Decompression sickness


เพียงแต่ฉันมีประสบการณ์ตรงนี้มากกว่าคนอื่นเท่านั้น และฉันดีใจมากๆที่หมอเชื่อฉัน ในที่สุดฉันก็สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อีกหนึ่งราย เมื่อครั้งที่ช่วยรายแรกรู้สึกว่าคุ้มค่าอบรมมากแล้ว พอได้ช่วยอีกคน เกินคุ้มแล้ว ในรอบ 10 ปีหลังการอบรม ฉันได้ช่วยผู้ป่วยถึง 2 คน ใครเป็นฉันคงอดภูมิใจไม่ได้ใช่ไหม

      15 เมษายน 2550  ได้รับโทรศัพท์จากโรงพยาบาลชุมชนขอส่งตัวผู้ป่วยชาย 45 ปี ถูกสาหร่ายขณะดำน้ำ   ผู้ป่วยมีอาการกระสับกระส่ายจึงขอส่งตัวมา   ฉันจึงถามว่าผู้ป่วยดำน้ำหรือเปล่า  ได้คำตอบว่าดำน้ำเป็นชาวประมง   

        เมื่อมาถึงที่ห้องฉุกเฉิน  ซักประวัติเพื่อเติมก็เหมือนโรคdecompression  sickness  ฉันจึงบอกแพทย์เวร ER.ว่าผู้ป่วยเป็นโรคที่เกิดจากการดำน้ำ  หมอมองฉันแล้วบอกด้วยน้ำเสียงหนักแน่นว่าคนไข้แพ้สาหร่าย  anaphylaxis  ฉันบอกว่า  พี่เคยมีประสบการณ์เคยอบรมเรื่องนี้มา แล้วฉันก็เล่าย้อนอดีตเมื่อหลายปีก่อน  ฉันว้าวุ่นใจมากหาตำราเล่มที่ไปอบรมมาก็หาไม่เจอ  คิดหาวิธีการว่าจะเอาอย่างไรดี   หาเบอร์โทรของรพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า กทม.ได้แล้วกลับไปพูดกับหมออีกว่าถ้าไม่เชื่อพี่ไม่เป็นไรแต่ขอให้ลองโทรศัพท์ปรึกษาผู้เชียวชาญทางรพ.สมเด็จฯ ก่อน  จากนั้นฉันก็รอลุ้นด้วยใจจดจ่อ  ภาวนาขอให้รพ.สมเด็จฯ รับcase  กังวลใจว่าหมอเค้าไม่เชื่อเรา  อำนวยความสะดวกเรื่องการติดต่อตลอด    ในที่สุดทางรพ.สมเด็จฯรับcase    

         ฉันดีใจมากที่ case นี้สามารถส่งต่อไปได้   มีนายจ้างโทรมาต่อว่าอีกว่าเป็นแค่แพ้สาหร่ายทำไมต้องส่งตัวไปกทม. ฉันก็อธิบายให้เขาฟัง  แต่เขาก็ยังไม่พอใจ  พูดว่าหลายอย่าง  ฉันเลยสรุปว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคนป่วยแล้วที่ได้รับการดูแลที่ดีที่สุด 

        ปลายเดือนเมษายน  แพทย์internคนนี้จะย้ายจากรพ.ไปเรียนต่อที่ กทม. เช้าวันหนึ่งอยู่เวรด้วยกันเลยชวนให้เขาโทรศัพท์ติดตามผู้ป่วยที่ส่งไปรพ.สมเด็จฯ   ฉันไม่ได้อยู่ฟังขณะโทร   หมอตามไปเล่าในERคุณหมอทางโน้นชมหมอของเราใหญ่เลยว่าดีที่ส่งผู้ป่วยไป  เพราะเป็นcase หายากไม่ค่อยเจอ  รายนี้แก๊สไปอุดบริเวณสันหลัง  ตอนนี้ผู้ป่วยอาการดีแล้ว             เห็นว่าเป็นcase กรณีศึกษาแล้วหมอยิ้มให้ฉัน(big smile)แล้วบอกว่าเป็นเพราะพี่วินิจฉัยโรค    ฉันตอบว่าไม่หรอก(ไม่รู้จะพูดว่าอย่างไร)  รู้สึกดีใจว่าฉันได้พิสูจน์แล้วว่าในสิ่งที่ฉันคิดนั้นคือเรื่องจริง      เป็นเรื่องยากถ้าเราไม่เคยรู้และไม่มีประสบการณ์  เพียงแต่ฉันมีประสบการณ์ตรงนี้มากกว่าคนอื่นเท่านั้น  และฉันดีใจมากๆที่หมอเชื่อฉัน   ในที่สุดฉันก็สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อีกหนึ่งราย   เมื่อครั้งที่ช่วยรายแรกรู้สึกว่าคุ้มค่าอบรมมากแล้ว พอได้ช่วยอีกคน  เกินคุ้มแล้ว  ในรอบ 10 ปีหลังการอบรม ฉันได้ช่วยผู้ป่วยถึง 2 คน  ใครเป็นฉันคงอดภูมิใจไม่ได้ใช่ไหม

           เคยมีคนถามว่าความภาคภูมิใจในการเป็นพยาบาลคืออะไร  สมัยก่อน  ตอบไม่ค่อยถูกว่าอะไร  เพราะมันก็คล้ายๆคนอื่นไม่โดดเด่นอะไร   ต่อไปนี้ถ้ามีใครถามฉันมีเรื่องเล่ามากมายเลย

         โรคลดความกดหรือโรคน้ำหนีบ (Decompression sickness หรือBends หรือ  cassion disease)  เป็นโรคซึ่งเกิดจากการที่แก๊สละลายเข้าสู่เนื้อเยื่อในร่างกายขณะดำน้ำ  แล้วแก๊สนั้นรวมตัวเป็นฟองอากาศอยู่รวมภายในเส้นเลือดและเนื้อเยื่อต่างๆ  เนื่องจากการดำน้ำลึกหรือนานเกินกำหนดแล้วขึ้นสู่ผิวน้ำโดยไม่หยุดลดความกดใต้น้ำตามตารางที่กำหนด

       อาการอาจแบ่งได้เป็น 2 ระดับคือ

อาการน้อย   ได้แก่  อ่อนเพลีย  มีผื่นคัน  ปวดตามข้อและกล้ามเนื่อ  รู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่มตามผิวหนัง

อาการรุนแรง  ได้แก่ แน่นหน้าอก  หายใจลำบาก  ชาทั้งตัว เดินเซ  อัมพาตหรือหมดสติ

การรักษา    -  ให้น้ำให้มาก

                     - ให้ออกซิเจน 100%

                     - ส่งต้วไปยังรพ.ที่มีเครื่องปรับลดความดัน 

การซักประวัติ   มักพบว่าดำน้ำอยู่เป็นเวลานาน  และขึ้นจากน้ำอย่างรวดเร็ว   

หมายเลขบันทึก: 133330เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2007 22:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ความน่ายินดีคือ

1. หมอยอมรับความคิดเห็นของพยาบาล  แสดงว่าหมอใจกว้างและรับฟังความคิดเห็น  อันปราศจากอัตตายึดมั่นในตัวตนเป็นใหญ่   หมอเองก็จะได้ประสบการณ์จริงกับตนเองไปด้วย     ลดฐิฑิมานะอันเป็นอุปสรรคของความเจริญในคน

2. หมอต๋อม แม้จะเป็นพยาบาลก็กล้าแสดงความคิดเห็นให้หมอ  เป็นเรื่องหายาก   รักษาความกล้านี้ไว้แต่พอควร

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท