บทที 1ความสำคัญของปัญหา


ความสำคัญของปัญหา
ภูมิหลัง

ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนในปัจจุบัน ผู้วิจัยได้สอบถามผู้ปกครอง เพื่อนครูอาจารย์ นักเรียน และครูโรงเรียนมัธยมที่รับนักเรียนต่อจากโรงเรียนประถม พบว่า

1.     ครูยังไม่มั่นใจการจัดทำ การใช้ การวัดและประเมินผลตามหลักสูตร โดยเฉพาะหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

2. ครูต้องการให้ผู้ปกครองช่วยเหลือแนะนำนักเรียนที่บ้านต่อจากครูที่โรงเรียน

3.ครูต้องการให้ผู้ปกครองสนับสนุนอุปกรณ์การเรียน สื่อ และค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมเสริม เช่นทัศนศึกษา กีฬา นันทนาการ การเรียนคอมพิวเตอร์ แก่นักเรียน

4.  ครูต้องการให้ผู้ปกครองสนับสนุนโรงเรียนในด้านอุปกรณ์ในการผลิตสื่อ เช่นเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพริ้นเตอร์ เครื่องโปรเจคเตอร์ หนังสือห้องสมุด ฯลฯ

5.   ผู้ปกครองต้องการให้ครูสอนให้นักเรียนอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น

6.ผู้ปกครองต้องการให้โรงเรียนจัดกิจกรรมแข่งขันเพื่อความเป็นเลิศ

7.ผู้ปกครองต้องการให้โรงเรียนจัดบริการต่างๆ เช่น สอนพิเศษ สอนคอมพิวเตอร์ การแข่งขันกีฬา ดนตรี ฯลฯ แบบให้เปล่า

8. ผู้ปกครองต้องการให้จัดกิจกรรมที่เน้นวิชาการมากๆ

9.ผู้ปกครองต้องการครูที่เป็นมิตร เข้าใจเด็กและผู้ปกครอง

10.นักเรียนต้องการให้โรงเรียนมีอุปกรณ์ต่างๆให้ครบ

11.นักเรียนไม่ต้องการเรียนในวิชาที่สลับซับซ้อน

12.นักเรียนต้องการมีเวลาพักบ้าง ไม่อยากให้มีเวลาเรียนติดต่อกันทั้งวัน

13. นักเรียนต้องการครูที่เข้าใจเด็ก

14.นักเรียนต้องการครูที่สอนสนุก และเป็นที่พึ่งของนักเรียนได้

15.นักเรียนต้องการให้ได้คะแนน(เกรด)ดีๆ แม้จะต้องซื้อของมาส่ง หรือจ้างให้คนอื่นทำให้ก็ยอม (ผู้ปกครองส่วนใหญ่สนับสนุนด้วย)

16. ครูโรงเรียนมัธยมต้องการรับนักเรียนเรียนต่อโดยการสอบเข้าเรียนเพื่อคัดเลือกนักเรียนเรียนเก่ง

17.ครูโรงเรียนมัธยมต้องการให้โรงเรียนสอนเน้นเนื้อหา

                จากข้อมูลเบื้องต้นดังกล่าว เห็นว่า หากครูยังคงใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบเดิม ความต้องการของครู ผู้ปกครอง นักเรียน และครูโรงเรียนมัธยม จะเป็นเส้นขนานกันมากยิ่งขึ้น หรือห่างออกจากกันด้วย  ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการสอนกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต และรับผิดชอบสอนวิชาวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ให้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ในปีการศึกษา 2548 และรับผิดชอบเป็นครูหัวหน้างานวิชาการ ระดับประถมศึกษา ของโรงเรียน จึงได้ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ของโรงเรียน โดยรับผิดชอบเป็นบรรณาธิการหลักสูตรสถานศึกษา ปี 2546 ของโรงเรียน และได้สอนตามหลักสูตรสถานศึกษาที่ทำขึ้น  โดยใช้กิจกรรม โครงงานเป็นสื่อ และใช้กระบวนการเป็นองค์ประกอบ เพื่อให้การสอนโดยใช้โครงงานบรรลุจุดมุ่งหมาย ได้แก่

                ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (มาตรา 23(2) พรบ.การศึกษาแห่งชาติ)       

                กระบวนการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (มาตรา 22 พรบ.การศึกษาแห่งชาติ)

                ภูมิปัญญาท้องถิ่น (หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ..2544)

                การเรียนรู้โดยการบูรณาการ (หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ..2544)

                บ้านเรียน (มาตรา 11 และ มาตรา 24(6) พรบ.การศึกษาแห่งชาติ)

                การวิจัยในชั้นเรียน (มาตรา 24(5) และ มาตรา 30 พรบ.การศึกษาแห่งชาติ, หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ..2544)

เพื่อจะให้  ผู้ปกครอง นักเรียน และครู ได้ร่วมกัน คิด ทำ นำเสนอ ผลงานของตน ด้วยความชื่นชม และได้ซึมซับ รับรู้ วิธีการ กระบวนการ การเรียนรู้ และนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้ในวิชาอื่นได้ เมื่อนักเรียนจบชั้นสูงสุดของโรงเรียนจะได้ส่งนักเรียนที่มีทั้งความรู้ ความสามารถในการเรียนรู้ และมี จิตวิทยาศาสตร์ติดตัว ไปให้เรียนต่อในระดับชั้นที่สูงต่อไปด้วยความมั่นใจและภาคภูมิ

2. วัตถุประสงค์

1.       เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจ หลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล

2.       เพื่อให้มีการตัดสินใจเลือกกิจกรรมร่วมกันระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง

1.       เพื่อให้มีการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ด้านวิทยาศาสตร์ จากผู้ปกครองสู่นักเรียนตามกระบวนการเรียนรู้ในบ้าน

2.       เพื่อให้มีความมั่นใจ ภูมิใจ ในผลงานร่วมกัน

3.       เพื่อให้มีการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้

3. สมมุติฐาน

1.     ผู้ปกครอง ร้อยละ 80 เข้าใจ หลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ในระดับ 3 (ดี) จากการจัดอันดับแบบ 3 ระดับ

2.       นักเรียนและผู้ปกครอง ร้อยละ 80 สามารถตัดสินใจเลือกกิจกรรมร่วมกันได้

3.     ผู้ปกครองร้อยละ 80 สามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ด้านวิทยาศาสตร์ จากผู้ปกครองสู่นักเรียนตามกระบวนการเรียนรู้ในบ้าน

4.     นักเรียนและผู้ปกครอง ร้อยละ 80 มีความมั่นใจ ภูมิใจ ในผลงานร่วมกัน ในระดับ ปานกลาง(2) ขึ้นไป จากการจัดอันดับแบบ 3 ระดับ

5.       ร้อยละ 100 ของกิจกรรมใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ 4 กระบวนการขึ้นไป

 4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

                นักเรียนสามารถเรียนรู้โดยใช้จิตวิทยาศาสตร์จัดทำโครงงาน คนละ 1 โครงงาน โดยมีผู้ปกครองเป็นที่ปรึกษา

 5. นิยามศัพท์เฉพาะ

                พ่อแม่                 หมายรวมถึง ผู้ปกครองนักเรียนที่นักเรียนอาศัยอยู่ด้วย นักเรียนอาจเรียกชื่ออย่างอื่น เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย น้า ป้า ลุง อา เป็นต้น

                นักวิทยาศาสตร์หมายถึง  มีความสามารถในทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านต่างๆ

                โครงงาน           หมายถึง โครงงานในวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนชุมชนวัดปากตรัง พ.. 2546

                จิตวิทยาศาสตร์หมายถึง   ลักษณะนิสัยของบุคคลผู้ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์  ได้แก่  ความสนใจใฝ่รู้  ความมุ่งมั่น  อดทน รอบคอบ  ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ เป็นต้น 

หมายเลขบันทึก: 134531เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2007 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 12:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท