บำนาญผู้สูงอายุ "สงเคราะห์หรือประชานิยม"


การเมืองกับการจัดการความรู้มีส่วนคล้ายคลึงกันในแง่ที่ต้องอาศัยจินตนาการเป็นตัวนำ

ผมอ่านข่าวมติชนรายวันประมาณ2-3วันมาแล้ว  
คุณองอาจ คล้ามไพบูลย์จากพรรคปชป.เสนอว่าจะอุดหนุนเบี้ยยังชีพให้คนชราทุกคน

ในฐานะที่ผมร่วมเสียภาษีด้วย ผมไม่เห็นด้วยกับการนำเงินกองกลางจ่ายให้ผู้สูงอายุแบบสงเคราะห์เช่นที่เป็นมา

กลุ่มบ้านดอนไชย เครือข่ายโซนใต้จ.ลำปางสะท้อนปัญหาเบี้ยยังชีพที่ได้ไม่ครบทุกคน สร้างความแตกแยกในชุมชนเพราะกระบวนการคัดกรองไม่มีประสิทธิภาพพอหรือคนในชุมชนก็ด้อยโอกาสพอๆกัน แต่การแก้ไขโดยจ่ายให้ทุกคน ผมเห็นว่าเดินผิดทาง

กลุ่มบ้านดอนไชยคิดช่วยเหลือตัวเองและพึ่งพาช่วยเหลือกันด้วยกระบวนการกลุ่มออมบุญวันละ1บาทเป็นแนวทางที่ควรส่งเสริมสนับสนุนมากกว่า

ในช่วงที่ครูชบเป็นคณะกรรมการนโยบายสังคม พระอาจารย์สุบิน ปณีโตเป็นที่ปรึกษาได้เสนอให้นายกชวน หลีกภัยดำเนินนโยบายที่พรรคไทยรักไทยหยิบไปใช้คือ กองทุนหมู่บ้าน1ล้านบาท เพราะพรรคประชาธิปัตย์ไม่สนใจ ดำเนินนโยบายเชิงสงเคราะห์ด้วยกลไกของราชการ
สงเคราห์กับประชานิยมมันต่างกันตรงไหน?

การสงเคราะห์ด้วยเบี้ยยังชีพเป็นการลดทอนพลังของชุมชน

พรรคประชาธิปัตย์ควรสนับสนุนข้อเสนอของขบวนองค์กรการเงินชุมชนตามแนวทาง "ชุมชนจัดสวัสดิการ รัฐเป็นหุ้นส่วนร่วมสมทบ"

ผมคิดว่าการเมืองไม่สนใจรายละเอียดทางวิชาการเท่าไร                การเมืองกับการจัดการความรู้มีส่วนคล้ายคลึงกันในแง่ที่ต้องอาศัยจินตนาการเป็นตัวนำ

จินตนาการว่ารัฐจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุทุกคนกับจินตนาการว่ากองทุนสวัสดิการภาคประชาชนขับเคลื่อนตัวเองด้วยแรงจูงใจที่รัฐจะเข้ามาเป็นหุ้นส่วนคือภาพฝันของนักการเมือง

งานวิชาการและตัวอย่างรูปธรรมในเรื่องนี้มีพอสมควรแล้ว รายละเอียดค่อยลงลึกให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  

แต่จินตภาพของนักการเมืองต่อเรื่องนี้คือตัวชี้วัดคุณภาพนักการเมืองไทย

หมายเลขบันทึก: 134739เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2007 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท