มุมมองของความคิด


มุมมอง

แนวคิดเชิงปัจเจค ถือเป็นแนวคิดหลักๆในสังคมประชาธิปไตย เพื่อให้ที่จะให้เกิดการแข่งขันทางความคิดที่แตกต่าง หลากหลาย มีทางเลือกที่มากกว่าหนึ่ง ส่งเสริมการถกเถียงในประเด็นต่างๆเพื่อหาแนวทางใหม่ๆในวิธีการนั้นๆขึ้นมา

แต่ทว่า ในประเทศไทยนั้น ยังไปไม่ถึงจุดๆนั้น ซึ่งก็คือ จุดสมดุลแห่งเหตุผล เมื่อถกเถียงกันมากเข้า จากเหตุผลจึงกลายเป็นอารมณ์ที่พลุ่งพล่าน กลายเป็นการขัดแย้งทางความคิดเห็นไป ไม่ได้มองไปในมุมของเหตุและผลอย่างเพียงพอ จึงทำให้เกิดการไม่ลงรอยกันในเรื่องต่างๆ

ความแตกต่างทางความคิดนั้น เป็นเรื่องธรรมดาในสังคมประชาธิปไตย เพราะความคิดเห็นที่แตกต่าง ทำสามารถมองเห็นปัญหา ทางแก้ปัญหา ได้หลากหลายแนวทาง ซึ่งเป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาที่ดีว่าวิธีการไหนเหมาะสม ควรแก่การนำมาแก้ไขปัยหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ก็มิได้หมายความว่าความคิดเห็นอื่นๆจะไม่มีประโยชน์เสียเลย

ควรเก็บความคิดเห็นอื่นๆเอาไว้เป็นแนวทางสำรองต่อไป จึงนับว่าเป็นแนวทาง-ทางประชาธิปไตยอย่างแท้จริง กล่าวคือ เป็นการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างใส่ใจ และนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติด้วย ไม่ใช่ว่าได้แนวทางที่ดีที่สุดแล้วก็โยนแนวทางอื่นๆทิ้งไป เหมือนไม่สำคัญ ทั้งๆที่ผู้ที่เสนอแนวความคิดอาจคิดแทบเป็นแทบตายกว่าจะได้มาซึ่งแนวความคิดนั้นๆ

ความคิดเห็นที่แตกต่าง จึงยังคงมีความสำคัญตราบเท่าที่ ความคิดเห็นนั้นยังยืนอยู่บนพื้นฐานของหลักการและเหตุผล...

------------------------------------------------------------------------------------------------

หมายเลขบันทึก: 132466เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2007 07:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตอนนี้เริ่มไม่คิดเห็นแตกต่างแล้วคะ
  • เพราะถูกมองว่าเป็นตัวประหลาด
  • เอ..เราต้องปลูกฝังกันตั้งแต่เด็กๆคะ
  • จิตสำนึก..จิตอาสา..แล้วแต่จะเรียกคะ..นอกจากประโยชน์ตนแล้ว..ต้องเห็นแก่ประโยชน์ท่านหรือส่วนรวมด้วยนะคะ

 ท่าน naree suwan สบายดี

  • เดี๋ยวนี้ คนเราเริ่มสับสนระหว่างความแตกต่างกับความแปลกประหลาดอย่างที่ว่า คิดว่าการทำอะไรที่มันแปลกๆจะสามารถทำให้คนอื่นสนใจได้ หรือมันก็แตกต่างเหมือนกัน
  • แต่อันที่จริง "แตกต่าง"ที่แท้นั้น มีพ่อเป็นเหตุ มีแม่เป็นผล และมีลูกก็คือประโยชน์ที่ได้รับ คืออิงอยู่กับหลักการและเหตุผล อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ที่ใช้ได้จริง ที่ไม่ใช่แปลกประหลาดอย่างไร้สาระสำคัญในการนำมาใช้ นี่เป็นการเข้าใจที่ผิดทางขอรับ
  • ต้องเริ่มตั้งแต่แบเบาะขอรับ แต่ไม่ใช่กับเด็ก หากแต่เป็นผู้เลี้ยงดู ต้องมีสามัญสำนึกที่จะเลี้ยงดูเด็กให้เป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติให้ได้ อย่างเด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหวต่อสภาวะแวดล้อมนั่นเทียวขอรับ เพราะสภาวะแวดล้อมนั่นแหละที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงได้ร้อยแปด จากคำคน จากสิ่งแวดล้อม จากสังคม หรืออื่นๆ
  • ถ้าหากผู้เลี้ยงไม่มีสามัญสำนึก มันก็จะมีผลลงไปถึงเด็กด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะผู้เลี้ยงย่อมใกล้ชิดเด็กมากกว่าผู้อื่น ที่ต้องใช้คำว่าผู้เลี้ยงก็เพราะว่า พ่อแม่สมัยนี้ ไม่ได้เลี้ยงลูกเอง แต่เป็นใครก็ไม่รู้ ที่นอกจากปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติพี่น้อง หรือบางทีก็โยนภาระไปให้โรงเรียนไปเลยก็มี
  • เรื่องนี้มันจึงต้องมีผู้รับผิดชอบกับอนาคตของชาติเหล่านี้อย่างชัดเจน ที่ไม่ใช่เป็นการหาแพะรับบาปเมื่อเกิดผลเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งกับเด็ก ขอรับ

ขอบคุณที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยียนขอรับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท