ในแววตามีความแปลกเปลี่ยว: บุตรบุญธรรมในกัมพูชา


ที่ผมมองเห็นความเหมือนกันของเด็กหญิงทั้งสองคือ แววตาที่แปลกเปลี่ยว

ในแววตามีความแปลกเปลี่ยว: บุตรบุญธรรมในกัมพูชา 

เช้าวันอาทิตย์รถจากสำนักงานส่งมารับสายหน่อยเลยได้มีเวลาสังเกตสิ่งรอบตัว ในห้องกินข้าวของโรงแรมเล็กๆกลางกรุงพนมเปญ

ผมเห็นคณะของครอบครัวชาวอิตาลีพร้อมกับลูกบุญธรรมชาวเขมรเป็นคณะค่อนข้างใหญ่ ประมาณ ๗ ถึง ๘ คู่สมรสบ้างก็มีลูกบุญธรรมคนเคียว บ้างก็มีสองคน บ้างก็มีลูกของตัวเองมา(หรืออาจเป็นลูกบุญธรรมชาวฝรั่ง)แล้วมารับลูกบุญธรรมชาวเขมรอีก

เด็กเขมรที่ถูกอุปการะบ้างก็เป็นเด็กชายอายุห้าหกขวบ บ้างก็เป็นหญิงอายุสามสี่ขวบ บ้างก็ยังเป็นทารกวัยประมาณหนึ่งขวบกว่าๆ

ผู้ใหญ่ก็กินข้าวกันไป ดูแลลูกๆไป

ลูกๆที่หน้าตาเป็นยุโรปจับกลุ่มกันเล่นซุกซนอย่างมีความสุขตามประสา

เด็กชายชาวเขมรใส่เสื้อผ้ารองเท้าใหม่มือถือรถยนต์ของเล่นนั่งเงียบๆข้างพ่อแม่ใหม่

ที่สะดุดสายตา และอารมณ์มากคือเด็กหญิงสองคน

เด็กหญิงคนแรก วัยประมาณสามขวบนั่งซุกตังเงียบๆ บางครั้งช้อนตาประสานอย่างเอียงอายกับพนักงานบริกรที่แวะมาทักทายด้วยภาษาถิ่น 

เด็กหญิงคนที่สองอายุขวบกว่าๆ ยังอยู่ในอ้อมกอดของพ่อใหม่ ด้วยท่าทีที่เหงาหงอย เซื่องซึม

ที่ผมมองเห็นความเหมือนกันของเด็กหญิงทั้งสองคือ แววตาที่แปลกเปลี่ยว

แปลกเปลี่ยวเหมือนแววตาของเด็กชาย ซึงต๊ะ แซ่จ๋าว ที่ถูกพ่อแม่ฝากไว้กับหมอที่วอร์ดเด็ก โรงยาสวนดอกที่ผมพบตอนเป็นนักเรียนผู้ช่วยพยาบาล

ได้แต่หวังว่าเด็กทั้งสองได้พบพ่อแม่ใหม่ที่เป็นคนดีได้แต่หวังว่าเด็กทั้งสองจะเติบใหญ่เป็นคนดี

ได้แต่หวังว่าเด็กทั้งสองจะก้าวข้ามผ่านความรู้สึกแปลกต่าง และเปลี่ยวเหงา

ที่สุดของความหวังคือ หวังว่าโลกนี้จะไม่มีเด็กถูกทอดทิ้ง

 

หมายเลขบันทึก: 130963เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2007 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีค่ะ
  • ป้าแดง เคยมีคนแนะนำ ให้ขอเด็กมาเลี้ยง หรือไม่ก็ขอรับอุปการะเด็ก เพราะไม่มีลูก
  • แต่ก็ไม่กล้าที่จะรับเขามา เพราะไม่แน่ใจว่า เราจะเลี้ยงเขาได้ดีรึป่าวและเขาจะเป็นคนดีของชาติรึป่าว
  • ป้าแดงเจอเด็กๆตามสถานสงเคราะห์ หรือจดหมายที่ส่งมาหาให้อุปการะ ดูแววตาแล้ว อธิบายไม่ถูกค่ะ
  • แล้วทำไม ฝรั่ง จึงต้องมาขอ ลูกชาวเขมร ไปเป็นลูกบุญธรรมด้วยคะ

นึกภาพออกเชียวว่าเธอคงสับสนแต่ไม่รู้ว่าจะพูดว่าอะไร แต่จำนวนไม่น้อยที่ประสบผลดี เด็กได้รับชีวิตใหม่ที่สดใส  world vision ก็ส่งการ์ดเชิญบริจาคมาทุกบ่อย สำหรับเด็กที่ยากจนไม่ใช่กำพร้า

ในต่างประเทศเขาบริจาคกันมากนะครับ บริจาคเพื่อเด็กยากจน องคืกร NGO ใหญ่ๆอยู่ได้เพราะเงินบริจาคนี่แหละ เช่น World vision และ Save  the Children ไม่ว่า UK USA หรือ JAPAN รับบริจาคปีหนึ่งนับสิบล้านร้อนล้านบาททีเดียว บ้านเราพยายามทำแต่ไม่สำเร็จเท่าที่ควร ทั้งๆที่เป็นเมืองพุทธ

ขอให้เด็กๆโชคดีนะ

ผมนึกอารมณ์ตามบันทึกครับ

ผมนึกดวงตาแปลกเปลี่ยวนั่นออก...ครับ

เพราะเคยเห็นเด็กๆไทใหญ่พลัดถิ่น ที่มีดวงตาแปลกเปลี่ยวไม่ต่างกัน

มาเยี่ยมครับ

ขอบคุณ P pa_daeng

 P และ P

ทุกทุกท่านที่มาเยี่ยมครับ

ถามเพื่อนร่วมงานเขาว่าที่เขมรนี่ระเบียบการขอรับบุตรบุญธรรมง่ายกว่าที่อื่นครับ 

แวะมาตามคำแนะนำของพี่บางทรายครับ

  •            เรื่องการรับลูกบุญธรรมไม่ใช่เรื่องใหม่เลยครับ มันอาจจะมีมาตั้งแต่กำเนิดมนุษยชาติแล้วก็ได้ ผมไม่รู้บริบทขเเมร์ แต่สำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ หลายกลุ่มถือเป็นเรื่องปกติมากๆ เช่น กลุ่มอิ้วเมี่ยน (เย้า) กลุ่มไทใหญ่ แต่มุมมองต่างวัฒนธรรมก็มักจะเอาบรรทัดฐานของตัวเองไปตัดสินนะครับ จุดนี้ต้องระวังให้มาก
  • กลลวงของวิธีคิดเชิงเดี่ยว ก็คือ อะไรทำให้เราให้ค่าของ "ลูกบุญธรรม" มากกว่า "ลูกในไส้" เพราะแม้แต่รัฐเองก็คิดอย่างนี้ (ดูตามกฏหมาย) และจริงๆแล้ว มันควรจะเป็นอย่างนั้นหรือ?
  •             การเป็นลูกบุญธรรม ไม่ใช่เรื่องเสียหายครับ ในขณะที่การเป็นลูกในไส้ ก็ถูกพ่อแม่รังแกมีถมไป เรื่องอย่างนี้ละเอียดอ่อน พูดผิดมีสิทธิ์โดนฟันหัว (ใจ) แบะ เราเองก็เป็นคนวงนอก จะพาดพิงเขาก็อาจจะร้อนถึงเราเองด้วย
  •  ผมยังเชื่อตามพวกเฟมินิสต์ว่า "personal is political" เรื่องครอบครัวนี่สะท้อนนัยยะมากมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจในหลายๆระดับที่ซ้อนทับลงมา บางทีเราก็ไปวนอยู่กับการโทษคนนั้น คนนี้ โดยลืมว่าครอบครัวมันก็เป็นผลพวงของระบบสังคมอย่างแยกไม่ออกเลย เพราะยังไงก็อย่าลืมว่า มันอยู่ในบริบทการพัฒนาของรัฐด้วย ถ้าวิเคราะห์ถึงระดับนี้ได้ จะน่าติดตามมากๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท