ติดตั้งทุ่นลอยอนุรักษ์แนวปะการังบริเวณทะเลหมู่เกาะช้าง


ปัจจุบัน การติดตั้งทุ่นผูกเรือนิยมใช้อยู่ ๒ วิธี คือ ถ้าเป็นโขดหินก็ใช้วิธีผูกเชือกกับก้อนหิน หรือ ในกรณีเป็นพื้นที่ทรายก็จะใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง เจาะทรายและฝังสมอ

             ตราด ๒๒ ธ.ค.- สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค ๑๓ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกลุ่มองค์กรเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพื้นบ้าน ระดมกำลังเข้าติดตั้งทุ่นลอยในท้องทะเลตราด หวั่นแนวปะการังเสียหายจากการทอดสมอเรือ ของเรือนำเที่ยว และเรือประมง นาย สุรชัย แสงทักษิณ ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ ๑๓ จังหวัดชลบุรี เปิดเผยว่า สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค ๑๓ จังหวัดชลบุรี ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ประสานความร่วมมือกับ ศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง รวมทั้งกลุ่มองค์กรเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพื้นบ้าน จำนวนกว่า ๓๐ คน ร่วมกันติดตั้งทุ่นลอยผูกเรือ ในพื้นที่ บริเวณโดยรอบอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง และ พื้นที่ใกล้เคียง เพื่อป้องกันปัญหาการเสื่อมโทรมของแนวปะการัง อันมีผลมาจากการทอดสมอของเรือประมงรับจ้าง ซึ่งในแต่ละครั้งก่อให้เกิดความเสียหายกับปะการัง เป็นอย่างมาก เนื่องจากสมอเรือจะลงไปกระแทกกับแนวปะการัง และส่งผลให้เกิดการแตกหัก ผอ. สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ ๑๓ กล่าวว่า ในปัจจุบันพื้นที่หมู่เกาะช้าง กำลังได้รับการพัฒนาจากรัฐบาล ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ เพราะมีทรัพยากรทางทะเลที่ยังคงความบริสุทธิ์อยู่อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเกาะแก่งต่าง ๆ แนวชายหาด หรือแม้แต่แนวปะการังที่ยังคงสภาพความสมบูรณ์ ในหลายจุดของพื้นที่ ทำให้ได้รับความสนใจจากกลุ่มนักดำน้ำเป็นจำนวนไม่น้อย และจากอัตราการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวนี้เอง ทำให้หลายฝ่ายแสดงความเป็นห่วงว่า จะนำสู่การเสื่อมโทรมของทรัพยากรใต้ท้องทะเลตามมา จึงรวมตัวกันจัดกิจกรรมติดตั้งทุ่นลอยนี้ขึ้นเป็นแนวทางป้องกันที่น่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนที่สุด “ในปัจจุบัน การติดตั้งทุ่นผูกเรือนิยมใช้อยู่ ๒ วิธี คือ ถ้าเป็นโขดหินก็ใช้วิธีผูกเชือกกับก้อนหิน หรือ ในกรณีเป็นพื้นที่ทรายก็จะใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง เจาะทรายและฝังสมอ แต่ทั้งนี้ในบางครั้งก็ไม่สามารถติดตั้งได้ เพราะแผนงานบางครั้ง ก็แตกต่างกับความเป็นจริงใต้ทะเล ทางออกที่เหมาะสมที่สุด คือการสร้างเครือข่ายของคนในพื้นที่ ให้เข้ามามีหน้าที่รับผิดชอบ และ ตระหนักหวนแหนถึงทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ของตนเอง

ที่มา http://travel.sanook.com/news/news_05774.php?

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 13681เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2006 19:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2012 08:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท