แก่นความรู้การบริหารงานวิจัย จาก UKM at NU 48


ถลุงขุมความรู้ จากเรื่องเล่า เป็น แก่นความรู้

เมื่อคราวที่สมาชิกเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย  จัดการเสวนา ครั้งที่ 2 เรื่อง ระบบและกลไกการบริหารงานวิจัยที่ดี  โดยมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นเจ้าภาพ ระหว่างวันที่ 24 - 25 มิ.ย. 48 ที่ผ่านมา  ขุนพลผู้บริหารงานวิจัย และจอมยุทธ นักวิจัยระดับสุดยอดฝีมือ จากมหาวิทยาลัยทั้ง 5 ได้แก่ มหิดล สงขลานครินทร์  ขอนแก่น มหาสารคาม และนเรศวร ได้ถ่ายทอดความรู้ ซึ่งกันและกัน ด้วยเรื่องเล่า  จาก วันนั้น จนถึงวันนี้  คุณอำนวย  และคุณลิขิต ได้พยายามสกัดขุมความรู้ จากเรื่องเล่า และบัดนี้ได้ถลุงขุมความรู้ เป็น แก่นความรู้  มาฝากทุกๆท่านที่สนใจสรุปได้ดังต่อไปนี้ค่ะ

ขุมความรู้ที่ได้จากเรื่องเล่า

แก่นความรู้ที่ได้
·       มีการสร้างความตระหนักให้นักวิจัย
·       ส่งเสริมการทำงานวิจัยที่ตรงกับความสนใจและความถนัดของนักวิจัย และสนับสนุนตามศักยภาพ
·       มีการกำหนดเป้าหมายทุนวิจัยจากภายนอก (......ทุน/คน)
1.      นโยบายและทิศทางการวิจัย
·       มีฐานข้อมูลเพื่อการวิจัย (ข้อมูลวิจัย , นักวิจัย , ผลงานวิจัย)
·       รวบรวมข้อมูลสารสนเทศเพื่อเผยแพร่ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
·       มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ที่เอื้อต่อการทำวิจัย
2.      ระบบฐานข้อมูลเพื่อการวิจัย

 

·       มีการบริหารจัดการด้านการเงินที่คล่องตัว
·       มีกองทุนวิจัย
·       มีระบบการบริหารจัดการทุนวิจัย
·       มีทุนวิจัยจากเงินรายได้คณะเพื่อสนับสนุนนักวิจัยรุ่นใหม่และรุ่นกลาง
·       มีทุนสนับสนุนงานวิจัยขั้นพื้นฐาน
·       มีการเปิดรับทุนวิจัยปีละ 2 ครั้ง
·       มีเงินรางวัลแก่นักวิจัยที่ได้รางวัล หรือเงิน Top-up
3.      ระบบสนับสนุนด้านการเงิน

 

·       สถานที่อำนวยความสะดวก และมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงานวิจัย
·       มีครุภัณฑ์การวิจัยที่ครบถ้วน
·       มีการบริหารจัดการเครื่องมือที่ดี และมีระบบการสนับสนุน / ซ่อมบำรุงที่ดี (มีการรับประกันเครื่องมือ)
·       ดึง Expertise เฉพาะทาง (บางสาขา) เช่น นัก IT มาช่วยงาน (Out come)
·       สร้างหลักสูตรกลางเพื่อลดงานสอนแก่นักวิจัย
·       มีการประชาสัมพันธ์ให้นักวิจัยได้เตรียมตัว
·       เชิญหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัยมาบรรยายแก่นิสิต อาจารย์ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง
·       เจรจาส่วนแบ่งทางการตลาดมาใช้บริหารงานวิจัย
4.      ระบบสนับสนุนงานวิจัย

 

·       การให้นักวิจัยได้สัมผัสกับปัญหาชุมชุนเพื่อสร้างโจทย์วิจัยในการแก้ปัญหาหรือตอบปัญหาสังคมได้ หรือวิจัยจากปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงาน
·       ทำความเข้าใจกับชุมชนให้ชุมชนเห็นความสำคัญ
·       Impact ชัดเจน
·       วิเคราะห์บริบทของคนไทยเพื่อเป็นจุดเริ่มการวิจัย
·       เริ่มทำวิจัยให้สอดคล้องกับความสนใจ +ตลาด+แหล่งทุน
5.      การสร้างโจทย์วิจัย

 

·       มีการสร้างและพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายใน/ภายนอกมหาวิทยาลัย
·       มีการทำวิจัยที่เชื่อมโยงกันระหว่างอาจารย์+นักศึกษา+แหล่งทุน+แหล่งงาน
·       มีการบริหารชุดโครงการภายในศูนย์วิจัยเฉพาะทาง
·       มีการส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยสหสาขา  และมีการบูรณาการโครงการวิจัยหลาย ๆ ศาสตร์เข้าด้วยกัน  (Project Matching)  รวมถึงมีการพัฒนาชุดโครงการวิจัย
·       มีระบบช่วยเหลือนักวิจัยให้สามารถเข้ากลุ่มทำโครงการวิจัย
·       จัดกลุ่มของเรื่อง และรวมกลุ่มผู้สนใจตามหัวเรื่อง
·       มีระบบ “เลขานุการ” ให้กับงานวิจัยเชิงสหสาขา
·       ผลักดันให้นักวิจัยแสวงหาแหล่งทุนจากภายนอก
6.      การสร้างทีมวิจัย/เครือข่าย/ชุมชน

 

·       กระจายหน้าที่ตรวจสอบ proposal ของโครงการวิจัย ให้กับหน่วยงานภายใน และภายนอก  เช่น คณะกรรมการของคณะ  คณะกรรมการวิจัยในมนุษย์ , คณะกรรมการสัตว์ทดลอง ฯลฯก่อนการวิจัย
·       กระจายหน้าที่ติดตามความก้าวหน้าของโครงการวิจัยเป็นระยะๆ แก่หน่วยงานภายใน  ระหว่างการวิจัย
·       รวบรวมและเผยแพร่ผลงานวิจัยที่เสร็จสมบูรณ์ จำแนกให้เป็นสถิติ ตามหน่วยงาน เพื่อกระตุ้น ให้เกิดการแข่งขัน หลังการวิจัย
·       มีระบบการติดตามและประเมินผลโครงการที่ชัดเจน
·       มีการกำหนด KPI ด้านการวิจัย และด้านผลงานวิจัยให้ชัดเจน
7.      ระบบการควบคุมคุณภาพ

 

·       พัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายสนับสนุน (สาย ข., ค.) ให้สามารถทำงานในเชิงรุก
·       มีระบบรองรับอาจารย์ที่เพิ่งจบการศึกษา ให้มีการทำวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
·       ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำวิจัยตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการนำผลการวิจัยไปใช้
·       มีพี่เลี้ยงนักวิจัย (Mentor)  และระบบพี่เลี้ยงกลุ่มวิจัย
·       อบรมการเขียน Proposal
·       เริ่มจากการลงมือปฏิบัติ
8.      การพัฒนาคุณสมบัตินักวิจัย

 

·       มีการบูรณาการการเรียนการสอนกับการวิจัยเข้าด้วยกัน
·       นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้ร่วมงานวิจัย
·       มีนิสิตช่วยงานวิจัย ทั้งนิสิตใหม่และเก่า และมีการพัฒนาทักษะของนิสิต
·       มีทุนการศึกษานิสิตระดับบัณฑิตศึกษา
9.      ระบบบัณฑิตศึกษากับงานวิจัย
·       จัดทำวารสารระดับคณะ
·       มีเงินสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย
·       มีการให้ทุนสนับสนุนโดยมีเงื่อนไข “ตีพิมพ์” (อาจารย์/บัณฑิตทุกระดับ)
·       มีหน่วยงานที่สนับสนุน /ให้คำปรึกษาแก่นักวิจัย (การตีพิมพ์เผยแพร่ ทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมาย ฯลฯ) 
10.    ระบบการเผยแพร่งานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 1374เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2005 07:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท