอบเขต ครอบคลุม ทั่วโลก และมุ่งหมาย ต่อประเทศ ทั้งที่เป็นสมาชิก ขององค์การ อาหาร และเกษตรฯ องค์ภาวะ ทางการประมง องค์กร ระดับ อนุภูมิภาค ภูมิภาค และระดับโลก ไม่ว่าเป็น องค์กร ของรัฐ หรือองค์กรเอกชน ก็ตาม รวมทั้ง บุคคล ทั้งปวง ที่เกี่ยวข้อง กับการอนุรักษ์ ทรัพยากรประมง การจัดการ และพัฒนา การประมง เช่น ชาวประมง ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในกระบวนการ แปรรูป และการตลาด ของสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ รวมทั้ง ผู้ใช้สิ่งแวดล้อม ทางน้ำ ที่เกี่ยวข้อง กับการประมงอื่น ๆ
 มาตรา 6 หลักการทั่วไปของจรรยาบรรณ
6.1 รัฐและผู้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีชีวิตในน้ำ ควรอนุรักษ์ระบบนิเวศทางน้ำ สิทธิทำการประมงนั้น มีพันธกรณีที่จะต้องกระทำ ในลักษณะที่รับผิดชอบ เพื่อความมั่นใจในการอนุรักษ์ และการจัดการทรัพยากรที่มีชีวิตในน้ำ อย่างมีประสิทธิผล
6.2 การจัดการประมง ควรส่งเสริมให้เกิดการรักษาคุณภาพ ความหลากหลาย และการคงอยู่ของทรัพยากรประมง ในปริมาณที่เพียงพอแก่ประชากร ทั้งในปัจจุบัน และชนรุ่นหลัง ตามหลักการ เพื่อความมั่นคงทางอาหาร การบรรเทาความยากไร้ และการพัฒนาที่ยั่งยืน มาตรการในการจัดการ จึงไม่ควรมุ่งแต่การอนุรักษ์ เฉพาะชนิดพันธุ์เป้าหมาย
6.3 รัฐควรป้องกันการทำประมง ที่เกินกำลังการผลิต ของทรัพยากรประมง และมีการใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน รัฐควรใช้มาตรการเพื่อฟื้นฟูประชากร ให้มากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได ้ตามความเหมาะสม
6.4 การตัดสินใจ ด้านการอนุรักษ์ และการจัดการประมงนั้น ควรมีพื้นฐาน ตามหลักฐานทางวิชาการ ที่ดีที่สุด เท่าที่สามารถหาได้ รวมทั้ง นำเอาความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับทรัพยากร และแหล่งที่อยู่อาศัย ของสัตว์น้ำ เหล่านั้นมาร่วมพิจารณา เช่นเดียวกับ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม รัฐควรกำหนด ลำดับความสำคัญ ในการทำงานวิจัย และการเก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้พัฒนา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และทางวิชาการประมง รวมถึงปฏิบัติสัมพันธ์ ที่มีต่อระบบนิเวศ ในการตระหนัก ถึงลักษณะ ข้ามเขตแดน ของระบบนิเวศ ทางน้ำ ในหลายแห่งนี้ รัฐควรกระตุ้น ให้เกิดความร่วมมือ ในการวิจัย ทั้งในระดับทวิภาคี และพหุภาคี เท่าที่เหมาะสม
6.5 รัฐและองค์กร จัดการประมงระดับภูมิภาค และภูมิภาค ควรนำหลักการ การกันไว้ดีกว่าแก้ มาใช้ปฏิบัติ อย่างกว้างขวาง ในการอนุรักษ์ การจัดการ และการใช้ประโยชน์ ทรัพยากร ที่มีชีวิตในน้ำ เพื่อปกป้อง ทรัพยากร ดังกล่าว และสงวนรักษา สิ่งแวดล้อมทางน้ำ โดยคำนึงถึง หลักฐานทางวิชาการ ที่ดีที่สุด เท่าที่มีอยู่ ความไม่สมบูรณ ์ของข้อมูล ทางวิชาการนั้น ไม่ควร ใช้เป็นสาเหตุในการเลื่อน การพิจารณา หรือการระงับใช้ มาตรการ เพื่อนุรักษ์ ชนิดพันธุ์เป้าหมาย ชนิดพันธุ์ที่สัมพันธ์ หรือพึ่งพากัน และชนิดพันธุ์ ที่มิใช่เป้าหมาย ตลอดจนสิ่งแวดล้อม ของสัตว์น้ำ เหล่านั้น
6.10 รัฐควรทำให้มั่นใจ ในการปฏิบัติตาม และการใช้บังคับ มาตรการ อนุรักษ์ และการจัดการ รวมทั้ง ควรสร้างกลไก ที่มีประสิทธิภาพ ตามความเหมาะสม เพื่อติดตาม ตรวจสอบ และควบคุม กิจกรรม ของเรือประมง และเรือที่สนับสนุน การทำประมง ตามความสามารถ และสอดคล้อง กับกฎหมาย ระหว่างประเทศ ตลอดจน ภายในกรอบ ขององค์กร หรือแนวทาง การจัดการ ด้านการอนุรักษ์ การประมง ระดับอนุภูมิภาค หรือตลอดจน ภายในกรอบ ขององค์กร หรือแนวทาง การจัดการ ด้านอนุรักษ์ การประมง ระดับอนุภูมิภาค หรือภูมิภาค
6.11 รัฐซึ่งอนุญาต ให้เรือประมง และเรือสนับสนุน การทำประมง ใช้ธงของตน ควรควบคุมเรือ เหล่านี้ อย่างมี ประสิทธิภาพ เพื่อประกัน การใช้จรรยาบรรณนี้ อย่างถูกต้อง รัฐควรทำให้แน่ใจว่า กิจกรรม ของเรือนั้น จักไม่บ่อนทำลาย ประสิทธิภาพ ของมาตรการ อนุรักษ์ และการจัดการ ที่กำหนด ตามกฎหมาย ระหว่างประเทศ และรัฐ ควรทำให้แน่ใจว่า เรือนั้นจะต้อง รวบรวม และส่งมอบ ข้อมูล กิจกรรม ประมง ดังกล่าวให้
6.15 รัฐควรร่วมมือกัน เพื่อป้องกันข้อพิพาททั้งปวง ที่เกี่ยวกับ กิจกรรม การประมง และการ ปฏิบัติการประมง ควรได้รับ การแก้ไข อย่างทันกาล โดยสันติวิธี และในลักษณะประสานประโยชน์ โดยสอดคล้อง กับความตกลง ระหว่างประเทศ ที่สามารถ นำมาใช้บังคับได้ หรือโดยการยอมรับ ระหว่างภาคี ที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างรอการระงับข้อพิพาทนี้ รัฐที่เกี่ยวข้อง ควรใช้ความพยายาม ทุกวิถีทาง เพื่อนำไปสู่ ข้อตกลง ในทางปฏิบัติ ที่ไม่ควร มีอคติ ต่อมติ ที่จะเกิดขึ้นในที่สุด ของกระบวนการ ระงับข้อพิพาทนั้น
มาตรา 7 การจัดการประมง Fisheries Management
7.1 บททั่วไป
7.1.1 รัฐและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดการประมงทั้งหมด ควรจัดทำมาตรการเพื่อการอนุรักษ์ในระยะยาวและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน โดยอาศัยกรอบด้านนโยบาย กฎหมายและองค์กรที่เหมาะสม มาตรการอนุรักษ์และจัดการนี้ไม่ว่าจะเป็นในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับอนุภูมิภาคหรือระดับภูมิภาค ควรอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานทางวิชาการที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ และควรกำหนดขึ้นเพื่อรับรองความยั่งยืนตลอดไปของทรัพยากรประมงในระดับที่ส่งเสริมวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดและคงรักษาไว้เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต การพิจารณาเพื่อผลระยะสั้นนั้นไม่ควรตัดรอนวัตถุประสงค์นี้
7.1.2 ภายในเขตอำนาจรัฐ รัฐควรแสวงหากลุ่มบุคคลในประเทศที่มีความสนใจอันชอบด้วยกฎหมายในการใช้ประโยชน์และการจัดการทรัพยากรประมงและดำเนินการจัดหาแนวทางในการปรึกษาหารือกลุ่มบุคคลเหล่านี้เพื่อให้ได้รับความร่วมมือในการบรรลุผลจากการทำประมงอย่างรับผิดชอบ
7.1.3 สำหรับประชากรสัตว์น้ำชนิดที่อยู่ระหว่างเขตเศรษฐกิจจำเพาะกับทะเลหลวง และชนิดที่อพยพย้ายถิ่นไกลและชนิดที่อยู่เฉพาะในทะเลหลวง ซึ่งถูกใช้ประโยชน์โดยรัฐสองรัฐหรือมากกว่านั้น รัฐที่เกี่ยวข้องรวมทั้งรัฐชายฝั่งที่มีสัตว์น้ำชนิดพันธุ์ที่อยู่ระหว่างเขตเศรษฐกิจจำเพาะกับทะเลหลวงและที่อพยพย้ายถิ่นไกล ควรร่วมมือกันในการประกันการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจทำให้บรรลุผลได้โดยผ่านการก่อตั้งองค์กรหรือจัดทำข้อตกลงจัดการประมงในระดับทวิภาคี อนุภูมิภาค และภูมิภาคตามความเหมาะสม
7.1.7 รัฐควรจัดสร้างกลไกที่มีประสิทธิภาพสำหรับการติดตามตรวจสอบ ควบคุมและการบังคับใช้กฎระเบียบด้านการประมงภายในขอบเขตอำนาจและความสามารถของตน เพื่อทำให้แน่ใจว่ามีการปฏิบัติตามมาตรการอนุรักษ์และจัดการที่ตนได้กำหนดขึ้น รวมทั้งมาตรการที่ได้ยอมรับโดยองค์กรหรือข้อตกลงระดับอนุภูมิภาค และภูมิภาคนั้นด้วย
7.1.8 รัฐควรใช้มาตรการเพื่อป้องกันหรือกำจัดกำลังทำประมงที่มีมากเกินควร และควรมั่นใจด้วยว่าระดับกำลังประมงนั้นได้สัดส่วนกับการใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน อันเป็นวิธีการที่จะประกันความมีประสิทธิภาพของมาตรการอนุรักษ์และจัดการ
7.2 วัตถุประสงค์
7.2.1 โดยตระหนักว่าการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืนในระยะยาวนั้นเป็นวัตถุประสงค์หลักของการอนุรักษ์และการจัดการ นอกจากกิจกรรมอื่น ๆ แล้ว รัฐและองค์กรหรือข้อตกลงจัดการประมงระดับอนุภูมิภาค หรือภูมิภาคควรยอมรับมาตรการที่เหมาะสมที่อาศัยพื้นฐานของหลักฐานทางวิชาการที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อรักษาหรือฟื้นฟูประชากรสัตว์น้ำไว้ที่ระดับซึ่งสามารถก่อให้เกิดปริมาณผลผลิตสูงสุดอย่างยั่งยืน ตามภาวะที่เหมาะสมกับปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ รวมทั้งความต้องการโดยเฉพาะของประเทศกำลังพัฒนา
7.2.2 มาตรการเช่นว่านั้นควรกำหนดขึ้นเพื่อ:-
ก) หลีกเลี่ยงการมีกำลังทำประมงมากเกินควร และคงการใช้ประโยชน์ประชากรสัตว์น้ำอย่างเหมาะสมทางเศรษฐกิจ
ข) เงื่อนไขทางเศรษฐกิจอันสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมการทำประมงอย่างรับผิดชอบ
ค) การคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาวประมง รวมถึงผู้ที่ดำรงชีพด้วยการทำประมงแบบยังชีพ การประมงขนาดเล็กและการประมงพื้นบ้าน
ง) การอนุรักษ์ความหลากหลายของถิ่นที่อยู่อาศัยและระบบนิเวศทางน้ำและการปกป้องคุ้มครองพืช และสัตว์น้ำที่ใกล้สูญพันธุ์
จ) การปล่อยให้ชนิดพันธุ์ที่เสื่อมโทรมได้ฟื้นตัวหรือให้ได้รับการฟื้นฟูอย่างจริงจัง ตามความเหมาะสม
ฉ) การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ก่อผลเสียต่อทรัพยากรอันเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และดำเนินการแก้ไขตามความเหมาะสม
ช) การลดมลภาวะ ของเสีย การทิ้งสัตว์น้ำที่มิได้เป็นเป้าหมายทั้งที่เป็นปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ และผลกระทบที่มีต่อสัตว์น้ำที่เกี่ยวข้องกันหรือพึ่งพากัน โดยอาศัยมาตรการต่าง ๆ รวมถึงการปฏิบัติเท่าที่จะทำได้ ในการพัฒนาและการใช้เครื่องมือและวิธีการทำประมงที่คัดเลือกชนิดสัตว์น้ำอย่างปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
7.2.3 รัฐควรประเมินผลกระทบของปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสัตว์น้ำที่เป็นชนิดเป้าหมายและชนิดพันธุ์ที่อยู่ในระบบนิเวศเดียวกัน หรือเกี่ยวข้องหรือพึ่งพาสัตว์น้ำเป้าหมาย และประเมินความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประชากรเหล่านี้ในระบบนิเวศ
 มาตรา 8 การปฏิบัติการประมง (Fishing Operations)
8.1 หน้าที่ของรัฐทั้งปวง
8.1.1 รัฐต้องทำให้มั่นใจว่า เฉพาะการทำประมงที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถทำการประมงได้ภายในเขตอำนาจรัฐของตน และในการปฏิบัติการประมงนี้จักต้องดำเนินการอย่างรับผิดชอบ
8.1.2 รัฐควรเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับการอนุญาตทำการประมงทั้งปวงซึ่งออกให้โดยรัฐตนและปรับปรุงให้ทันกาลอย่างสม่ำเสมอ
8.1.3 รัฐควรร่วมมือกันจัดทำระบบสำหรับติดตาม ควบคุม ตรวจสอบและการใช้บังคับมาตรการทั้งหลายเกี่ยวกับการปฏิบัติการประมงและกิจกรรมอื่นในน่านน้ำนอกเขตอำนาจรัฐตน ทั้งนี้โดยสอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ภายในกรอบขององค์กรหรือข้อตกลงจัดการประมงระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาค
แหล่งที่มา http://www.navy.mi.th/tmbfcc/IntDocCodeOfConduct.php

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13829เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2006 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทำไมเขียนมากจัง

อยากให้เขียนน้อยๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

good

very

good

สุดยอด

เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท