ประชากรยุโรปแบบจำลอง ตอนจบ


โครงสร้างของประชากรวัยเด็กมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 21.6 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 17.2 ในปี 2580

ประชากรยูโรปแบบจำลอง ตอนจบ

ขณะที่ทุกภูมิภาคมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของประชากรเพิ่มขึ้น  แต่ยุโรปมีจำนวนประชากรลดลงต่อเนื่อง  เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรวัยเด็กที่มีสัดส่วนลดลงร้อยละ 15.4 ในปี 2550  เป็นร้อยละ 14.1  ในปี  2580  เพราะยุโรปมีอัตราการเกิดต่ำมากเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ หญิงวัยเจริญพันธุ์ในยูโรป 1 คน โดยเฉลี่ยมีบุตรต่ำกว่าระดับทดแทนเพียง 1.4  คนเท่านั้น  (ระดับทดแทนคือ 2 คนแทนที่พ่อและแม่)  ขณะที่ประชากรวัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 16.3  ในปี 2550  เป็นร้อยละ 22.3  ในปี  2580 ซึ่งเป็นการเพิ่มในอัตราที่รวดเร็วกว่าการลดลงของประชากรวัยเด็ก  ทำให้ยุโรปเป็นภูมิภาคเดียวที่มีประชากรสูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก  ทำให้ประชากรยุโรปกลายเป็นแบบจำลองประชากรไทยในอนาคตมีแนวโน้มกการเปลี่ยนแปลงของประชากรในอนาคตคล้ายคลคงกับยูโรปมาก

การเปลี่ยนแปลงของประชากรไทยที่เพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่อง  แต่เป็นการเพิ่มในอัตราที่ลดลง  โครงสร้างของประชากรวัยเด็กมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 21.6 ในปี 2550  เป็นร้อยละ 17.2  ในปี 2580 เพราะอัตราการเกิดมีแนวโน้มลดลงจากอดีตจนถึงปัจจุบัน  และคาดว่าน่าจะมีแนวโน้มลดลงอีก  อัตราเจริญพันธ์รวมของหญิงไทยก็มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน  ผู้วัยสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากร้อยละ 8.2 ในปี 2550 เป็นร้อยละ  15.6  ในปี 2580  คาดว่าไทยจะมีผู้สูงอายุมากกว่าวัยเด็กเป็นการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเช่นเดียวกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคยุโรป

คำสำคัญ (Tags): #ประชากรโลก
หมายเลขบันทึก: 137852เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2007 17:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท