มาทำความรู้จักและการใช้ microwaves ให้ปลอดภัย


มาทำความรู้จักและการใช้  microwaves  ให้ปลอดภัย

คลื่น Microwaves เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า electromagnetic energy ซึ่งส่งออกจากเครื่องไฟฟ้า Microwave เป็นคลื่นที่มีความถี่อยู่ในช่วง 1-30 GHz ส่วนคลื่นวิทยุความถี่สูงจะใช้ในการส่ง TV เรดาร์สำหรับการนำทางเครื่องบิน โทรศัพท์มือถือ ใช้ในการแพทย์ และการทำอาหาร

วัสดุแต่ละอย่างจะมีคุณสมบัติในการดูดพลังงานต่างกัน วัสดุพวกโลหหะจะสะท้อนคลื่นออกหมด ในขณะที่ แก้วหรือพลาสติกบางชนิดจะยอมให้คลื่น Microwaves ผ่านไปหมด

คลื่น Microwaves จะมีความถี่ในช่วงคลื่น 2,500 megahertz (2.5 gigahertz) สารซึ่งมีน้ำ ไขมัน และน้ำตาลจะดูดซึมพลังทั้งหมดจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน

การทำงานของเตา Microwaves

เตาอบ Microwaves จะทำงานที่ความถี่ 2450 MHz จะให้พลังงาน 500-1100 Watts ในตู้อบ Microwaves มีท่อที่เรียกว่า magnetron ซึ่งเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดคลื่น เมื่อเราเปิด switch ก็จะเกิดคลื่น คลื่นนี้จะถูกพัดลมพัดคลื่นให้กระจายทั่วเตา อาหารก็จะดูดซึมคลื่น นอกจากนั้นถาดที่หมุนได้จะช่วยให้อาหารได้รับคลื่นอย่างสม่ำเสมอ โมเลกุลของน้ำเมื่อได้รับคลื่น Microwaves จะเกิดการสั่นทำให้เกิดความร้อน

โลหะที่เป็นส่วนประกอบในเตา หรือภาชนะที่ใส่อาหารจะไม่ร้อน ความร้อนมาจากอาหารทำให้ถ้วยหรือชามร้อน การเลือกถ้วยหรือชามต้องใช้ชนิดที่ระบุว่าใช้ในเตา Microwaves ได้เท่านั้น

เตา Microwaves มีความปลอดภัยหรือไม่

หากใช้เตา Microwaves ตามคำแนะนำของบริษัทก็จะมีความปลอดภัย แต่ต้องมีข้อควรระวังดังนี้

Microwaves Safty เตาอบ Microwaves ที่ออกแบบมาดีและมีการผลิตที่ดีคลื่น Microwaves จะอยู่เฉพาะในตู้เมื่อปิดฝา และจะเกิดคลื่นเมื่อเปิด Switch เท่านั้น โดยจะมีการเล็ดลอดของคลื่น Microwaves ออกมาน้อยมาก แต่อย่างไรก็ตามอาจจะมีคลื่น Microwaves เล็ดลอดออกมาทางประตูที่ปิดไม่สนิท หรือสกปรก ดังนั้นผู้ใช้ต้องตรวจสภาพของเตาอบว่าประตูยังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี ประตูปิดสนิท ไม่มีคราบสกปรก ระบบการล็อกประตูยังคงใช้งานได้ หากพบว่ามีส่วนหนึ่งส่วนใดเสียหายต้องซ่อมให้เรียบร้อย

หากมีการรั่วของ Microwaves อวัยวะที่เสี่ยงต่อคลื่นคืด ตา และอัณฑะ

Thermal Safty เมื่อร่างกายถูกความร้อนก็จะเกิดอาการไหม้ แต่การใช้เตาอบ Microwaves มีข้อแตกต่างคือ เมื่อเราต้มน้ำด้วยเตาก๊าซก็จะเกิดการเดือดมีไอนำ้พุ้งออกมา แต่การต้มน้ำด้วยเตาอบ Microwaves จะไม่มีการเดือดแต่น้ำนั้นจะร้อนอย่างมาก เมื่อมีฟองก๊าซหรือเอาช้อนไปคนก็จะเกิดการเดือนขึ้นทันทีซึ่งอาจจะทำอันตราย

นอกจากนั้นจะต้องระวังสารที่ผิวไม่มีรูแต่ฮอตดอก หรือสารที่มีจุดเดือดต่างกันเช่นไข่ อาจจะเกิดการระเบิด

Food Safty ความปลอดภัยในการปรุงอาหารขึ้นกับ พลังงานของเครื่อง ปริมาณน้ำในอาหาร ความหนา ความหนาแน่นของชิ้นอาหาร หากชิ้นเนื้อหนาอาจจะทำให้อาหารไม่สุก เชื้อโรคไม่ตายคนอาจจะติดโรค ดังนั้ควรจะพักอาหารสักหลายนาทีเพื่อให้ความร้อนกระจายไปทั่วชิ้นเนื้อ

คุณภาพของอาหารที่ปรุงจาก Microwaves จะมีสารอาหารครบถ้วนเหมือนการปรุงอาหารด้วยวิธีอื่น แต่จะใช้เวลาปรุงน้อยกว่าวิธีปกติ

วิธีการปรุงอาหารด้วย Microwave

การปรุงอาหารปกติไม่ว่าจะใช้เตาอบหรือกะทะความร้อนจะผ่านไปยังอาหารอย่างสม่ำเสมอ แต่การทำอาหารด้วย Microwave ความร้อนเกิดจากการเสียดสีโมเลกุลคลื่น Microwave จะลงลึกได้ 1-2 นิ้ว ดังนั้นชิ้นเนื้อที่หนามากๆอาจจะไม่สุก นอกจากนั้นหลังจากครบเวลาครบเวลาอบด้วย Microwave แล้ว ต้องทิ้งไว้ประมาณ1/3ของเวลาที่ใช้อบเพื่อให้ความร้อนยังขึ้นสูงสุด

การละลายน้ำแข็ง

อย่างกล่าวในเบื้อต้นว่าอาหารส่วนใหญ่จะเป็นอาหารแช่แข็ง การละลายน้ำแข็งให้ละลายในตู้ Microwave แกะวัสดุที่ใช้ห่อออกปรึกษากับบริษัทว่าจะต้องความร้อนเท่าใด และนานเท่าใด ระหว่าละลายต้องหมั่นเรีองอาหารใหม่ หมั่นพลิกอาหาร เมื่อละลายเสร็จให้รีบปรุงอาหาร เพราะยังมีความร้อนเหลือในอาหาร

การปรุงอาหาร

ก่อนปรุงอาหารต้องล้างมือ ภาชนะ อาหารให้สะอาด อาหารที่กลิ่นไม่ดีก็ไม่ควรจะนำมาปรุง ภาชนะที่ใช้ปรุงต้องระบุว่าใช้ใน Microwave ได้ หันอาหารให้มีขนาดเท่าๆกัน เรีองอาหารให้อาหารที่ชิ้นหนาอยู่ขอบเนื่องจากจะได้รับคลื่นมากกว่าส่วนกลาง ครอบด้วยภาชนะที่ทนเพื่อที่อาการรอบอาหารจะร้อนทำให้อาหารสุกเร็วขึ้น ให้คลุกอาหารและเรียงอาหารใหม่ชิ้นใหญ่อยู่ขอบจนครบกำหนดเวลา

จะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารสุก

เมื่อปรุงอาหารครบเวลาที่กำหนดแล้วให้รอเวลาอีก1/3ของเวลาที่ปรุงอาหาร วิธีสังเกตว่าอาหารสุขหรือไม่ดังนี้

  • น้ำจากเนื้อสัตว์ไม่ควรเป็นน้ำเลือด ข้อต่อของไก่ควรจะเคลื่อนไหวได้ดี เนื้อปลาควรจะแกะได้ง่าย
  • ใช้ปรอทสำหรับวัดอุณหภูมิ เนื้อปลา ไข่อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 106 องศาฟาร์เรนไฮต์ เนื้อเป็ดไก่ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 170 องศาฟาร์เรนไฮต

การวัดอุณหภูมิอาหารสำคัญมากสำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพราะหากอาหารไม่สุกจะทำให้ผู้ป่วยท้องร่วง

การเก็บอาหารที่เหลือ

แม้ว่าการเก็บอาหารที่เหลือจะไม่ปลอดภัยสำหรับรับประทาน แต่ในภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา และการซื้ออาหารสำเร็จรูปไว้รับประทานอาหารทำให้ต้องเก็บอาหารที่เหลือไว้รับประทานมื้อต่อไป หลักการเก็บมีดังนี้

  • อาหารที่อยู่ในอุณหภูมิห้องเกิน 2 ชั่วโมงไม่ควรจะเก็บไว้
  • อาหารที่เก็บไม่ควรเกิน 3-4 วัน
  • เมื่ออาหารปรุงเสร็จใหม่ๆ ให้แบ่งใส่ภาชนะตื้นๆหลายๆใบเพื่อให้อาหารเย็นเร็ว แล้วจึงเก็บในตู้เย็น

การอุ่นอาหารด้วย microwave

ก่อนการอุ่นอาหารด้วย microwave ต้องแน่ใจว่าอาหารนั้นสะอาด ผ่านการเก็บอาหารอย่างถูกต้อง

  • ความร้อนจากการอุ่นอาหารไม่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • ความร้อนจากการอุ่นอาหารไม่สามารถทำลาย toxin หรือสารพิษในอาหาร
  • อาหารเหลวต้องหมั่นคนอาหาร
  • อุณหภูมิสำหรับการอุ่นอาหารประมาณ 165 องศาฟาร์เรนไฮต หรือตรงกลางภาชนะร้อ

หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจนะค่ะ

 

                                                                จาก  น.ส. รัชชุวรรณ  พานิชการ  4930123102664

หมายเลขบันทึก: 132383เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2007 20:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท