ความเที่ยง ความตรง งงกับการหาคุณภาพเครื่องมือ


เครื่องมือ/นวัตกรรมที่มีคุณภาพ

    เวลาในการจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะใกล้เข้ามาแล้ว  เริ่มมีเสียงบ่นจากครูบางท่านว่ายังไม่มีนวัตกรรมเลย  แล้วนวัตกรรมที่ว่านั้นคืออะไร...
     นวัตกรรม คือ วิธีการหรือสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นสิ่งใหม่ ที่สามารถปฏิบัติได้จริง(บางครั้งก็เก่าที่อื่น  แล้วมาใหม่ที่เราเนื่องจากเราปรับให้เหมาะกับบริบทปัญหาของห้องเรียนเรา)  เมื่อนำนวัตกรรมที่ครูจัดสร้างแล้วนำไปใช้กับนักเรียน   สามารถแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้  นวัตกรรมจึงเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ      จะต้องมีความเที่ยง(VALIDITY)และความเที่ยง(RELIABILITY)ที่สูง....
        เรามาเข้าใจความหมายของความตรงและความเที่ยงกันก่อนครับ  เนื่องจากมีปัญหามาก เริ่มตั้งแต่การใช้คำแล้วครับ   (ไม่รู้จะถูกใจคนตรวจผลงานหรือไม่)"ความตรง" มาจากภาษาอังกฤษว่า "VALIDITY" คำนี้หนังสือ บทความ งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ ใช้คำนี้อยู่สองคำ คือ "ความตรง" เป็นคำจากท่านอาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้กัน  และ "ความเที่ยงตรง" เป็นคำจากอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร นิยมใช้    ส่วนคำว่า "ความเที่ยง" มาจากภาษาอังกฤษว่า "RELIABILITY" คำนี้ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒฯ ใช้คำว่า "ค่าความเชื่อมั่น" ส่วนทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ใช้คำว่า "ค่าความเที่ยง"และมีตำราวิจัยจากนิด้าบางเล่มใช้ คำว่า"ค่าความน่าเชื่อถือ" งงกับคำที่ใช้เกี่ยวกับคุณภาพเครื่องมือก่อนหาคุณภาพเครื่องมือเสียแล้ว  มาถึงตรงนี้แล้วคุณครูทุกท่านคงเข้าใจที่มาของคำแล้วนะครับ.....
   การรวบรวมข้อมูลให้ได้ผลถูกต้อง สมบูรณ์ครบถ้วน  จำเป็นต้องมีเครื่องมือมีทั้งความตรงและความเที่ยงสูง  สำหรับเครื่องมือที่มีความตรงนั้นสามารถวัดในสิ่งที่ต้องการวัดได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน  เครื่องมือที่มีความตรงจึงแสดงคุณสมบัติลักษณะที่วัดได้  3 ประการ คือ 1)ผลของการวัดสามารถแสดงค่าตามที่ต้องการได้ 2)สามารถวัดได้ตรงเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ทีกำหนดไว้ 3)ค่าที่ได้จากการวัดจะแสดงคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งที่วัด  สำหรับความตรงมี  3 ประเภท คือ 1)ความตรงตามเนื้อหา(CONTENT VALIDITY)
2)ความตรงตามโครงสร้าง(CONSTRUCT VALIDITY) 3)ความตรงเชิงสัมพันธ์กับเกณฑ์(CRITERION RELATED VALIDITY)
        ตอนนี้คุณครูทุกท่าน  พอจะทราบแล้วนะครับว่า  เครื่องมือที่มีความตรงเป็นอย่างไร และความตรงยังแบ่งออกเป็น 3 ประเภทอีกด้วย   ผมจะขอกล่าวเฉพาะความตรงเชิงเนื้อหาอย่างเดียวนะครับ
ความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือ หมายถึง ข้อคำถามหรือข้อความแต่ละข้อและรวมทุกข้อที่เป็นเครื่องมือทั้งชุดนั้น ถามได้ตรงและครอบคลุมเนื้อหาหรือไม่  ข้อความที่ถามทั้งหมดเป็นตัวแทนของเนื้อหา
เครื่องมือรวบรวมข้อมูลว่ามีความตรงตามเนื้อหานั้น    ใช้การวิเคราะห์เชิงเหตุผลที่ต้องอาศัยดุลยพินิจของผู้เชี่ยวชาญทางเนื้อหาเป็นเกณฑ์  นิยมทำกันสองระยะคือ ระยะแรกเป็นการตรวจสอบตอนสร้างเครื่องมือระยะหลังเป็นการตรวจสอบตอนการพัฒนาเครื่องมือ  ซึ่งพิจาณาจากค่า I.O.C. หรือค่า I.C. หรือค่า  I.V.C.แล้วแต่ตำราไหนจะใช้(เพราะเป็นค่าเดียวกัน)ค่าที่ได้และเป็นที่ยอมรับกันก็ไม่เหมือนกัน
เริ่มตั้งแต่ .50ขึ้นไปใช้ได้ หนังสือบางเล่มก็ .60ขึ้นไปใช้ได้  หนังสือบางเล่มก็ .80ขึ้นไป เห็นไหมครับ..... งงไหมครับก็หนังสือบางเล่มบอกว่า หนังสือเล่มไหนกันครับ
    เครื่องมือที่รวบรวมที่มีความเที่ยงสูง(RELIABILITY)คือเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลกี่ครั้งๆจะได้ค่าที่ใกล้เคียงกัน  วิธีหาค่าความเที่ยงหรือความเชื่อมั่นก้ฒีหลายแบบ  แต่ที่คุณครูคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี
คือ การให้คะแนนแบบตอบผิดได้ 0 และตอบถูกได้ 1 ใช้วิธีหาค่าความเที่ยงโดยวิธีที่เรียกว่าค่า KR-20และKR-21  เครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า(RATING SCALE)ก็ใช้วิธีของครอนบาช แอลฟ่า  ค่าที่ได้ก็ต้องอยู่ในกรอบที่ยอมรับได้     

หมายเลขบันทึก: 130977เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2007 17:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
ศรีวิไล ยลสุริยันวงศ์

อ่านบทความแล้ว ดีมากค่ะ เข้าใจง่าย แต่สงสัยว่า ค่า i.o.c  หรือ i.c หรือ i.v.c ย่อมาจากคำภาษาอังกฤษว่าอะไรค่ะ ค้นได้จากที่ไหน ตรงกับภาษาไทยว่าอะไร??????

ค่า I.C. กับ I.O.C. มาจากคำภาษาอังกฤษว่า " Index  of  Item Objective Congruency " ตรงกับภาษาไทยว่า "ดัชนีความสอดคล้องข้อรายการ กับวัตถุประสงค์" (ข้อรายการคือข้อความที่ต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรง  วัตถุประสงค์ หมายถึง วัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ในงานวิจัยหรือ นวัตกรรมที่ผู้วิจัย(ครู)กำหนด)
ค่า I.C เป็นคำที่ค้นหาได้จากหนังสืองานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ มศว ครับ ค่า I.O.C เป็นคำที่ค้นหาได้จากหนังสือวัดผลฯของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .... ครับ

ส่วน I.V.C. ก็มีจากภาษาอังกฤษที่คล้ายกับ I.C. กับ I.O.C. ต่างกันที่  ตัว V. ซึ่งมาจากคำว่า "Variable" ซึ่งหมายถึง  "ตัวแปร" ในเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย หาได้จากหนังสือที่อาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดังเขียนไว้ครับ

คิดว่า...คุณศรีวิไล คงไปค้นต่อได้นะครับ......

ปัจจุบันมีการตรวจสอบค่าความตรงที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเหมือน ค่า I.C. , I.O.C. , I.V.C ที่พัฒนาโดย Lawshe เรียกว่า ค่า C.V.R. (Content Validity Ratio) ค่า C.V.R. จะผันแปรไปตามจำนวนผู้เชี่ยวชาญ  ไม่ใช่ ต้อง .5 หรือ .8 (ค่าคงที่) โดยที่ค่า C.V.R.  = (ne - N/2) / (N/2)
โดยที่
ne คือจำนวนผู้เชี่ยวชาญที่เห็นว่าข้อรายการนั้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์(ตอบว่า "ใช่ หรือ +1")
           N  คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด

คุณอยากรู้ค้นหาได้จาก http//en.wikipedia.org/wiki/Content_validity  

 

 

 

อยากทราบวิธีคิดค่า ioc ว่ามีวิธีคิดอย่างไรค่ะ
ค่า i.o.c หาได้จากการทำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวนหนึ่งตรวจสอบว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการทำงานวิจัย  แล้วดูความเห็นทีละรายการที่เห็นด้วย(สอดคล้อง)มาสรุป  ให้คุณคลิกในไฟล์Excelนี้         กรณีมีผู้เชี่ยวชาญมากขึ้นก็กรอกเพิ่ม 

ผมขอแนะนำให้ไปดูต่อการพัฒนานวัตกรรมตามADDIE MODEL ที่ http://chok444.wordpress.com/

ขอถามว่าการหาค่าความตรง( validity )ของเครื่องมือในการวิจัยใช้หาอะไรกรุณาอธิบายด้วย ว่าเป็นการสรุปผลการทดลอง หรือว่าเป้นการทดลองใช้ หรือเป้นการประเมินซำ หรือ เป็นการให้ผู้เชี่ยงชาญตรวจสอบ( IOC ) คะ

อยากทราบว่า คำว่า Validity และ Reliability มีความหมายต่างกันอย่างไรทำไมให้ความหมายเป็นแบบเดียวกัน ไม่ค่อยเข้าใจครับ

ไม่ประสงค์เอ่ยนาม

      ข้อสงสัยภาคี ความตรง เป็นสิ่งที่บอกว่าเครื่องมือวัดได้ตรงกับสิ่งที่วัด ดังนั้น ความตรงไม่ใช่การสรุปผลการทดลอง ไม่ใช่สิ่งบ่งบอกนวัตกรรม หรือ IOC ครับ

.............    

      ข้อสงสัยของ คนอยากรู้ คำว่า "Validity" และ "Reliability" มีความหมายต่างกัน เครื่องมือที่มี Validity หมายถึง เครื่องมือที่สามารถวัดตรงตามเป้าหมายที่ต้องการวัด ส่วนเครื่องมือที่มี Reliability หมายถึง เครื่องมือที่ทำการวัดสิ่งที่ต้องการวัดกี่ครั้งๆ แล้วมีแค่มีค่าที่คงเส้นคงวา

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท