สวัสดิการ1บาทภาคประชาชนเสริมโมเดลอาจสามารถแก้จน


งานวิจัยจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน กำลังเสนอแบบจำลองการจัดสวัสดิการภาคประชาชนผ่านองค์กรการเงินชุมชนโดยสนับสนุนการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้าง ปรับปรุงแบบจำลองให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพในหลากหลายรูปแบบ

งานวิจัย"การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน"ของหน่วยจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยการสนับสนุนของสกว.และศตจ.กำลังสนับสนุนการขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการภาคประชาชนด้วยแนวทางการจัดการความรู้ร่วมกับภาคีอื่นๆอย่างน่าสนใจ

ที่เป็นหัวขบวนประกอบด้วย

1)กลุ่มสัจจะลดรายจ่ายวันละ1บาททำสวัสดิการภาคประชาชนแก้จนอย่างยั่งยืนจังหวัดสงขลา ณวันนี้มีจำนวน54ตำบล 6เทศบาลสมาชิกกว่า38,000คนเงินกองทุนกว่า11ล้านบาท ดำเนินการโดยมูลนิธิดร.ครูชบ-ปราณี ยอดแก้วในลักษณะเครือข่ายระดับตำบล มีการประชุมแลกเปลี่ยน   ประสบการณ์เดือนละ1ครั้งทุกวันที่16ของเดือนเวลา10.00น.-15.00น.ณที่ทำการมูลนิธิ บริหารจัดการเบ็ดเสร็จในระดับตำบล

2)สถาบันพัฒนาระบบการออมเพื่อสุขภาวะและสวัสดิการชุมชนจังหวัดลำปางนำโดยคุณสามารถ พุทธา มีสมาชิกจำนวน21กลุ่มจำนวน6,000กว่าคนประชุมเครือข่ายสัญจรทุกวันที่22ของเดือน      มีการบริหารจัดการเชื่อมโยงเป็นกองทุนระดับจังหวัด

3)กองทุนเมตตาธรรมนำสวัสดิการภาคประชาชน ทำบุญวันละ1บาทจังหวัดตราด นำโดยเครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์พัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิตของพระอาจารย์สุบิน ปณีโต บริหารจัดการกองทุนโดยเชื่อมโยงกับกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์และเครือข่าย

4)กองทุนสัจจะวันละ1บาทจังหวัดนครศรีธรรมราช นำโดยเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลกะหรอ กิ่งอำเภอนบพิตำ ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อหนุนเสริมการทำงานของเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับตำบลมีสมาชิกกว่า1,000คนบริหารจัดการโดยคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบล

แนวทางดังกล่าวกำลังมีการขยายผลในระดับนโยบายคือ

1)ทราบว่าคุณเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รักษาการผู้อำนวยการกองทุนหมู่บ้านฯแห่งชาติเห็นด้วยกับ     แนวทางดังกล่าวมาก น่าจะมีแผนงานสนับสนุน ผลักดันให้เกิดการจัดตั้งกองทุนสัจจะวันละ1บาทขึ้นในทุกกองทุนหมู่บ้านระดับตำบลอย่างเป็นระบบต่อไป

2)กฏหมายนโยบายด้านสวัสดิการสังคม ระบบการออมเพื่อการชราภาพและหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฯลฯ กำลังดูว่าการจัดสวัสดิการสังคมในลักษณะหุ้นส่วน โดยประชาชนในชุมชนร่วมกันออมโดยรัฐร่วมสมทบเช่นเดียวกับประกันสังคมจะมาผนวกรวมกันได้อย่างไร เพราะมีเงินกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือประชาชนตามกฏหมายและนโยบายจำนวนมากผ่านช่องทางต่างๆอยู่บ้างแล้ว

งานวิจัยจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน กำลังเสนอแบบจำลองการจัดสวัสดิการภาคประชาชนผ่านองค์กรการเงินชุมชนโดยสนับสนุนการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้าง ปรับปรุงแบบจำลองให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพในหลากหลายรูปแบบ

โดยที่จะมีการทดสอบขนานใหญ่จาก เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน และ โครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเสริม "โมเดลอาจสามารถแก้จน" ได้

หมายเลขบันทึก: 13599เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2006 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 02:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท