มหาอี้
ว่าที่ร้อยตรี คมเพชร คม เขตขุขันธ์

น้ำเต้าต้น


ป้องกันกำจัดเพลี้ย
ผลงานวิชาการจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ KA  ปี  2550เรื่องการใช้น้ำหมักจากน้ำเต้าญี่ปุ่นเพื่อยับยั้งการทำลายของเพลี้ยแป้ง                 ที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนใหญ่มักตัดสินใจแก้ปัญหาในการป้องกันกำจัดเพลี้ย โดยการฉีดพ่นสารเคมีเป็นหลัก  เพราะเห็นผลเร็วและมีขั้นตอนการใช้ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน  แต่ในทางกลับกันการใช้สารเคมีเพื่อการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูกลับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากสารพิษตกค้างในผลผลิตอันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีไม่ถูกต้องทั้งประเภทของสารเคมี,อัตราการใช้,ระยะเวลาเก็บเกี่ยวหลังการฉีดพ่นสารเคมีตลอดจนวิธีการฉีดพ่น                ความผิดพลาดของเกษตรกรผู้ผลิตผลผลิตด้านการเกษตรที่ออกสู่ตลาดทั้งเกี่ยวกับชนิด,ปริมาณการใช้,ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวหลังการฉีดพ่นสารเคมีตลอดจนวิธีการฉีดพ่นล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและตัวเกษตรกรที่ฉีดพ่นสารเคมีเองตลอดจนก่อให้เกิดมลภาวะในอากาศ  และการฉีดพ่นสารเคมีเพื่อป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชจะมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศวิทยาบริเวณนั้น ๆ  เช่น  มีการทำลายแมลงที่เป็นศัตรูธรรมชาติ  และแมลงอื่น ๆ  อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้                ที่สำคัญประการหนึ่ง  คือ  การกำหนดคุณภาพสินค้าด้านการเกษตร  ทั้งในระดับสากลและภายในประเทศ  มีการกำหนดค่าความปลอดภัยจากระดับสารพิษตกค้างในพืชผัก,ไม้ผล,ปลา,กุ้ง,ไข่ไก่,เนื้อสัตว์  เป็นต้น  หากเกษตรกรมีการใช้สารเคมีอย่างไม่ถูกต้อง  ย่อมมีผลกระทบต่อระดับสารพิษตกค้างในผลผลิตเกษตรในระดับที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคโดยทั่วไป  ซึ่งเป็นสาเหตุของการไม่ยอมรับในคุณภาพของสินค้าทั้งตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ                ท่ามกลางมรสุมปัญหาที่น่าหนักใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ใช้ในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชซึ่งการแก้ปัญหาโดยทั่วไป  คือ  การใช้สารเคมีแบบเบ็ดเสร็จ                หลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดจนตัวเกษตรกรเองต่างสรรค์หาวิธีการป้องกันกำจัดแมลงโดยหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี  กระทั่งค้นพบพืชหรือไม้ผลชนิดหนึ่งซึ่งเมื่อนำมาหมักร่วมกับ บอระเพ็ดแล้วนำสารละลายที่ได้มาเจือจางแล้วสามารถนำมาฉีดพ่นเพื่อยับยั้งการทำลายของแมลงศัตรูพืชโดยเฉพาะเพลี้ยต่าง ๆ ได้ผลไม่แพ้การฉีดพ่นด้วยสารเคมี  พืชชนิดนี้  คือ  น้ำเต้าต้น  หรือ  น้ำเต้าญี่ปุ่น                น้ำเต้าต้น  ชื่ออื่น ๆ  : น้ำเต้าญี่ปุ่นชื่อสามัญ :  Calabashชื่อวิทยาศาสตร์ : Crescentia  cujete  Linnวงศ์ : Bignoniaceaeลักษณะทรงพุ่ม : ไม้พุ่มขนาดกลางรูปทรงกิ่งมีลีลาอ่อนช้อยสวยงาม  รูปทรงไม่ค่อยแน่นอน การตัดแต่งมีอิทธิพลต่อทรงพุ่มของไม้ชนิดนี้ลักษณะทั่วไป : เป็นทรงพุ่มโปร่งขนาดกลางการขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ดและการปักชำน้ำเต้าต้นสามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้ไม่ต้องการการดูแลรักษามาก ไม่มีโรคและแมลงรบกวนเป็นไม้ที่เจริญเติบโตเร็วชนิดหนึ่ง  ทนแล้งได้ดี ลักษณะใบแหลมเรียวทอดโค้งไปมา  ผลกลมใหญ่สีเขียวสวยงามห้อยกระจายทั่วไปภายในทรงพุ่ม  ใบสามารถพอกแก้ปวดศีรษะ  ผล ช่วยระบาย  ขับเสมหะ  แก้บิด  ขับปัสสาวะ  แก้ไข้                                    เนื้อหา2.1. การใช้สารสกัดจากน้ำเต้าต้นเพื่อยับยั้งการทำลายของเพลี้ยแป้งในพืชผักและไม้ผล2.2. ที่ตั้ง  117  หมู่ 6 ตำบลหนองพอก  อำเภอหนองพอก  จังหวัดร้อยเอ็ด2.3. วัสดุและอุปกรณ์                - ถังพลาสติกขนาด  30  ลิตร  จำนวน 2 ถัง                - เขียง                -มีดสับ                -บอระเพ็ด-ตาข่ายไนล่อนสีฟ้า                -ผ้าขาวบาง                -น้ำจากการซักผ้า2.4. วิธีการ                1. นำน้ำผงซักฟอกที่ผ่านการใช้งานแล้วมาปล่อยทิ้งไว้ให้ตกตะกอนในถังพลาสติกประมาณ 1 สัปดาห์                2. สับบอระเพ็ดลงหมักในน้ำผงซักฟอกที่ตกตะกอนแล้วนาน 1 สัปดาห์                3. กรองน้ำหมักบอระเพ็ดด้วยผ้าขาวบาง 20 ลิตร                4. ทุบผลแก่น้ำเต้าต้นให้ละเอียด  โดยใช้ตาข่ายสีฟ้าล้อมรอบผลก่อน เพื่อป้องกันการกระเด็นแล้วนำผลที่ทุบละเอียดมาแช่ในน้ำหมักบอระเพ็ด  เขย่าให้ผลน้ำเต้าออกมาให้มากที่สุด  แช่ทิ้งไว้  1  ชั่วโมง                5. กรองสารละลายที่ได้ 120 cc  นำมาละลายในน้ำสะอาด  20  ลิตร นำไปฉีดพ่นบริเวณที่มีเพลี้ยระบาด 2.5. การใช้ประโยชน์  กำจัดเพี้ยต่าง ๆ ได้ดี 3. สรุปข้อมูล/ผลการใช้ที่ผ่านมา                จากการนำสารสกัดจากน้ำเต้าต้นบริเวณที่พบเพลี้ยระบาดพบว่า เพี้ยหยุดการทำลายพืชผักเทียบเท่าการใช้สารเคมี1.   ข้อเสนอแนะ  ควรฉีดพ่นในอัตราที่เหมาะสม  คือ  ใช้สารสกัด  120  cc /น้ำ 20 ลิตร  หากใช้ในอัตราที่เข้มข้นกว่านี้พืชที่ฉีดพ่นอาจเกิดอาการใบไหม้ได้    
หมายเลขบันทึก: 137510เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2007 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สำคัญที่อัตราการใช้  เข้มข้นเกินใบไหม้ได้

พี่ค่ะหนูจะโครงงานวิทย์เกี่ยวกับการกำจัดแมลงจากน้ำเต้าญี่ปุ่นไม่คิดว่าจะพี่ทำแร้วแต่ก้อไปแข่งแล้วแต่สูดไม่เหมือนกานแข่งตอน2551ปีที่แร้วเองเสียดายจางไม่ได้ต่อยอดอีกถ้าหนูต่อยดพี่ช่วยให้คำแนะนำดีดีจากพี่ได้ไหมค่ะขอบุงค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท