รูปแบบของผญา


...................บทกวีต่างแบบของภาษาอีสาน
........ ๑.กาพย์ โดยลักษณะทั่วไปน่าจะเป็นกลีบบางๆและซ้อนเหลื่อมกันชั้นๆ เช่น กาบดอกไม้ กาบลาง กาบหมาก ก็เป็นจุดเดียวกันกับเอาคำที่ที่สัมผัสซับซ้อนกันมาจัดระเบียบให้งดงาม
......... ๒. กลอน หมายความถึงถ้อยคำที่จัดระเบียบพาดก่าย(สัมผัส) กัน เหมือนกับกลอนเรือน ซึ่งทางภาคเหนือเรียกว่า (ค่าว) ก็ เป็นเครื่องเรือนประเภทนี้เหมือนกัน คำกลอนอีสาน มี ๓ แบบ คือ กลอนลำ กลอนอ่าน และ กลอนย่อย โดยอาจมีลักษณะพิเศษ เช่น กลอนเย้ย กลอนโจทก์แก้ เป็นต้น สำหรับกลอนอ่านพอจะแยกออกได้เป็น.
..........................๒.๑ กลอนอ่านวชิรปันตี
..........................๒.๒ กลอนอ่านวิชชุมาลี
...........................๒.๓ กลอนอ่านสัพสอด หรือ เทียมแอก
...........๓. กลอนย่อย หรือ ผญาย่อย ซึ่งแยกเป็น
...........................๓.๑ กลอนขึ้นลง
...........................๓.๒ กลอนผญา หรือล่องของ หรือ กลอนขับ
...........๔. โคลง มีหลายแบบ เช่น โคลง ๕ โคลงสุภาพ พระยาลืมงาย อินทร์เกี้ยวก้อน อินทร์หลงห้อง ฟองสมุทร หมายกงรถสามชั้น พวนสามชั้น
...........๕. ฮ่าย (ร่าย) มี ฮ่ายวชิรปันตี มหาวชิรปันตี ฮ่ายยาว (คำสู่ขวัญ) โศก หรือ สารโศลก ซึ่งแบ่งเป็น โศกสาม โศกสี่ โศกห้า โศกหก โศกเจ็ด .
............................................ แบบฉบับ

...... บทกวีทางอีสานนั่น ไม่ค่อยมีฉันท์ แต่มักจะมีเพียง กาพย์ กลอน โคลง ฮ่าย(ร่าย) และ โศะ เท่านั้น
ก.วิธีแต่ง กาพย์
................ คำว่า “ กาพย์ ” มาจากภาษาสันสกฤต ว่า กาพยํ แปลว่า คำของกวี ส่วนภาษาอีสาน “กาบ” หมายความถึง ของที่มีลักษณะเป็นกลีบบางๆ ซ้อนเหลื่อมกัน เช่น กาบดอกไม้ กาบลาง กาบหมาก เป็นต้น คำว่า “กาบ” นั้นน่า จะหมายถึงคำที่มีการ (ก่าย) หรือสัมผัสซับซ้อนกัน ได้ระเบียบงดงาม เช่น กาบดอกบัว วรรณคดีอีสาน ซึ่งถือเป็น กาพย์ ก็ มีหลายเรื่อง เช่น กาพย์ปู่สอนหลาน กาพย์พระมุนี กาพย์เซิ้ง เป็นต้น
......... หลักการแต่งกาพย์ในภาษาอีสาน น่าจะได้แบบมาจากวชิรปันตี แต่จะผิดเพี้ยนกันเล็กน้อย คือ กาพย์วชิรปันตี นั้นมีกำหนดวรรค ละ ๑๐ คำ รวม ๔ วรรค เป็น ๑ บท และใช้สัมผัสด้วยสระ ส่วนกาพย์ ทางอีสาน มีกำหนด วรรค ละ ๗ คำเสมอกันหมด และไม่มีกำหนดว่า จะต้องมีกี่วรรค ส่วนสัมผัสคำนั้น เหมือนกัน ดังนี้
๑....คำสุดท้ายในวรรคที่ ๑ ให้ก่ายกับ คำที่ ๓ ใน วรรคที่ ๒
คำสุดท้ายในวรรคที่ ๒ ให้ก่ายกับคำที่ ๓ ในวรรคที่ ๓
..................คำสุดท้ายในวรรคที่ ๓ ให้ก่ายกับคำที่ ๓ ในวรรคที่ ๔ เรื่อยไปจนจบเรื่อง
สรุปสั้นๆ ว่า คำที่ ๓ ให้ก่ายกับคำที่ ๗ ก็ ได้ แต่มีข้อยกเว้น คือ ถ้าขัดข้องจะเลื่อนคำก่ายมารับคำที่ ๑ หรือที่ ๒ ก็ได้
๒..............คำที่ก่ายกันนั้น ถ้าหากคำท้ายเป็นเสียงเอก หรือเสียงโท หรือเสียงสุภาพ คำที่ก่ายกัน ก็ให้มีเสียงเป็นไปตาม ตัวสุดท้าย
การเขียนบทกาพย์ มี ๒ วิธี คือ
...............วิธีที่ ๑ เขียนเป็นวรรค วรรคละ ๗ คำ หรือบรรทัดละ ๗ คำแล้วแบ่งเป็น สองตอน ตอนต้น ๓ คำ ตอนปลาย ๓ คำ ตัวอย่างเช่น
........................โอมพุทโธ.......................นะโมเป็น
........................ข้าสิเว้า.......................... ..กาพย์พระมุนี
........................พระมุนี.............................อยู่หัวเป็นเจ้า
........................เว้าเมื่อหน้า....................... ยังกว้างกว่าหลัง
........................อนิจจัง.............................. ลูกหลานเต็มบ้าน
........................อย่าขี้คร้าน.........................ปะฮีตครองธรรม
........................ให้พร่ำเพ็ง........................ ภาวนาอย่าขาด ฯลฯ
................วิธี ที่ ๒ เขียนบรรทัดละ /๔ คำ ลัวแบ่งเป็นสองตอนๆ ละ ๗ คำ ตัวอย่าง ดังนี้
.........ให้ตักบาตรอย่าขาดวันศีล...........ให้กินทานจังหันแม่ออก
เพิ่นสอนบอกอย่าเกิดโมโห....................โตสอนโตฟังเอาจั่งได้
บาปอยู่ใกล้บุญนั้นอยู่ไกล........................อวิสัยอย่าทำไปหน้า
แนวเหล็กกล้ามันถึกหินซา .....................ฝุงมัจฉาหมายชมน้ำใหม่
ลางนกไส่มาฮ้องก้ำขวา.......................... ลางนกทามาฮ้องบอกชื่อ
ให้จื่อไว้ตามฮีตบูฮาน............................. ฟังความหลานจื่อเอาเด้อเจ้า
ยกใสเกล้าคุณพ่อปิตา..............................คุณมารดานบหาอย่าขาด
อย่าประมาทคุณแก้วทั้งสาม...................เข้าในผามอย่าทัดดอกไม้ ฯลฯ
(จาก: กาพย์พระมุนี ของโบราณ)

ข.วิ๊ธีแต่งกลอน
.........คำว่า ”กลอน” คงหมายถึงคำพูดที่จัดเป็นระเบียบ และมีถ้อยคำพาดก่าย(สัมผัส) เหมือนกลอน เฮือน (เรือน) ในภาษาอีสาน เทียบกับคำว่า”ค่าว” ทางภาคเหนือ ซึ่งคงมีลักษณะเหมือน คร่าวเรือน ทั้งกลอนและคร่าว ต่างก็มีลักษณะยึดโยงสอดคล้องเป็นโครงร่างของบ้านเรือนเช่นเดียวกัน
.........คำว่ากลอน ทางภาคอีสานมีเนื้อเรื่องเป็นแบบพิเศษ ไปอีกก็ได้ เช่น กลอนเย้ย กลอนด่า กลอนจทก์แก้ เป็นต้น แต่ตามปกติโดยทั่วไปมี ๓ แบบ คือ
................๑. กลอนลำ
.................๒.กลอนอ่าน
.................๓.กลอนย่อย
........ซึ่งทั้ง ๓ แบบนี้ มีที่มาจากกาพย์วิชชุมาลี และกาพย์วชิรปันตี ของอินเดียโบราณ
........๑. กำลอนลำ
........กลอนลำนี้ หมายถึงกลอนที่พวกหมอลำนำไปแสดง ตามปกติ คำว่า “หมอลำ” อาจมีผู้เข้าใจสับสนในปัจจุบันนี้ เพราะแต่เดิมนั้น คำว่า”ลำ” นั้น เป็นลักษณะนาม ซึ่งแสดงถึงลักษณะความยาว เช่น ลำไม้ไผ่ ลำต้นไม้ ลำน้ำ เป็นต้น คำกลอนเวสสันดร ซึ่งมีความยาวมากนั้น แต่ก่อนเรียกว่า กลอนพระเวสสันดรลำหนึ่ง กลอนพระเวสสันดรลำสอง เรื่องสังข์ศิลป์ชัยลำหนึ่ง เป็นต้น ถ้าผู้ใดสามารถท่องจำ หรือเอ่ยทำนองได้ จนจบเรื่องของวรรณคดี ซึ่งมีความยาวได้ ก็จะเรียกคนๆนั้น ว่า “หมอลำ” เป็นประเถท “หมอลำพื้น” ต่อมาไม่ค่อยจะมีคนที่ท่องจำได้ทั้งหมดทั้งลำยาวๆ หรือ อาจมีเวลาเพียงจำกัด จึงตัดตอนเอาเฉพาะกลอนไม่ยาวนักมาแสดง จึงเรียกว่า “หมอลำกลอน” ภายหลังจึงมีการดัดแปลง มาเป็น หมอลำเรื่อง หมอลำหมู่ หมอลำเต้น ฯลฯ
......ตามธรรมเนียมแต่โบราณมา บรรดา กาพย์ กลอน โคลง หรือ อื่นๆ ก็ จะนำมาขับร้องได้เหมือนกัน
......โดยเฉพาะกลอนลำ มีวิธีแต่ง ๒ แบบ คือ แบบที่เหมือนกาพย์วชิรปันตี กับแบบที่เหมือนกาพย์วิชชุมาลี ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้
กลอนลำแบบวชิรปันตี ได้รับอิทธิพลจากกาพย์ดังกล่าว แต่แต่งให้เพิ่มบูรพบทเข้ามาอีก ตั้งแต่ ๒ คำ หรือ ๔ คำ ก็ได้ และคำที่ก่ายกันนั้น ถ้าขัดข้อง จะเลื่อนออกมาให้ก่าย กับคำบูรพบทก็ได้ และให้ใช้คำก่ายในมากขึ้นเท่านั้น
หมายเลขบันทึก: 135668เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2007 00:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับคุณคุณาวุฒิ  ดีใจที่ท่านนำเสนอเรื่องนี้  ขอแลกเปลี่ยนความม่วนนำกันสักเล็กน้อย จากขอ้ความที่ว่า

"วิธีที่ ๑ เขียนเป็นวรรค วรรคละ ๗ คำ หรือบรรทัดละ ๗ คำแล้วแบ่งเป็น สองตอน ตอนต้น ๓ คำ ตอนปลาย ๓ คำ ตัวอย่างเช่น
........................โอมพุทโธ.......................นะโมเป็น
........................ข้าสิเว้า.......................... ..กาพย์พระมุนี
........................พระมุนี.............................อยู่หัวเป็นเจ้า"

ผมขอแลกเปลี่ยนดังนี้

  1. เป็นร่ายอีสาน/ลาว หรือที่เราพูดว่า กาบเซิ้ง เช่น กาบเซิ้งบั้งไฟบทต่าง ๆ  เพลง "เซิ้งอีสาน"  ของวงคาราวาน ก็อย่างนี้
  2. การนับคำ/พยางค์  ควรเป็น วรรคต้น 3 คำ  วรรคปลาย 4 คำ  (หรือเปล่าครับ ลองนับดู) เช่น ข้าสิเว้า         กาพย์พระมุนี
            พระมุนี         อยู่หัวเป็นเจ้า
            เว้าเมื่อหน้า  ยังกว้างกว่าหลัง
  3. กาบที่ท่านยกมาบรรทัดแรก  ลองตรวจต้นฉบับดูจะตกคำว่า "เค้า" (แปลว่ามูลเหตุ  แรกเริ่ม เดิมดา..) จึงควรจะเป็น "โอมพุทโธ.........นะโมเป็นเค้า" หรือไม่อย่างไรครับ

          สุดยอดครับหาคนที่สนใจอย่างนี้ยากแล้วในปัจจุบัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท