เทคโนโลยีสมัยใหม่


เทคโนโลยี

                                               เทคโนโลยีสมัยใหม่ 

             ไม่ว่าเทคโนโลยีสื่อมวลชน เทคโนโลยีโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การจัดการศึกษาบรรลุอุดมการณ์การศึกษาตลอดชีวิต สำหรับทุกคน  โดยเฉพาะการจัดการศึกษาในระบบ  นอกระบบ  และตามอัธยาศัย  ปัจจุบันเทคโนโลยี   ที่ผลิตขึ้นมาใหม่ในโลกปัจจุบันเปิดโอกาสให้ใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น ในการช่วยการจัดการเรียนการสอนได้อย่างแพร่หลาย ออกไปอย่างเหลือเชื่อ และมีผู้สนใจใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นกันอย่างมากมายในเรื่องการเรียนการสอน โดยบางครั้งการนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้โดยไม่ มีการวางแผน และเตรียมการที่ถูกต้องให้รอบคอบว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นมาก็คือเป็นเพียงเครื่องประดับสำนักงาน ชิ้นหนึ่งเท่านั้นสำหรับเทคโนโลยีที่ใช้ ในการจัดการศึกษาทางไกล ปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด ทั้งแบบเทคโนโลยีชั้นสูง หรือใช้เทคโนโลยีในระดับต่ำ ที่สามารถนำมาช่วยในเรื่องการจัด การศึกษาทางไกลให้มีคุณภาพแก่นักเรียน นักศึกษาได้แต่การใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น ต้องมีการวางแผนในการที่จะใช้งานเทคโนโลยีเหล่านั้นอย่างคุ้มค่า ที่จัดหามาโดยต้องคำนึงถึงหลักการดังนี้
                 1. เทคโนโลยีเหล่านั้นจะช่วยอะไรเรา
                 2. เทคโนโลยีที่นำมาใช้งานเพื่อใคร
                 3. เทคโนโลยีที่นำมาจะใช้เพื่อทำอะไร
                  เทคโนโลยีแต่ละอย่างมีข้อจำกัด ซึ่งบางครั้งการจะใช้ในเรื่องของการเรียนการสอนต้องใช้เทคโนโลยี ในลักษณะที่มีการผสมผสานกันใน หลายๆ อย่าง ซึ่งการเลือกใช้เทคโนโลยีในแต่ละชนิดก็แล้วแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
                 ในประเทศสวีเดนที่ ใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษาทางไกลแบบผสมผสานกัน โดยทางสถาบันเป็นผู้วางแผนที่จะใช้เทคโนโลยีต่างๆ ใน เรื่องของการเรียนการสอน เช่น อินเตอร์เน็ต (Internet), อีเมล์ ระบบการประชุมกลุ่ม การประชุมทางวีดิทัศน์ บริคดิงลิงค์ (briding ling) ห้องเรียนวีดิทัศน์ (Video Class) จดหมาย ฯลฯ โดยทางสถาบันจะเป็นผู้กำหนดว่าเทคโนโลยีแต่ละอย่างจะเหมาะสมกับงานประเภทใด เช่น ถ้าเป็นการประชุมทางไกลก็จะใช้เป็นวีดิทัศน์หรือโทรทัศน์ และงานในรูปแบบอื่น ก็ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละหลักสูตรก็แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม ในแต่ละหลักสูตรและกลุ่มเป้าหมายจะเป็นตัวตัดสินว่าควรใช้เทคโนโลยีเหมือนๆ กัน โดยตัวโครงสร้างหลักสูตรและกลุ่มเป้าหมายจะเป็นตัวตัดสินว่า ควรใช้เทคโนโลยีอย่างไร ส่วนมากหลักสูตรที่มีการพบปะและเวลาน้อยจะถูกชดเชยด้วยเทคโนโลยี และจะทำให้มีผลย้อนกลับอย่างรวดเร็ว และก็เป็น ธรรมดาที่ทุกแห่ง เมื่ออยู่ในที่มีเทคโนโลยีพร้อมเขาก็อยากจะใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น แต่เรามีผู้เรียนที่ไม่มีเทคโนโลยีใดเลย สถาบันก็ปรับตัวให้เข้ากับ สถานการณ์ แต่สิ่งที่แน่นอนก็คือเทคโนโลยีในการจัดการศึกษาทางไกล และโอกาสที่จะจัดหาหลักสูตรได้หลากหลายมากขึ้น
                 เทคโนโลยีอาจเป็นทางแก้ปัญหาต่างๆ ได้ แต่ก็เป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้นไม่ใช่เป้าหมายในการจัดการเรียนการสอน เนื้อหาในหลักสูตรเป็นสิ่ง สำคัญที่สุด ถ้าหากปรับใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาได้ และมีการวางแผนและเตรียมการในเรื่องการใช้ให้ถูกต้องแก่หลักสูตร และกลุ่มเป้าหมาย ผู้เรียน นักศึกษา ก็สามารถติดตามข่าวสารได้ตลอดเวลา อย่าให้เทคโนโลยีที่เรานำมาใช้เป็นเพียงเครื่องประดับห้องชิ้นหนึ่ง และ เราจะเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีสติ
การพัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาโรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม การดำเนินชีวิตมนุษย์ในโลกปัจจุบัน สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตมักจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแทบทั้งสิ้น เพราะคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า เทคโนโลยีทำให้การดำเนินชีวิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านบริหารจัดการงานในองค์กร การติดต่อสื่อสาร ความบันเทิง สิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนั้น องค์ประกอบสำคัญที่สถานศึกษานำมาใช้ในการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา คือ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาให้มีความพร้อมและเอื้อต่อการบริหารจัดการศึกษาให้ประสบความสำเร็จทุกด้านตามมาตรฐานการศึกษา โดยคำนึงถึงบริบทของสถานศึกษาที่มีความพร้อมในด้านผู้เรียน บุคลากร และการสนับสนุนจากผู้ปกครอง ภายใต้การบริหารงานที่คำนึงถึงหลักความคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงครามให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน โดยได้ดำเนินโครงการในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โดยสรุปดังนี้ 1. โครงการพัฒนาระบบเครือข่าย(LAN) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาระบบเครือข่ายInternet จากห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 – 2 เชื่อมต่อกับห้องสมุดอิเลคทรอนิกส์ ห้องปฏิบัติการทุกห้อง ห้องเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกห้องเรียน ห้องสมุดของเล่น ห้องศูนย์วิชาการ ห้องธุรการ ห้องผู้อำนวยการ และห้องประชุม ทำให้นักเรียน ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง สามารถใช้ Internet ในการศึกษาสืบค้นข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ การติดตามข้อมูลข่าวสารทางราชการ และเอกสารทางวิชาการต่างๆได้โดยสะดวก รวดเร็ว 2. โครงการจัดทำ Website สถานศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลของสถานศึกษา ผลงานการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลสมุทรสงครามในด้านความสำเร็จของผู้เรียน ครู และสถานศึกษาในด้านต่างๆ ให้แก่ผู้ปกครอง ชุมชน และผู้สนใจทั่วไป ซึ่งท่านสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ที่ http:// www.anuban.net 3. โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อมูลสารสนเทศให้เอื้อต่อการบริหารจัดการศึกษา มีความถูกต้อง ทันสมัย เป็นปัจจุบัน สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการดำเนินงาน 4 แผนงาน คือ งานวิชาการ งานบริหารงานบุคคล งานบริหารทั่วไป งานบริหารงบประมาณ 4. โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาหลักสูตรคอมพิวเตอร์และการจัดการเรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์ตามหลักสูตรสถานศึกษาให้แก่นักเรียนช่วงชั้นที่ 1 – 2 ตามหลักสูตรสถานศึกษา และการจัดกิจกรรมเสริมศักยภาพด้าน Internet และ CAI เพิ่มสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมงทุกระดับชั้นเรียน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณด้านเครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อวัสดุ ตลอดจนการจ้างครูผู้เชี่ยวชาญจากผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน ตลอดปีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 5. โครงการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดการอบรมพัฒนาบุคลากรครู ให้สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการจัดการศึกษาได้ทุกคน โดยการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ อาทิ การใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน การใช้ Internet การผลิตสื่อ CAI E-Book การใช้กล้องดิจิตอลเพื่อการจัดการเรียนการสอน และการศึกษาดูงานด้าน ICT สถานศึกษาต้นแบบ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาดังกล่าว ทำให้โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม สามารถพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียน ครู ผู้บริหาร สามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และการปฏิบัติงานตามภารกิจของสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ ด้านผู้เรียน 1. ผู้เรียนทุกระดับชั้น คิดเป็นร้อยละ 100 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการแสวงหาความรู้ และการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาได้ในระดับดีน่าพอใจ 2. ผู้เรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศได้รับเงินรางวัล 50,000.- บาทพร้อมถ้วยรางวัล ฯพณฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลลานนท์ จากการแข่งขัน ความสามารถการจัดทำภาพยนตร์สั้น โดยใช้โปรแกรม Microsoft Movie Maker งาน ITChalange 2007 จัดโดยบริษัท Microsoft จำกัด ด้านสถานศึกษา 1. บุคลากรครู คิดเป็นร้อยละ 98 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ สื่อ เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. สถานศึกษาได้รับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสถานศึกษาจาก Website ให้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่นๆ 3. สถานศึกษามีระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและมีความพร้อมในการจัดการเรียนรู้และบริหารการศึกษาเป็นอย่างดี ด้านผู้ปกครองและชุมชน 1. ผู้ปกครอง ชุมชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารของโรงเรียนและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนทรัพยากรด้านสื่อเทคโนโลยีให้กับสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องทุกด้าน 2. ผู้ปกครอง ชุมชน ให้การยอมรับและเชื่อมั่นในด้านคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลสมุทรสงครามเป็นอย่างดี เป็นที่ยอมรับว่าการศึกษานอกโรงเรียนคือ กลไกที่สำคัญที่จะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างความรู้ความสามารถของประชากร และพื้นฐาน ความรู้ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตการทำงาน และการพัฒนาสังคมทั้งปัจจุบันและอนาคต
           เมื่อสังคมไทยได้เคลื่อนจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมที่มีความสามารถผสมผสานระหว่างสังคมเกษตรกรรม สังคมอุตสาหกรรม สังคมข่าวสารข้อมูล และสังคมองค์ความรู้ การศึกษานอกโรงเรียนจึงหยุดนิ่งไม่ได้ แต่จำเป็นต้องประเมินระบบและบริการที่จัดอยู่ว่าเหมาะสม และเพียงพอที่จะพัฒนาศักยภาพของประชาชนสำหรับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปเพียงใด
           ด้วยเหตุที่คำว่า "สังคมองค์ความรู้" เป็นคำใหม่ที่ยังไม่ค่อยมีการใช้อย่างกว้างขวาง นักคิดและนักเขียนหลายคน จึงได้ให้ความหมาย สังคมองค์ความรู้ว่า จะเป็นสังคมที่มีระบบเศรษฐกิจที่ใช้พลังความคิดมากกว่ากำลังกาย และจะใช้เทคโนโลยีในการผลิตมากกว่าแรงงานราคาถูก หรือวัตถุดิบจะมีกระบวนการสร้าง จัดระบบ ถ่ายทอด และใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง ผู้ที่จะประสบความสำเร็จในสังคมองค์ความรู้ส่วนใหญ่ จึงเป็นผู้ที่มีการศึกษาและมีความชำนาญ ทั้งยังมีวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญแก่การเรียนรู้ และการมุ่งผลสัมฤทธิ์ พร้อมที่จะทุ่มเทเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในสังคมโลก ทั้งนี้องค์ความรู้ที่จำเป็นมิได้จำกัดเฉพาะองค์ความรู้ ที่ประมวลในเอกสารและตำราเหล่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงประสบการณ์และปรีชาญาณที่สั่งสมในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย
            ในสังคมองค์ความรู้ ประชากรจึงจำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ความสามารถที่ต่างไปจากสังคมดั่งเดิมหลายประการ ในรายงานของ ธนาคารโลกในเรื่องนี้ ได้ระบุความรู้ความสามารถที่สำคัญไว้ ดังนี้
            มีเครื่องมือในการเรียนรู้ที่จะช่วยในการแสวงหาความรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ใช้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในอดีตงาน การศึกษานอกโรงเรียน จะช่วยแก้ปัญหาการไม่รู้หนังสือ และการชดเชยโอกาสสำหรับผู้ที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ แต่ในปัจจุบันระดับการรู้ หนังสือได้พัฒนาจนมีความยากและซับซ้อนมากขึ้น ดังสะท้อนให้เห็นในเครื่องมือประเมินการรู้หนังสือของประชากรระดับนานาชาติ ที่จำแนก การรู้หนังสือเป็น 3 ประเภท กล่าวคือ การรู้หนังสือทั่วไป การรู้หนังสือวิชาการ และความสามารถที่จะแปลความจากสัญลักษณ์และข้อมูลทาง คณิตศาสตร์ จากการประเมินพบว่าแม้แต่ในประเทศที่พัฒนา เช่น สหรัฐอเมริกา ประชากรที่จบระดับมัธยมศึกษาถึงร้อยละ 59 มีระดับการรู้ หนังสือที่จำเป็นสำหรับสังคมในอนาคตเพียงระดับ 3 เท่านั้น การประเมินและพัฒนาระดับการรู้หนังสือสำหรับสังคมองค์ความรู้ของประชากร จึงเป็นภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งของงานการศึกษานอกโรงเรียนในปัจจุบัน
นอกจากระดับความรู้หนังสือที่ต้องมีความซับซ้อนแล้ว การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ความสามารถในการสื่อสาร และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ยังถือว่าเป็นเครืองมือการเรียนรู้ที่จำเป็นที่ ผู้เรียนจะต้องสามารถเลือกใช้อย่างผสมผสานและเกื้อหนุนกันในสังคมปัจจุบัน
           ความสามารถในการจัดการการเรียนรู้ ไปจนถึงการจัดการชีวิตและการจัดการกิจการ ถือว่าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญในสังคมองค์ความรู้ เช่นกัน เพราะในสังคมดังกล่าวจะเต็มไปด้วยข่าวสารข้อมูลและทางเลือก มีทั้งโอกาสและข้อจำกัด หากประชากรไม่มีความภูมิใจหรือความมั่นใจ ในตนเอง ไม่สามารถจำแนกแยกแยะ ตั้งเป้าหมาย เลือกทางเลือกที่เหมาะสม วางแผน ผลักดัน การนำแผนสู่การปฏิบัติ และการจัดการกับ อุปสรรคปัญหา ย่อมไม่สามารถประสบความสำเร็จในชีวิต
การศึกษานอกโรงเรียนจะสามารถช่วยพัฒนาความสามารถในการจัดการด้วยการสอดแทรกในการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้มีบทบาทใน การกำหนดเป้าหมาย และแผนการเรียนรู้ของตนเองอย่างจริงจัง โดยผู้สอนปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน พัฒนาความมั่นใจและ ทักษะชีวิต เสริมความเข้มแข็ง ในการบริหารจัดการกิจการและกลุ่มพัฒนาอาชีพ
ท้ายที่สุด สมาชิกในสังคมองค์ความรู้ ยังจำเป็นต้องมีความสามารถในการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลาย รวมไปถึงความ สามารถในการสื่อสาร สร้างแนวร่วมการมีทักษะชีวิตและระงับความขัดแย้ง และด้วยเหตุนี้การศึกษานอกโรงเรียนจึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างผู้เรียนจากต่างวัฒนธรรมและประสบการณ์ได้พบปะร่วมทำงาน ทำให้เกิดการรับฟังและเรียนรู้จากมุมมองที่หลากหลายซึ่งจะนำไปสู่การ เรียนรู้ และสร้างสรรค์ร่วมกัน และความเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้ในที่สุด
ในการพัฒนาพื้นฐานความรู้ความสามารถดังกล่าวข้างต้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการศึกษาตลอดชีวิตที่ผสมผสานระหว่างการ ศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย ระบบดังกล่าวจะต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องในครอบครัวใน โรงเรียน ในสถานที่ทำงาน ในชีวิตประจำวัน ให้ความสำคัญแก่การวิจัย การพัฒนานวตกรรม และระบบจัดการความรู้ สนับสนุนแหล่งเรียนรู้ ในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถให้บริการอย่างกว้างขวางและทั่วถึงมีระบบการเรียนรู้หลายรูปแบบ แต่เชื่อมโยงทุกระบบทุกรูปแบบด้วยระบบเทียบ โอนความรู้และประสบการณ์ที่ยืดหยุ่น ที่สำคัญจะต้องเสริมความเข้มแข็งให้แก่ผู้เรียนในการจัดการการเรียนรู้ของตน
           ในปัจจุบัน เป็นที่น่าชื่นชมที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้พยายามพัฒนาบริการให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นด้วยวิธีที่ เป็นนวตกรรม ในขณะเดียวกันจำเป็นต่องพิจารณาถึงแนวโน้มการพัฒนาของสังคมในอนาคตควบคู่ไปกับการสนองความต้องการเฉพาะกลุ่มมีการ ปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้จัด ผู้ปฏิบัติ เป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษา แหล่งประกอบการ และชุมชนให้ได้เป็นกลไกในการจัดบริการการ ศึกษานอกโรงเรียน นอกเหนือจากการสอนให้ประชาชนมีพื้นฐาน ความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแล้วยังควรจัดให้มีการวาง ระบบที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอนที่สำคัญที่สุด คือ การผลักดันให้ทุกคน ทุกหน่วยงานตระหนักว่าต้องเป็นทั้งผู้เรียน ที่จะได้รับประโยชน์และเป็นเจ้าภาพในการจัดการศึกษานอกโรงเรียน เมื่อนั้นงานการศึกษานอกโรงเรียนจะเป็นกลไกสำคัญสำหรับสังคมองค์ความรู้ อย่างแท้จริง
               ไม่ควรมีรูปแบบแน่นอน ไม่ควรมีกรอบกำหนด เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา มีอิสระและมีความหลากหลาย ต้องมีแหล่ง ให้เรียนรู้มากมาย เช่นตำรา หนังสือทั้งของไทยและต่างประเทศ ห้องสมุดในชุมชน อินเตอร์เน็ต วิดีโอ พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ สถาบันต่างๆ เป็นต้น โดยไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ในรั้วโรงเรียน เพราะโรงเรียนเป็นแค่สังคมเล็กๆ การใช้ชีวิตในรั้วโรงเรียนจึงมีความหมาย เพียงแค่การเรียนเพื่อให้ได้ปริญญา แต่การเรียนรู้จากสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นการสร้างคุณค่าทางภูมิปัญญา ที่มิอาจตีมุลค่าเป็นตัวเงิน ออกมาได้ แต่เป็นคุณค่าแท้จริงของชีวิต

ลักษณะของแหล่งเรียนรู้ที่ดี
                 ลักษณะแหล่งเรียนรู้ต้องมีความสร้างสรรค์จับต้องสัมผัสได้ สามารถเรียกให้คนเข้ามาใช้บริการ และให้ข้อมูลได้ครบถ้วน อย่าง พิพิธภัณฑ์ นอกเหนือจากการจัดแสดงเนื้อหาแล้ว ควรจะมีผู้นำเสนอเรื่องราวให้ข้อมูล อธิบาย ตอบคำถามได้อย่างหลายด้าน อาจจะมีการ ใช้วีดิทัศน์ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมประกอบการนำเสนอเรื่องราวให้น่าสนใจยิ่งขึ้น เพื่อเชิญชวนให้คนทั่วไปอยากรู้อยากเรียน อยากค้นคว้า ต่อเนื่อง และควรคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย อาทิกลุ่มเด็กกับกลุ่มผู้ใหญ่ ก็ควรมีการนำเสนอเรื่องราว และให้ข้อมูลแตกต่างกัน
                 ซึ่งแหล่งเรียนรู้ส่วนใหญ่ที่เรามีอยู่ในขณะนี้ไม่เพียงพอและไม่ทันสมัย ทั้งไม่เอื้อต่อการเรียนรู้จริงๆ อีกด้วย แล้วเรายังใช้ประโยชน์จาก แหล่งเรียนรู้ไม่มากพอ อย่างในประเทศญี่ปุ่น ทุกหนแห่งถูกสร้างให้กลายเป็นสถานเรียนรู้ในชุมชนต่างๆ จะมีสวนหย่อมสาธารณะพร้อมห้อง อ่านหนังสือในสวน สำหรับเด็กที่มาวิ่งเล่น มีโอกาสมาแวะอ่านได้
                 แม้แต่ในห้างสรรพสินค้าก็มีมุมอ่านหนังสือไว้ให้ เพราะการเรียนรู้มิได้ จำกัดว่าเป็นแค่การอ่านหนังสือเท่านั้น แหล่งสาธารณะในชุมชน เป็นสถานที่ที่ให้การเรียนรู้ทักษะในเชิงสังคม (Social Skills) ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตพอๆ กับความรู้ที่เรียนในรั้วสถานศึกษา นอกจากนี้ ก็ยังมีสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ แหล่งเรียนรู้มิได้จำกัดเฉพาะ สถาน ศึกษาเท่านั้น แต่น่าจะหมายรวมถึง "บุคคล" ด้วย คือคนที่มีความรู้มากมายในประเทศเรา และในต่างประเทศ ผู้สูงวัยที่มี ประสบการณ์ ในชีวิต ทำอย่างไรจึงจะให้แหล่งเรียนรู้เหล่านี้กับผู้อยากเรียนรู้ได้ "พบกัน" เพื่อถ่ายทอดความรู้สู่กันได้
 "คนที่เป็นพ่อแม่ คือตัวอย่างของคนที่ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดชีวิตและตลอดเวลา เพราะคนเป็นพ่อแม่ ไม่เคยเข้า โรงเรียนเพื่อเตรียมพร้อม เป็นพ่อแม่ใคร แม้จะมีตำราให้อ่านล่วงหน้า แต่แบบแผนในการเลี้ยงลูกของแต่ละครอบครัว จะ ไม่เหมือนกัน วิธีการของครอบครัวหนึ่งไม่สามารถ ใช้ได้ดีในอีกครอบครัวหนึ่ง การเลี้ยงลูกในประสบการณ์จริงๆ จึงเป็น สิ่งที่พ่อแม่ต้องศึกษา และประยุกต์มาใช้ให้เข้ากับลูกของตัวเอง พ่อแม่จึงต้องศึกษาและเรียนรู้จากสิ่งที่เกิดขึ้น และเรียนรู้จาก พัฒนาการจริงๆ ของลูก พร้อมทั้งหาวิธีการในการแก้ไขปัญหา ต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับลูกตลอดเวลา ทั้งต้องเรียนรู้ที่ นำเอาวิทยาการใหม่ๆ และประสบการณ์ที่แตกต่างจากแหล่งต่างๆ มาใช้ผสมผสานกันกว่าลูกจะเติบโต คนเป็นพ่อแม่ ต้อง เรียนรู้ไม่สิ้นสุด

    หนังสืออ้างอิง
The World Bank, Lifelong Learning in the Global Knowledge Economy
Gamball Paul & Blackwell Paul, Knowledge Management,
Davenport Thomas, The Knowledge Economy and Thailandคัดจาก : "สื่อพลัง"ปีที่11 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2546  (สยามรัฐ วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม 2546 ปีที่54 ฉบับที่ 16361)นักเรียนนอกระบบตามอัธยาศัย (ตัวจริง) เรียบเรียงจากหนังสือในโครงการศึกษาภูมิปัญญาและกระบวนการถ่ายทอดของครูภูมิปัญญาไทย โดย สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ 

คำสำคัญ (Tags): #เทคโนโลยี
หมายเลขบันทึก: 136789เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2007 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท