รวมพลัง สร้างงาน


ทำไมเกลือ ไม่เขียนว่าเกลือ ทำไมต้องเขียนว่าโซเดียม

ได้มีโอกาสทำงานกับน้องๆเพื่อนๆในพื้นที่ผ่านการทำงานในกลุ่มเด็ก ในโรงเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  ได้รับประสบการณ์ดีๆ ได้เกิดเครือข่ายในการทำงาน และเกิดการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน คุณหมอมาลี วัทนาศิริ หัวหน้าฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาลลำลูกกา ปทุมธานี ได้บอกเล่าการทำงานของเธอที่ร่วมกับโรงเรียนและชุมชน

"การทำงานรณรงค์ปรับพฤติกรรมบริโภคของเด็กของอำเภอลำลูกกา
หนูมุ่งไปที่ประเด็นการให้ความรู้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  ทั้งครูเด็กเล็ก
ครูประถม  ท้องถิ่น  เจ้าหน้าที่ รพ.  เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
และกำลังจะต่อไปที่แม่ค้า  แม่ครัวของโรงเรียน  โดยรวมทั้งรร.ประถมและมัธยม
 สำหรับผู้ปกครองก็ได้ให้ความรู้บ้าง 2-3  โรงเรียนที่เชิญหนูไปบรรยาย
แต่ยังไม่มากนัก  และแนวทางการขยายสู่ผู้ปกครองของโรงพยาบาลยังไม่ชัดเจน
ยังคงเป็นรูปแบบส่งผ่านความรู้ และสร้างกระแสผ่านไปยังกลุ่มคนต่าง ๆที่เกี่ยวข้องมากกว่า  อย่างวันนี้หนูก็เป็นวิทยาบรรยายความรู้เรื่องพฤติกรรมการกินกับสุขภาพ  และโภชนาการให้กับแกนนำชมรมสร้างสุขภาพจากตำบลต่างๆของอำเภอลำลูกกา   ได้รับความสนใจมาก
และเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ก.ย.หนูได้ไปจัดอบรมความรู้ให้กับ รร.พระวิสุทธิวงส์  เป็น รร.คริสต์ที่อยู่ข้างโรงพยาบาล  ที่มีขนมกรุบกรอบขายเป็นตู้เลย   โดยอบรมหลักสูตร "โภชนาการ และ การเลือกรับประทานอาหาร"  ซึ่งเป็นหลักสูตรที่หนูใช้ขยายความรุ้อยู่ในขณะนี้
 โดยเป็นชุดความรู้ซึ่งหนูมีทีมวิทยากรทั้งหมด 6 คน  คือ วิทยากรบรรยายภาคเช้า 3 หัวข้อ  3  คน ที่เหลือเป็นวิทยากรฐาน   บ่ายมีฐานความรู้ 5 ฐาน  วิทยากรบรรยาย 3 คน คือ หนูพูดเพื่อดึงแนวคิดเข้าสู่การปรับพฤติกรรมบริโภค    คนที่สองเป็นพยาบาล
OPD   พูดเรื่อง โภชนาการ  คนที่สามเป็นเภสัชกร  พูดเรื่อง การอ่านฉลากโภชนาการ
ส่วนที่สองและสาม คือ เนื้อหาที่ได้รับความรู้จากหลักสูตรของอ.ประไพศรี สำหรับทีมอีก 3 คน  ที่ช่วยเป็นวิทยากรฐาน  คือ ทันตแพทย์ 1 คน  และ พยาบาลกลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัว อีก 2 คน  ค่ะ  ซึ่งการไปจัดอบรมให้รร.ครั้งนี้ ผู้เข้าอบรมคือ ครูและพนักงานทั้งหมดของโรงเรียน คือ ทั้งเจ้าหน้าที่  ภารโรง และแม่ครัว  ซึ่งรับทราบจากครูผู้ประสานว่าครั้งนี้จะเอาจริงแล้ว เพราะพออบรมครูแล้ว
รร.จะจัดอบรมเป็นฐานความรู้แบบนี้ให้กับเด็กทั้งหมดของโรงเรียนด้วย  
ปรากฎว่าวันนี้พยาบาล OPD  มาเล่าให้หนูฟังว่า  มีลูกของเจ้าหน้าที่ คือ พยาบาลงานยาเสพติดของโรงพยาบาล  เรียนอยู่  ป.1 ที่ รร.นี้
มาบอกแม่ว่าซื้อของต้องอ่านฉลากโภชนาการ   และ อ่านน้ำตาล  อ่านเกลือ ให้แม่ดู  และยังมีคำถามถามแม่ด้วยว่า  ทำไมเกลือ ไม่เขียนว่าเกลือ ทำไมต้องเขียนว่าโซเดียม หนูฟังแล้วก็รู้สึกดีใจว่าแนวทางที่หนูทำอยู่ในระยะ 1 ปีนี้น่าจะเดินไม่ผิดทิศทาง  แต่กลับเป็นเส้นทางที่ทำให้หนูทำอะไรได้ง่ายมากขึ้น
เช่น
    -   เดิมหนูไม่รู้จะเข้าหา ท้องถิ่นอย่างไร  ตอนนี้ก็เชื่อมได้แล้ว
    -   เดิมหนูไม่รู้จะเข้าหา  รร.มัธยม อย่างไร
ตอนนี้หนูคิดว่าการจัดสัมมนาในปลายเดือนนี้  หนูอาจมีโอกาสที่จะเข้าถีง รร.มัธยมได้
    -   เดิมหนูรู้สึกว่าจะเชิญผู้บริหาร รร.มาพูดคุยน่าจะยาก
ตอนนี้หนูคิดว่าสามารถเชื่อมกับ กลุ่มผู้บริหาร รร.ได้มากขึ้นแล้ว

     ตอนนี้แนวทางการรณรงค์ของหนู  มี รพ.ปากพลี  จ.นครนายก
จะเชิญทีมวิทยากรของหนูไปบรรยายให้เจ้าหน้าที่ของ รพ. และ สอ.ฟังในวันที่  12
ต.ค.นี้ค่ะ

       ไม่รู้ว่าเข้าข้างตัวเองเกินไปรึเปล่า  แต่ก็คิดว่า  ที่พี่ปิเคยถามหนูว่า
หนูจะคิดที่จะรณรงค์เด็กไทยไม่กินหวาน  หรือ ประกาศว่าเป็นอำเภออ่อนหวาน หรือไม่ เดิมไม่กล้าคิด  แต่ตอนนี้เริ่มมีความหวังว่าอาจจะคิดได้ เพียงแต่ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง  เพราะตอนนี้หน่วยงานต่างๆในอำเภอลำลูกกา ได้รับรู้การรณรงค์ปรับพฤติกรรมบริโภคไม่น้อย
 มีคนที่เคยได้ฟังเรื่องราวเหล่านี้หลายร้อยคนแล้ว  และ
มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ   แต่ก็อยากได้คำแนะนำจากพี่ ๆ ค่ะ เพื่อที่หนูจะได้ไม่ตกร่องไปไหนต่อไหนโดยไม่รู้ตัวค่ะ

หมายเลขบันทึก: 132512เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2007 10:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 04:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • อ่านแล้วให้รู้สึกว่า
  • งานทันตฯ เราเปลี่ยนไป๋ ... แล้ว
  • มีการบูรณาการงาน และทำงานร่วมกับชุมชนมากขึ้น มากขึ้น จริงๆ เลยนะคะ
น้องปอนดิ์ พระวิสุทธิวงส์

ขอคุณนะค่ะ....ที่สนใจเรื่องนี้....ที่มาเป็นวิทยากรให้

ในปี 53 นี้ก็ว่าจะจัดอบรมอีกครั้งนึง แต่เป็นเรื่องโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ- โรงเรียนอ่อนหวานสร้างสุขภาพ

ยังไม่ได้ติดต่อใคร......แค่คุยกับหมอมาลีไว้นิดหน่อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท