ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ....รังสีเทคนิค


ให้นิสิตรังสีเทคนิคชั้นปีที่ 4 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

1. สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ
2.กฏหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ


 

หมายเลขบันทึก: 133910เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2007 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 12:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (50)

1. สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

     -ทำไมคำศัพท์เกี่ยวกับผู้ประกอบโรคศิลปะถึงเข้าใจได้ยากจังเลยอ่ะคับ ต้องชั้ยความพยายามอย่างมหาศาล ถึงจะเข้าใจ ถ้าเทียบกันแล้วอ่านการ์ตูน 3 เรื่อง เวลาที่ใช้อ่าน 3 เรื่องนี้เท่ากับ ทำความเข้าใจสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะเพียง 1 เรื่องเอง

2.กฏหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

     -นอกจากกฎหมายที่คนธรรมดาที่ต้องรู้แล้ว ยังมีกฎหมายเฉพาะของนักรังสีเทคนิคอีกที่ต้องรู้อีก...เฮ้ย! คิดแล้ว Sad ! จริงๆ

                   ไม่ได้ซีเรียสนะคร้าบ..เขาว่ายังงัย ก็ว่าอย่างงั้น..

                                        ทำได้อยู่แล้ว..YO!

ปาหนัน สิงห์ลา 47661889

1. สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

*-*  คิดว่าคนที่จะไปเป็นนักรังสีเทคนิคทุกคนต้องทำให้ได้นะคะ เพราะว่ามันเป็นตัวที่สามารถชี้ชัดได้ว่าเราเป็นนักรังสีเทคนิคที่ดีและสามารถจริงหรือเปล่า
2.กฏหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

*-*  เพื่อเป็นประโยชน์กับตัวเราทั้งในการเตรียมตัวสอบใบประกอบวิชาชีพ และเพื่อเป็นความรู้ที่จะนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพต่อไปในอนาคต

นาย ทองคำ แสงสี 47661798

    + 1. สมรรถนะและมาตราฐานวิชาชีพสำหรับ 

            ผู้ประกอบโรคศิลปะ

                 ความจริงแล้วคำว่า " วิชาชีพ" นั้นมันก็น่าจะหมายถึง   วิชา = ความรู้ในด้านที่ๆเราจะทำการประกอบอาชีพในด้านนั้นๆนอกจากนี้แล้วก็ยังน่าจะมีทักษะอีกด้วย มีแต่ความรู้แล้วไปเจอจริง ปฏิบัติงานจริงๆแล้วทำไม่ได้ เขาเรียกว่า มีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด เอาซะแรงเชียว  อาชีพ = ก็งานที่เราใช้เลี้ยงชีพไง ถ้าเราไม่มีสมรรถนะในการประกอบอาชีพแล้วเราก็ไม่น่าที่จะสามารถประกอบอาชีพในด้านนั้นๆได้อย่างแน่นอน เพราะเราเองก็มีอาชีพที่เราประกอบที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคนเหมือนกันนี่นา  ดังนั้นเมื่อเรารู้แล้วว่าสมรรถนะของเราชาวรังสีมีอะไรบ้างแล้วก็จัดการทำให้ได้ตามที่สมรรถนะของเราที่พึงควรมี ( แต่เราก็ไม่จำเป็นที่จะมีหมดทุกข้อเพราะเราเองก็ไม่ได้เก่งไปซะทุกด้านนี่นา เอาแค่ที่เราพอจะทำได้ตามความสามารถก็แล้วกันนะ) ทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ก็แล้วกันนะ

+ 2. กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

                   ความจริงแล้วประชาชนทุกคนก็ควรที่จะรู้กฏหมายอยู่แล้วนี่เขาบังคับให้เรารู้ พอเวลาที่มีเรื่องจะอ้างว่าเราไม่รู้เรื่องมันก็ไม่ได้ ถ้าเราจะรู้ให้มันแคบเข้ามาอีกนิดที่มันเกี่ยวกับสายอาชีพของเรามันก็ไม่ได้นักหนาอะไรมากมายนะ แต่อย่ามากเกินไป เพราะเราเองได้แค่ วท.บ. นะ ไม่ใช่ น.บ. 555 บวกกับการทดสอบความรู้บอกอาจารย์พิเศษนิดนึงว่าให้เอาแบบทดสอบแบบ Up date ซักนิดนึงนะอย่าเอาแต่ของเก่าๆมาเพราะว่า จะได้เท่าเทียมกันหน่อยจะได้ไม่ลำเอียง สรุปกันได้ว่า รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามนะ ( แบกเอาไว้ให้มันหนักๆๆๆๆ )

               สรุปจริงๆว่า  รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม

                      นะ!!!!!!!! อาจารย์คงไม่เอาสิ่งที่ไม่ดี

                      มาให้ลูกศิษย์อันน่ารักแบบเราหรอก

นายสิทธิชัย บัณฑิตเนตร์

1.สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

ข้าพเจ้ามีความเห็นว่าควรจะมีการระบุเป็นกฏที่ชัดเจนไปเลยว่าสมรรถนะและมาตฐานที่เราต้องการควรอยู่ในระดับใด มีวิธีการปฏิบัติอย่างไรเพื่อที่จะให้ตรงตามมาตฐานที่ตั้งไว้ ที่สำคัญควรที่จะแยกประเภทด้วยว่าจะเอาสมรรถนะและมาตรฐานในด้านใดบ้างให้ชัดเจนเลย ที่สำคัญต้องมีบทลงโทษที่ชัดเจนสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามสมรรถนะและมาตรฐานที่วางไว้

2.กฏหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

สำหรับในแง่ของกฎหมายที่พวกเราควรทราบนั้น ความจริงแล้วเราควรที่จะรู้เรื่องของกฎหมายให้มากจะดีต่อตัวเราเอง ไม่ว่าจะเป็นด้านใหนก็ตาม เพราะในสังคมสมัยปํจจุบันนี้คนที่รู้เรื่องของกฎหมายมากจะได้เปรียบ แต่สำหรับพวกเรากฎหมายที่เราควรรู้ก็น่าจะหนีไม่พ้นในด้านที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณและวิชาชีพของเราเป็นหลักก่อน ว่าเรามีข้อปฏิบัติอย่างไรและข้อห้ามอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการทำงานของเรา ตลอดจนต้องทราบถึงบทลงโทษต่างๆที่มีการตั้งไว้ในทางกฎหมาย ทราบช่องทางการแก้ปํญหาเมื่อมีการทำผิดพลาด เช่น การยื่นอุทร เป็นต้น 

 ก็คือบอกตามตรงนะคะว่าตีความหมายของหัวข้อนี้ไม่ถูก เข้าใจว่าเป็นการแดงความคิดเห็นต่อหัวข้อเหล่านี้หรือเป็นการถามความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้กันแน่ แต่ว่าก็ขอตอบแบบกลาง ๆ กึ่งความคิดเห็นและความรู้แล้วกันนะคะ

1.สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ เป็นข้อบ่งชี้ความสามารถขั้นต่ำของนักรังสีเทคนิคที่พึงมี ซึ่งตามสมรรถนะ ที่ร่างไว้นั้น ตัวดิฉันเองคิดว่ามันไม่ใช่ง่าย ๆ เลยที่จะปฏิบัติให้ได้ตามสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพอันนี้ แต่หากว่าสามารถทำได้ตามนั้นก็จะเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพของเราขั้นมาสู่อีกระดับหนึ่ง ผลที่ตามมาก็คือเป็นวิชาชีพที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ ก็ถือว่าคุ้มค่านะ

2.กฏหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ 

กฎหมาย ที่นักรังสีเทคนิคควรจะทราบ... จริง ๆ แล้วประชาชนทุกคนควรจะมีความรู้และทราบข้อกฎหมายของบ้านดเมืองเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว โดยทั่วไปในสังคม บุคคลหนึ่ง ๆ แต่ละคนก็ประกอบอาชีพหลายอย่าง คน ๆ เดียวมีหลายอาชีพอยู่แล้ว

                 ซึ่งนักรังสีเทคนิคก็เป็นประชาชนเช่นกัน ก็ควรรู้กฎหมายบ้านเมืองพอเป็นพื้นบ้างอยู่แล้ว แต่ในฐานะที่ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิคก็ควรที่จะต้องรู้กฎหมายที่เฉพาะยิ่งขึ้นไปอีก กฎหมายที่นักรังสีควรทราบนั้น มีหลายอย่างด้วยกัน เช่น

                  พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542

                  พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขรังสีเทคนิค เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2545

                   กฎกระทรวงว่าด้วการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต

                  กฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการสถานพยาบาล

              ทั้งนี้ยังมีกฎหมายอีกมากมายที่เกี่ยวกับนักรังสีเทคนิคพึงทราบนอกเหนือจากที่ได้ยกตัวอย่างมานี้                   

 

นายณรงค์ศักดิ์ ชมวงค์

1. สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

      ในเรื่องของสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพของนักรรังสีเทคนิคนั้นผมคิดว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่นักรังสีเทคนิคอย่างเราๆจำเป็นจะต้องร้จักเพราะถ้าคำว่ารังสีเทคนิคนั้นถ้าไม่มีมาตรฐานวิชาชีพเป็นของตนองนั้นก็เปรียบเสมือนคนธรรมดาทั่วไปที่ไหนก็ทำได้ อีกอย่างเพื่อประโยชน์ของผู้รับบริการทั่วไปจะได้รับจากนักรังสีเทคนิคด้วยเนื่องจากผู้รับบริการที่มาหาเราส่วนใหญ่เขาหวังว่าจะได้รับการบริการที่ดีจากเรา และต้องการหายจากโรคต่างที่เขาเป็นอยู่ถ้าหากเกิดในโรงพยาบาลไหนที่มีนักรรังสีเทคนิคที่ไม่มีมาตรฐานมาทำการประกอบวิชาชีพแล้วสู้ไปหาคนทั่วๆไปมาประกอบวิชาชีพดีกว่าค่าจ้างก็จะได้ถูกกว่าเยอะ เผลอๆคนที่ไม่ได้เรียนมาอาจจะทำได้ดีกว่าคนที่เรียนมาแตผ่านมาแบบไม่มีมาตรฐานก็เป็นไดเพราะฉะนั้นคำว่า :สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ:

2.กฏหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

    ในเรื่องของกฎหมายนั้นทุกคนจะรู้มาบ้างแล้วแต่สำหรับคำว่ากฎหมายของนักรังสีเทคนิคนั้นยังคงไม่ค่อยมีใครค่อยรู้จักกันเท่าไรนัก แต่พอเรา รังสีเทคนิคชั้นปีที่ 4 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายของวิชาชีพของเราแล้วคงทำให้ทุกคนกระจ่างขึ้นมาเยอะทำให้ทุกคนต้องมีความรอบคอบมากขึ้กว่าเดิมแน่เพราะปัจจุบันนี้ในเราองสิทธิของผู้ป่วยเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ผู้ป่วยสามารถที่จะทำการฟ้องร้องเราได้หากเราไปละเมิดสิทะผู้ป่วยแต่ก็มีข้อดีกับเรามากมายเช่นกันอย่างเช่นคนที่ไม่ได้เป็นนักรังสีเทคนิคนั้นจะไม่สามารถประกอบวิชาชีพของเราได้ 

*** เราว่าที่นักรังสีเทคนิคทุกคนควรภูมิใจในวิชาชีพของเราเถอะนะ  รังสีมหาราช ***

      ท้ายสุดสุดท้ายก็ขอให้อำนาจพระศรีรัตนตัยและสิ่ง      ศักดิ์สิทธิ์ในโลกใบนี้จงอวยชัยให้เพื่อนรังสีรุ่นท่ 6 มหาวิทยาลัยนเรศวรทุกคนจงประสบแต่ความสุขความเจริญปราศจากทุก๘ภัยไข้เจ็บทั้งปวงสอบผ่านทุกวิชาด้วยเทอญ สาธุ ?  ขอบคุณอาจารย์ภาควิชารังสีเทคนิคทุกท่านที่สอนและขัดเกลาพวกเราทุกคนให้มาถึงวันนี้ได้

    

นสส. ไอริศรา ศิริสุนทร 47661830

1. สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

- เป็นสิ่งที่ดีที่ได้ศึกษาเรื่องนี้เพระเราจะได้ทราบถึงวิชาชีพของรังสีเทคนิค และมาตรฐานของของเรา

*รังสีแพทย์จะก้าวหน้าไปไม่ได้ถ้าขาดนักรังสีที่ดีและสามารถ*

2.กฏหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

- เป็นเนื้อหาที่น่าสนใจมากเพราะเรียนรังสีมา 4 ปีเพิ่งเข้าใจและมีความรู้ด้านกฏหมายของรังสี ตอนแรกๆก็อ่านไม่เข้าใจเพราะเป็นศัพท์หมาย ซึ่งในส่วนตัวเป็นคนที่ไม่ชอบเรียนวิชากฏหมายอยู่แล้ว แต่ในปัจจุบันมันเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องใช้มาก และเราเป็นนักรังสีด้วยแล้วต้องมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเพื่อเป็นเป็นการป้องกันตัวเองและวิชาชีพด้วย แต่ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นเราน่าจะมีสภารังสีเทคนิค จะได้เป็นเอกราช

*** ควรมีเวลาในการเรียนมากกว่านี้เพราะเนื้อหาค่อนข้างเข้าใจยากและน่าจะยกตัวอย่างจะได้เข้าใจมากยิ่งขึ้นคะ****

ศิริภาภรณ์ ช้างพินิจ

1. สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

 *เราทำงานเพื่อประชา ต้องมีสมรรถนะและมาตรฐานเพื่อผู้เข้ารับบริการในวิชาชีพของเราค่ะ เมื่อสร้างมาตรฐานแล้วก้อต้องทำตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ให้ได้ค่ะ คิดว่าแบบนี้นะ *

2.กฏหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

*ในเรื่องของตัวบทกฎหมาย  เป็นที่ทราบกันดีอยุ่แล้วว่าใช้พิจารณาการกระทำที่ผิดหรือถูก กฎหมายนั้นเป็นตัวตัดสินที่ยุติธรรมที่สุด ที่จะทำหน้าที่คุ้มครองและรักษาสิทธิประโยชน์ของประชาชน และเราผู้ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพอันกระทำต่อประชาชน จำเป็นจะต้องทราบอย่างยิ่งถึงกฎหมายซึ่งเกี่ยวเนื่องกันกับการทำงานของเรา เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดอันใหญ่หลวงในอนาคต*

นายบุลวัชร์ กุญชรินทร์

1. สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่มีการกำหนด สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ ขึ้นมาเพราะเรา ซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องนำไปปฏิบัติจะได้ทราบถึงกระบวนการต่างๆ และพยายามปรับตนเองให้พร้อมกับสถานการณ์ต่างๆที่จะเข้ามา  เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายต่อไป

2.กฏหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

อันนี้ก็เป็นสิ่งที่ดีมาก คือการที่เราเป็นคน เป็นสัตว์สังคม เราต้องอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นและแต่ละคนนั้นก็มีความต้องการที่แตกต่างกันไป บางคนอยากทำอย่างนั้น อย่างนี้ สุดแล้วแต่ใจ แต่ต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน มนุษย์เราเลยกำหนดกฎหรือบทบัญญัติขึ้นมาเพื่อเป็นกรอบ เป็นสิ่งที่จะควบคุมความประพฤติเรา เพื่อให้เราและผู้อื่นอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ไม่ใช่ให้เกิดปัญหาบ้านเมืองที่เป็นกันอยู่ทุกวันนี้......... ไม่ใช่เพราะว่าเราไม่รักษากฎหมายหรือ ???????

สุดท้ายนี้ก็เหลือเวลาอีกไม่นานแล้วที่พวกเราจะได้อยู่ด้วยกัน เมื่อภาระและหน้าที่มาถึงเราก็ต้องมีทางที่ต้องแยกกันไป ดังนั้น จึงขอให้เพื่อนๆทุกคนเดินทางกันโดยปลอดภัย และดูแลตัวเองให้ดี เพราะเราต้องไปเจอกับสถานที่แปลกใหม่ ผู้คนที่มีทั้งหลากหลายความคิดและการกระทำ จึงขอให้เพื่อนๆมีสติอยู่ตลอดเวลา         

สวัสดี,คิดถึงเหมือนเดิมที่เพิ่มเติมคือความห่วงใย

บุลวัชร์

 

 1.สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

   ข้าพเจ้าคิดว่าผู้ประกอบโรคศิลปะนั้นควรที่จะมีความรู้ ความเข้าใจตลอดจนความชำนาญในสาขาหรือวิชาชีพที่ตนทำอยู่เพราะผู้ประกอบโรคศิลปะนั้นต้องทำงานโดยมีชีวิตของผู้เข้ารับบริการเป็นเดิมพัน ถ้าพลาดไปอาจหมายถึงชีวิตของผู้เข้ารับบริการเลยแม้เวลาแค่เสี้ยงวินาที ที่เรามาไม่ทัน เรามาช้านั้นอาจเป็นการตัดชิวีตของคนบุคคลหนึ่งเช่นนั้นแล้ว วชาชีพ อย่างพวกเรา ต้องมีสมรรถภาพ ทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และที่สำคัญ คือความคิดเพราะการที่เรารู้จักคิดนั้นหมายความว่า เราสามารถที่พลิกแพลง สิ่งที่เรารู มาช่วยเหลือผู้เข้ารับบริการได้อย่างเต็ม ที่ เปรียบเหมือนผู้ป่วยคือคนที่ไข้จะตาย อาการโคม่า การที่เรามีความคิด มีความรู้ เราก็จะมีทางเลือกให้กับผู้ป่วยที่จะรอดชีวิตอยู่ได้ ส่วนเรื่องของมาตรฐานวิชาชีพนั้น เป็น สิ่งที่จำเป็นอยู่แล้วของผู้ประกอบโรคศิลปะทุกคน เพราะทุกคนนอกจากจะมีมาตรฐานวิชาชีพแล้ว ต้องตั้งมาตรฐานของตนเองด้วย  ต้องเริ่มจากการมีมาตรฐานของตนเอง เมื่อมีมาตราฐานวิชาชีพของตนเองแล้วมันก็จะทำให้มาตรฐานวิชาชีพเป็นที่ยอมรับของทุกคน โดยเฉพาะวิชชาชีพรังสีเทคนั้น ยิ่งควรที่จะทำให้เป็นมาตรฐานวิชาชีพนั้นเป็นที่ยอมรับ เพราะยังไม่ค่อยมีคนรู้จักวิชาชีพนี้ ไม่เชื่อลองถามคนที่ไม่รู้จัก ทั่วไป แล้วถามว่ารู้จักรังสีเทคนิคไหม เชื่อได้เลยว่า มากกว่าครึ่งที่ตอบว่าไม่รู้จัก เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วเราควรที่ปฏิบัตีตนเองให้ดี สร้างสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพที่ดีให้กับตนเองและเพื่อนร่วมวิชาชีพ

 2.กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

    ข้าพเจ้าคิดว่านักรังสีเทคนิคก็เป็นคนหนึ่งในสังคมก็ควรที่จะรู้จัก กฎหมายต่างๆที่ใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อไม่ให้ สังคมเกิดความวุ่นวายได้นอกจากนั้นแล้วก็ควรที่จะรู้จักกฎหมายที่จำป็นและใช้ให้เป็นสำหรับกฎหมายที่เกี่ยวกับวิชาชีพรังสีเทคนิคเพื่อที่จะใช้ในประกอบกับการรักษา หรือวินิจฉัยคนไข้ ตลอดจนจรรยาบรรณ ที่นักรังสีเทคนิคทุกคนพึ่งมี ซึ่งกฎหมายที่จำเป็น ค้องรู้มีดังนี้

     1. พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542

     2. พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาการประกอบโรคศิลป ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542

     3. กฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการสถานพยาบาล

     4. กฎกระทรวงว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต

 ตลอดจนกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ  ที่ได้กำหนดให้ประชาชนทุกคนปฏิบัติเรา ก็ควรปฎิบัติอย่างเคร่งครัด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นางสาวลลิดา นาผัด

1.สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

- ดิฉันคิดว่าสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะนั้น เป็นแนวทางสำหรับการยึดถือเพื่อนำไปปฏิบัติงานในวิชาชีพของตน เพื่อให้งานของตนมีคุณภาพ เป็นไปอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย ทำให้ผู้รับบริการจากเราได้รับการบริการที่มีมาตรฐาน ไม่เกิดความผิดพลาดในการให้บริการ ทำให้เราเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ และเรายังถือว่าเป็นผู้มีจรรยาบรรณในงานของเราอีกด้วย

2. กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

- กฎหมายที่นักรังสีควรทราบนั้น นอกจากกฎหมายทั่วไปที่เราทุกคนที่เป็นคนไทยต้องทราบแล้วนั้น นักรังสีต้องทราบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ เพราะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนต้องเรียนรู้ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะที่ผู้ประกอบโรคศิลปะที่ทุกคนควรทราบ และควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด นอกจากเราจะไม่ผิดกฎหมายแล้วเรายังจะสามารถรักษามาตรฐานแห่งวิชาชีพของเราให้ดีอีกด้วย รวมทั้งกฎหมายอื่น ๆที่ควรทราบก็มีอาทิเช่น กฎหมายว่าด้วยการดำเนินการสถานพยาบาล กฎกระทรวงว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอณุญาต และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักรังสีเทคนิค เป็นสิ่งจำเป็นที่เราที่เป็นนักรังสีควรมีความรู้ไว้ 

ธีราพร ตองติดรัมย์ 47661814

1. สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

          สมรรถนนะบ่งบอกถึงความรู้ความสามรถแลชะทักษะและประสิทธิภาพในการทำงานของรังสีเทคนิคแต่ละคน ซึ่งเป็นสิ่งที่นักรังสีเทคนิคทุกคนพึงมีและปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการบริการที่ดี และพอใจในบริการ งานที่ได้มีคุณภาพ และทำให้สถานที่ทำงานของเราเป็นที่ยอมรับ ผู้รับบริการเชื่อถือในการบริการของเรา เป็นผลดีทั้งต่อนักรังสีเทคนิคเองและที่ทำงานด้วย

2. กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

            เป็นกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพ เนื่องจากเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับนักรังสีเทคนิคโดยตรง เพื่อให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการ protect ทั้งตัวนักรังสีเทคนิค และผู้รับบริการได้รับการปฏิบัติอย่างดีและถูกต้องด้วย นอกจากกฎหมายวิชาชีดแล้วก็ควรทราบเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปด้วยซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน เพื่อการที่เราทุกคนจะได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่ก่อความวุ่นวาย หรือสร้างความเสียหายให้ใคร หากทุกคนทำตามกฎหมาย โลกนี้ก็คงไม่มีคดีร้ายแรงต่างๆเกิดขึ้น แต่ถ้าหากเป็นอย่างนั้นจริง ก็คงไม่ต้องมี ตำรวจ ทนายความ หรือผู้พิพากษา จริงมั้ย? แล้วเขาเหล่านั้นจะไปทำงานอะไร?

นางสาวอ้อม น่วมทิม

1.สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิล

     สมรรถนะและมาตรฐานการประกอบโรคศิลปะ เป็นข้อกำหนดที่สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ได้ตระหนักและระมัดระวังมากขึ้น แต่ว่าในปัจจุบันโรงพยาบาลที่ทำตามข้อกำหนดนี้ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลเอกชนเสียส่วนใหญ่ ในภาครัฐบาลยังปฎิบัติกันอยู่น้อย  ทั้งที่ความจริงข้อกำหนดต่างๆ น่าจะนำมายึดถือกันโดยทั่วไป   นักรังสีเทคนิคที่ดีก็ควรมีเพราะอย่างน้อยสิ่งที่กำหนดเหล่านี้ก็เป็นข้อบ่งชี้ขั้นต่ำที่ทุกคนในอาชีพนี้พึงจะปฎิบัติให้ได้  ถึงแม้ว่าบางเรื่องจะยากและขัดต่อความเคยชินที่ผ่านมาก็ตามแต่หากว่าเราปฎิบัติจนเป็นกิจวัตแล้วเราก็น่าจะทำได้ และทุกคนก็จะเห็นประโยชน์จากตรงนี้มากขึ้น

2.กฏหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

      ก็ควรเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการปฎิบัติหน้าที่ว่าควรมีขอบเขตมากน้อยแค่ใหน  เพราะกฎหมาย ณ. ปัจจุบันเอื้อต่อผู้เข้ารับบริการมากขึ้น ดังนั้นเราก็ควรทราบว่าสิ่งใดที่สามารถทำได้ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายสิ่งใดที่ไม่สามารถทำได้  รวมเราสามารถที่จะกระทำการใด ๆ ได้ตามสิทธิที่พึงมี  และไม่เป็นการสร้างความเดือดร้อนแก่ผูฮ์ฯ

นางสาวธมลวรรณ อุดมรัตนศิริชัย
  • สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

     ในความคิดของข้าพเจ้าคิดว่าสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพที่กำหนดขึ้นสำหรับผู้ประกอบโรคสินนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่เราผู้ประกอบโรคศิลปะต้องพยายามปฏิบัติตามให้ได้ตามที่เค้ากำหนดให้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องยากที่จะปฏิบัติตามให้ได้ทั้งหมด แต่เราก็ยังสามารถทำได้บ้างก็ยังดี เพื่อพัฒนาสมรรถภาพของเราเอง

  • กฏหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

     ข้าพเจ้าจากการที่ได้เรียนเกี่ยวกับกฏหมายต่างๆที่เกี่ยวกับทางสายวิชาชีพนี้ แม้ว่าภาษากฏหมายจะทำความเข้าใจได้ยาก หรือต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจเป็นเวลานานกว่าการอ่านวิชาอื่นๆ แต่มันก็มีความสำคัญต่อตัวเราในการนำไปใช้ต่อการประกอบวิชาชีพของนักรังสีเทคนิคต่อไปในอนาคต เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดที่ร้ายแรง และหลีกเลี่ยงความผิดนั้นๆได้ และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็จะสามารถแก้ไขได้อย่างถูกต้องตามที่กฏหมายตราไว้

เภาวรินทร์ ขยายวงศ์

1. สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

คำว่า สมรรถนะ คือ คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆที่ทำให้บุคคลนั้นสร้างผลงานขึ้นมาได้โดดเด่น หรือมีประสิทธิภาพกว่าคนอื่นในองค์กร ส่วนมาตรฐานนั้น คือสิ่งที่ยึดเป็นหลักสำหรับเทียบกำหนด หรือคือการวางข้อกำหนดร่วมกัน เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้จนเป็นปกติวิสัย เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน จะมีความหมายว่า การวางข้อกำหนดและมาตรฐานในเชิงพฤติกรรม ความรู้ ทักษะ ความสามารถ เพื่อให้บุคคลในองค์กรใช้หรือสร้างผลงานให้มีประสิทธิภาพจนเป็นปกติวิสัย

ในความคิดของข้าพเจ้า สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะนั้น คือ คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมหรือสิ่งที่ควรปฏิบัติและยึดถือ ให้ผู้ประกอบโรคศิลปะนำไปปฏิบัติ ซึ่งได้แก่ ความรู้ทางวิชาชีพที่บุคคลพึงมี จรรยาบรรณในวิชาชีพ การเคารพสิทธิส่วนบุคคล การให้บริการทางการแพทย์ รวมไปถึงการบริการด้วยความเต็มใจ ทักษะที่ใช้ในงานทางวิชาชีพ ความรับผิดชอบในหน้าที่ รวมไปถึงด้านอื่นๆที่ได้รับมอบหมายหรือที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ควรจะมีการส่งเสริมในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการทำงาน การปฏิบัติต่อผู้ร่วมวิชาชีพและผู้เข้ารับบริการทุกท่านอย่างเท่าเทียมกันและยุติธรรม ซึ่งได้มีการวางข้อกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้ประกอบโรคศิลปะนำไปใช้ปฏิบัติให้เป็นแบบอย่าง และปฏิบัติเหมือนกันทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้เกิดความเป็นนำหนึ่งใจเดียวกัน และหากบุคคลนำไปใช้ จะก่อให้เกิดการยกระดับของวิชาชีพให้สูงขึ้นอีกด้วย 

ข้าพเจ้าคิดว่าสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะพึงมี ได้แก่

-ความรู้

-ความสามารถ

-ทักษะความชำนาญในทางวิชาชีพ

-ความรับผิดชอบ

-จรรยาบรรณ

-คุณธรรมจริยธรรม

 

2. กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

ข้พเจ้าคิดว่ากฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบได้แก่ -กฎหมายทั่วไปที่เป็นพื้นฐานของบุคคลควรทราบ เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคม (ที่เป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญเล่มเล็กค่ะ เป็นแบบสรุปสาระสำคัญ)

-กฎหมายเกี่ยวกับทางการแพทย์และสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็น พระราชบัญญัติสถานพยาบาล ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ กฎกระทรวงเกี่ยวกับการต่อใบอนุญาตหรือการขอใบอนุญาตต่างๆ รวมไปถึงกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวกับการแพ่งและการพาณิชย์ และกฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ทางปัญญา หากเกิดการถูกฟ้องร้องหรือละเมิดลิขสิทธิ์ (เพราะข้าพเจ้าคิดว่านักรังสีเทคนิคก็คิดค้นสิ่งที่มีประโยชน์ได้มากมาย และส่วนใหญ่ก็จะละเลย เพิกเฉย)

กฎหมายข้างต้นเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าคิดว่าควรรู้ และน่าจะรู้ไว้ใช่ว่า... ส่วนกฎหมายสำคัญที่สุดที่นักรังสีเทคนิคจำเป็นต้องรู้ คือ

-ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค พ.ศ. 2547

-สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิค (แม้ว่าจะยังไม่ออกเป็นทางการแต่ข้าพเจ้าคิดว่าควรรู้เป็นอย่างยิ่ง)

-พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2545

-ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางรังสีวิทยา พ.ศ. 2549

ข้าพเจ้าคิดว่าในอนาคตคงจะมีกฎหมายที่คุ้มครองความปลอดภัยให้กับนักรังสีเทคนิค และตั้งเป็นสภาวิชาชีพรังสีเทคนิคได้ไม่นานเกินรอนะคะ

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้เรียนวิชากฎหมาย เพราะเลือดรักวิชาชีพจะได้ข้นขึ้น ??

^O^

นส.เกศินี จุ้ยหนองเมือง

1.สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

นิสิตรังสีเทคนิคเมื่อจบการศึกษาไปแล้วควรมีความรู้อย่างน้อยก็สามารถทำการถ่ายเอกซเรย์ทั่วไปได้ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำได้และทำให้ถูกต้องด้วยนะ นอกจากนี้ก็สามารถทำการตรวจพิเศษทางรังสีได้ซึ่งการตรวจพิเศษทางรังสีก็มีอยู่ในวิชา special อะนะยกตัวอย่างเช่น การตรวจทางเดินอาหาร การตรวจทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น เราควรรู้ว่าการตรวจเหล่านี้มีวิธีการตรวจอย่างไร ใช้สารทึบรังสีชนิดไหนในการตรวจและมีวิธีการเตรียมผู้ป่วยอย่างไรนักรังสีเทคนิคต้องสามารถอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจได้ และยังไม่พอสมรรถนะของรังสีเราต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องที่ใช้ในงานรังสีนอกจากเครื่องเอกซเรย์ก็จะมีเครื่องอัลตราซาวด์แม้บาง รพ.เราจะไม่ได้ทำก็ตามเราก็ควรรู้ไว้จะได้เป็นบุคลที่ทรงคุณค่าและเป็นบุคคลที่สังคมต้องการ ยังไม่พอนะคะการที่จะเป็นนักรังสีที่มีสมรรถนะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องซีที รู้หลักการทำงานของเครื่องสามารถตั้งโปรโตคอลได้และนอกจากนี้ก็มีเครื่องเอ็มอาร์และพวกระบบแพ็คต่างๆ ซึ่งปัจจุบันนี้กำลังมีบทบาทในสังคมมาก จากที่กล่าวมาแล้วหากเราสามารถปฎิบัติทุกอย่างได้อย่างถูกต้องก็จะแสดงถึงว่าเราเป็นผู้มีความรู้เหมาะกับตำแหน่งนักรังสีเทคนิค และอีกอย่างนะเราควรสามารถสื่อสารและสนทนากับรังสีแพทย์ในเรื่องพยาธิสภาพต่างๆได้ไม่ใช่ทุกโรคนะแต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่รู้อะไรเลย เพราะถ้าเราไม่รู้คำศัพท์ทางการแพทย์เราก็จะปฎิบัติงานทางการแพทย์ได้อย่างไร  นอกจากสมรรถนะและมาตรฐานแล้วเราควรมีจรรยาบรรณในวิชาชีพด้วยนะ นี่แหละคือนักรังสีที่ดีที่ประเทศชาติต้องการ

2.กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

อย่างน้อยนะเราเป็นนักรังสีเราก็ควรมีความรู้เกี่ยวกับรังสีเทคนิคใช่ป่ะ (พระราชกฤษฎีกากำหนดให้รังสีเทคนิคเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 พ.ศ.2545)นอกจากกฎหมายพื้นฐานของเราที่เรารู้แล้วหรือเปล่า?นักรังสีเทคนิคเป็นบุคคลทางสายการแพทย์ควรรู้เกี่ยวกับกฎหมายทางการแพทย์และสาธารณสุข เช่นพวกพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541การจะเปิดสถานพยาบาลจะต้องดำเนินการอย่างไรและการถูกปิดสถานพยาบาลมาจากสาเหตุใดทั้งนี้เผื่อมีคนมาปรึกษาเราเราจะได้ตอบเขาได้ นอกจากนี้เราเป็นบุคคลในสังคมไทยเราควรมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปบ้าง พวกคดีแพ่ง คดีอาญาต่างๆจะได้ไม่โดนคนอื่นหลอกและสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างราบรื่นและจะได้คุยกับเพื่อนที่เป็นทนายความรู้เรื่องเพราะเราไม่รู้ว่าอนาคตเราจะเจอกับใครบ้างเราอาจมีเพื่อนเป็นนักกฎหมายก็ได้ใครจะไปรู้ยิ่งรู้มากก็ยิ่งได้เปรียบคนอื่นนะ

เหมือนนิสิตจะเข้าใจผิดคะ...จริงๆแล้วอยากให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความหมายของคำว่า สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ เช่น จบรังสีเทคนิคจากมหาวิทยาลัยนเรศวร แล้วต้องมีมาตรฐานวิชาชีพอย่างไร (สามารถทำรังสีวินิจฉัยทั่วไปได้ ทำ CT MRI หรือรังสีรักษาได้เป็นต้น)  ส่วนอีกข้อหนึ่งคือต้องการให้นิสิตแสดงความคิดเห็นว่า กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรรู้มีอะไรบ้าง (เช่นกฎหมายอาญาหรือแพ่ง)

 

นางสาวขนิษฐา วงศ์ไพรบูลย์ รหัสนิสิต 47661731

1.สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

ผู้ที่จะสามารถทำงานเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคหรือรักษาโรคให้กับผู้มารับบริการได้นั้นต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ควาสามารถเฉพาะด้านอย่างแท้จริง ผลของภาพเอกซเรย์ต่างๆที่ออกมาจะต้องมีความถูกต้องมากที่สุด ถูกท่า ถูกอวัยวะและถูกบุคคล การรตั้งค่าเอกโพเชอร์ต่างๆก็ควารตั้งอย่างเหมาะสมเพื่อเป็นการป้องกันรังสีให้กับผู้มารับบริการด้วย ให้เปรียบเสมือนกับผู้มารับบริการคือพ่อ แม่ พี่น้องของเราเอง เราต้องให้ความปลอดภัยกับผู้ที่มารับบริการมากที่สุด จึงจะถือว่าเป็นผู้ที่มีสมรรถนะในการทำงาน การทำงานของเรานั้นเพื่อช่วยวินิจฉัยและช่วยรักษาโรคให้กับผู้มารับบริการ ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวกับคนทั้งนั้น เพราะฉะนั้นการที่เราจะต้องมีใบประกอบโรคศิลปะก็เพื่อให้ผู้มารับบริการแน่ใจว่าเราเป็นผู้ที่มีความรู้ความสารถตรงนี้จริง ได้รับการสอบและการยอมรับจากกระทรวงสาธารณสุขมาแล้ว และเพื่อเป็นการยืนยันว่าเราจะทำงานด้วยคุณภาพตามที่มาตรฐานด้านวิชากำหนดมา ซึ่งในมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะนั้นมีข้อกำหนดหลายข้อมากก็จริง ถึงอย่างนั้นก็ตามเชื่อเถอะว่าเรา(นักรังสีเทคนิค)สามารถที่จะปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจและจะพยายามปฏิบัติให้ได้มากที่สุด

2.กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

กฏหมายที่ผู้นักรังสีเทคนิคควรทราบนั้นเราสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่กองควบคุมโรคศิลปะหรือที่กระทรวงสาธารณสุข กฏหมายที่เราควรรู้อย่างน้อยก็คือ ควรรู้ว่าเรามีสิทธิ หน้าที่ที่ต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง มีสิ่งใดบ้างที่ห้ามปฏิบัติ และไม่ใช่แต่ว่ากฏหมายที่เกี่ยวกับเนกรังสีเทคนิคเท่านั้นที่เราควรรู้ เราควรรู้ไปถึงกฏหมายที่ประชาชนทั่วไปควรรู้ด้วย(รัฐธรรมนูญ) เพราะเราจะอ้างว่าเราไม่รู้กฏหมายไม่ได้ ไม่ว่าจะกฏหมายใดก็ตามผู้ทรงคุณวุฒิก็ออกกฏมาเพื่อคุ้มครองประชาชนอย่างเราทั้งนั้น ถึงมันจะไม่ใช่เพื่อเราทุกข้อก็ตาม

นส.ศิริพรรณ รักษาคำ

1. สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

         สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิคมีความสำคัญในการประกอบอาชีพอย่างยิ่งเพราะต้องยึดเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานในวิชาชีพรังสีเทคนิค ทั้งด้านรังสีวินิจฉัย รังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อให้บริการการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคด้วยรังสีเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง                    

          ทั้งยังใช้เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถประเมินสมรรถนะและคุณภาพการปฏิบัติงานของตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดฟ้องร้องและสามารถใช้เป็นแนวทางในการเตรียมตัวสำหรับผู้ที่ต้องการสอบใบประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค

2.กฏหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

            เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่นักรังสีเทคนิคต้องรู้ไม่ว่าจะเป็น  พระราชบัญญัติ , ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข , กฎหมายทั่วไป , กฎกระทรวง , พระราชกฤษฎีกา และอื่นๆเพราะการรู้กำหมายช่วยให้เราสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย และยังทำให้เรารู้สิทธิพื้นฐานต่างๆที่เราพึงจะได้รับ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมาก       

            

รินรำไพ คำมงคล รหัสนิสิต 47660642

1.สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

นิสิตรังสีเทคนิคเมื่อจบการศึกษาไปแล้วควรมีความรู้อย่างน้อยดังนี้·       สามารถทราบความหมายและชนิดของรังสี รวมถึงคุณสมบัติทางฟิสิกส์และปัจจัยที่มีผลต่อภาพถ่ายทางรังสีได้·       สามารถอธิบายหลักการทางฟิสิกส์ของการเกิดเอกซเรย์·       สามารถอธิบายหลักการทำงาน ส่วนประกอบและสามารถใช้งานเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป เครื่องฟลูออโรสโคปี,เครื่องเอกซเรย์เต้านม, รวมทั้งอุปกรณ์รับภาพและบันทึกภาพได้อย่างถูกต้อง·       สามารถอธิบายขั้นตอนในการตรวจ  การเตรียมตัวในการตรวจ ระหว่างตรวจและหลังตรวจ สำหรับการตรวจทางรังสีได้·       รู้และสามารถปฏิบัติการช่วยชีวิตเบื้องต้นได้·       สามารถดำเนินการที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพของโรงพยาบาลได้·       สามารถทำการประกันคุณภาพของภาพถ่ายทางรังสีได้·       สามารถผสมและล้างฟิล์มทั้งแบบล้างด้วยมือและล้างด้วยเครื่องล้างอัตโนมัติได้·       สามารถตั้งค่าปริมาณรังสีให้เหมาะสมกับแต่และอวัยวะได้·       สามารถวิเคราะห์และแยกแยะภาพถ่ายทางรังสีที่ดีและไม่ดี เพื่อให้เหมาะกับการวินิจฉัยโรคได้

·       สามารถป้องกันอันตรายจากรังสีทั้งกับตนเองและผู้อื่นได้

2.กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ
  •  พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542·       พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิค เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2545·       กฎกระทรวงว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต·       กฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการสถานพยาบาลทั้งนี้ยังมีกฎหมายแพ่ง อาญาที่ประชาชนทุกคนต้องทราบนอกเหนือจากกฎหมายที่เกี่ยวกับนักรังสีเทคนิคที่ต้องทราบในฐานะประชาชนคนหนึ่งด้วย

     

พิชิตชัย จันทร์เพ็ญ 47660584

1. สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

                ผู้ที่จะเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะได้นั้นต้องมีความรู้ในสาขาของตนอย่างถ่องแท้ เข้าใจถึงหลักการพื้นฐานต่างๆ รู้ถึงหลักการปฏิบัติต่อคนไข้ จรรณญาบรรณในการประกอบโรคศิลปะ ตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ตนมีไปประยุกต์ใช้ได้จริงในการประกอบวิชาชีพ

                 ส่วนมาตรฐานวิชาชีพนั้นแต่ละสาขาก็แตกต่างกันไป  ก็เหมือนกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  คือ จะต้องมีความรู้ในด้านใดบ้างถึงจะประกอบวิชาชีพนี้ได้ คุณสมบัติทั้งทางกายภาพ เช่น สภาพร่างกาย
2.กฏหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

  • พรบ.การประกอบโรคศิลปะ 2542
  • พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิค เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2545
  •  กฎกระทรวงว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต
  •   กฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการสถานพยาบาลทั้งนี้
  • กฎหมายที่ประชาชนทุกคนต้องทราบ
นางสาวโนรี สรรเพชุดามณี 47660808

ร่วมแสดงความคิดเห็น 

เรื่อง สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

            1. ในความคิดเห็นของดิฉันคิดว่า สมรรถนะ ของนักรังสีเทคนิคที่จบหลักสูตรปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยที่ผลิตบัณฑิตด้านนี้ ต้องสามารถปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางด้านรังสีสำหรับ จัดท่าและบันทึกภาพส่วนต่างๆของผู้ป่วย ที่มาเข้ารับบริการทางรังสีได้ ตลอดจนสามารถทำการควบคุม การทำงาน และคุณภาพของอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัย หรือรักษาผู้ป่วย อันได้แก่ เครื่องมือทางด้านรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากลยอมรับ เพื่อให้การทำงานงานมีความปลอดภัยจากรังสีทั้งกับตนเองและผู้อื่น

            2.ความคิดเห็นทางด้าน มาตรฐานวิชาชีพ คือนักรังสีต้องมีความรู้เฉพาะทางของการทำงานด้านรังสีและเข้าใจถึงบทบาท หน้าที่ของการปฏิบัติงานของตัวเอง เพื่อสามารถดูแลผู้ป่วย  ที่มาตรวจพิเศษทางรังสีได้อย่างถูกต้อง

 

กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ            ได้แก่

 - ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค

              - กฎกระทรวง ว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ  

               นอกจากนี้นักรังสีเทคนิคยังต้องรู้ถึงข้อกำหนด ข้อจำกัด และเงื่อนไขของวิชาชีพรังสีเทคนิค ที่นักรังสีเทคนิคควรกระทำให้ถูกต้องตามแนวข้อตกลงที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้การบริการ การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคด้วยรังสีเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม ปลอดภัย มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 

 

กนกวรรณ พวงเงิน 47661723
1.สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพที่เราต้องมีคือ- มีความรู้ ความสามารถ ทักษะความชำนาญในทางวิชาชีพ- มีความรับผิดชอบ- มีจรรยาบรรณ- มีคุณธรรมจริยธรรม นิสิตรังสีเทคนิคเมื่อจบการศึกษาไปแล้วควรมีความรู้อย่างน้อยดังนี้·       สามารถทราบความหมายและชนิดของรังสี รวมถึงคุณสมบัติทางฟิสิกส์และปัจจัยที่มีผลต่อภาพถ่ายทางรังสีได้·       สามารถอธิบายหลักการทางฟิสิกส์ของการเกิดเอกซเรย์·       สามารถอธิบายหลักการทำงาน ส่วนประกอบและสามารถใช้งานเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป เครื่องฟลูออโรสโคปี,เครื่องเอกซเรย์เต้านม, รวมทั้งอุปกรณ์รับภาพและบันทึกภาพได้อย่างถูกต้อง·       สามารถอธิบายขั้นตอนในการตรวจ  การเตรียมตัวในการตรวจ ระหว่างตรวจและหลังตรวจ สำหรับการตรวจทางรังสีได้·       รู้และสามารถปฏิบัติการช่วยชีวิตเบื้องต้นได้·       สามารถทำการประกันคุณภาพของภาพถ่ายทางรังสีได้·       สามารถดำเนินการที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพของโรงพยาบาลได้·       สามารถผสมและล้างฟิล์มทั้งแบบล้างด้วยมือและล้างด้วยเครื่องล้างอัตโนมัติได้·       สามารถตั้งค่าปริมาณรังสีให้เหมาะสมกับแต่และอวัยวะได้·       สามารถวิเคราะห์และแยกแยะภาพถ่ายทางรังสีที่ดีและไม่ดี เพื่อให้เหมาะกับการวินิจฉัยโรคได้ ·       สามารถป้องกันอันตรายจากรังสีทั้งกับตนเองและผู้อื่นได้2.กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ ·  ข้อบังคับสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย ฉบับปัจจุบัน·  พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542·  พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541·  พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิค เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2545· กฎกระทรวงว่าด้วย การขอขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๗· กฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการสถานพยาบาลทั้งนี้ยังมีกฎหมายแพ่ง อาญาที่ประชาชนทุกคนต้องทราบนอกเหนือจากกฎหมายที่เกี่ยวกับนักรังสีเทคนิคที่ต้องทราบในฐานะประชาชนคนหนึ่งด้วย ·  ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการเลือกและการเลือกตั้งกรรมการวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๐·  ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขารังสีเทคนิคพ.ศ. ๒๕๔๗· กฏหมายที่ประชาชนทั่วไปควรรู้ด้วย
ธวัชชัย ตาลผัด รหัส 47661806

1. สมรรถนะและมาตรฐานสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

ในความคิดของผมก็เห็นด้วยกับ คณะกรรมการวิชาชีพรังสีเทคนิค ที่ได้กำหนดสมรรถนะและมารถฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิค แต่ก็อย่างว่าแหล่ะ คนเราแต่ละคน ความสามารถและความรับผิดชอบแตกต่างกัน แต่เราก็ควรจะมีเป้าหมายของการทำงานและทำให้บรรลุเป้าหมาย โดยที่อาจจะไม่ แป๊ะๆ เสมอไป  คือ อย่างน้อย ถ้าเราจบไปแล้ว เราก็สามารถทำงานทางด้านรังสีวินิจฉัยได้ เช่น  เราสามารถที่ถ่ายภาพเอกซเรย์ผู้ป่วยในท่า routine ได้  สามารถทำการ QC เครื่องและกระบวนการ image proceesing ได้  สามรถบอกความแตกต่างของความผิดปกติคร่าวๆ ที่เกิดขึ้นบนภาพได้

สามารถตรวจวินิจฉัยทางรังสีวินิจฉัยพิเศษได้ เช่น ทำ BE  , U/S , IVP , ERCP เป็นต้น และอาจจะต้อง สามาถ ใช้เครื่อง CT และ MRI ได้ ดดยรู้จัก protocal ในการตรวจแต่ละorgan  มีความรู้ในด้านทฤษฎีในด้านฟิสิกส์ของการเกิดภาพบ้างก็ดี และเข้าใจหลักการป้องกันอันตรายจากรังสี และสามารถป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้

2. กฏหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบควรรู้

จากการที่ได้เรียนมานะครับ ผมว่าเราก็ควรจะรู้กฏหมายให้กว้าง เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ กล่าวคือ ไม่ว่าจะเป็น

กฎกระทรวงว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต

พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิค เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2545

- กฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการสถานพยาบาล

- พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542

- ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขารังสีเทคนิค

- กฏหมายทางแพ่งที่เกี่ยวกับการฟ้องร้องต่าง และกฏหมายทั่วไปที่ประชาชน ควรรู้

 

กนกวรรณ พวงเงิน 47661723
1.สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ
สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพที่เราต้องมีคือ
- มีความรู้ ความสามารถ ทักษะความชำนาญในทางวิชาชีพ
- มีความรับผิดชอบ
- มีจรรยาบรรณ
- มีคุณธรรมจริยธรรม 
  นิสิตรังสีเทคนิคเมื่อจบการศึกษาไปแล้วควรมีความรู้อย่างน้อยดังนี้
-   สามารถทราบความหมายและชนิดของรังสี รวมถึงคุณสมบัติทางฟิสิกส์และปัจจัยที่มีผลต่อภาพถ่ายทางรังสีได้
-   สามารถอธิบายหลักการทางฟิสิกส์ของการเกิดเอกซเรย์
-   สามารถอธิบายหลักการทำงาน ส่วนประกอบและสามารถใช้งานเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป เครื่องฟลูออโรสโคปี,เครื่องเอกซเรย์เต้านม, รวมทั้งอุปกรณ์รับภาพและบันทึกภาพได้อย่างถูกต้อง
-    สามารถอธิบายขั้นตอนในการตรวจ  การเตรียมตัวในการตรวจ ระหว่างตรวจและหลังตรวจ สำหรับการตรวจทางรังสีได้
-   รู้และสามารถปฏิบัติการช่วยชีวิตเบื้องต้นได้
- สามารถทำการประกันคุณภาพของภาพถ่ายทางรังสีได้
-   สามารถดำเนินการที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพของโรงพยาบาลได้
-  สามารถผสมและล้างฟิล์มทั้งแบบล้างด้วยมือและล้างด้วยเครื่องล้างอัตโนมัติได้
-   สามารถตั้งค่าปริมาณรังสีให้เหมาะสมกับแต่และอวัยวะได้
- สามารถวิเคราะห์และแยกแยะภาพถ่ายทางรังสีที่ดีและไม่ดี เพื่อให้เหมาะกับการวินิจฉัยโรคได้
- สามารถป้องกันอันตรายจากรังสีทั้งกับตนเองและผู้อื่นได้
2. กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ
-  ข้อบังคับสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย ฉบับปัจจุบัน 
-  พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542
-  พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541
-  พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิค เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2545
- กฎกระทรวงว่าด้วย การขอขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๗
- กฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการสถานพยาบาลทั้งนี้ยังมีกฎหมายแพ่ง อาญาที่ประชาชนทุกคนต้องทราบนอกเหนือจากกฎหมายที่เกี่ยวกับนักรังสีเทคนิคที่ต้องทราบในฐานะประชาชนคนหนึ่งด้วย
-  ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการเลือกและการเลือกตั้งกรรมการวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๐
-  ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขารังสีเทคนิคพ.ศ. ๒๕๔๗
- กฏหมายที่ประชาชนทั่วไปควรรู้ด้วย
นสส. เรืองวิทย์ มโนรัตน์ 47662101
สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพรังสีเทคนิค                ในสาขารังสีเทคนิคแบ่งออกเป็น 3 สาขาย่อยคือ รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ซึ่งนักรังสีเทคนิคจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับสาขาที่ตนเรียนมา อย่างเช่นมหาวิทยาลัยนเรศวรจะเน้นทางด้านรังสีวินิจฉัย แสดงว่านิสิตเมื่อจบไปแล้วควรจะมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับการตรวจรังสีวินิจฉัยแบบทั่วไป (General x-ray) ตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัยได้ สามารถตรวจ CT brain ได้อะไรประมาณนี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหน้าที่ของเรายังมีอีกอย่างที่สำคัญมากนั้นก็คือการควบคุมคุณภาพภาพถ่ายทางรังสี เนื่องจากว่าเราเป็นคนที่อยู่กับเครื่องมือต่าง ๆ มากที่สุด ดังนั้นเราต้องทำ Diary QC. ให้เป็นด้วย                ตามหลักวิชาการแล้วสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับเราแล้วมี 3 มาตรฐานด้วยกัน คือ                1. ความเป็นอิสระและความรับผิดชอบ                ในการทำงานจริง ๆ เราต้องทำงานกับบุคคลอื่น ๆ ทั่วไปมากมาย เราจำเป็นต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงาน หรือผู้ที่มารับบริการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เราต้องพูดจากับผู้ที่มารับบริการดี ๆ สามารถสื่อความหมายให้ผู้รับบริการทราบและเข้าใจวิธีการปฏิบัติของเขา ทั้งก่อนตรวจ ระหว่างตรวจ และหลังตรวจ เพื่อจะให้ผลการนวินิจฉัยที่ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น (เนื่องจากเขาให้ความร่วมมือกับเรา) นอกจากนี้การปฏิบัติกับผู้รับบริการทุกคนต้องเท่าเทียมกันหมดไม่ถือชั้นวรรณะ                 2. ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ                มันก็แน่นอนอยู่แล้วอ่ะที่เราต้องมีความรู้ แต่มีความรู้อย่างเดียวก็ไม่ได้ต้องเข้าใจ และมีทักษะในการปฏิบัติงานด้วย ซึ่งความรู้พื้นที่เราเรียนกันมาตั้งแต่ปี 1-2 ก็ล้วนแล้วแต่เป็นความรู้พื้นฐานที่เราควรจะรู้ทั้งนั้น จนกระทั่งได้มาเรียนปี 3-4 ถึงได้รู้ว่าความรู้พื้นฐานทั้ง Cell, Biochem, Anatomy, Physiology, Pathology รวมไปถึงฟิสิกส์ เราเรียนมาก็รู้อย่างเดียวแต่เอามาใช้ไม่ได้ แต่พอมาเรียนปี 3-4 ก็เริ่มเข้าใจแล้วว่าเอาพวกความรู้เหล่ามาใช้ทำไม และยิ่งตอนไปฝึกงานยิ่งทำให้เรามีประสบการณ์และทักษะมากยิ่งขึ้น เห็นเลยว่าถ้าเราจบไปเราต้องมีทั้งความรู้ ความเข้าใจ และทักษะอย่างแน่นอน                ที่สำคัญนะครับเราก็รู้อยู่แล้วว่ารังสีมีผลต่อร่างกายทั้งแบบโดยตรงและโดยอ้อม และเราก็อยู่กับรังสีด้วย ดังนั้นเราควรจะรู้จักวิธีการป้องกันอันตรายให้กับผู้รับบริการ ผู้ร่วมงาน ผู้ที่เกี่ยวข้อง และตัวเราเองด้วยนะครับ            3. ทักษะที่จำเป็นในการให้บริการ                เราก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่างานของเราอ่ะมีเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามามากมายเลย ในฐานะที่เราเป็นนักรังสีรุ่นใหม่ที่กำลังจะออกไปสู่โลกกว้าง คุณพ่อและคุณแม่คนที่ 2 ของเรากำลังจะให้ลูก ๆ ได้เผชิญกับชีวิตที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยและไม่หยุดยั้ง เราต้องมีความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ เช่นคอมพิวเตอร์ ง่าย ๆ เลยเครื่อง CR DR CT DSA MRI Ultrasound และอื่น ๆ อีกมากมาย เราต้องใช้เครื่องให้เป็น เราอยู่กับมันทุกวัน เห็นมันทุกวัน อย่างน้อยคุณก็ควรใช้มันเป็นนะครับ เกือบลืมไปการเก็บความลับ ประวัติผู้ป่วย ก็สำคัญนะครับ ต้องปิดไว้ เดี๋ยวคนไข้ฟ้องร้องได้ (คุกนะเนี๊ยะ)  นอกจากนี้ยังมีอีกไปอยู่โรงพยาบาลแต่หมอพูดเรื่องไรมาไม่รู้เรื่องไม่ได้ เราต้องมีความรู้เกี่ยวกับ Technical term ด้วย ยิ่งไดภาษาอังกฤษยิ่งดีไปใหญ่เลย  การบริการผู้ป่วยก็เป็นเรื่องสำคัญเหมือนกันเราต้องดูแลเค้าทั้งก่อนตรวจ ระหว่างตรวจ และแนะนำเค้าหลังตรวจ และที่สำคัญต้องตรงต่อเวลาเสมอ ดั่งคำพูดของอาจารย์ประธานที่ว่า คุณมาสายเพียง 1 นาที รู้ไหมว่าผู้ป่วยตายไปแล้วกี่คนที่อาจารย์พูดมามันก็มีส่วนนะครับ กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรรู้                เราต้องทราบนะครับว่าคนที่จะทำงานด้านนี้ได้ต้องมีใบประกอบวิชาชีพเพราะเราทำกับคน เราต้องรู้ถึงสิทธิของผู้รับบริการ เราต้องทราบผมว่านะครับมันน่าจะเป็นเกี่ยวกับบทโทษนะครับเพราะว่าหากว่าเราทำเรื่องอะไรที่ผิด ๆ แล้วเราก็จะได้ทราบว่าเราจะโดนลงโทษอย่างไร และการที่เราขอขึ้นทะเบียนด้วยนะครับ เพราะเราต้องมีคุณสมบัติตรงตามที่เขากำหนดไว้หรือไม่ นอกจากนี้แล้วหากเราขอขึ้นทะเบียนแล้วเขาปฏิเสธเราล่ะ เราก็ต้องทราบด้วยว่าเราควรจะปฏิบัติตนอย่างไร ดำเนินเรื่องอย่างไร เพื่อให้ได้มาซึ่งใบประกอบวิชาชีพ                 สมมตินะครับว่าเราอยากจะเปิดคลินิกที่ตรวจเอกซเรย์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เราก็ต้องทราบนะครับว่าเราต้องแจ้งกับใคร (สปส) หรือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อให้เขามาตรวจเรื่องเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากรังสี (ให้ไหมครับว่าเรานอกจากจะทำเพื่อตนเองเรายังทำเพื่อคนอื่นด้วย เพราะคนที่อยู่ใกล้ ๆ เราก็ได้รับปริมาณรังสีลดลงด้วย)                 แต่เนื่องจากว่าเราต้องทำงานเกี่ยวกับโรงพยาบาล เราต้องมีความรู้หน่อยนะครับเกี่ยวกับสถานพยาบาล ผมเคยประสบปัญหานะครับเมื่อตอนที่ผมไปฝึกงานฯตอน ม.6 แล้วมีคนไข้มาถามผมว่าจะต้องไปแจ้งเกิดที่ไหน ก่อนวันที่เท่าไร คำถามพวกนี้ทำให้ผมถึงกับอายมาก เพราะผมรู้แต่ว่าต้องไปแจ้งตายภายใน 24 ชั่วโมงครับ ครับ! เห็นไหมว่าถ้าเราจะทำงานในโนรงพยาบาลเราต้องรู้กฎหมายพื้นฐานด้วยนะครับ เช่นการแจ้งเกิด ตาย อะไรประมาณนี้ไม่ใช่ว่าเราจะรู้แต่เรื่องของโรงพยาบาลอย่างเดียว ต้องรู้อย่างอื่นให้มากกว่านี้ อย่างนี้ก็พื้นฐานง่าย ๆ เอาไว้หากิน

 

นสส. เรืองวิทย์ มโนรัตน์

พี่แนทครับ ผมจัดหน้ากระดาษของ blog ไม่เป็นพี่แนทอาจจะอ่านยากนิดนึงนะครับ ...ขอโทษด้วยครับ

น.ส. ปิยกานต์ วงศาโรจน์ รหัส 47660543

สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

  เมื่อข้าพเจ้าเรียนจบจากสาขาวิชารังสีเทคนิค มหาวิทยาลัยนเรศวรแล้ว ข้าพเจ้าต้องมีมาตรฐานวิชาชีพดังต่อไปนี้

   ·   ข้าพเจ้าต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ถึงวัตถุประสงค์และวิธีการของการตรวจทางรังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เช่น สามารถเข้าใจถึงขั้นตอนการวางแผนการรักษาผู้ป่วย ทำการจำลองรูปร่างผู้ป่วย และทำการกำหนดขอบเขตของการรักษาผู้ป่วยของการตรวจทางด้วยรังสีรักษาได้อย่างถูกต้อง, สามารถเตรียมสารเภสัชรังสีสำหรับการตรวจ และถ่ายภาพทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น

   ·   ข้าพเจ้าต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ถึงวัตถุประสงค์และวิธีการของการตรวจทางรังสีวินิจฉัย เช่น ในการถ่ายเอกซเรย์ทั่วไป สามารถจัดท่าผู้ป่วยในท่าที่ใช้ถ่ายเป็นประจำและท่าพิเศษ เพื่อถ่ายเอกซเรย์ของอวัยวะต่างๆในร่างกายได้อย่างถูกต้อง, ในการตรวจพิเศษทางรังสี สามารถบอกถึงวิธีการเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนตรวจ ระบุข้อบ่งชี้ในการตรวจ ระบุข้อห้ามในการตรวจเลือกสารทึบรังสีที่ใช้ในการตรวจ และระบุอาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากตรวจได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น

   ·   ข้าพเจ้าต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ส่วนประกอบและหลักการทำงานของเครื่องมือต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการตรวจทางรังสีวินิจฉัย เช่น เครื่องเอกซเรย์ทั่วไป, เครื่องเอกซเรย์ฟลูออโรสโคปี, เครื่องเอกซเรย์เต้านม, เครื่องอัลตร้าซาวน์, เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์, เครื่องแมกเนติกเรโซแนนซ์อิมเมจจิง เป็นต้น

   ·   ข้าพเจ้าต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ถึงการควบคุมคุณภาพของภาพเอกซเรย์ในการตรวจทางรังสีวินิจฉัยทั่วไป เช่น การตรวจสอบสภาพการทำงานส่วนต่างๆของเครื่องมือโดยรวม, การวิเคราะห์อัตราการถ่ายฟิล์มซ้ำ, การทำความสะอาดห้องมืด เป็นต้น 

   ·       ข้าพเจ้าต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ส่วนประกอบและหลักการทำงานของเครื่องมือต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการตรวจทางรังสีวินิจฉัย เช่น เครื่องเอกซเรย์ทั่วไป, เครื่องเอกซเรย์ฟลูออโรสโคปี, เครื่องเอกซเรย์เต้านม, เครื่องอัลตร้าซาวน์, เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์, เครื่องแมกเนติกเรโซแนนซ์อิม    เมจจิง  เป็นต้น

   ·   ข้าพเจ้าต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ถึงการควบคุมคุณภาพของภาพเอกซเรย์ในการตรวจทางรังสีวินิจฉัยทั่วไป เช่น การตรวจสอบสภาพการทำงานส่วนต่างๆของเครื่องมือโดยรวม, การวิเคราะห์อัตราการถ่ายฟิล์มซ้ำ, การทำความสะอาดห้องมืด เป็นต้น 

   ·   ข้าพเจ้าต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ถึงการป้องกันอันตรายจากรังสี เช่น สามารถบอกถึงหลักเกณฑ์และวิธีการป้องกันอันตรายจากรังสีให้กับผู้ปฏิบัติงาน ผู้ป่วยและบุคลากรทางการ แพทย์ที่เกี่ยวข้องกับรังสีได้, สามารถบอกถึงการตรวจวัดรังสีและการวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคล เป็นต้น

กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

    ·   ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาวิชารังสีเทคนิค พ.ศ. 2547

   ·   พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาวิชาการประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2545

   ·   กฎกระทรวงว่าด้วย การขอขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ  พ.ศ. 2547

   ·       พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542

   ·       พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541

   ·   กฎหมายทั่วไปที่ประชาชนควรรู้ เช่น ในงานทะเบียนราษฎร์ เมื่อบุตรเกิด ถ้าเกิดในบ้านให้เจ้าบ้านแจ้ง ถ้าเกิดนอกบ้านให้มารดาแจ้ง ภายใน 15 วัน นับแต่เกิด, เมื่อย้ายบ้าน ให้ผู้ย้ายหรือผู้ที่เจ้าบ้านมอบอำนาจแจ้งออกจากบ้านเดิมภายใน 15 วัน และเมื่อไปอยู่บ้านใหม่ให้แจ้ง ภายใน 15 วันเช่นกัน เป็นต้น     

 

1. สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

     หลังจากที่ผมได้สำเร็จการศึกษา และเป็นนักรังสีเทคนิค, สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะคงจะมีบทบาทกับชีวิตของผมมากขึ้น ทั้งด้าน  ความเป็นอิสระ และความรับผิดชอบของผู้ประกอบโรคศิลปะ  ความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ให้กับการบริการในการประกอบโรคศิละ ซึ่งเป็นประเด็นหลักสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค ควรมี และยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้การบริการ การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคด้วยรังสีเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

     มีข้อดีหลายอย่าง เกี่ยวกับการมีสมรรถนะ และมาตรฐานวิชาชีพที่ได้กำหนดขึ้นมาโดยคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค ที่นอกจากจะใช้เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถประเมินสมรรถนะ และคุณภาพการปฏิบัติงานของตนเอง แล้วยังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดฟ้องร้อง และเป็นข้อมูลให้สาธารณชน รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานสาธารสุขเข้าใจการให้บริการที่ได้รับจากผู้ประกอบวิชาชีพสาขารังสีเทคนิคอีด้วย

2. กฏหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

     สำหรับการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันก็มีกฏหมายเป็นข้อบังคับให้ทุกๆคน ยึดถือเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติกันอยู่แล้ว และก็ได้ระบุโทษไว้หากผู้ใดฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตาม ซึ่งมีทั้งโทษ/คดีทั้งทางแพ่ง และทางอาญา น้ำหนักของโทษที่ได้รับก็จะแปรตามน้ำหนักของความผิดที่ได้กระทำลงไป สำหรับนักรังสีเทคนิคเองที่นอกจากจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายเหมือนบุคคลทั่วไปแล้ว ยังมีกฏหมายสำหรับนักรังสีเทคนิคเพิ่มขึ้นมาอีก ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่นักรังสีเทคนิคจะต้องรู้ และปฏิบัติตาม ผลประโยชน์คือ ช่วยลดความเสี่ยงที่จะได้รับโทษจากการกระทำของนักรังสีเทคนิคเอง ซึ่งก็มี พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542  พระราชกฤษฎีกา  ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการรักษาจรรณยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค พ.ศ.2547 ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามก็ได้ระบุบทลงโทษไว้

   ดังนั้นกฎหมายเหล่านี้ มีข้อดีคือ สามารถที่จะใช้เป็นข้อบังคับ เป็นข้อห้าม หรือให้ทุกคนปฏิบัติตาม ทำให้นักรังสีเทคนิคมีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพที่ดี อยู่ภายในกรอบของกฎหมาย เอื้อประโยชน์สูงสุดให้กับส่วนรวม เป็นที่หนึ่ง และเห็นประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ทุกคนต่างอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

                                   หากพิมพ์ผิด ขออภัยด้วยครับ..

..............................THE  END.....................................


 

นสส.จุฑามาศ จาดนอก 47660451
1. สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะสมรรถนะและมาตรฐานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิค ได้กล่าวถึงสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิคต้องยึดเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานในวิชาชีพรังสีเทคนิคทั้ง 3 ด้าน คือ รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อให้การบริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคเป็นไปอย่าง ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพอย่างต่อเนื่องภายใต้ข้อกำหนดจรรยาบรรณและพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ            การที่มีร่างสมรรถนะและมาตรฐานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิคนี้ขึ้น ข้าพเจ้าเห็นว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้ประกอบวิชาชีพ ที่จะสามารถนำมาใช้เป็นแนวปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพ ใช้เป็นแนวทางประเมินสมรรถนะและคุณภาพในการปฏิบัติงานของตนเอง ช่วยลดความเสี่ยงที่จะโดนฟ้องร้อง ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมสอบใบประกอบโรคศิลปะ ตลอดจนเป็นข้อมูลให้กับประชาชนทั่วไปและผู้ร่วมปฏิบัติงานทั่วไปให้เข้าใจการให้บริการที่ได้รับจากผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิคค่ะ2.                  กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรที่จะทราบ-     พระราชบัญญัติ การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.๒๕๔๒-     พระราชบัญญัติ การประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.๒๕๔๗ -     พระราชบัญญัติ สถานพยาบาล พ.ศ.๒๕๔๑-     พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๕ -     ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขารังสีเทคนิค พ.ศ.๒๕๔๗ เพราะว่าจะทำให้เราทราบว่าเราควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของเรา-          กฎกระทรวง ว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. ๒๕๔๗ เพราะจะทำให้เราทราบวิธีการที่ถูกต้องต่างๆในการขอรับใบอนุญาต
น.ส. วาสนา จิตรชนะ 47660683
1. สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

-          ข้อกำหนดในการปฏิบัติดูแลผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการจากแผนกรังสีวิทยาเกี่ยวกับการช่วยเหลือ

นอกเหนือจากการถ่ายเอกซเรย์เพื่อไม่ให้นักรังสี

เทคนิครับผิดชอบและปฏิบัติหน้าที่มากเกินไป

-          ระเบียบวิธีการและมาตรฐานของรังสีวิทยาในการให้บริการแก่ผู้รับบริการเพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้เป็นในทิศทางเดียวกัน

-          ข้อจำกัดในการรับทราบประวัติผู้รับบริการและการเผยแพร่ข้อมูลผู้รับบริการให้ชัดเจนกว่านี้เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาในการฟ้องร้องหรือการเข้าใจผิดเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น

-          หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณาค่าตอบแทนในความสามารถที่นอกเหนือจากการปฏิบัติงานเพื่อเป็นรางวัลสำหรับการปฏิบัติงานที่ได้มีการมานะพยายามฝึกฝนมา

-          หลักเกณฑ์และมาตรฐานในการใช้คำพูดต่อผู้รับบริการให้ปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันในทุก ๆ โรงพยาบาลเพื่อกำหนดให้เป็นแนวทางเดียวกันและจะได้ไม่เกิดปัญหาระหว่างที่มีการสื่อสารกับผู้รับบริการ

-          ข้อกำหนดของการแต่งกายและรูปแบบของชุดทำงานที่บ่งบอกเกี่ยวกับการทำงานในรังสีวิทยาเพื่อประโยชน์สำหรับผู้รับบริการในการขอความช่วยเหลือหรือขอคำปรึกษา

-          ข้อกำหนดของการปฏิบัติงานที่นอกเหนือจากการทำงานประจำเพื่อจะได้ไม่เกิดความซับซ้อนในการปฏิบัติงานและเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด

-          ระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานกับผู้ประกอบวิชาชีพอื่นเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้และทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิมากขึ้น

-          ข้อกำหนดในการปฏิบัติงานนอกเวลาของนักรังสีเทคนิคและสถานพยาบาลอื่นนอกเหนือจากสถานที่ทำงานประจำเพื่อให้สามารถใช้เวลาในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดโดยไม่เกิดผลเสียต่อตนเองและผู้อื่น

-          ข้อกำหนดในการปฏิบัติตนของนักรังสีเทคนิคในสถานที่ทำงานและการแสดงตนนอกสถานที่ทำงานโดยไม่เป็นการโฆษณาหรือนำความเสื่อมเสียมาสู่วิชาชีพรังสีเทคนิค

-          ระเบียบในการแสดงความคิดเห็นในการทำงานหรือข้อกำหนดระเบียบที่สถานพยาบาลได้กำหนดขึ้นเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระแต่อยู่ในขอบเขตเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด

-          ข้อกำหนดในการเปิดโอกาสให้นักรังสีเทคนิคเข้ารับฟังการบรรยายหรือหาความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าในวิชาชีพรังสีเทคนิคหรือโอกาสในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นเพื่อเพิ่มทักษะและสามารถนำไปเป็นแนวคิดในการประยุกต์ใช้กับการทำงานได้

2.กฏหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

-     กฎหมายเกี่ยวกับการการจำกัดสิทธิในการให้บริการแก่

        ผู้รับบริการเพื่อจะได้รู้ขอบเขตในการให้ความช่วย

        เหลือผู้รับบริการโดยไม่ก้าวก่ายหนี้ที่วิชาชีพอื่น

-          กฎหมายการกำหนดโทษจากการละเมิดสิทธิผู้รับบริการเพื่อให้เกิดความเกรงกลัวในการที่จะหาผลประโยชน์จากผู้รับบริการ

-          กฎหมายที่ให้สิทธิแก่นักรังสีเทคนิคสามารถฟ้องร้องผู้รับบริการได้ในกรณีที่ผู้รับบริการหลบหลู่ในวิชาชีพรังสีวิทยาเพื่อจะได้เห็นความสำคัญในวิชาชีพของรังสีมากขึ้น

-          กฎหมายเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิในผู้ที่ไม่มีความรู้ทางรังสีแล้วมาทำงานเกี่ยวรังสีวิทยาเพื่อจะได้ไม่เป็นการเอาเปรียบสำหรับนักรังสีเทคนิคที่ได้เรียนมา

-          กฎหมายในการยกเว้นโทษกรณีที่จำเป็นที่จะต้องทำการประกอบวิชาชีพรังสีในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อให้นักรังสีเทคนิคทุกคนสามารถทำการช่วยเหลือได้สะดวกโดยที่ไม่ต้องมีข้อกำหนดมาบังคับ

-          กฎหมายเกี่ยวกับข้อจำกัดในการฟ้องร้องจากการปฏิบัติต่อผู้รับบริการบางครั้งอาจจะเป็นการกระทำที่ผู้รับบริการไม่ชอบแต่ก็เพื่อประโยชน์ของผู้รับบริการเอง

-          กฎหมายในการเปิดโอกาสหาความรู้ของนักรังสีเทคนิคและจะต้องเอื้อต่อการศึกษาต่อด้วยเพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

-          กฎหมายในการให้โอกาสแก่ผู้ที่ถูกระงับหรือถูกยึดใบอนุญาตในการทำงานให้สามารถกลับมาทำงานได้โดยที่ระหว่างนี้ให้ทำงานบำเพ็ญประโยชน์เพื่อเป็นการปรับสภาพจิตใจและฝึกให้มีความอดทนในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

-          กฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการมีสิทธิแสดงความคิดเห็นและออกกฎหมายทางรังสีวิทยาของนักรังสีเทคนิคที่ไม่ได้ทำงานในองค์กรของรังสีวิทยาเนื่องจากจะมีนักรังสีเป็นส่วนน้อยที่มีสิทธิในการออกข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งในบางครั้งอาจจะมีข้อกำหนดบางประการที่สมควรจะต้องมีแต่อาจมีการมองข้ามได้

-          กฎหมายคุ้มครองสำหรับนิสิตหรือนักศึกษาที่อยู่ในระหว่างการฝึกงานทางรังสีวิทยาเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีวิทยาได้สะดวกและหลากหลายมากขึ้น

 

 

นางสาวสุรางคนางค์ โพชะโน รหัส 47661988
สำหรับสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพ สำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะสำหรับสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพ สำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ เป็นสิ่งที่ทุกสาขาวิชาชีพควรมี เพราะว่าจะทำให้การปฏิบัติงานมีมาตรฐาน และคุณภาพเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน เพราะในการปฏิบัติงาน ผู้ประกอบโรคศิลปะแต่ละคนก็อาจจะมีความสามารถไม่เหมือนกัน บางคนเรียนเก่งแต่พอมาปฏิบัติงานจริงๆก็อาจจะทำไม่ได้ เนื่องจากว่าไม่มีทักษะ หรือบางคนเรียนไม่เก่งแต่พอมาปฏิบัติงานแล้วสามารถทำงานได้จริงและอาจะดีกว่าคนที่เรียนเก่ง จึงเป็นการดีที่ผู้ประกอบโรคศิลปะจะต้องมีมาตรฐานในวิชาชีพแต่ละวิชาชีพ เพื่อแต่ละวิชาชีพนั้นจะได้มีบุคคลากรที่สามารถปฏิบัติงานได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิค    คำว่า สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพของนักรังสีเทคนิค จะต้องเป็นผู้มีความสามารถ บูรณาการความรู้ ทักษะและลักษณะส่วนบุคคลที่ช่วยส่งเสริมให้การปฏิบัติงานการตรวจทางรังสีมีการสอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้น เนื่องจากว่างานในวิชาชีพรังสีเทคนิคเป็นงานที่เน้นการปฏิบัติเพราะถึงแม้นักรังสีเทคนิคจะมีความรู้ตลอดการเรียน 4 ปี เมื่อนักรังสีเทคนิคมาปฏิบัติงานจะต้องสามารถนำความรู้ที่มีอยู่มาบูรณาการปรับปรุง และต้องมีทักษะในการปฏิบัติงานส่วนบุคคลจริงๆ จึงจะทำให้นักรังสีเทคนิคคนนั้นๆ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งการแยกสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพออกเป็น 3 สาขาวิชา เป็นสิ่งที่เหมาะสมอย่างยิ่งเพราะในทั้ง 3 สาขาวิชาชีพนี้มีความรู้เฉพาะของแต่ละสาขาวิชาชีพนั้นๆ ถึงแม้ว่าในการเรียนจะได้เรียนครบทั้ง 3 สาขา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะแม่นทั้ง 3 สาขาวิชา คิดว่าน่าจะมีการจัดอบรมและสอบใบประกอบอีก 1 ใบเพื่อที่จะทำให้นักรังสีเทคนิคเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางในสาขานั้นๆ และเมื่อสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพออกประกาศใช้ควรจะมีการบังคับและตรวจสอบมาตรฐาน เพื่อที่นักรังสีเทคนิคทุกคน สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเป็นมาตรฐานเดียวกันกฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ1.      มาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ เพราะนักรังสีเทคนิคทุกคนต้องมีการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานและยึดหลักจรรยาบรรณ2.      พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ เพื่อที่นักรังสีเทคนิคสามารถนำไปใช้ในกรณีที่เกิดปัญหาและข้อร้องเรียนขึ้นเพราะนักรังสีเทคนิคจะบอกว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้3.      พระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวง4.      ระเบียบและประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ5.      สิทธิของผู้ป่วย ซึ่งสิทธิของผู้ป่วยนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเพราะถ้านักรังสีเทคนิคละเลยเรื่องนี้ อาจจะทำให้เกิดการฟ้องร้องหรือร้องเรียนเกิดขึ้นได้ส่งผลต่อการประกอบโรคศิลปะของนักรังสีเทคนิคเอง
นางสาวยุภารักษ์ อินแนน 47660634
สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพรังสีเทคนิค                          นักรังสีเทคนิคจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับสาขาที่ตนเรียนมา  ควรจะมีความรู้เรื่องเกี่ยวกับการตรวจรังสีวินิจฉัยแบบต่าง ๆ การใช้รังสีในการรักษาโรค ร่วมถึงรู้หลักการในการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานด้วย            สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพรังสีเทคนิคที่ต้องยึดเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานในวิชาชีพรังสีเทคนิคทั้ง 3 ด้านด้วยกัน  คือ ด้านรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคมีความถูกต้อง ปลอดภัยต่อทั้งผู้เข้ารับบริการ และผู้ให้บริการเองด้วย นอกจากนี้ยังต้องปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพอย่างต่อเนื่องภายใต้ข้อกำหนดจรรยาบรรณและพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ          สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพที่เราควรทราบคือ                          นักรังสีเทคนิคต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ทราบถึงวัตถุประสงค์และวิธีการของการตรวจวินิจฉัย การตรวจทางรังสีรักษาและเวชศาสตร์ เช่น สามารถจัดท่าผู้ป่วยในท่าที่ใช้ถ่ายเป็นประจำและท่าพิเศษ เพื่อถ่ายเอกซเรย์ของอวัยวะต่างๆในร่างกายได้อย่างถูกต้อง  ในการตรวจพิเศษทางรังสี ต้องมีความรู้เกี่ยวกับสารเภสัชรังสี สามารถบอกการเตรียมตัวผู้ป่วยให้ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยเข้าใจ นอกจากนี้ยังต้องมีความรู้ในเรื่องของส่วนประกอบและหลักการทำงานของเครื่องมือต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการตรวจทางรังสีวิทยา และการประกันคุณภาพและการควบคุมคุณภาพในการปฏิบัติงาน เพื่อทำให้งานที่ออกมามีคุณภาพและมาตรฐาน รวมทั้งรู้และปฎิบัติตามหลักการป้องกันอันตรายจากรังสีต่อผู้ปฏิบัติงานเอง ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยา และสามารถบอกถึงการตรวจวัดรังสีและการวัดปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลได้กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบเมื่อเราเป็นนักรังสีเทคนิค กฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพของตนเองต้องรู้ ซึ่งได้แก่1.          ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาวิชารังสีเทคนิค พ.ศ. 25472.          พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาวิชาการประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 25453.          กฎกระทรวงว่าด้วย การขอขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ  พ.ศ. 25474.                         พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 25425.                         พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541และที่สำคัญที่ต้องรู้ก็คือบทการกำหนดโทษเมื่อกระทำความผิดต่าง ๆ  
นางสาว ธีราพร วรรณศิลป์ 47661822
  • สมรรถนะและมาตรฐานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิค 

       ได้กล่าวถึงสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิคต้องยึดเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานในวิชาชีพรังสีเทคนิคทั้ง 3 ด้าน คือ รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อให้การบริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคเป็นไปอย่าง ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพอย่างต่อเนื่องภายใต้ข้อกำหนดจรรยาบรรณและพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ              การที่มีร่างสมรรถนะและมาตรฐานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิคนี้ขึ้น ข้าพเจ้าเห็นว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้ประกอบวิชาชีพ ที่จะสามารถนำมาใช้เป็นแนวปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพ ใช้เป็นแนวทางประเมินสมรรถนะและคุณภาพในการปฏิบัติงานของตนเอง ช่วยลดความเสี่ยงที่จะโดนฟ้องร้อง ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมสอบใบประกอบโรคศิลปะ ตลอดจนเป็นข้อมูลให้กับประชาชนทั่วไปและผู้ร่วมปฏิบัติงานทั่วไปให้เข้าใจการให้บริการที่ได้รับจากผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิค

  •   กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรที่จะทราบ

        -    มาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ เพราะนักรังสีเทคนิคทุกคนต้องมีการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานและยึดหลักจรรยาบรรณ

        -      พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ เพื่อที่นักรังสีเทคนิคสามารถนำไปใช้ในกรณีที่เกิดปัญหาและข้อร้องเรียนขึ้นเพราะนักรังสีเทคนิคจะบอกว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้

         -   พระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงพระราชบัญญัติ การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542    พระราชบัญญัติ การประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547  

        -    พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2545    

        -       ระเบียบและประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ  เพราะว่าจะทำให้เราทราบว่าเราควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของเรา    

         -      สิทธิของผู้ป่วย ซึ่งสิทธิของผู้ป่วยนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเพราะถ้านักรังสีเทคนิคละเลยเรื่องนี้ อาจจะทำให้เกิดการฟ้องร้องหรือร้องเรียนเกิดขึ้นได้ส่งผลต่อการประกอบโรคศิลปะของนักรังสีเทคนิคเอง

     **** ซึ่งการเป็นนักรังสีเทคนิคที่ดีต้องมีทั้งความรู้ ความสามถ ในทุกๆๆด้าน ****

น. ส. ชาลิสา นุชาดี

กฎหมายในวิชาชีพรังสีเทคนิค

เมื่อเราเป็นนักรังสีเทคนิค กฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพของตนเองต้องรู้ ซึ่งได้แก่1.          ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาวิชารังสีเทคนิค พ.ศ. 25472.          พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาวิชาการประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 25453.          กฎกระทรวงว่าด้วย การขอขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ  พ.ศ. 25474.                         พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 25425.                         พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541และที่สำคัญที่ต้องรู้ก็คือบทการกำหนดโทษเมื่อกระทำความผิดต่าง ๆ  

สิ่งทujควรทำได้สำหรับนักรังสีเทคนิค

1.  CT

2.  MRI

3. Ultrasound

4.  Special

5.  x - ray

6.  nuclear medicine

7.  theraphy

 

น.ส. พัฒนา แจ้งสว่าง 47660592

สมรรถนะและมาตรฐานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิค

        จากที่ได้ร่ำเรียนมา ตั้ง 4 ปี คิดว่าผู้ที่จะไปประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิคควรที่จะปฏิบัติงานได้ทั้ง 3 สาขา คือ วินิจฉัย รังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ถึงแม้ว่าจะเราจะเน้นเรียนเฉพาะด้านวินิจฉัยก็ตาม แต่เหนือสิ่งอื่นใดถ้าเรารู้จักแสวงหาความรู้เพิ่มเติมและปฏิบัติอยู่บ่อยๆ เชื่อว่าทุกคนก็ทำได้ คำว่า สมรรถนะ ในความคิดของข้าพเจ้าคือนักรังสีเทคนิคควรที่จะปฏิบัติหน้าที่นักรังสีเทคนิคได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มาตรฐาน  คือสิ่งนักรังสีเทคนิคกำหนดขึ้นกันเองรึป่าว? ถ้าเป็นข้อกำหนดกันเอง คิดว่าก็เป็นสิ่งที่นักรังสีเทคนิคทุกคนก็รู้ๆกันดีและก็ต้องเป็นสิ่งที่ปฏิบัติแล้วเกิดผลดีต่อทั้งตัวเองและก็ผู้ป่วย เชื่อว่านักรังสีเทคนิคทุกคนก็น่าจะมีมาตรฐานของตัวเองอยู่แล้วและก็ควรที่รักษามาตรฐานของตัวเองด้วย

กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

      นักรังสีเทคนิคก็ประชาชนทั่วไปเหมือนกัน ก็น่าจะรู้จักกฎหมายบ้านเมืองบ้าง ถ้าทำผิดกฎก็ถูกลงโทษเหมือนกัน แต่กฎหมายที่นักรังสีเทคนิค ควรจะรู้มากกว่าคนทั่วไป คือ กฎหมายและข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวกับวิชาชีพของตัวเอง เช่น

  • พรบ. การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542
  • การขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาต
  • จรรยาบรรณของนักรังสีเทคนิค
  • กฎกระทรวงเกี่ยวกับสถานพยาบาล

       จากที่ได้เรียนมาแล้ว การปฏิบัติตามกฎหมายมันก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องยากอะไร ก็เป็นสิ่งที่ทำกันอยู่ทุกวัน (ถ้าไม่ทำป่านนี้คงนอน...แล้วหล่ะ) เป็นการดีซะอีกที่ได้ทำความดี

       

นางสาวสุภาพร ฤทธิเดช 47660717

1.สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ 

           - นักรังสีเทคนิคที่ดีควรปฏิบัติงานภายใต้กฏหมายจรรยาบรรณวิชาชีพให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้    โดยเข้าใจในเรื่องสิทธิของผู้ป่วย และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการบริการทางด้าน รังสีวินิจฉัย   รังสีรักษา  หรือเวชศาสตร์นิวเคลียร์   ควรปฏิบัติงานโดยเสมอภาคไม่เลือกชนชั้นวรรณะ  เช่น ต้องปฏิบัติให้เสมอภาคทุกคน  ด้วยอัธยาศัยที่ดีงาม ไม่เลือกให้บริการที่ดีแต่คนที่ดูดี มีฐานะ  หมายรวมถึงไม่ตัดสินคนจากภายนอก  ทุกคนต่างมีสิทธิที่จะได้รับบริการอย่างที่ดี  อย่างเท่าเทียมกัน   ต้องรักษาความลับผู้ป่วย อย่างเช่นนักรังสีเทคนิคทราบว่าผู้ป่วยบางรายเป็นโรคร้ายแรง  ก็ไม่ควรนำเรื่องนี้ไปพูดกล่าวต่อสาธารณะชนเพราะจะทำให้ผู้ป่วยเดือดร้อน  เราควรเอาใจเขามาใส่ใจเราให้มาก       นักรังสีเทคนิคที่ดี ควรจัดทำคำยินยอมของผู้ป่วยก่อนการตรวจที่จำเป็นเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและตัวนักรังสีด้วยหากเกิดข้อผิดพลาดใดๆขึ้นมาจากการตรวจเหล่านั้น   ควรฝึกฝนตนเองให้มีความรู้และทักษะอย่างสม่ำเสมอ โดยการหมั่นศึกษาไม่ว่าจะจากทางอินเตอร์เน็ต  หนังสือพิมพ์  วารสาร   การเข้าประชุมวิชาการต่างๆ เพื่อศึกษาความรู้และนวัตกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วตามกาลเวลา ส่วนในเรื่งอของทักษะ ก็ควรขยันตั้งใจทำงานในหน้าที่ของตนก็เป็นกานฝึกทักษะได้ดีวิธีหนึ่ง   ควรปฏิบัติงานร่วมกับผู้ร่วมวิชาชีพ และผู้ประกอบวิชาชีพอื่นที่เกียวข้อง ได้เป็นอย่างดีโดยสามารถแนะนำความเห็นทางวิชาการแก่ผู้ร่วมงานและสามารถปฏิบัติงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ   นักรังสีเทคนิคต้องสามารถแปลผลข้อมูลที่ได้จากผู้ประกอบวิชาชีพอื่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและลดปริมาณรังสีแก่ผู้ป่วย  นักรังสีเทคนิคต้องแสดงทักษะในการสื่อสารอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในการให้ข้อมูลคำแนะนำและข้อคิดเห็นด้านวิชาชีพ แก่ผู้ป่วย   ญาติผู้ป่วย  ผู้ร่วมงาน และผู้รับบริการโดยใช้ทักษะการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมตามอายุ การศึกษา และสภาพร่างกายจิตใจ  ตระหนักถึงการแสดงกิริยาท่าทางที่มีผลกระทบทางศาสนา วัฒนธรรม เศรษฐสถานะ ความเชื่อของบุคคล ซึ่งแต่ละคนมีความคิดเห็นไม่เหมือนกัน     นักรังสีเทคนิคควรมีความรู้ทางวิชาชีววิทยา  ฟิสิกส์  สังคมวิทยา  จิตวิทยา   , ควรรู้หลักการฟิสิกส์ของการกำเนิดรังสี , หลักการทางชีวรังสี กลไกการเกิดโรคและพยาธิสภาพ, สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ต่างๆ ในการปฏิบัติงานทางรังสีและการวิจัย , เข้าใจการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานการใช้รังสีในการวินิจฉัยและรักษาโรค , เข้าใจขีดจำกัด ความสามารถ การใช้งานเครื่องมือทางรังสี,  มีความรู้ทางเภสัชวิทยาของยาที่ใช้ในการถ่ายภาพ    นักรังสีเทคนิคต้องสามารถให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจและการรักษาอย่างเหมาะสม    ใช้อุปกรณ์การป้องกันอันตรายจากรังสีอย่างเหมาะสม แก่ผู้รับบริการ ตนเอง   และผู้เกี่ยวข้อง อย่างมีประสิทธิภาพและมีวิจารณญาณ    เข้าใจถึงกระบวนการประกันคุณภาพงานในด้านรังสี     นอกจากนี้นักรังสีเทคนิคยังต้องสามารถตั้งองค์ประกอบและบันทึกภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  เพื่อคุณภาพของภาพถ่ายทางรังสีที่ดี เป็นประโยชน์แก่การวินิจฉัยเป็นอย่างยิ่ง

2.กฏหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

                    -ระเบียบกระทรวงสาธารสุขที่ว่าด้วยการักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค พ.ศ. 2547  ทำให้เราผู้เป็นนักรังสีเทคนิคทราบว่าควรปฏิบัติตนอย่างไรภายใต้ข้อกำหนดของกฏหมาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการโฆษณาการประกอบโรคศิลปะ ทำให้เรารู้ขอบเขตว่าทำการโฆษณาได้มากเพียงใด ทำแบบไหนผิด และแบบที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร    ในเรื่องของการทดลองในมนุษย์นั้นก็เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้เพราะ เป็นเรื่องการทดลองเกี่ยวกับชีวิตคน จะต้องทำอย่างละเอียดรอบคอบ รวมทั้งมีการขออนุญาติอย่างถูกต้อง   ส่วนในเรื่องการปฏิบัติตนต่อผู้ร่วมงานก็จำเป็นต้องรู้เพราะ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ ดังนั้นในชีวิตการจริงจำเป็นต้องมีการทำงานร่วมกับผู้อื่น เราก็สามารถใช้กฏหมายนี้เป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติตนให้ถูกต้องได้  เพื่อให้เกิดความสงบสุขภายในสังคม  , พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และกฎกระทรวงประกาศกระทรวง  จำเป็นต้องทราบ เพราะนักรังสีเทคนิคส่วนใหญ่ปฏิบัติงานภายในโรงพยาบาล ต้องรู้ไว้  มันเป็นเรื่องที่เกียวข้องโดยตรงกับเรา  นอกจากนี้ นักรังสีเทคนิคยังต้องทราบพระราชบัญญัติประกอบโรคศิลปะ  เพราะเรานักรังสีเทคนิคเรียนจบไป ต้องขอใบประกอบโรคศิลปะอยู่แล้ว ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องทราบ ไม่ใช่เพียงเพื่อการสอบใบประกอบโรคศิลปะให้ผ่านเท่านั้นเพราะมันยังเป็นกฏเกณฑ์ที่ต้องยึดปฏิบัติร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  นอกจากนี้นักรังสีเทคนิคควรทราบกฎหมายทั่วไป เป็นพื้นฐาน เพราะชีวิตคนเรามีความเกี่ยวข้องกับกฎหมาย ตั้งแต่เกิด จนกระทั่งเสียชีวิต ฉะนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องรู้อย่างยิ่ง เพื่อเวลาเกิดข้อพิพาทจะได้ใช้ในการแก้ปัญหาอย่างถูกต้องและมีประสิทธภาพ  เพื่อประโยชน์และความสงบสุขของบ้านเมือง 

                  

  ถ้ามีข้อผิดพลาดต้องขออภัยด้วยนะคะ

นสส.อัญชลี ปัญญา 47660733

สมรรถนะและมาตรฐานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิด

        ดิฉันคิดว่าเมื่อเราจบสาขารังสีเทคนิคจาก มหาลัยนเรศวรไปแล้ว เราต้องปฏิบัติงานจริงกับผู้ป่วยหรือผู้มารับบริการ โดยถือสมรรถนะและมาตรฐาน เป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานในวิชาชีพรังสีเทคนิค แถมยังเป็นการประเมินสมรรถนะและคุณภาพในการปฏิบัติงานของตัวเราเองด้วย เพื่อให้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพที่สุด ป้องกันอันตรายจากรังสีให้ผู้ป่วย และเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจถูกฟ้องร้องจากผู้ป่วยได้ ยังเป็นข้อมูลให้สาธารณชนและผู้ร่วมปฏิบัติงานสาธารณสุขเข้าใจการให้บริการที่ได้รับจากเรา 

           สมรรนะและมาตราฐานคือ แนวทางปฏิบัติงานสำหรับนักรังสีเทคนิคในการปฎิบัติงานทั้งในด้านรังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อให้สามารถให้บริการแก่ผู้มารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคด้วยรังสี หรือพลังงานรูปแบบอื่นเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย มีประสิทธิ์ภาพ และมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ข้อกำหนดจรรยาบรรณและพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ

  กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรที่จะทราบ

         เมื่อเราเป็นนักรังสีเทคนิคแล้วเราก็ควรจะมีความรู้ในเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพรังสีเทคนิคบ้าง เพื่อยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งเราจะต้องปฏิบัติงานภายใต้กรอบกฏหมาย กฎหมายที่เราควรจะรู้ก็ได้แก่

       -      ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาวิชารังสีเทคนิค พ.ศ. 2547

      -  พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาวิชาการประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2545

      -   กฎกระทรวงว่าด้วย การขอขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ  พ.ศ. 2547

      -     พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542

      -      พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541

น.ส.สิริพักตร์ เจริญเชื้อ

 สมรรถนะและมาตรฐานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ

สมรรถนะและมาตรฐานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิค ใช้เป็นแนวทางในการประเมินสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิคซึ่งควรยึดเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานในวิชาชีพรังสีเทคนิคทั้ง 3 สาขา คือ

  1. รังสีวินิจฉัย
  2. รังสีรักษา
  3. เวชศาสตร์นิวเคลียร์

เพื่อให้การบริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ

กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรที่จะทราบ

พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542

พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541

พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาวิชาการประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2545

ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาวิชารังสีเทคนิค พ.ศ. 2547

กฎกระทรวงว่าด้วย การขอขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ  พ.ศ. 2547

-  สิทธิการรักษาของผู้ป่วย

นายวสุสกิจจ์ เพชรรัตน์

1.สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

จากที่ข้าพเจ้าได้เรียนในมหาวิยาลัยแห่งนี้ในสาขารังสีเทคนิค...มาเป็นเวลาเกือบ สี่ปีเต็มแล้วคิดว่าสมรรถนะและมาตรฐานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิคคือความสัมพันธ์และความรับผิดชอบต่อผู้ร่วมงานและผู้รับบริการน่าจะสำคัญที่สุดเพราะงานของเราเป็นงานบริการเปรียบคนไข้เหมือนญาติของเราและเราต้องทำงานร่วมกับคนหมู่มากดังนั้นคว่ามสัมพันธ์นี่แหละที่จะทำให้เราอยู่รอดได้ในสังคมปัจจุบัน

2.กฏหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

กฏหมายมีหลายฉบับมากยากที่เราจะทราบได้หมดแต่ที่ควรทราบเป็นอย่างยิ่งคือระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขารังสีเทคนิค พ.ศ.2547 เพราะเกี่ยวกับเราโดยตรงและเป็นกฏหมายเบื้องต้นที่ควรจะรู้

ทุกสิ่งจะเกิดขึ้นได้อยู่ที่ตัวเราและปัจจัยภายนอก....

นสส.สุทิน เจือจันทร์

     1. สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ 

      เป็นคำถามที่กว้างจริงๆครับ ในที่นี้ผมก็เลยเข้าใจว่า สมรรถนะเเละมาตฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ คงจะหมายถึง ผู้ประกอบ วิชาชีพ สาขา วิทยาศาสตร์ สุขภาพ เพราะเป็นกลุ่มสาขาที่ทำงาน เกี่ยวกับ โรคภัย ไข้เจ็บ ของประชากร ของประเทศ ดังนั้น ก็เลยเเสดงความเห็นเป็น 2 ประเด็น ดังนี่ ครับ

        1.1 สมรรถนะ สำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ ในที่นี้คงจะหมายถึง ความรู้ ความสามารถ ที่ บุคคลากร กลุ่ม สาขา นี้พึงมีเเละ สามารถ ทำได้อย่าง มีประสิทธิภาพ  ผมเชื่อว่า คนทุกคน มี สมรรถนะ หรือ ความสามารถด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่า ใครก็ตาม ขึ้นอยู่กับ ว่า เราจะ เอา ออกมาใช้ ได้อย่างไร มากกว่า ขึ้นอยู่กับว่า โอกาศจะเอื้อ ให้เขาเหล่านั้นได้ เเสดงสมรรถนะ ออกมาหรือเปล่า  มาดู กันที่ งาน ทาง สายวิทยาศาสตร์ สุข ภาพกันนะครับ ว่า ผมมีความ คิดเห็นเกี่ยวกับ สมรรถนะ ด้านนี้อย่างไร   ก่อนอื่น ต้อง พูดกันถึง ประเทศ ไทยอันเป็นที่รัก ของเรา ก่อน ถิ่น ที่เรา เกิด กิ น นอน อยู่ทุกวันนี้ ด้วยความที่เป็น ประเทศที่ เออ เรียกว่า กำลัง พัฒนา อะนะ ด้วยภาษาที่กรองเป็น ภาษา ที่ไม่หยาบ คายเเล้ว เมื่อวานได้เข้าไปอ่านกระทู้ จากเว็บ ชื่อดัง ประเทส ไทยเรา  เกี่ยวกับ คำถาม ที่ว่า คนที่เป็น หมอ ทำไม พอทำงาน ใช้ หนี้ ที่รัฐบาล ส่งเสีย ให้เรียน เเล้ว มักจะ ไม่ค่อย ทำงาน ในสถานพยาบาล ของรัฐ ต่อไป เเต่มักจะออก ไปทำงาน อยู่โรงพยาบาลเอกชนเสียมากกว่า เเล้ว มันเกี่ยวอะไร กับ สมรรถนะ ขอบอกว่าเกี่ยวครับ เพราะ คำว่าสมรรถนะ นั้นหมายถึง ความสามารถที่จะทำ สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เเต่ สังคมไทยเรามักจะไม่ค่อยเอื้อ ให้คน ได้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าไหร่ อย่าง คนที่เป็นหมอนั้น ถ้าอยู่ โรงพยาบาล ของ รัฐ ถ้าจะรักษาคนไข้คนหนึ่ง นี่ช่าง ยากลำบาก คุณภาพของยา ที่จะใช้บำบัด คนไข้ คนหนึ่ง ก็ต้อง ให้เป็น ไปตาม งบประมาณของรัฐบาลที่จะสามารถ จัด หา ให้กับคนไข้ ได้ ยาพารา ที่ให้คนไข้กิน ในรพ. เมื่อเทียบกับ ยา พารา ที่โฆษณา ใน ทีวี คุณภาพต่างกันลิบลับ เเล้วคนที่เป็นหมอ ทำงาน ในรพ. รัฐ จะต้องเหนื่อย ที่จะรับมือ กับคนไข้ ในเเต่ละวันเป็น ร้อยๆคน งานก็ย่อมเหนื่อยกว่า อีกทั้ง เมื่อเทียบกับทำงานโรงพยาบาลเอกชน ที่วันหนึ่งๆ คนไข้ มีไม่มาก ส่งผล ทำให้ การตรวจ คนไข้ เป็น ไปอย่างละเอียด เเละมีประสิทธิภาพ ด้วย เรื่อง ยาหรือเครือง มือที่ใช้ ในโรงพยาบาล เอกชนบางเเห่ง หมอสามารถสั่งได้เต็มที่   อันนี้เเค่หมอ นะครับ เเล้ว ไหนจะนักรังสีเทคนิค ในอนาคตอย่างเราๆ ท่านๆ ละ นอกจากนี้ ลักษณะ ของสังคม ไทย ที่ มีเเต่คนคอยอิจฉากัน กลัวเเต่จะเห็นคนอื่นได้ดีกว่า   ขาดคุณสมบัติการทำงานเป็น ทีม ส่วนมาก็จะ ฆ่า น้อง ฟ้องนาย ขายเพื่อน ประมาณนั้น 55555 นี่ไม่ใช่เเค่เรื่องนี้เรื่องเดียวนะครับ ทุกองค์กร ในประเทศ ไทยเรามักจะเป็นกันอย่างนี้เสีย ส่วนมาก ท่านทั้งหลายครับ ทำไม ประเทศ อื่น ถึง ได้เจริญกว่าเรา ประเทสไทยเรา โชคดีกว่าประเทศอื่น เเต่ทำไม เราถึง ไม่ได้เป็น ประเทศที่พัฒนา เเล้ว เฉกเช่นหลายประเทศ

     สรุปเอาง่ายๆครับสำหรับประเด็นนี้ สมรรถนะ มีกันทุกคน ไม่ว่าใครขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอาออกมาใช้ เเล้ว ก็ โอกาศ สภาพเเวดล้อมจะเอื้อ มากน้อยขนาดไหน เพราะ เมื่อ คนในองค์กร เรา เป็นคนที่มีคุณภาพ เมือนั้นเเหละครับ สมรรรนะที่เต็มเปี่ยม ของคนในองค์กร จะสามารถ ขับเคลื่อน ให้ องค์กรเหล่านั้นสามารถ บรรลุ เป้าหมาย หรือ พันธกิจ ของ องค์กร เหล่านั้น ได้ ด้วยดี

     1.2 จากข้อเเรก ส่งผลต่อข้อสองคือในเรื่อง ของมาตรฐานวิชาชีพ ถ้า ผู้ใหญ่ในบ้านเ มือง เห็นความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นสำคัญ ร่วมกันพัฒนา ในทุกๆด้าน ของประเทศ ให้เจริญก้าวหน้า ด้านสาธารณสุข ควรที่จะให้สวัสดิการที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อเป็น ขวัญกำลังใจให้คนที่ทำงานด้านนี้ ได้ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็น่าจะทำให้ ทุกอย่างมีมาตรฐานมากกว่านี้ ครับ 

2. กฏหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ  

         คำถามข้อนี้ก็รู้ สึกว่ากว้างๆ นะครับ เพราะ ในความหมาย ของคำว่า กฏหมายคือข้อบังคับ เพื่อให้คนในสังคมนั้นๆ ได้ยึดถือเเละ ปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบรอ้ย เเก่คนในสังคม เเละมี บทลงโทษ เเก่บุคคลที่ไม่ ปฏิบัติ ตาม หรือละเมิด กฏหมาย

         นักรังสีเทคนิค ก็เป็นบุคคล ทีอยู่ในสังคมหนึ่งๆ เช่นกัน ดังนั้น กกฏมายที่นักรังสีเทคนิค ควรทราบ คือ กฏหมาย ทุกเรื่อง  ที่ได้บัญญัติ ไว้ใน รัฐธรรมนูญของราชอาณาจักร ไทย

       สวัสดีครับ

นายปฏิพัทธ์ ศรีแผ้ว 47660535
  1. สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ  ก็คือเมื่อเราเรียนจบไปแล้วเราต้องมีความรู้ ความสามารถทั้งทางทฤษฎี และการปฏิบัติเกี่ยวกับสิ่งที่เราเรียน และฝึกมา ต้องทำให้ได้ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการปฏิบัติอย่างมีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยในตอนที่เราฝึกงานตอนปี 3 และการตรวจพิเศษทางรังสี  การตรวจทาง CT หรือ MRI รวมทั้ง Ultrasound ด้วย อีกทั้งต้องสามารถช่วยแพทย์หรือผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานต่างๆ เช่น ในห้องตรวจการทำงานของหัวใจ  และห้องผ่าตัด เป็นต้น   อีกอย่างหนึ่งเมื่อเราไปทำงานอีกอย่างหนึ่งคือ จะต้องมีความเคารพแก่ผู้มีคุณวุฒิ และมีวัยวุฒิ หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ที่ร่วมงานกับเราด้วย  นอกจากนี้เราก็จำเป็นที่จะต้องมีทักษะที่จำเป็นในการให้บริการด้วย คือ ต้องรู้เกี่ยวกับการจัดการข้อมูลและการให้บริการ เช่น การส่งตรวจผู้ป่วย  และการประเมินผลกระทบที่มีต่อบริการ เช่น ทำ QA QC และนำข้อมูลมาประเมิน โดย กระบวนการ Repeat analysis
  2. กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ  ที่สำคัญคือ   1.พรบ.การประกอบโรคศิลปะ ควรจะรู้ ความหมาย  บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ คณะกรรมการวิชาชีพ และพนักงานเจ้าหน้าที่  การอุทธรณ์  การกำหนดโทษ เพื่อที่จะได้รู้ว่าเราสามารถที่จะปฏิบัติได้ในขอบเขตแค่ไหน     2.กฏกระทรวงว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนและการรับใบอนุญาต  การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอณุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ       3.พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้วสาขารังสีเทคนิคเป็นสาขารังสีเทคนิค    4.ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะ       5.พรบ.สถานพยาบาล    เพื่อที่เราจะได้สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง และเป็นการที่จะสามารถรักษาสิทธิที่เราควรจะได้รับด้วย  จะได้ไม่โดนใครหลอกได้อีกด้วย

สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

สมรรถนะและมาตรฐานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพรังสีเทคนิคนั้น มีสมรรถนะที่ควรยึดถือปฎิบัติวิชาชีพรังสีเทคนิคทั้ง 3 ด้าน คือ
  1. รังสีวินิจฉัย
  2. รังสีรักษา และ
  3. เวชศาสตร์นิวเคลียร์

เพื่อที่จะได้ทำให้การบริการผู้ป่วย ซึ่งได้แก่ การตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆเป็นไปได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณภาพอย่างต่อเนื่องภายใต้ข้อกำหนดจรรยาบรรณและพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ           

  เมื่อดิฉันได้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชารังสีเทคนิค ของมหาวิทยาลัยนเรศวร ดิฉันควรที่จะมีความสามารถและสมรรถนะ ดังนี้

   ·       มีความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบและหลักการทำงานของเครื่องมือ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจทางรังสีวินิจฉัย รังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เช่น เครื่องเอกซเรย์ทั่วไป, เครื่องFluoroscopy, เครื่อง Mammogram, เครื่อง Ultrasound, เครื่องComputed Tomography, เครื่อง MRI 

·      รู้ถึงวิธีการตรวจทางรังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เช่น เข้าใจขั้นตอนการวางแผนการรักษาผู้ป่วย กำหนดขอบเขตของการรักษาผู้ป่วยของการตรวจทางด้วยรังสีรักษาได้, สามารถเตรียมสารเภสัชรังสีสำหรับการตรวจ และทำการจำลองรูปร่างผู้ป่วย

  • สามารถนำความรู้ที่มีอยู่มาบูรณาการปรับปรุง ในการปฏิบัติงานจริง ซึ่งจะทำให้นักรังสีเทคนิคมีความสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพ
  • สามารถจัด Position ผู้ป่วย เพื่อถ่ายเอกซเรย์ของอวัยวะต่างๆในร่างกายได้อย่างถูกต้อง, ในการตรวจพิเศษทางรังสี สามารถบอกถึงวิธีการเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนตรวจ ระบุข้อบ่งชี้ในการตรวจ ต่างๆได้เป็นอย่างดี
  • รู้ถึงหลักการการป้องกันอันตรายจากรังสี
  • รู้ถึงการควบคุมคุณภาพของภาพเอกซเรย์  เป็นต้น
        ซึ่งดิฉันคิดว่าถ้านักรังสีเทคนิคสามารถที่จะปฏิบัติตนตามข้างต้นได้เป็นอย่างดีแล้ว ก็น่าที่จะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุรภาพเพียงพอสำหรับวิชาชีพรังสีเทคนิค 

กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

        การเป็นนักรังสีเทคนิคที่ดีได้นั้น จำเป็นจะต้องทราบถึงกฎหมายหรือข้อกำหนด ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพนักรังสีเทคนิค เป็นอย่างดีและสามารถที่จะนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งได้แก่

      ·   พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาวิชาการประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2545

   ·   กฎกระทรวงว่าด้วย การขอขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ  พ.ศ. 2547

 ·   ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาวิชารังสีเทคนิค พ.ศ. 2547

   ·       พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542

   ·       พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541

·       สิทธิที่ผู้ป่วยจะได้รับการบริการในการรักษา และรับทราบถึงวิธีและขั้นตอนในการรักษาผู้ป่วย

·       ข้อบังคับสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย
  
นส.อรุณรักณ์ สุราฤทธิ์ 47660758

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ "สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

          ข้าพเจ้าคิดว่า สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ประกอบโรคศิลปะต้องรู้ ต้องปฎิบัติให้ได้เพื่อให้การบริการการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคด้วยรังสีหรือพลังงานรูปแบบอื่นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และมีคุณภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้ที่เราต้องปฏิบัติกับเขา (ผู้ป่วยหรือผู้มารับบริการนั่นเอง) จากเรียนวิชากฏหมาย จริยธรรมและการจัดการสำหรับนักรังสีเทคนิค....ได้เรียนรู้ว่า....ผู้ประกอบวิชาชีพในวิชาชีพรังสีเทคนิค ต้องมี สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ  เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติงานได้ ทั้ง 3 ด้าน ไม่ว่าจะเป็น รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ อยู่ 3 มาตรฐานหลัก คือ

  • มีความเป็นอิสระและความรับผิดชอบ : มีความเป็นอิสระ  สามารถตรวจสอบได้ มีความสัมพันธ์ที่ดี และมีความรับผิดชอบต่อผู้ร่วมงานและผู้รับบริการทุกๆ คนอย่างเท่าเทียมกัน
  • มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะ : มีความรู้ความเข้าใจทางวิชาการ (ทฤษฎีที่ได้เรียนมา ตั้งแต่ ปี 1 จนถึงบัดนี้ ด้วยความยากลำบากอย่างยิ่ง) และมีทักษะคือ สามารถที่จะนำเอาทฤษฎีนั้นๆ ที่ได้เรียนรู้ มาใช้ปฏิบัติงานได้จริง (คิดว่าการฝึกงานก็เป็นการสร้างทักษะของนิสิตรังสีอย่างเรา) อาจรวมถึงการถ่ายทอดความรู้ที่เรามีให้กับผู้ร่วมงานหรือผู้ร่วมวิชาชีพด้วย (การถ่ายทอดความรู้เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เรารู้ว่า...เราเข้าใจจริงๆ  อีกอย่างการเก็บความรู้ไว้กับตัวเองผู้เดียว อีกไม่นานมันก็สูญหายไป...เท่านั้นเอง....)
  • มีทักษะที่จำเป็นในการให้บริการ : ไม่ว่าจะเป็นการจัดการข้อมูลในการให้บริการได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม เป็นประโยชน์กับหน่วยงานของตน  และการจัดการเพื่อสนองตอบการบริการให้แก่ผุ้มารับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับความพึงพอใจจากผู้รับบริการ รวมถึงการประเมินผลกระทบต่อการบริการได้อย่างดี เพื่อให้รู้ว่าส่วนไหนที่ดีอยู่แล้วก็พัฒนาต่อไป แต่ส่วนไหนที่ไม่ดีก็ปรับปรุง เพื่อจะได้มีการบริการที่ดีมากยิ่งขึ้น

ความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

           ข้าพเจ้าคิดว่านอกจากกฎหมายที่ใช้กันอยู่ทั่วไป (พวกกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา) แล้วยังมีกฎหมายที่เกี่ยวกับนักรังสีเทคนิคโดยตรง ที่ควรทราบมากว่าบุคคลทั่วไป คือ  พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542, พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาวิชาการประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2545, กฎกระทรวงว่าด้วย การขอขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ  พ.ศ. 2547,  ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาวิชารังสีเทคนิค พ.ศ. 2547 รวมถึงพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ด้วย (เมื่อรู้แล้วเราก็ควรปฏิบัติได้ด้วย...)

ทิ้งท้าย....ด้วยข้อความดีๆ....      เหตุผลขอคนๆ หนึ่ง อาจไม่ใช่เหตุผลของคน อีกคนหนึ่งทิ้งท้ายท้าย.....       ไม่มีใครเกิดมา ไร้ค่า . . .แม้แต่คนโง่ที่สุด ยังฉลาดในบางเรื่อง...และคนฉลาดที่สุด ก็ยังโง่ในหลายเรื่อง . . .(หุหุ...ปลอบใจตัวเองเล็กๆ)                                       ๏[•_•] ขอให้ความหวังที่ตั้งไว้ไม่สูญเปล่าด้วยเถิด.....สาธุ๊.....[•_•]

 

 

 

น.ส.ศิริประภา แก้วแจ้ง

  1. สมรรถนะและมาตรฐานสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

     เนื่องจากงานทางด้านรังสีได้แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ รังสีรักษา รังสีวินิจฉัย และ เวชศาสตร์นิวเคลียร์ ซึ่งเราในฐานะนักรังสีเทคนิคคนนึงที่กำลังจะก้าวสู้โลกกว้าง และเข้าสู้สังคมของชาวรังสีอย่างแท้จริง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องมีความรู้ในการที่จะนำไปประกอบโรคศิลปะของเรา และเนื่องจากมหาวิทยาลัยของเราได้เน้นให้นิสิตเรียนทางด้านรังสีวินิจฉัยซึ่งในฐานะที่เป็นรังสีเทคนิคต้องมีความพร้อม มีศักยภาพตลอดจนความสามารถเพื่อผลักดันให้เกิดมาตรฐานของวิชาชีพของเรา ข้าพเจ้าในฐานะบุคคลที่กำลังจะก้าวไปสู่ความเป็นนักรังสีเทคนิค เร่งเห็นว่า สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพรังสีเทคนิคที่นักรังสีเทคนิคที่จะประกอบวิชาชีพทางด้านรังสีวินิฉัยมีดังนี้

- รู้โครงสร้างการทำงานของร่างกายมนุษย์ทั้งในสภาวะปกติ สภาวะที่เป็นโรค และสภาวะที่มีการบาดเจ็บ

- มีความรู้ตลอดจนทักษะในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี รวมทั้งทราบถึงวิธีการป้องกันอันตรายจากรังสีทั้งต่อตนเองและผู้ป่วย

- เมื่อมีความรู้และทักษะแล้ว ต้องนำความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาและปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัยเนื่องจากวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบันก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ถ้าเรารู้แต่ทฤษฎีเก่าๆ ก็ไปอาจทำให้วิชาชีพของเราพัฒนาต่อไปได้

- ต้องตระหนักถึงจรรยาบรรณ กฎหมาย และงานวิจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับงานทางด้านรังสี

- ทั้งนี้และทั้งนั้นในฐานะนักรังสีเทคนิคต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอเพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพของเรา

2. กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

   นอกจากรังสีเทคนิคจะต้องทราบถึงกฎหมายในสังคมที่ต้องพึ่งปฏิบัติ ในฐานะนักรังสีเทคนิคที่ดีควรมีการศึกษาและเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวกับวิชาชีพของตนเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันตนเองจากการถูกพ้องร้อง และเพื่อเป็นมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพของเราด้วย ก็เหมือนกับว่าถ้านักรังสีเทคนิคคนรู้กฎหมายก็เท่ากับมีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว สำหรับตัวข้าพเจ้าเองคิดว่ากฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบมีดังนี้

- พระราชกฤษฎีกา ที่กำหนดให้รังสีเทคนิคเป็นสาขาวิชาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 และ พ.ศ.2545

- จรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพของนักรังสีเทคนิค

- ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาวิชารังสีเทคนิค พ.ศ. 2547

   เนื่องจากในปัจจุบันกฎหมายได้ครอบคลุมไปถึงสิทธิของผู้ป่วยที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพราะถ้าเรามีการละเลยหรือปฏิบัติต่อผู้ป่วยไม่ดีหรือถูกต้อง อาจจะทำให้มีการฟ้องร้องตามมา

   นอกจากเราต้องขวนขวายหาความรู้และต้องรอบรู้เรื่องกฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบโรคศิลปะของรังสีเทคนิคแล้วเราต้องทราบถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเราด้วย

*****รังสีเทคนิคจะก้าวหน้าไปไม่ได้ ถ้าขาดนักรังสีเทคนิคที่ดีและสามารถ*****

ณัทธรา อินหนองฉาง

        สมรรถนะและมาตราฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

-  สมรรถะแลมาตราฐานวิชาชีพเป็นสิ่งที่นักรังสีเทคนิคทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติสำหรับการปฏิบัติงานในวิชาชีพรังสีเทคนิคทั้งทางด้านรังสีวินิจฉัย  รังสีรักษา  และเวชศาสตร์นิวเคลียร์  เพื่อให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคด้วยรังสีหรือพลังงานรูปแบบอื่นเป็นปอย่างถูกต้อง  เหมาะสม  ปลอดภัย  มีประสิทธิภาพ  และมีคุณภาพอย่างต่อเนื่องภายใต้ข้อกำหนดจรรยาบรรณและพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ ด้วยมาตราฐานหลัก 3 มาตราฐาน คือ

1. ความเป็นอิสระและความรับผิดชอบ

         ต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง  ความรับผิดชอบต่อผู้ร่วมงานและผู้ที่มาเข้ารับบริการ

2. ความรู้  ความเข้าใจ และทักษะ

         ต้องมีความรู้ความเข้าใจ  เทคนิคต่างๆ และทำการประยุกต์ใช้เทคนิคต่างๆร่วมกับความรู้ที่มีเพื่อการบริการที่มีประสิทธิภาพ

3. ทักษะที่จำเป็นในการให้บริการ

         ต้องมีทักษะในการจัดการกับข้อมลูและตอบสนองต่อการบริการได้เป็นอย่างดี

      กฏหมายที่นักรังสีเทคนิดควรทราบ

1. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข  ว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะ

2.  กฏกระทรวง  ว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียบและรับใบอนุญาต  การออกใบอนุญาต  การขอรับใบแทนใบอนุญาต  และการออกใบอนุญาตแทนในการประกอบโรคศิลปะ

3.  กฏหมายทั่วไปที่ประชาชนควรทราบ

             

นางสาววนิดา หน่อคำ

1. สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

เพื่อยึดเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานในวิชาชีพรังสีเทคนิคทั้ง 3 ด้าน คือ

  •  รังสีวินิจฉัย
  • รังสีรักษา
  • เวชศาสตร์นิวเคลียร์

จุดประสงค์ เพื่อให้การบริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคเป็นไปอย่าง ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย แก่ผู้เข้ามารับบริการทางด้านรังสี

ประโยชน์

  1. ใช้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงาน 
  2. เพื่อให้การบริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคเป็นไปอย่าง ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย
  3. ใช้เป็นแนวทางในการประกอบวิชาชีพ
  4. ใช้เป็นแนวทางประเมินสมรรถนะและคุณภาพในการปฏิบัติงานของตนเอง
  5. เพื่อลดความเสี่ยงในการโดนฟ้องร้อง
  6. ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมสอบใบประกอบโรคศิลปะ  
2. กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรที่จะทราบ

        -    มาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ เพราะนักรังสีเทคนิคทุกคนต้องมีการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานและยึดหลักจรรยาบรรณ

        -      พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ เพื่อที่นักรังสีเทคนิคสามารถนำไปใช้ในกรณีที่เกิดปัญหาและข้อร้องเรียนขึ้น จะบอกว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้

         -   พระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงพระราชบัญญัติ การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542    พระราชบัญญัติ การประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547  

        -    พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2545    

        -       ระเบียบและประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ  เพราะว่าจะทำให้เราทราบว่าเราควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของเรา    

         -      สิทธิของผู้ป่วย

นสส.องอาจ เตยจังหรีด 47662002

 

  1. สมรรถนะและมาตรฐานโรคศิลปะสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ
ใช้เป็นแนวปฏิบัติหลักสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะแล้ว ยังใช้เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบโรคศิลปะสามารถประเมินสมรรถนะและคุณภาพการปฏิบัติงานของตนเอง ลดความเสี่ยงการเกิดการฟ้องร้อง และเป็นข้อมูลให้สาธารณชนและผู้ร่วมปฏิบัติงานสาธารณสุขเข้าใจการให้บริการที่ได้รับจากผู้ประกอบโรคศิลปะสำหรับสรรถนะและมาตรฐานโรคศิลปะสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ จัดว่าเป็นสิ่งที่สมควรต้องพึงมีเป็นอย่างยิ่ง จากการกลั่นกรองของสภา สมาคม หรือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพในแต่ละสาขา เพื่อสร้างสิ่งลักษณะพึงประสงค์ โดยมุ่งประโยชน์ให้แก่ผู้รับบริการจากสถานพยาบาลเป็นสำคัญ ซึ่งจะกำหนดลักษณะสำคัญที่เป็นอุดมคติของผู้ประกอบวิชาชีพโรคศิลปะ ไม่ว่าจะเป็น -          ระดับความรู้ที่สมควรพึงมีเพียงพอ(knowledge) เช่น เมื่อได้การศึกษาทางด้านรังสีเทคนิคแล้ว บัณฑิตควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการต่างๆ ทางรังสีวิทยา รังสีกายวิภาคศาสตร์ รังสีสรีรวิทยา รังสีพยาธิวิทยา หรือ ความรู้ทางด้านอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง-          ทักษะความชำนาญทางวิชาชีพ (skill)คือ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ต่างๆ ในการปฏิบัติงานและการวิจัยทางรังสีได้อย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์ได้มากที่สุด-          ความรับผิดชอบ (responsibility)คือ การเข้าใจอย่างถ่องแท้และรู้หน้าที่ของนักรังสีเทคนิคและผู้ร่วมสหสาขาวิชาชีพเพื่อมุ่งประโยชน์ไปผู้รับบริการสถานพยาบาลหรือด้านการวิจัยอย่างสูงสุด-          จรรณยาบรรณ (morals and ethics)คือการรู้ การเข้าใจ และตระหนักถึงมาตรฐานของวิชาชีพอันพึงมีเกี่ยวกับรังสีเทคนิค ไม่ว่าจะเป็น การบริการในสถานพยาบาล หรืองานวิจัยเพื่อมุ่งเน้นประโยชน์ส่วนรวม 
  1. กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ
-     ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรักษาจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาวิชารังสีเทคนิค พ.ศ. 2547 -     พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาวิชาการประกอบโรคศิลปะ ตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2545-     กฎกระทรวงว่าด้วย การขอขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ  พ.ศ. 2547-          พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542-          พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541

-          กฎหมายทั่วไปที่ประชาชนควรรู้

ธมลวรรณ อุดมรัตนศิริชัย

1. สมรรถนะและมาตรฐานโรคศิลปะสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะ

ทางรังสีเทคนิคแบ่งเป็น 3 สาขา คือ รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ซึ่งนักรังสีจำเป็นต้องรู้ความรู้เกี่ยวสาขาที่ตนทำงานเป็นอย่างดี ทั้งนี้ตามหลักวิชาการแล้วสมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพสำหรับนักรังสีเทคนิคมี 3 มาตรฐานด้วยกัน คือ

  • ความเป็นอิสระและความรับผิดชอบ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง ผู้ร่วมงาน และผู้เข้ารับบริการ
  • ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะ มีความรู้ความเข้าใจ เทคนิคต่างๆ และทำการประยุกต์ใช้เทคนิคเพื่อการบริการที่มีประสิทธิภาพ
  • ทักษะความจำเป็นในการบริการ ตอบสนองและจัดเก็บข้อมูลการบริการเป็นอย่างดี

ดังนั้นเมื่อข้าพเจ้าจบการศึกษาจากม.นเรศวร ข้าพเจ้าต้องมีทักษะความรู้ที่จะนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้จริง ดังนี้

  • ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เกียวข้องกับทางรังสีวินิจฉัย เช่นเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป เครื่อง CT เครื่อง MRI รวมถึงเรื่องอื่นๆด้วย และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สามารถจัดท่าผู้ป่วยมนการถ่ายภาพรังสีได่อย่างถูกต้องตามความเหมาะสม
  • สามารถทำการควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์ หรือเครื่องมือต่างๆได้อย่างเหมาะสม
  • สามารถป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย รวมถึงข้าพเจ้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

2. กฎหมายที่นักรังสีเทคนิคควรทราบ

มาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ เพราะนักรังสีเทคนิคทุกคนต้องมีการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานและยึดหลักจรรยาบรรณ

  • พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ เพื่อที่นักรังสีเทคนิคสามารถนำไปใช้ในกรณีที่เกิดปัญหาและข้อร้องเรียนขึ้นเพราะนักรังสีเทคนิคจะบอกว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้
  • พระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงพระราชบัญญัติ การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542    พระราชบัญญัติ การประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547  
  • พระราชกฤษฎีกา กำหนดให้สาขารังสีเทคนิคเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2545    
  • ระเบียบและประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ  เพราะว่าจะทำให้เราทราบว่าเราควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของเรา  
  • สิทธิของผู้ป่วย ซึ่งสิทธิของผู้ป่วยนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเพราะถ้านักรังสีเทคนิคละเลยเรื่องนี้ อาจจะทำให้เกิดการฟ้องร้องหรือร้องเรียนเกิดขึ้นได้ส่งผลต่อการประกอบโรคศิลปะของนักรังสีเทคนิคเอง

ซึ่งนอกจากกฎหมายที่กล่าวมานี้ยังควรทราบกฎหมายอื่นๆอีกด้วย

วราภรณ์ วานิชสุขสมบัติ

อ่านแล้วก็อดที่จะแสดงความเห็นเข้ามาไม่ได้ แม้ว่าบล็อกนี้อาจจะเก่าจนไม่มีใครเปิดอ่านแล้ว เพราะกฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่สำคัญมากเกี่ยวกับการใช้รังสี คือ พ.ร.บ.พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ.๒๕๐๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๐๘ ไม่ได้รับการกพูดถึงเลย หรือนักรังสีเทคนิคไม่มีใครทราบเรื่องกฎหมายฉบับนี้เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท