บทที่ 5สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ


สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการวิขัย

ในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง พ่อแม่นักวิทยาศาสตร์  ได้ดำเนินการตามขั้นตอน กระบวนการวิจัย ดังนี้

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.       เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจ หลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล

2.       เพื่อให้มีการตัดสินใจเลือกกิจกรรมร่วมกันระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง

3.       เพื่อให้มีการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ด้านวิทยาศาสตร์ จากผู้ปกครองสู่นักเรียนตามกระบวนการเรียนรู้ในบ้าน

4.       เพื่อให้มีความมั่นใจ ภูมิใจ ในผลงานร่วมกัน

5.       เพื่อให้มีการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้

วิธีดำเนินการวิจัย

                วิธีการดำเนินการวิจัย เรื่อง พ่อแม่นักวิทยาศาสตร์แบ่งเป็น  6 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 การจัดทำหลักสูตร

ขั้นที่ 2 การให้ความรู้เรื่องหลักสูตรแก่ผู้ปกครอง

ขั้นที่ 3 การคัดเลือกกิจกรรม

ขั้นที่ 4 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นที่ 5 การประเมินกระบวนการเรียนรู้

ขั้นที่ 6 การประเมินกิจกรรม

                ซึ่งในแต่ละขั้นตอนได้ใช้กระบวนการต่าง รวม 6 กระบวนการ คือ

1.       ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process Skills)

2.       กระบวนการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child Centered)

3.       ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom)

4.       การเรียนรู้โดยการบูรณาการ (Integration Learning)

5.       บ้านเรียน (Home School)

6.       การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Action Research)

เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีดังนี้

1.       ความเข้าใจ หลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล

ใช้เครื่องมือในการจัดอันดับคุณภาพ 3 ระดับ 

2.       ความสามารถตัดสินใจเลือกกิจกรรมร่วมกันได้ของนักเรียนและผู้ปกครอง

ใช้เครื่องมือในการสำรวจรายการ

3.       ความสามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ด้านวิทยาศาสตร์ จากผู้ปกครองสู่นักเรียนตามกระบวนการเรียนรู้ในบ้าน

ใช้เครื่องมือแบบสังเกตการปฏิบัติงาน

4.       ความมั่นใจ ภูมิใจ ในผลงานร่วมกัน ของนักเรียนและผู้ปกครอง

ใช้เครื่องมือในการจัดอันดับคุณภาพ 3 ระดับ 

5.       การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

ใช้เครื่องมือในการสำรวจรายการ

โดยผู้วิจัยเป็นผู้สร้างเครื่องมือ หาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ และปรับปรุงเครื่องมือด้วย

ตนเอง 

อภิปรายผล

จากการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยและคณะได้ดำเนินการทั้งการวางแผนงาน การประชุมปฏิบัติการ การออกภาคสนาม เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ปรากฏผลดังนี้

1. ความ เข้าใจ หลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ของผู้ปกครอง

ผู้ปกครองมีความเข้าใจ หลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล  ในระดับดี (3) ร้อยละ 86.20ซึ่งตรงกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

2. ความ สามารถตัดสินใจเลือกกิจกรรมร่วมกันนักเรียนและผู้ปกครอง

ผลการตัดสินใจเลือกกิจกรรม  ร้อยละ 79.31 เป็นการตัดสินใจร่วมกันระหว่างนักเรียนและผู้ปกครอง  ซึ่งต่ำกว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้ว่าจะมีการตัดสินใจร่วมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เพียง ร้อยละ 0.69 เท่านั้น

3. ความสามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ด้านวิทยาศาสตร์ จากผู้ปกครองสู่นักเรียนตามกระบวนการเรียนรู้ในบ้าน

ร้อยละ 89.65 .มีการถ่ายทอดความรู้จากผู้ปกครองให้แก่นักเรียน  ซึ่งตรงกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

4. ความมั่นใจ ภูมิใจ ในผลงานร่วมกัน นักเรียนและผู้ปกครอง 

ผู้ปกครองและนักเรียน ความมั่นใจ ภูมิใจ ในผลงานร่วมกัน ในระดับ 2 และ 3 รวมกัน ร้อยละ 90.23 ซึ่งตรงกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ว่า นักเรียนและผู้ปกครอง ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 มีความมั่นใจ ภูมิใจ ในผลงาน สูงกว่าระดับปานกลาง (2) ขึ้นไป

5. การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

นักเรียนที่ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงสุด คือ 10 ทักษะ และนักเรียนที่ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์น้อยที่สุด คือ  6 ทักษะกระบวนการ  ซึ่งตรงกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ตั้งแต่   4  ทักษะกระบวนการขึ้นไป

 

ข้อเสนอแนะ

1.       ข้อเสนอแนะของนักเรียนและผู้ปกครอง ซึ่งรวบรวมจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม มีดังนี้

1.1    ควรประชุมผู้ปกครองชี้แจงหลักสูตรทุกวิชา

1.2    ควรประชุมผู้ปกครองพร้อมกันทั้งห้อง

1.3    ควรแจกเอกสารหลักสูตรทุกวิชา

1.4    ควรให้การบ้านที่เด็กทำได้ เพราะบางครั้งการบ้านยากผู้ปกครองสอนไม่ได้

1.5    การจัดทำโครงงานให้รวมกันหลายวิชาเป็น 1 ชิ้นงาน

1.6    ครูควรสอนให้นักเรียนเชื่อฟังผู้ปกครองบ้าง

1.7    มีปัญหาเมื่อเลือกกิจกรรมแล้วทำไม่ได้ เด็กจะไม่ยอมเปลี่ยนต้องถามครูก่อน

1.8    ไม่มีเอกสารให้ค้นคว้าจึงถ่ายทอดได้จากประสบการณ์เท่านั้น

1.9    บางกิจกรรมน่าจะให้เด็กไปศึกษาจากผู้ประกอบการณ์จริง พ่อแม่มีความรู้น้อย

1.10 อึดอัดใจมาก ทอดไก่ก็เป็นวิทยาศาสตร์ด้วยหรือ

1.11 ควรให้นักเรียนศึกษาเรื่องไฟฟ้า เครื่องยนต์บ้าง

1.12 ควรสอนโดยใช้โครงงานในวิชาอื่นด้วย

1.13 ควรทำในภาคเรียนหน้าด้วย

1.14 ควรให้ครูอื่นออกมาประเมินทุกคน

1.15 การจัดนิทรรศการควรจัดให้ใหญ่กว่านี้

2.       ข้อเสนอแนะสำหรับการสนับสนุนการวิจัย

2.1    การแจ้งเรื่องทุนวิจัยควรแจ้งล่วงหน้าประมาณ 6 เดือน

2.2    การอนุมัติทุนวิจัยควรให้สอดคล้องกับเวลาที่กำหนดในตารางเวลาการวิจัย

2.3    ควรจ่ายเงินยืมทันทีเมื่อการวิจัยเริ่มขึ้น

1.       ข้อเสนอแนะทั่วไป

1.1    การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนปกติ ที่มีระบบไม่ใช่เรื่องยาก

1.2    การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ควรเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นหลัก

1.3    การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยโครงงานสามารถบูรณาการทั้งเนื้อหา วิธีการเรียนรู้และวิทยากร

2.       ข้อเสนอแนะสำหรับผู้นำผลการวิจัยไปใช้

2.1    การวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง พ่อแม่นักวิทยาศาสตร์สามารถนำไปใช้กับการสอนในวิชาอื่นๆ ได้

2.2    สถานศึกษาควรจัดให้มีการนำผลการวิจัยไปทดลองในห้องเรียนก่อน เพื่อปรับรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสม

3.       ข้อเสนอแนะสำหรับนักวิจัย

3.1   ควรศึกษากระบวนการวิจัยในชั้นเรียนหลายๆ รูปแบบก่อนการตัดสินใจเลือกแบบใดแบบหนึ่ง หรือหลายๆ แบบมารวมกัน

3.2    ควรศึกษาหลักสูตร ในเรื่อง ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เนื้อหา การวัดและการประเมินผล รวมทั้งนโยบายการจัดการศึกษา

3.3    ควรศึกษา พรบ.การศึกษาแห่งชาติ และรัฐธรรมนูญ

            

หมายเลขบันทึก: 134543เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2007 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท