คณะผู้นำและคณะผู้สืบทอดที่มีคุณภาพ


ครั้งล่าสุดผมได้รับโทรศัพท์ จากพี่รัจนา ว่าให้ไปถ่ายรูปกิจกรรมของหมู่บ้าน เป็นกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และชาวบ้านทำกันอย่างจริงจัง คือการทำน้ำหมักชีวภาพ การปลูกผักชนิดต่างๆ คุณพี่รัจนาบอกว่าเป็น"กำลังใจให้กับชาวบ้าน" นี่คือความปราถนาบริสุทธิ์จริงๆ พี่รัจนาย่อมรู้ในฐานะผู้นำว่าชาวบ้านทุกคนไม่ได้หวังสิ่งของ หรืองบประมาณ มากไปกว่า กำลังใจ ที่ได้รับจากภายนอกครับ
  • การจะทำให้มีชุมชนอินทรีย์ที่มีคุณภาพ โจทย์หนึ่งที่สำคัญ 1 ใน 5 โจทย์ ที่คุณอำนวยตำบลต้องไปสร้างกระบวนการในตำบลที่รับผิดชอบ ไปพัฒนาผู้นำและผู้สืบทอดที่มีคุณภาพโจทย์ข้อนี้สำหรับผมแล้วไม่เป็นห่วงเลย สำหรับคณะผู้นำของหมู่บ้าน หมู่ที่ 8 บ้านหัวแรต ตำบลเสาเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช  นำโดยผู้ใหญ่วิโชติ เพชรรัตน์ และพี่รัจนา ทรัพย์มี และคณะผู้นำของหมู่บ้านอื่นๆ อีกหลายคนที่ผมไม่ได้เอ่ยนาม ครับ
  • ตั้งแต่ผมไปทำหน้าที่ประสานงานตำบลเสาเภา ในด้านส่งเสริมการเกษตร  ตำบลเสาเภา มี 16 หมู่บ้านครับ แต่ถ้านับสถิติในการติดต่อประสานงานไม่ว่าทางโทรศัพท์ หรือพบกันตัวต่อตัว ผมได้รับโทรศัพท์ประสานงานจาก ส.อบต.รัจนา มากที่สุดครับ
  • ผู้นำมีบทบาทในการประสานงานกับองค์กรพัฒนาที่ตนเองรู้ว่าสามารถเข้าไปพัฒนาหมู่บ้านได้  มีการทำงานกันเป็นทีมเป็นคณะ  มีการประชุมประจำเดือนเป็นประจำทุกเดือนในวันที่ 13 ของทุกเดือน  ในวันประชุมมีการประสานงานจัดหาวิทยากรไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนทุกเดือน มีกิจกรรมการออมทรัพย์ทุกเดือน และที่เป็นสิ่งน่าชื่นชมคณะทำงานทุกคนใส่ชุดฟอร์มผ้าทอ ทุกครั้งที่มาทำงานให้บริการแก่สมาชิกฯ  ทำจนเคยชิน ทำกันอย่างต่อเนื่อง เป็นความรู้ที่ฝังลึกในจิตใจของชาวบ้านว่าวันที่ 13 ต้องไปประชุม ต้องไปเสียสัจจะ ต้องไปรับรู้สิ่งใหม่ๆ จากเวทีประชุมของหมู่บ้าน  ชาวบ้านหรือเกษตรกรมาร่วมประชุมแล้วต้องได้ประโยชน์ ต้องได้แนวคิด ต้องได้สิ่งดีๆ จากเวทีไปพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน
  • หมู่บ้านนี้ครับที่ผมบอกได้เลยว่าอยู่ในแนวหน้าของตำบล ในภาระของคุณอำนวยตำบลอย่างผม ไม่หนักใจครับ ที่จะทำให้หมู่บ้านอื่นๆ มีคณะผู้นำที่มีคุณภาพ เพราะมีตัวอย่างอยู่ในพื้นที่แล้ว
  • ครั้งล่าสุดผมได้รับโทรศัพท์ จากพี่รัจนา ว่าให้ไปถ่ายรูปกิจกรรมของหมู่บ้าน  เป็นกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และชาวบ้านทำกันอย่างจริงจังสนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียง คือการทำน้ำหมักชีวภาพ การปลูกผักชนิดต่างๆ การถ่ายรูปนะมีกล้องและถ่ายได้กันทุกคนครับ ไม่ต้องให้ผมไปถ่ายให้หรอกครับ......... แต่คุณพี่รัจนาบอกว่าเป็น"กำลังใจให้กับชาวบ้าน" นี่คือความปราถนาบริสุทธิ์จริงๆ พี่รัจนาย่อมรู้ในฐานะผู้นำว่าชาวบ้านทุกคนไม่ได้หวังสิ่งของ หรืองบประมาณ มากไปกว่า กำลังใจ ที่ได้รับจากภายนอกครับ ข้อนี้ผู้นำหรือคณะผู้นำต้องเรียนรู้และต้องแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับชาวบ้านทุกครัวเรือน
หมายเลขบันทึก: 131380เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2007 06:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 เมษายน 2012 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ชอบงานและบันทึกงานของคุณัทธรมากครับ
  • ย่อยงานชุมชนอินทรีย์ลงรายละเอียดแต่ละเรื่องได้ดี
  • ชุมชนอินทรีย์ไม่ว่าเรื่องใดชาวบ้านเขาทำกันอยู่แล้ว
  • อยู่ที่เราฉลาดพอที่จะค้นให้พบและต่อยอดได้หรือไม่ ด้วยเครื่องมือและกระบวนการใด
  • อยากจะคุยด้วยจังเลย
  • สวัสดีค่ะ พี่ณัฐทร ไม่ทราบว่าจำกันได้หรือเปล่าค่ะ วันที่ 19 ก.ย.50 เราเคยเจอกันแล้วค่ะ
  • ตามอ่านบันทึกของพี่ณัฐทรหลายบันทึกแล้ว ยังรู้สึกชื่นชอบมากเลยค่ะ เห็นภาพชัดเจนดีค่ะ
  • ส่วนตัวแล้ว คิดว่าเราได้เจอตัวคุณอำนวยคุณภาพอย่างมืออาชีพแล้วค่ะ
  • เป็นกำลังใจให้กับงานทุกอย่างที่ตั้งใจทำนะคะ
  • สวัสดีครับพี่ณัทธร
  • กำลังใจเป็นสิ่งที่สำคัญนะครับ และลงทุนที่ไม่มากแต่ให้ผลตามมาที่มากกว่า
  • ขอบคุณมากครับ
  • ขอบคุณครูนงเมืองนคร คุณสิงห์ปาสัก คุณพรรษกร ที่มาเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนครับ
  • ขณะนี้ผมอยู่ในเวทีอบรมอาสาสมัครเกษตร ที่ศูนย์พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง ที่อำเภอนาบอน ครับ วันนี้พร้อมด้วยคุณนิพนธ์ สุขสะอาด คุณวิชา นาคฤทธิ์ คุณสนไชย เมียงเมิน ทีมวิทยากรครั้งนี้ กำลังดำเนินการใช้ KM เป็นเครื่องมือในการพัฒนาอาสาสมัครเกษตร แบ่งวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันใน 4 ประเด็น คือ
  1. ท่านได้อะไรจากการดูหนังเกาหลี
  2. ที่ผ่านมาท่านมีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาชุมชนอะไรบ้างและทำอย่างไร
  3. ท่านมีแนวคิดอย่างไรในการพัฒนาชุมชน และทำอย่างไร
  4. ท่านคือใคร
  • นี้คือโจทย์ที่ให้วงได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันครับ แต่ละกลุ่มก็เลือกประธาน  คุณลิขิต คุณเล่า ใช้เวลา 1 ชั่วโมง ครับ

     

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท