การบริหารจัดการความรู้


การบริหารจัดการความรู้

การบริหารจัดการความรู้

Knowledge Management (KM)                 ปัจจุบันเป็นยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ แหล่งความรู้มีอยู่มากมาย กระจัดกระจายอยู่ในหลายรูปแบบ ความรู้ ประกอบด้วย ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ทฤษฎี หลักการ และกรอบแนวคิดต่าง ๆ รวมถึงทักษะ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งเราใช้เพื่อการตัดสินใจ การดำเนินชีวิตของมนุษย์ รวมทั้งการทำงานในองค์กร ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดว่าจะทำอย่างไรเราจึงจะสามารถใช้ความรู้ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นิยาม ความรู้

                ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ ความเข้าใจ หรือ สารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา                มีการแบ่งประเภทความรู้หลากหลายเช่นแบ่งความรู้ออกเป็นความรู้ส่วนบุคคล (Individual Knowledge) และความรู้องค์กร (Organization Knowledge) การแบ่งลักษณะนี้พิจารณาจากแหล่งของความรู้ เช่น ความรู้ในองค์กร (Internal Knowledge) และความรู้ภายนอกองค์กร (External Knowledge) ทุกองค์กรต้องมีการถ่ายโอนความรู้ไปมาระหว่างพนักงานทั้งเก่าและใหม่กับองค์กร  เพื่อให้เข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างดี ในขณะเดียวกันองค์กรก็ควรถ่ายโอนความรู้จากพนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญให้กลับมาเป็นฐานความรู้ขององค์กรเพื่อไม่ให้ความรู้นั้นหายไปจากองค์กรและเป็นแหล่งสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กรด้วย   อย่างไรก็ตามการถ่ายโอนความรู้ระหว่างคนกับองค์กรไม่ใช่เรื่องที่สามารถทำได้ง่าย เห็นได้จากองค์กรส่วนใหญ่มักประสบปัญหาเมื่อพนักงานที่มีความรู้หรือความเชี่ยวชาญพิเศษลาออกแล้วความรู้ขององค์กรก็หายไปพร้อมกับการจากไปของพนักงานผู้นั้น                นอกจากนี้ยังมีการแบ่งความรู้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือความรู้ที่เรียกว่า Explicit Knowledge คือความรู้ที่สามารถเขียนหรืออธิบายออกมาเป็นตัวอักษร ฟังก์ชั่น หรือสมการได้ และความรู้ที่เรียกว่า Tacit Knowledge ซึ่งไม่สามารถเขียนหรืออธิบายได้ จำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้จากการกระทำ ฝึกฝน เช่น การสร้างความรู้ที่เป็นทักษะหรือความสามารถส่วนบุคคล ซึ่งการถ่ายโอนความรู้ประเภทนี้ทำได้ยาก                Nonaka และ Takeuchi [1995] ได้กำหนดรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทั้งสองในรูปแบบดังนี้                                                                                                          Tacit knowledge To Explicit knowledge
Socialization Externalization
Internalization Combination
                                                                                                                                     Tacit                                      Knowledge

                     From

                                   Explicit                                   Knowledge                                                                                 รูปที่ 1. โมเดลในการเปลี่ยนรูปแบบความรู้ของโนนากะและทาเคอุชิ-2-·       Socialization เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความรู้ในรูปแบบที่เรียกว่า Tacit knowledge เช่น ทักษะ แนวคิด เพื่อให้เกิดกระบวนการคิดและทักษะใหม่ ๆ ขึ้น·       Externalization เป็นกระบวนการเปลี่ยนความรู้แบบ Tacit knowledge ให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถถ่ายทอดให้เข้าใจได้ง่าย รวมทั้งสามารถเก็บเป็นความรู้ขององค์กรได้ เช่น การเปลี่ยนความรู้หรือทักษะ       ให้อยู่ในรูปแบบของรูปภาพ แผนผัง ฟังก์ชั่น หรือสมการ เป็นต้น·       Combination เป็นกระบวนการรวมความรู้ในแขนงต่าง ๆกันเข้าด้วยกันเพื่อก่อให้เกิดการสร้างความรู้ใหม่·       Internalization เป็นกระบวนการเรียนรู้จากการกระทำซึ่งเป็นการเปลี่ยนความรู้ที่อยู่ในรูปแบบของเอกสารไปอยู่ในรูปของทักษะหรือความสามารถของบุคคลหรือองค์กร

 

ความหมายของการบริหารจัดการความรู้

                หมายถึง กระบวนการสร้างสรรค์ แลกเปลี่ยน รวบรวม จัดเก็บ และกระจายความรู้ เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแปลงข้อมูล (Data) เป็นสารสนเทศ (information) และเป็นความรู้ (Knowledge)  ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรและสามารถนำความรู้ไปใช้เพื่อการปฏิบัติงานอย่างทั่วถึง จนถึงขั้นเป็นสินทรัพย์ทางความรู้ (Knowledge Assets)

                กระบวนการจัดการความรู้ของแต่ละองค์กรมีความแตกต่างกันตามลักษณะการดำเนินการและองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น ลักษณะและงานขององค์กร โครงสร้างองค์กร และเทคโนโลยี เป็นต้น ดังนั้นองค์กรแต่และองค์กรจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างของกระบวนการบริหารจัดการความรู้เฉพาะขององค์กรเอง 

ประโยชน์ของการบริหารจัดการความรู้

1.       เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร2.       ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา3.       เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด4.       เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่น ๆ ในองค์กร และนำความรู้ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เป็นการพัฒนาคน และพัฒนาองค์กร5.       ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจ วางแผนดำเนินงานให้รวดเร็วและดีขึ้น เพราะมีสารสนเทศ หรือแหล่งความรู้เฉพาะที่มีหลักการ เหตุผล และน่าเชื่อถือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ6.       ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ช่วยเพิ่มความกลมเกลียวในหน่วยงาน7.       เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงานก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที8.       การจัดการความรู้ช่วยให้องค์กรมีความเข้าใจลูกค้า แนวโน้มของการตลาด และการแข่งขันทำให้เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน เป็นต้น
หมายเลขบันทึก: 133488เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2007 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โครงสร้างของไปรณีย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท