รูปแบบการจัดการความรู้ในสถานศึกษา


                       การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการของการควบคุมดูแล เพื่อสร้างสรรค์เผย แพร่ และใช้ความรู้โดยการใช้เทคโนโลยี โครงสร้างขององค์การและบุคลากรเพื่อสรรค์สร้างการเรียนรู้ การแก้ปัญหา และการตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดภายในสถานศึกษา (Na Ubon and Kimble, 2002:466)                         การจัดการความรู้ เป็นวิธีการจัดการข้อมูลสารสนเทศภายในสถาบันการศึกษา ให้เป็นระเบียบครบถ้วนตามที่ต้องการ เพื่อง่ายต่อการสืบค้นข้อมูลภายในสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาใช้ในงานได้โดยสะดวก ซึ่งในปัจจุบันเป็นการใช้ไอซีทีเพื่อจดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง การจัดการความรู้ในสถานศึกษาและองค์กรสามารถใช้ในการให้ความรู้และพัฒนาบุคลากรโดยการสร้างศูนย์กลางเพื่อการฝึกอบรม และการประสานงานร่วมกัน การจัดกาความรู้อย่ามีประสิทธิภาพจะต้องใช้เทคโนโลยีในด้านของการใช้เครื่องมือ การใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต การถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากร ต้องมีองค์ประกอบหลักสำคัญ3อย่าง ได้แก่-         บุคลากร ได้แก่ ครูอาจารย์ นักเรียน เพื่อให้ระบบการจัดการความรู้ รวบรวมข้อมูลว่ามีผู้ใดมีความรู้เชี่ยวชาญในด้านใดบ้าง เพื่อการจัดการทำงานให้ตรงกับความเชี่ยวชาญและความรู้ที่มี-         สถานที่ หมายถึง สถานที่หรือแหล่งที่ทุกคนในหน่วยงานสามารถระดมความคิดเห็น เช่น เว็บบอร์ด เว็บไซต์ การประชุมทางไกล-         ข้อมูล/สารสนเทศ หมายถึง ทุกสิ่งที่นำ เก็บโดยการวิเคราะห์แยกเป็นหมวดหมู่ และให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้โดยสะดวก                    การจัดการเรียนรู้                   สิ่งสำคัญในการจัดทำการจัดการความรู้ คือการให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล หรือกล่าวอย่างง่ายๆคือเพียงคลิกเดียวก็สามารถเชื่อมต่อไปสู่ข้อมูลที่ต้องการภายในหน่วยงานนั้นได้ทั้งหมด                  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 22 ได้กำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา ไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนต้องมีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด โดยครูผู้สอนเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากจะมุ่งปลูกฝังทางด้านปัญญา พัฒนาการคิดของผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ แล้วยังมุ่งพัฒนาความสามารถทางอารมณ์ โดยปลูกฝังให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของตนเอง เข้าใจตนเอง มีความเห็นใจผู้อื่น สามารถแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางอารมณ์ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม               นอกจากนี้ในการจัดการเรียนรู้นั้นควรมีการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ที่มีลักษณะบูรณาการ ทั้งนี้เพราะการเรียนการสอนส่วนใหญ่ที่ผ่านมาจะเป็นแบบแยกส่วน แยกเป็นรายวิชา ขาดการเชื่อมโยงความรู้เข้าด้วยกัน นอกเหนือจากนั้นแทนที่จะให้เด็กเกิดความเครียด มีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนรู้ ขาดความใฝ่รู้ ควรให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ตามความสนใจมากขึ้น มีความสุขสนุกกับการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ รวมถึงให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้แสวงหาความรู้ย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยไม่จำกัดสถานที่ทั้งในและนอกห้องเรียน(รุ่ง แก้วแดง,2540 อ้างถึงในทัศนา แขมมณี, 2545:183-184)              เพื่อเป็นการตอบสนองหลักการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวข้างต้น ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้สดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ และวิธีการเรียนการสอนแบบใหม่  โดยเปลี่ยนแปลงบทบาทผู้สอนและผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำไอซีทีที่เอื้อประโยชน์และมีข้อได้เปรียบต่างๆในเรื่องของรูปแบบการเรียนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้มีมากขึ้นกว่าเดิม          ยกตัวอย่างเช่น การเรียนแบบผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลางการเรียนผู้เรียน          การที่จะให้ผู้เรียนมีวิจารณญาณของตนเองเพื่อการคิดเอง และวิเคราะห์เอง ย่อมมีการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอยจากแบบเดิมที่ผู้สอบเป็นผู้ควบคุมจัดการ โดยยึดตัวครูเป็นหลักและผู้เรียนมีส่วนร่วมน้อยมากซึ่งเป็นความคิดในลักษณะ “Inside Outเปลี่ยนมาเป็นลักษณะ “Outside In”โดยรวบรวมความคิดของบุคลที่อยู่ในแวดวงเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ เป็นการเน้นความสำคัญของบทบาทผู้เรียนในการวางแผนจัดการเรียนให้บรรลุผล มีการประเมินตนเองในลักษณะขอผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลาง การเรียนหรือผู้เรียนเป็นสำคัญ          ความหมายของ ผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลางการเรียน           ผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลางการเรียน หมายถึง การให้ผู้เรียนมีบทบาทในกระบวนการเรียนรู้มากกว่าผู้สอนจะเป็นจุดสนใจ และเป็นบุคลสำคัญที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุด ในกระบวนการเรียนการสอน ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้คิดและกำหนดการเรียนรู้ของตนเอง กำหนดการทำกิจกรรม และมีการเรียนรู้อย่างตื่นตัว กระฉับกระเฉงและในทางตรงกันข้ามผู้สอนจะเปลี่ยนบทบาทเป็นเพียงผู้ให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกเพื่อให้การเรียนสำเร็จลุล่วงไปตามจุดประสงค์ที่ตั้งใจ การเรียนลักษณะนี้มีรูปแบบการเรียนดารสอนที่กว้างกว่าแบบเดิมซึ่งรวมถึงการเรียนการสอนที่ไม่ใช้การบรรยาย โดยฟังผู้สอนแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการเรียนด้วยตนเอง และการเรียนรู้แบบการให้ความร่วมมือ และหรือการเรียนตามอัตราการกระทำของตน

(Self-paused learning) (Stamper, 2002:15)

    การเปลี่ยนบทบาทของผู้เรียน ในการเรียนแบบผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลางการเรียน ดังแสดงในตารางนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่ผู้เรียนสามารถสืบค้นมาได้ด้วยตนเอง ด้วยวิธีการและจากสื่อต่างๆ โดยการเน้นการวิเคราะห์สารสนเทศที่ได้มาเพื่อนำมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหา ผู้เรียนและผู้สอนต้องมีความกระตือรือร้นการทำหน้าที่ ในบทบาทของตนเพื่อให้การเรียนสำเร็จตามจุดประสงค์และเน้นถึงการมีส่วนร่วมในลักษณะการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อมีส่วนช่วยในการแสวงหาความรู้ร่วมกัน 

 

คำสำคัญ (Tags): #แบบทดสอบข้อที่ 3
หมายเลขบันทึก: 138097เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2007 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท