ถึงพูดไม่คล่องแต่เข้าสมองคนฟัง


พูดไม่คล่องคนฟัง

ประโยคที่ถูกขัดจังหวะด้วยเสียงอืม…เอ้อ…อ้า ทำให้คนฟังต้องใช้สมาธิและคาดเดาวลีที่จะตามมา จึงทำให้ประโยคนั้นเป็นที่จดจำได้มากขึ้น

   เดลิเมล์ - การพูดจาเอ้อๆ อ้าๆ อาจทำให้คนฟังหงุดหงิด แต่จริงๆ แล้วนักวิจัยบอกว่า คำพูดขาดช่วงแบบนี้ที่ทำให้แต่ละประโยคหลุดจากปากออกมาช้าลง กลับทำให้คนฟังเข้าใจและจดจำได้มากขึ้น
       
        ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยสเตอร์ลิง และมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์กในสก็อตแลนด์ อธิบายว่า การพูดจาตะกุกตะกัก และเว้นจังหวะด้วยวลี ‘อืม…’ ‘เอ้อ…’ และ ‘อ้า…’ ทำให้คนฟังต้องตั้งใจฟังมากขึ้น
        ในการวิจัย ผู้เชี่ยวชาญขอให้อาสาสมัครฟังชุดประโยค ซึ่งรวมถึงประโยคที่ตะกุกตะกัก จากนั้น จึงทำการทดสอบว่าอาสาสมัครเหล่านั้นจำสิ่งที่ได้ยินได้ฟังได้มากน้อยแค่ไหน
       
        ผู้เชี่ยวชาญพบว่า เสียง ‘เอ้อ…’ ที่สอดแทรกอยู่ในประโยคคำพูด ทำให้คนฟังจดจำประโยคนั้นได้อย่างชัดเจน
       
        หลังจากฟังเทปผ่านไปหนึ่งชั่วโมง อาสาสมัครทำแบบทดสอบและได้คะแนนการจดจำคำต่างๆ ได้ถูกต้องถึง 60% ในประโยคที่มีเสียงเอ้อๆ อ้าๆ เทียบกับ 55% สำหรับประโยคที่ไม่มีจุดสะดุด
       
        ดร.มาร์ติน คอร์ลีย์ จากแผนกปรัชญา จิตวิทยา และภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก ชี้ว่าประโยคที่ขาดช่วงเป็นการขัดจังหวะที่กระตุ้นให้คนฟังคาดเดาคำพูดที่จะตามมา
       
        ด้วยเหตุนี้ บรรดาพิธีกร นักการเมือง ทนายความ และบาทหลวง จึงได้รับคำแนะนำให้สอดแทรกเสียงเอ้อ…อ้า…อืม…ไว้ในประโยคที่พูดด้วย
       
        อนึ่ง ขณะนี้ นักวิจัยกำลังศึกษาว่าคำบางคำ อาทิ ‘เช่น’ ส่งผลต่อคนฟังแบบเดียวกันนี้หรือไม่

หมายเลขบันทึก: 135595เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2007 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท