ชุมชน เครือข่าย และพลังในการค้นหาองค์ความรู้


ฟังแล้วรู้สึกดีใจมากครับที่เห็นความต้องการในการพัฒนางาน เกิดจากผู้ทำงาน ความสำเร็จก้าวแรกของการเกิดชุมชน คือ การเกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกัน หากชุมชนมีการเชื่อมโยงเหนียวแน่นและมีการสร้างค่านิยมร่วมกันในระดับชุมชน จะทำให้การพลังของการค้นหาองค์ความรู้ซ้อนเร้น
เมื่อเวลาประมาณ 13.30-16.30 น. ผมได้มีการปรึกษาหารือร่วมกันในการทำงานของเครือข่ายงานในกำกับดูแลที่ผมรับผิดชอบ ก็มีด้วยกัน 7 หน่วยงาน คือ ส่วนพัสดุ ส่วนการเงินฯ ส่วนสารบรรณฯ ส่วนการเจ้าหน้าที่ ส่วนประชาสัมพันธ์ งานOD และ สหกิจศึกษา ซึ่งเป็นปกติของพวกเราที่จะได้มีการพูดคุยกันถึงความสำเร็จในการทำงาน และแผนงานต่างๆ ที่คาดว่าจะดำเนินการและพัฒนาการทำงานต่อไป ส่วนมากเราจะใช้เวลากันประมาณ 2-3 ชั่วโมง เสมอ เป็นประจำทุก 2 สัปดาห์ อย่างวันนี้ผมคิดว่าผมได้รับรู้และเรียนรู้อะไรมากมายที่เดียวครับ ซึ่งเกี่ยวกับการคิดเชิงบวก และการพยายามที่จะพัฒนาการทำงานของแต่ละส่วนงาน โดยที่ความคิดส่วนใหญ่เกิดจากผู้ปฏิบัติงานเอง ที่ต้องการที่จะพัฒนาการทำงานของตนเองให้มีคุณภาพดีขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ส่วนการเงินก็จะพัฒนาระบบการยืมเงินที่คล่องตัวขึ้น ต่อไปนี้พนักงานที่ขอยืมเงินทดรอง ส่วนการเงินจะสามารถโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารตามที่ผู้ยืมต้องการได้เลย โดยไม่ต้องมารับเช็คก่อน ส่วนพัสดุและส่วนการเงิน รวมถึงส่วนสารบรรณฯก็จะร่วมกันพัฒนาระบบควบคุมงานแบบครบวงจร ส่วนการเจ้าหน้าที่ก็มีโครงการพบปะเครือข่ายในมหาวิทยาลัยของเราเพื่อค้นหาความต้องการ เพื่อให้เกิดการบริการที่เป็นเลิศ เป็นต้น ซึ่งผมได้ฟังแล้วก็รู้สึกดีใจมากครับที่เห็นความต้องการในการพัฒนางาน เกิดจากผู้ทำงาน ขอชื่นชมและให้กำลังใจด้วยคนนะครับ นอกจากนี้สิ่งที่ผมได้รับการให้ข้อมูลจากงาน OD ก็คือขณะนี้มีการรวมตัวกันเป็นชุมชนต่างๆ เกิดขึ้นมากมายในวลัยลักษณ์เรา ชุมชนคน 5 ส. ชุมชนคนการเงิน ชุมชนคนทำ web ชุมชนคนหลังไมค์ ชุมชนคนทำ e-office ชุมชนคนพัสดุ ชุมชนคน Oracle เป็นต้น และยังมีอื่น ๆ อีกนะครับ ถ้าผมกล่าวถึงไม่หมดต้องขออภัยด้วยนะครับ แต่ที่สำคัญชุมชนเหล่าได้นัดกันคุยและเกิดการรวมตัวกันแล้ว บางชุมชนก็หลายครั้งแล้ว ที่สำคัญจะ  สังเกตุพบว่า ในแต่ละชุมชนก็จะมาจากหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยของเรา และที่สำคัญเป็นการมาร่วมชุมชนกันโดยสมัครใจ ซึ่งปรากฎการณ์เช่นนี้นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากที่เดียว เพราะนั่นหมายถึง การเกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ซึ่งจะช่วยให้การประสานภารกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสิ่งนี้หมายถึง ความสำเร็จก้าวแรกของการเกิดชุมชน หากชุมชนเหล่านี้ได้เชื่อมโยงกันอย่างเหนียวแน่นและมีการสร้างค่านิยมในระดับชุมชนร่วมกัน ก็จะทำให้พลังของการค้นหาองค์ความรู้ที่มีลักษณะซ้อนเร้นอยู่ในตัวผู้ปฏิบัติงานจริง(Tacit Knowledge) ก็จะถูกพบได้ง่ายขึ้น และการยอมรับในองค์ความรู้ที่พบ ตลอดจนการนำองค์ความรู้ไปใช้ในการพัฒนาการทำงานของตนต่อไปก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผมขอเพิ่มข่าวที่น่าประทับใจอีกนิดนะครับ พรุ่งนี้ หัวหน้าส่วนพัสดุ หัวหน้าส่วนการเงิน พร้อมลูกทีม ได้รับเชิญให้ไปถ่ายทอดประสบการณ์และความสำเร็จที่มีคุณค่า ในการได้รับเหรียญทองจากการประเมินสถานที่ทำงานน่าอยู่และน่าทำงาน ตามโครงการของ สสส. ซึ่งผมคิดว่าสิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าภูมิใจของพวกเราชาววลัยลักษณ์ ใครอยากชมว่าสถานที่ทำงานน่าอยู่ น่าทำงานจริงไหมก็น่าจะลองมาเยี่ยมเยือนส่วนพัสดุ และส่วนการเงินฯดูนะครับ
หมายเลขบันทึก: 13230เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2006 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
บรรจงวิทย์ ยิ่งยงค์

ภายหลังจากที่แต่ละชุมชนฯ (ตามที่รศ.สมนึก ได้กล่าวไว้ข้างต้น) ได้มีการพบปะพูดคุย / เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.)กันไปได้สักระยะหนึ่งแล้ว   หน่วยพัฒนาองค์กรมีแนวคิดที่จะเชิญผู้ประสานงานหรือตัวแทนของแต่ละชุมชนฯ มา ลปรร.ในประเด็นต่างๆ  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างชุมชนฯ  เช่นความคาดหวัง /เป้าหมายในการตั้งชุมชนฯ     แนวทางในการดำเนินการของชุมชนฯ  แนวปฏิบัติที่ได้รับหลังจากการเสวนาฯ   เป็นต้น   ทั้งนี้เพื่อหน่วยพัฒนาองค์กรจะได้นำมาสกัดออกเป็นขุมความรู้เพื่อแต่ละชุมชนฯ จะได้นำเอาแนวทาง/วิธีการดำเนินการปฏิบัติที่ดีกว่าไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม    รวมถึงเป็นแนวทางให้กับพนักงานกลุ่มอื่น ๆ ที่สนใจจะจัดตั้งชุมชนฯ ที่สนใจขึ้นใน มวล. ต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท