การเข้าถึงเว็บไซต์สำหรับผู้พิการทางสายตา


เมื่อวันศุกร์ ผมไปประชุมกรรมการวิชาการคณะหนึ่งของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นโชคดีที่ได้รับฟังความเห็นจากนายกสมาคมคนตาบอด และผู้อำนวยการโครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ จากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ASTEC เนคเทค) ทำให้เข้าใจขึ้นบ้าง และรู้สึกสะท้อนใจกับความไม่รู้ของคนในสังคมไทย (และของผมเอง) ต่อความยากลำบากในการดำรงชีวิตของผู้ที่มีความพิการครับ

เนื่องจากความบกพร่องทางกายภาพ ผู้ที่มีความพิการ (และผู้สูงอายุ) เข้าถึงโอกาส เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ได้ยากกว่าคนปกติ ทั้งๆ ที่ชีวิตมีความลำบากกว่าปกติอยู่แล้ว แต่สังคมก็ยังไม่ได้ช่วยเหลือให้เขายืนอยู่ได้เท่าที่ควร 

เรื่องนี้ไม่ได้มีผลเฉพาะต่อตัวผู้พิการนะครับ ลองนึกถึงครอบครัว และบุคลากรที่คอยช่วยเหลือดูแลเขาเหล่านั้นดูบ้างซิครับ เรียกได้ว่าเป็นพันธะของชีวิตเลยทีเดียว เพราะความพิการเป็นไปอย่างถาวร

ทางด้านกฏหมาย เมืองไทยมีกฏหมายพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.๒๕๓๔ เป็นกฏหมายเก่า และกำลังจะมีพระราชบัญญัติการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. .... กำลังจะประกาศใช้ ยิ่งกว่านั้น มาตรา ๕๔ ของ รัฐธรรมนูญฉบับปี ๒๕๕๐ ระบุข้อความไว้ว่า

        มาตรา ๕๔ บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
        บุคคลวิกลจริตย่อมได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ

ทราบมาว่ากฏหมาย (หรือกฏกระทรวงที่ออกตามกฏหมาย) ใหม่ จะมีการระบุให้เว็บของส่วนราชการ และ เว็บที่รับเงินช่วยเหลือจากส่วนราชการ ต้องมีการจัดการให้ผู้พิการเข้าถึงได้อย่างสะดวกขึ้นด้วยนะครับ

แม้จะระบุไว้อย่างนั้น การจะเริ่มทำก็จะไม่ง่าย เพราะว่าคนทำเว็บไม่เข้าใจถึงความลำบากของผู้พิการทางสายตา

  • ผู้พิการทางสายตา (ตาบอด) จะใช้ screen reader อ่านเว็บ; ดังนั้น
    • ดีไซน์+รูป+CSS ไม่ได้มีความหมายกับเขา แถมทำให้อ่านได้ช้าด้วย
    • รูปซึ่งสื่อความหมาย ต้องมีคำบรรยาย (ALT alternate text ใน img tag)
  • ผู้ที่บกพร่องทางสายตา สายตาเลือนลาง เห็นได้บางส่วน จะต้องการเว็บที่มี high contrast คือพื้นหลังกับตัวหนังสือ มีสีตัดกันมากกว่าปกติ

มีเครื่องมือแก้ขัด ที่ช่วยให้ผู้พิการทางสายตา เข้าถึงเว็บได้สะดวกขึ้นครับ อยู่ที่ http://www.google.com/gwt/n ในหน้านั้น ใส่ URL ลงไป อย่างเช่น การอ่านหน้าแรกของ GotoKnow นี้ ก็จะแสดงผลเป็นอย่างนี้

เมื่อมีโอกาส ผมจะย้อนกลับมาสู่ประเด็นนี้อีกทีเมื่อมีความรู้+ข้อมูลมากขึ้น แต่แม้ว่ายังไม่ประสีประสาอะไร ก็เห็นความจำเป็นที่จะต้องเริ่มทำเรื่อง accessibility นี้อย่างจริงจังเสียทีครับ คงจะต้องช่วยกันทำด้วย

ถ้ายังไม่เข้าใจ ลองหลับตาแล้วใช้ชีวิตปกติสักสิบห้านาทีซิครับ  

หมายเลขบันทึก: 131778เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2007 04:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณที่เขียนบันทึกนี้ค่ะ ทำให้ได้ทราบความต้องการที่เฉพาะของคนบกพร่องทางสายตาด้วย...

มีบันทึกของคุณชายขอบ http://gotoknow.org/blog/tri-paki/107803 ตรงนี้(และอีกหลายบันทึกในเรื่องนี้)และของคุณหนิง เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นกับ gotoknow และเจ๊ดัน ที่พยายามผลักดันเรื่องศักยภาพของคนที่บกพร่องทางกาย มาฝากค่ะ

สวัสดีค่ะ

แวะมาขอบพระคุณอาจารย์สร้อยค่ะ  อิอิ 

ช่วงปิดเทอมนี้  หนิงก็plan ไว้ว่าจะรื้อเวบไซด์ของ DSS@MSU เช่นกันค่ะ ให้สะดวกกับน้องๆผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็นค่ะ 

ต้องขออนุญาตผลัดไปทำช่วงปิดเทอมนะคะ  เพราะช่วงนี้ เป็นช่วงสอบค่ะ และ เรามีกันแค่ 2 คน  แต่เด็กๆมี 27 คน 

ขอบพระคุณนะคะที่สนใจเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น  ดีใจจังเลย

มีตัวอย่างเว็บที่ปรับพื้นหลังสำหรับผู้มีสายตาเลือนลางได้ ที่ www.pikarn.com ครับ

สวัสดีค่ะ

P

ผู้ที่ช่วยผู้พิการ  ไม่ว่าด้านไหน ดิฉัน ขอยกย่องด้วยความชื่นชมอย่างจริงใจค่ะ

ดิฉันเองก็เคยช่วยไปตามกำลังค่ะ แต่คนที่ยื่นมือเข้ามาช่ววยจริงจังนี่ ขอยกย่องมากๆค่ะ

ขอสนับสนุนเรื่อง web accessibility เช่นกัน

http://bact.blogspot.com/2007/10/web-accessibility-thailand.html

 

ไม่เพียงจะเป็นประโยชน์ต่อคนพิการเท่านั้น คนทั่ว ๆ ไปก็จะได้รับประโยชน์ต่อการออกแบบเว็บที่เป็นมาตรฐานและคำนึงถึงความสะดวกในการใช้งานด้วย

นอกจากนี้ การเขียนเว็บที่ถูกหลักโครงสร้าง ก็จะทำให้การดึงข้อมูลเว็บโดยอัตโนมัติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำได้ง่ายขึ้นด้วย 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท