อัตราส่วนและร้อยละ


อัตราส่วน

 

อัตราส่วนและร้อยละแบบที่  1 : กล่าวว่า อัตราส่วน  ของจำนวนไก่ ต่อ จำนวนม้า เป็น 3 ต่อ 5ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์              3 : 5        (อ่านว่าสามต่อห้า)แบบที่ 2  : กล่าวว่า  อัตราส่วน  ของจำนวนม้า ต่อ จำนวนไก่ เป็น 5 ต่อ 3ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์              5 : 3        (อ่านว่าห้าต่อสาม)ดังนั้น                    อัตราส่วน (Ratio)  คือ  การเปรียบเทียบ  จำนวนของสิ่งของตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไปโดยใช้สัญลักษณ์  a : b หรือ       อ่านว่า  a  ต่อ  b   เรียก "a" ว่า จำนวนแรกหรือจำนวนที่หนึ่ง และเรียก "b" ว่า จำนวนหลังหรือจำนวนที่สองเช่น   กบมีปากกา 5 ด้าม กิ้มมีปากกา 4 ด้าม อัตราส่วนระหว่างจำนวนปากกาของกบ ต่อจำนวนปากกาของกิ้ม เป็น 5 ต่อ 4  ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ 5 : 4 หรือ ข้อสังเกต-         ถ้าหน่วยในการเปรียบเทียบเป็น อัตราส่วนเหมือนกัน ไม่ต้องเขียนหน่วย กำกับไว้-         เช่น  จำนวนครู 1 คน ต่อ จำนวนนักเรียน 45 คน เขียนอัตราส่วนเป็น    1 : 45-         ถ้าหน่วยในการเปรียบเทียบเป็น อัตราส่วนต่างกัน แต่อาจทำให้มีหน่วยเดียวกันก่อน-         เช่น  ก มีเงิน 3 บาท  ข มีเงิน 8 บาท 50 สตางค์ เขียนอัตราส่วนเป็น3 บาท  :  8 บาท 50 สตางค์หรือ         3 บาท  :  8.50 บาทหรือ               6  :  17-         ถ้าหน่วยในการเปรียบเทียบเป็น อัตราส่วนไม่เหมือนกัน ต้องเขียนหน่วยของการเปรียบเทียบ กำกับไว้ด้วย-         เช่น  อัตราส่วน กาแฟ 1 ช้อน ต่อน้ำตาล 4 ก้อนเขียนเป็น 1 ช้อน  :  4 ก้อน

-         นอกเหนือจากจากใช้อัตราส่วนแทนการเปรียบเทียบของจำนวนสิ่งของแล้วยังสามารถใช้ อัตราส่วนแทน อัตรา ได้อีกด้วย

 อัตรา (Rate)    คือ  ข้อความที่แสดงความเกี่ยวข้องของปริมาณสองปริมาณ  ซึ่งอาจมีหน่วยเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้เช่น  ดินสอ 3 แท่งราคา 10 บาทอัตรา      คือ  3 แท่งราคา 10 บาทอัตราส่วน  คือ   3 : 10สมุดราคาโหลละ 108 บาทอัตรา      คือ  12 เล่มราคา 108 บาทอัตราส่วน  คือ   12 : 108อัตราส่วนอย่างต่ำ   คือ  อัตราส่วนเปรียบเทียบปริมาณของสองปริมาณใดๆในรูปของจำนวนเต็มลงตัวน้อยๆในการเขียนอัตราส่วน ส่วนใหญ่นิยมเขียนในรูปอัตราส่วนอย่างต่ำเสมอเพราะ ง่ายต่อการคิดคำนวณ   ถ้ามีอัตราส่วนใดยังไม่อยู่ในรูปอัตราส่วนอย่างต่ำให้ใช้วิธีการตัดทอนของเศษส่วนมาทำให้อัตราส่วนนั้นเป็นอัตราส่วนอย่างต่ำ   เช่น   -  แดงมีดินสอ 5 แท่ง ดำมีดินสอ 15 แท่ง อัตราส่วนของจำนวนดินสอของแดงต่อดินสอของดำ คือ 5:15  หรือ  1:3 (ใช้ 5 หารทั้งจำนวนที่หนึ่งและจำนวนที่สอง)
ตัวอย่างการหาอัตราส่วนอย่างต่ำ
1.       400:300  =    = ดังนั้น 400:300  =  4:32.       600:24    =    =    ดังนั้น 600:24  =  25:13.       0.5:0.04  =    =   =    =    ดังนั้น 0.5:0.04  =  25:2 แบบฝึกหัด1. สี่เหลี่ยมมุมฉากรูปหนึ่งด้านกว้างและด้านยาว 20 เซนติเมตรและ 30
   เซนติเมตร  ตามลำดับ จงหาอัตราส่วนแสดงการเปรียบเทียบความยาวของสิ่งต่อไปนี้
1.1 ด้านกว้างต่อด้านยาว1.2 ด้านยาวต่อเส้นรอบรูป…………………………………………………………………………1.3 ด้านกว้างต่อเส้นรอบรูป………………………………………………………………………....2.  มีคนกลุ่มหนึ่งจำนวน 22 คน เป็นชาย 9 คน เป็นครู 5 คน และเป็นนักเรียน
    10 คน จงหาอัตราส่วนแสดงการเปรียบเทียบจำนวนคนต่อไปนี้
2.1 ผู้ชายต่อผู้หญิง2.2 ครูต่อนักเรียน2.3 ครูต่อผู้หญิง2.4 ผู้ชายต่อไม่ใช่ครู

2.5 ไม่ใช่นักเรียนต่อไม่ใช่ครู……………………………………………………………………….2.6 ผู้ชายต่อทั้งหมด………………………………………………………………………………… จงเขียนอัตราและอัตราส่วนในแต่ละข้อต่อไปนี้ (7 นาที) 1.  ซื้อดินสอ 6 แท่ง ราคา 20 บาทอัตราคือ………………………………อัตราส่วนคือ…………………………2.  ไข่ไก่ราคาโหลละ 22 บาทอัตราคือ……………………………อัตราส่วนคือ………………………..3.  ขับรถด้วยอัตราเร็ว 90 กิโลเมตร ต่อชั่วโมงอัตราคือ…………………………..อัตราส่วนคือ………………………..4.  ในเวลา 3 ชั่วโมง รถไฟแล่นได้ 200 กิโลเมตรอัตราคือ………………………………..อัตราส่วนคือ…………………………….5.  5 คนต่อคอมพิวเตอร์ 2 ชุดอัตราคือ………………………………………อัตราส่วนคือ……………………………………6.  10 คนงานเสร็จใน 3 วันอัตราคือ……………………………………….อัตราส่วนคือ………………………………….จงเขียนอัตราส่วนต่อไปนี้เป็นอัตราส่วนอย่างต่ำ (5 นาที)
1.       64 : 48……………………………………………………………………………….2.       50 : 130……………………………………………………………………………..3.       0.5 : 1.5……………………………………………………………………………..4.       0.02 : 0.002………………………………………………………………………..5.       1.5 : 30……………………………………………………………………………… 
 
 อัตราส่วนที่เท่ากันถ้า                   ลูกเจี๊ยบราคาตัวละ 5 บาท      จะได้ว่า                ลูกเจี๊ยบ 2 ตัว    ราคา  2 x 5  = 10 บาท                 ลูกเจี๊ยบ 4 ตัว    ราคา  4 x 5  = 20 บาท

ดังรูป 

ดังนั้น   จำนวนลูกเจี๊ยบ และจำนวนเงินจะมีความสัมพันธ์กันดังตารางต่อไปนี้

จำนวนลูกเจี๊ยบ (ตัว) 1 2 3 4 5 ...
จำนวนราคา (บาท) 5 10 15 20 25 ...

จาก   ตารางดังกล่าวทำให้เราได้อัตราส่วนหลายชุด   ดังนี้

1 : 5 , 2 : 10 , 3 : 15 , 4 : 20 , 5 : 25 , ...

หรือ   

  - อัตราส่วนเหล่านี้   เราถือว่าเป็น อัตราส่วนเดียวกัน หรือ อัตราส่วนที่เท่ากัน
ทั้งนี้เพราะ เป็นอัตราส่วนที่มาจากความสัมพันธ์ของจำนวน ลูกเจี๊ยบ และ
ราคาลูกเจี๊ยบ เดียวกัน 

อัตราส่วนที่เท่ากัน    คือ 1. การหาอัตราส่วนที่เท่ากับอัตราส่วนที่กำหนดให้ถ้านักเรียนจะหาอัตราส่วนที่มีค่าเท่ากับอัตราส่วนที่มีอยู่ มีวิธีการหา  2  วิธีดังนี้1.1 ใช้หลักการคูณ   คือ เมื่อคูณแต่ละจำนวนในอัตราส่วนใดๆด้วยจำนวนเดียวกัน  และไม่ใช่ศูนย์  จะได้อัตราส่วนใหม่ที่เท่ากับอัตราส่วนเดิม

เช่น
,

1.2 ใช้หลักการหาร   คือ เมื่อหารแต่ละจำนวนในอัตราส่วนใดๆด้วยจำนวนเดียวกัน และไม่ใช่ศูนย์ จะได้อัตราส่วนใหม่ที่เท่ากับอัตราส่วนเดิม

เช่น
,

2. การใช้ผลการคูณไขว้ตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วนถ้ามีอัตราส่วน 2 อัตราส่วน คือ และ ผลคูณไขว้  คือการหาผลคูณในลักษณะ ดังนี้

( a x d และ c x b )

 

จาก ผลคูณจะพิจารณาได้ 2 กรณี คือ

 

 (1)  ถ้า ad = bc แล้ว       

 

(2)  ถ้า ad bc แล้ว      

 


ตัวอย่างที่ 1
จงตรวจสอบดูว่า อัตราส่วน และ มีค่าเท่ากันหรือไม่

 

วิธีทำ หาผลคูณไขว้ ของ   

 

 
จะได้ว่า 3 x 16  =  48 และ 4 x 12 = 48   
นั่นคือ 3 x 16 = 4 x 12
ดังนั้น

 

ตัวอย่างที่ 2 จงตรวจสอบดูว่า อัตราส่วน 5 : 3 และ 9 : 7 มีค่าเท่ากันหรือไม่
วิธีทำ หาผลคูณไขว้ ของ   
 
จะได้ว่า 5 x 7  =  35 และ 9 x 3 = 27   
นั่นคือ 5 x 7 9 x 3
ดังนั้น
           

 แบบฝึกหัด

1. จงพิจารณาประโยคต่อไปนี้ ว่าข้อใดถูกและข้อใดผิด (3 นาที)

 (1.1)     8 : 24 = 1 : 2                   ÿ  ถูก         ÿ  ผิด  (1.2)     4 : 7 = 8 : 14                 ÿ  ถูก         ÿ  ผิด  (1.3)     7 : 21 = 12 : 28              ÿ  ถูก         ÿ  ผิด (1.4)     5 : 6 = 15 : 18                ÿ  ถูก         ÿ  ผิด (1.5)     6 : 7 = 16 : 17                ÿ  ถูก         ÿ  ผิด


2. จงเติมจำนวนลงในช่องว่างเพื่อให้อัตราส่วนเท่ากัน (3 นาที)
 
 (2.1)   1 : 3  = : 30                                      

 

 (2.2)    : 5  =  6 : 30                                    

 

 (2.3)   2 : 3  = : 9                                        

 

 (2.4)   3 :  =  9 : 27                                      

 

 (2.5)   8 : 12  = 24 :                                     

 

 

หมายเลขบันทึก: 136604เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2007 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
เอกรัฐ ภัทรวุฒิวงศ์

อยากเรียนเรื่องภาษีร้อยละจังเลย

หนูอยากหั้ยมันชัดเจนกว่านีนะคะ

ถ้ามีรูปประกอบจะชัดเจนขึ้น

เหมือนเข้าใจอ่ะนะ

งง...............

ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเอา 5 มาหารทั้งสองตัว เอาเลขตัวอื่นได้ไหมครับ ขอบคุณครับ

ก้อเข้าจัยดีอะครับ5555

ให้ความรู้ดีมากเเลยค่ะทำหัยหนูเข้าจัยมากขึ้น

คุณ M เหตุที่ต้องเอาห้าหารเพราะ ห้าเป็นเลขที่หารจำนวนดังกล่าวลงตัว ถ้าใช้เลขอื่นมันไม่ลงตัว ฉะนั้นต้องหาเลขที่หารให้ลงตัว

เป็นอะไรที่สุดบยอดมาก แต่ X+21=1253:763-241

เข้าใจอยู่นิดหนึ่งค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท