วิเคราะห์อยู่ดีมีสุข(เมืองคอน) ปี 50 ตอนที่ 2 วาระซ่อนเร้น


“เวทีเหลียวหลังแลหน้า การพัฒนาเมืองนครเชิงบูรณาการ”

วาระซ่อนเร้น(ที่ถูกพูดถึง) ปัจจัยที่ทำให้อยู่ดีมีสุข 50 ที่ผ่านมายังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

 

-          การได้มาของแผนชุมชน ไม่ได้มาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง บางที่ได้จากการคัดลอกมาจากที่อื่น บ้างเกิดจากการตัดสินใจของผู้นำชุมชนเองหรือผู้กุมอำนาจในชุมชนตัดสินใจ(อย่างขอไปที) ไม่ได้เกิดจากการสำรวจตามสภาพพื้นที่ หรือตามความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

-          การได้มาของแผนชุมชน ได้มาจากการมีส่วนร่วมของชุมชนจริง(เพียงบางส่วน)แต่เนื่องจากชุมชนกลุ่มที่ว่ายังขาดความเข้าใจในเรื่องระเบียบและกรอบโครงการทำให้สื่อออกมาไม่ถูกต้อง(ว่าแท้จริงแล้วชุมชนต้องการอะไร และเพื่ออะไร และต้องทำอย่างไรให้เข้าใจได้ตรงกันทั้งหมด) เป็นเหตุทำให้เกิดการสื่อออกมาเป็นโครงการไม่ถูกต้อง ไม่เป็นไปตามรูปแบบที่วางไว้ เข้าทำนอง โครงการไม้จิ้มฟันของผู้ใหญ่ลี

-          การไม่นำเอาแผนชุมชนที่ชุมชนร่วมกันทำมาใช้ผลักดันเข้าเป็นโครงการในอยู่ดีมีสุข แต่กลับคิดโครงการอื่นแทน ประเด็นนี้มีผลกระทบในแง่ ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วกลุ่มที่ทุ่มเทผลักดันให้เกิดแผนชุมชนคุณภาพ ก็เหนื่อยเปล่าและไม่อยากจะร่วมมือในการพัฒนาแผนในคราวต่อๆไปด้วย

-          ขาดการเชื่อมต่อที่ดี เนื่องจากที่ผ่านมา การทำงานลักษณะที่ ถ่ายทอดกันเป็นทอดๆ จากหัวขบวนไปท้ายขบวน (นโยบายอยู่ดีมีสุขààระดับชาติàระดับจังหวัด(เมืองคอน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งคณะทำงานที่มาจากหลายส่วนทั้งหน่วยงานส่วนกลางด้านต่างๆ  สถาบันการศึกษาและภาคประชาชน)àระดับอำเภอà กำนัน à ผู้ใหญ่บ้าน à แกนนำชุมชน àชาวชุมชน )ยังขาดประสิทธิภาพเนื่องจาก ข้อมูลตกหล่นไประหว่างทาง หรือการแปรข้อมูลที่ผิดพลาด ทั้งยังขาดการใส่ใจในบางช่วงของรอยต่อ นอกจากนี้ยังรวมถึงขาดการร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย

-          หน่วยงานในระดับอำเภอ ยังมีความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนและไม่เพียงพอ ทำให้บางครั้งบางโครงการต้องเสียโอกาสไม่ผ่านการกลั่นกรองในระดับอำเภอและทำให้ไม่สามารถเข้าถึงงบประมาณได้

-          ปริมาณคนที่จะเข้ามาร่วมขับเคลื่อนภาคประชาชนยังมีไม่เพียงพอ ทั้งคุณภาพและปริมาณ

-          ข้อจำกัดเรื่องเวลา ที่กระชั้นจนเกินไป อาจเนื่องมาจาก แนวทางที่ว่าเป็นเรื่องใหม่ต้องใช้เวลาที่จะทำความเข้าใจกับทุกๆฝ่าย ก็อีกสาเหตุก็คงมาจากขบวนงานมีช่วงยาว กว่าจะไปถึงปลายขบวนก็ต้องกินเวลาพอสมควร ทำให้บีบคั้นการทำงานทั้ง ในส่วนของการคิดโครงการและขั้นตอนของการกลั่นกรองโครงการ บวกกับความคิดที่ว่าต้องใช้งบประมาณที่ได้รับจัดสรรให้หมด( ปี 50 เมืองคอนได้รับจัดสรรเป็นเงิน 96 ล้านบาท)  ทั้งๆที่บางโครงการไม่ได้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข เช่นโครงการ ซื้อหม้อ ซื้ออวน ซื้อพันธุ์สัตว์แจกที่ผ่านการพิจารณาไป(ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโครงการลักษณะเดียวกันหมด) เพราะถ้าให้พิจารณาสอดคล้องกับยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ก็คงจะมีเพียงบางโครงการเท่านั้นที่ผ่านการพิจารณา

-          กรอบของการเมืองท้องถิ่น สู่ความแตกแยกในชุมชน ที่ยากจะก่อให้เกิดความร่วมมืออย่างแท้จริงในชุมชน

-          กรอบการทำงานที่เป็นปีงบประมาณ กรอบการเบิกจ่ายที่ไม่สามารถยืดหยุ่นได้

หากท่านใดคิดว่า ยังจะมีประเด็นใดเพิ่มเติมอีก ก็เอามาแลกเปลี่ยนกันได้นะ คะ เพื่อจะได้เอาไปปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป ติดตามภาคต่อไป ตอนแลหน้านะคะ

หมายเลขบันทึก: 136941เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2007 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท