บทความที่ 3


การจัดการความรู้ในสถานศึกษา
การจัดการความรู้  Knowledge Management (KM)                                 

               การบริหารจัดการสถานศึกษายุคใหม่  ต้องบริหารจัดการศึกษาให้ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน  สถานศึกษานับเป็นองค์กรหนึ่งในชุมชนซึ่งมีบทบาทสำคัญคือการให้การศึกษา   การปรับบทบาทสถานศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมรอบตัวและสังคมโลก การให้ความสำคัญต่อบุคลากรภายในสถานศึกษา  ว่า  ครู  มีความสำคัญที่สุด  ถือเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการศึกษาสมัยใหม่ที่เห็นคุณค่าของบุคลากรเป็นสำคัญ  เพราะ คน คือ  ทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดขององค์กร  ทั้งนี้เนื่องจากกระแสของการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกเป็นไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยุคนี้ ยังเป็นยุคของเศรษฐกิจฐานความรู้ ดังนั้นองค์กรสมัยใหม่จึงจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง  บุคลากรในสถานศึกษา  จะต้องทำทุกอย่าง  ทุกด้านอย่างครอบคลุมและรับผิดชอบ  ทำงานเป็นคณะและจำเป็น  ต้องจัดการความรู้ให้ทุกคนมีจิตสำนึกต่อสถาบันไปในทางเดียวกัน คือ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบ                      
               การจัดการความรู้ในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษานั้น เป็นนวัตกรรมที่สถานศึกษาควรบริหารจัดการให้มีการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ เพื่อให้เป้าหมายในการจัดการความรู้ (Desired State) ที่ตั้งไว้บรรลุผล โดยคณะผู้จัดการความรู้ซึ่งจะต้องมีผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นประธาน จะต้องมาร่วมกันกำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้  จากยุทธศาสตร์ใดยุทธศาสตร์หนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ของสถานศึกษามาพัฒนาและกำหนดเป็นเป้าหมาย เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและคุณภาพผู้เรียนในที่สุด ดังนั้นก่อนที่จะมีการจัดการความรู้ ผู้จัดการความรู้และคณะผู้บริหาร ครู คณาจารย์ และบุคคลกรทางการศึกษาทุกคนในสถานศึกษาควรได้ทำความเข้าใจในเรื่องของคุณภาพการศึกษาก่อน เพื่อให้มองเห็นภาพรวม (Concept) ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และเป็นแนวทางไปสู่การจัดการความรู้ในสถานศึกษาทั้งที่เป็นความรู้แจ้งชัด (Explicit Knowledge) และความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน (Tacit Knowledge)                     
              การจัดการความรู้   เป็นการมองว่าทุกคนมีความรู้ความสามารถแตกต่างกัน  ไม่มีใครรู้และเก่งไปทุกเรื่องแต่ทุกคนมีความสามารถเป็นของตนเอง มีข้อดี และเสียในตัวเองบางเรื่องเพียงแต่รู้หรือไม่รู้เท่านั้น  โดยเฉพาะความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน
(Tacit knowledge)  ซึ่งเป็นสินทรัพย์ทางปัญญาที่มีค่ายิ่ง เกิดมาจากประสบการณ์ในการทำงาน  จากค่านิยม ทัศนคติ ที่ได้มาจากการปฏิบัติงานในองค์การ หรืออาจจะเกิดมาจากการมีพรสวรรค์ และเมื่อนำมาผ่านกระบวนการจัดการความรู้ เพื่อนำความรู้ที่ได้ผ่านกระบวนการ  การจัดการความรู้  KM : Knowledge Management  ไปยกระดับความรู้ และนำไปใช้ในการทำงานใหม่    ก็จะทำให้เกิดประโยชน์มากมาย การจัดการความรู้จึงมีความจำเป็นในการบริหารจัดการศึกษาสำหรับสถานศึกษายุคใหม่เป็นอย่างมาก  และเป็นสถานศึกษาที่สามารถพัฒนาไปสู่ การผู้นำในการพัฒนาการเรียนการสอน ได้ในที่สุด

 

หมายเลขบันทึก: 138029เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2007 08:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท