องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อค่าความเที่ยงของเครื่องมือวิจัย


องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อค่าความเที่ยงของเครื่องมือวิจัย

ค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม แบบทดสอบ หรือแบบวัดทัศนคติ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่อไปนี้

1.   ความยาวของแบบสอบถาม แบบสอบถามที่ประกอบด้วยจำนวนข้อมากจะมีค่าความเที่ยงสูงกว่าแบบสอบถามที่มีจำนวนข้อน้อย แต่เมื่อถึงขีดจำกัดจุดหนึ่งถึงแม้ว่าจะเพิ่มจำนวนข้อมากขึ้น ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามก็จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น

2.   ความเป็นเอกพันธ์ของความยากง่ายของข้อสอบ แบบสอบถาม หรือแบบวัดที่ประกอบด้วยจำนวนข้อที่มีระดับความยากง่ายใกล้เคียงกัน จะมีค่าความเที่ยงสูงกว่าแบบวัดที่ประกอบด้วยจำนวนข้อที่มีระดับความยากง่ายต่างกัน กล่าวคือ แบบวัดที่ประกอบด้วยข้อที่มีระดับความยากง่ายปานกลาง จะมีค่าความเที่ยงสูงกว่าแบบวัดที่มีข้อที่ง่ายมาก ๆ หรือยากมาก ๆ

3.   อำนาจจำแนกของแบบสอบถาม หรือแบบวัด ถ้าประกอบด้วยข้อที่มีค่าอำนาจจำแนกสูงจะมีค่าความเที่ยงสูงกว่าข้อที่มีอำนาจจำแนกต่ำ

4.   ความแตกต่างของผู้ตอบ ถ้าผู้ตอบมีความสามารถในการตอบแตกต่างกัน จะทำให้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม หรือแบบวัดสูง

อย่างไรก็ตาม  ในวงการวิจัยมักเชื่อกันว่า   หากเครื่องมือวิจัยใดมีความตรง  (Validity)  เครื่องมือนั้นจะมีความเที่ยง/ความเชื่อมั่น  (Reliability)  ด้วย  แต่ถ้าเครื่องมือใดมีความเที่ยง/หรือความเชื่อมั่น (Reliability)  ไม่จำเป็นต้องมีความตรง  (Validity)  เสมอไป

หมายเลขบันทึก: 13804เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2006 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท