แก้ปัญหานักเรียนเรียนช้ำชั้น


มาตรการเรียนช้ำชั้น

นวัตกรรม มาตรการการเรียนซ้ำชั้น
นายนกุล  สมาโนตม์  รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ 
โรงเรียนมหิศราธิบดี
 



                จากผลสำรวจการจบหลักสูตรของนักเรียนชั้น ม. 3  และ ม. 6  ก่อนการปฏิรูปทางการศึกษา  พุทธศักราช 2544   พบว่าร้อยละของการจบมีประมาณ  90 – 95 %  หมายความว่าในแต่ละปีจะมีการสูญเปล่าทางการศึกษา และมีนักเรียนเสียโอกาสการศึกษาต่อและทำงานตามคุณวุฒิร้อยละ 5-10  ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงพอสมควร

                สาเหตุ    1.นักเรียนขาดความรับผิดชอบ  ไม่มีระเบียบวินัยในตนเอง

                                2.ผู้ปกครองไม่มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือนักเรียน

                                3.นักเรียนมีผลการเรียน 0, ร, สม, มผ  มาก     จนไม่สามารถสอบแก้ตัวได้หมด  และเกิดความท้อแท้สิ้นหวัง 

                                4.วิธีการวัดผลและประเมินผลของครูไม่ตรงตามศักยภาพของนักเรียน

ครูหวังผลเลิศมากเกินไป <p style="margin: 0in 0in 0pt 0.5in; text-align: justify" class="MsoNormal">                ผู้รายงานได้กำหนดมาตรการเรียนซ้ำชั้น  ดังนี้</p><p style="margin: 0in 0in 0pt 0.5in; text-align: justify" class="MsoNormal">                                1. สร้างระเบียบการวัดผลและประเมินผลของสถานศึกษา โดยกำหนดให้เกณฑ์การจบหลักสูตรต้องมีผลการเรียนผ่านทุกตัว   ถ้ามีตกค้างแม้ตัวเดียวก็ต้องเรียนซ้ำในชั้นปีนั้น ๆ</p>                                2. นำเสนอระเบียบการวัดผลและประเมินผลนี้    ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการวิชาการ  และคณะกรรมการสถานศึกษา  เพื่อพิจารณาและแก้ไขให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น                                3.  นำระเบียบการวัดผลและประเมินผลนี้  รายงานต่อครูประจำชั้น  ครูผู้สอน  ผู้ปกครอง  และนักเรียน  เพื่อแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน  และนำไปปฏิบัติ                                4.  กำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานที่เปิดโอกาสให้นักเรียนมีโอกาสสอบแก้ตัวได้มากกว่า 1 ครั้ง   รายงานผลการเรียนให้ผู้ปกครองทราบ  ประชุมผู้ปกครองกลุ่มเสี่ยงให้ควบคุมดูแลและเอาใจใส่นักเรียนใกล้ชิดยิ่งขึ้น    <p style="margin: 0in 0in 0pt 0.5in; text-align: justify" class="MsoNormal">                จากการทดลองใช้  ผลที่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์  ได้แก่        </p><p style="margin: 0in 0in 0pt 0.5in; text-align: justify" class="MsoNormal">                                1. นักเรียนกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแล   เอาใจใส่    ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน  เพิ่มขึ้นมีขวัญและกำลังใจในการศึกษา</p><p style="margin: 0in 0in 0pt 0.5in; text-align: justify" class="MsoNormal">                                2. นักเรียนจบหลักสูตรร้อยละ 100  ของ จำนวนนักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6</p><p style="margin: 0in 0in 0pt 0.5in; text-align: justify" class="MsoNormal">ทั้งในปีการศึกษา   2548  และ  2549  (ทั้งนี้  ได้เริ่มทดลองใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548)</p><p style="margin: 0in 0in 0pt 0.5in; text-align: justify" class="MsoNormal">                                3. นักเรียนที่จบไม่พร้อมรุ่น   จะได้รับการสอนซ่อมเสริมช่วงภาคเรียนฤดูร้อน   และสามารถจบหลักสูตรก่อนเปิดภาคเรียนในปีการศึกษาถัดไป</p><p style="margin: 0in 0in 0pt 0.5in; text-align: justify" class="MsoNormal">                                                                                                นกุล   สมาโนตม์     ผู้รายงาน            </p> 

หมายเลขบันทึก: 133491เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2007 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 09:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ดีควรดำเนินการต่อไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท