Peace Education in NewZealand # 2 ปูพื้นระบบการศึกษา


ระบบการศึกษาของประเทศนี้อยู่บนพื้นฐานของหลักแนวทางที่ประกอบด้วยกาบริการปฐมวัยในกรอบวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ การบริการด้านการศึกษาแบบให้เปล่าในระดับประถมและมัธยมแก่ประชาชนนิวซีแลนด์และผู้อาศัยเป็นการถาวร การให้โอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่เป็นธรรมและสามารถจ่ายได้ และคุณวุฒิการศึกษาที่ได้รับการยอมรับและได้รับการประกันคุณภาพ

     ก่อนที่จะพาไปดูโรงเรียนก็ขอปูพื้นทำความเข้าใจเรื่องระบบการจัดการศึกษาของประเทสนิวซีแลนด์กันก่อน  ระบบการศึกษาของประเทศนี้อยู่บนพื้นฐานของหลักแนวทางที่ประกอบด้วยกาบริการปฐมวัยในกรอบวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ การบริการด้านการศึกษาแบบให้เปล่าในระดับประถมและมัธยมแก่ประชาชนนิวซีแลนด์และผู้อาศัยเป็นการถาวร การให้โอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่เป็นธรรมและสามารถจ่ายได้ และคุณวุฒิการศึกษาที่ได้รับการยอมรับและได้รับการประกันคุณภาพ

     การศึกษาเด็กปฐมวัย “การศึกษาเด็กปฐมวัย” ในประเทศนิวซีแลนด์ หมายถึง การให้การศึกษาและการให้การดูแลเอาใจใส่แก่เด็กเล็กและทารกก่อนที่จะเริ่มเข้าโรงเรียน การให้บริการเด็กปฐมวัยมีรูปแบบให้เลือกหลากหลาย มีการใช้สื่อภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางแห่งที่จัดให้มีบรรยากาศที่เด็กได้เรียนภาษาเมารี ภาษาชาวเกาะแปซิฟิค และภาษาอื่น ๆ

     การศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  การศึกษาในโรงเรียนจัดไว้ให้แก่เด็กอายุตั้งแต่ 5 ขวบ เป้นต้นไป และเป็นการศึกษาภาคบังคับ สำหรับเด็กอายุ 6  ถึง 16 ปี ในปี ค.ศ.2002 มีอัตราเฉลี่ยครูต่อนักเรียน 1:18  ถึง 1:22  ในทุกระดับชั้น และในทุกโรงเรียน ทุกประเภท  การศึกษาในโรงเรียนตามปกติเริ่มเปิดเรียนตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมถึงกลางเดือนธันวาคม และแบ่งออกเป็น 4 ภาคเรียน มีให้เลือกทั้งที่เป็นโรงเรียนแบบหญิงล้วนชายล้วนและแบบสหศึกษา  และโรงเรียนรัฐบาลและเอกชน      

          การศึกษาระดับประถมเริ่มต้นที่ชั้นปีที่ 1 (Year 1) และต่อไปจนถึงชั้นปีที่ 8 (Year 8)โดยที่ชั้นปีที่ 7 และชั้นปีที่ 8 เปิดสอนในโรงเรียนประถมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ หรือ โรงเรียนแยกเปิดสอนเฉพาะในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น  

          การศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจัดอยู่ในชั้นปีที่ 9 (Year 9) ถึง 13 (Year 13) นักเรียนในระดับนี้โดยทั่วไปแล้วมักจะอายุระหว่าง 13-17 ปี นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาในประเทศนิวซีแลนด์ ส่วนใหญ่เข้าเรียนในโรงเรียนรัฐบาล ซึ่งมักเรียกกันหลายอย่าง เช่น โรงเรียนมัธยมศึกษา  ไฮสคูล  คอลเลจ และแอเรียสคูล์ โรงเรียนส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอนแต่ก็มีบางโรงเรียนที่สอนด้วยภาษาเมารี  โรงเรียนคูรา เคา ปาปา เมารี เป็นโรงเรียนที่ใช้ภาษาเมารีเป็นภาษาหลักสื่อการสอน และการศึกษาก็เน้นพื้นฐานค่านิยมและวัฒนธรรมของชาวเมารี           

          งบประมาณ  ปี ค.ศ. 2005/2006 รัฐบาลนิวซีแลนด์ ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษา เป็นจำนวน 8.6 พันล้านเหรียญนิวซีแลนด์ คิดเป็นร้อยละ 5.5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และร้อยละ 18 ของงบประมาณรวมของประเทศ  กระทรวงศึกษาธิการจะจัดสรรงบประมาณให้แก่โรงเรียนโดยตรง โดยพิจารณาจากจำนวนนักเรียน ระดับการศึกษา (ประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษา) ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชน (Decile System) และที่ตั้งของโรงเรียน โดยแบ่งเป็น 10 Decile   โรงเรียน Decile  1  จะได้รับงบประมาณสนับสนุนปีละ 6,000 เหรียญ   โรงเรียน Decile  10  จะได้รับงบประมาณสนับสนุนปีละ 600 เหรียญ   นอกจากนี้คณะกรรมการสถานศึกษาสามารถจัดสรรหรือจัดหาทรัพยากรเพิ่มเติมให้กับโรงเรียนได้ เช่น การจ้างครูเพิ่มเติม การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ต่างๆ ครู   กระทรวงศึกษาธิการจะจัดครู (รวมผู้บริหารโรงเรียน) ให้โรงเรียนตามสัดส่วน ครู : นักเรียน = 1: 25 คน   การสรรหาครูเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษา (ซึ่งอาจมอบให้ครูใหญ่เป็นผู้ดำเนินการ) และทำสัญญาจ้างปีต่อปี 3 ปี หรือประจำ โดยครูต้องมีใบประกอบวิชาชีพครู และต้องลงทะเบียนกับ สภาผู้ประกอบวิชาชีพครูแห่งประเทศนิวซีแลนด์ (The New Zealand Teachers Council) หลักสูตร  ปัจจุบันใช้หลักสูตรปรับปรุง ปี ค.ศ.2006  (The Curriculum Draf for Consultants 2006) ซึ่งกำหนดสาขาการเรียนรู้ใน 8 สาขา คือ สังคมศาสตร์ เทคโนโลยี ศิลปะ สุขภาพและพละศึกษา ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และสถิติ และภาษา (Learning language) ในแต่ละสาขาจะกำหนด Learning Objective ไว้ 8 ระดับ และกำหนดคุณลักษณะสำคัญตามหลักสูตร (Key Competencies)  5 ด้าน คือ  -  Managing self       -  Relating to others         -  Participating and Contributing       -  Thinking            -  Language, symbols and textsโรงเรียนโดยคณะกรรมการสถานศึกษาจะต้องร่วมกับครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน พิจารณากำหนดหลักสูตรของโรงเรียน ตามความต้องการของชุมชนและผู้เรียน โดยยึดกรอบหลักสูตรระดับชาติเป็นหลัก                                  

การประเมินผลการเรียน  ของนักเรียนชั้นปีที่ 1-10  ครูจะเป็นผู้ประเมิน ซึ่งอยู่ในดุลพินิจของครูว่า จะใช้วิธีใดในการประเมินผล อาจมีทั้งการสอบ การสังเกตพฤติกรรม การบันทึกผลการเรียน การใช้แฟ้มสะสมงาน (Porffolio) เป็นต้น นอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการยังได้จัดทำแบบประเมิน (Asessment Tool For Teaching and Learning) ไว้ในเว็บไซต์ สำหรับครูและโรงเรียนใช้ในการประเมินนักเรียน สำหรับนักเรียน  ชั้นปีที่ 11 12 และ 13 จะมีการทดสอบเพื่อการรับรองวุฒิ

            

            การพัฒนาบุคลากร  กระทรวงศึกษาธิการ จะจัดจ้างมหาวิทยาลัย และ Collage of Education ในแต่ละเขตเป็นคู่สัญญา (Contractor) เพื่อทำหน้าที่พัฒนาวิชาชีพ รวมทั้งให้การช่วยเหลือสนับสนุนโรงเรียนและบุคลากรทางการศึกษาภายในเขต โดยคู่สัญญาจะจัดทีมงาน (School support service) เป็นผู้ดำเนินการในเขตต่าง ๆ โดยโรงเรียนอาจส่งครูเข้ารับการพัฒนาตามโปรแกรมของคู่สัญญา และหรือดำเนินการเองในโรงเรียน นอกจากนี้บุคลากรหรือครู อาจศึกษานอกเวลา หรือศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง

          การประกันคุณภาพการศึกษาในระบบโรงเรียน    

    สำนักงานทบทวนการศึกษา (The Education Review Office หรือ ERO) ทำหน้าที่ตรวจตราการประกันคุณภาพของการศึกษาในระบบโรงเรียน โดยที่ ERO ออกรายงานเกี่ยวกับการศึกษาและการให้การดูแลเอาใจใส่ต่อนักเรียนที่อยู่ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และในศูนย์เด็กปฐมวัยเป็นการรายงานผลการตรวจสอบโรงเรียน ศูนย์เด็กปฐมวัย เป็นราย ๆ ไป และรายงานผลการประเมินผลเกี่ยวกับประเด็นการศึกษาระดับชาติ รายงานต่าง ๆ ของ ERO เป็นรายโรงเรียนและศูนย์มีไว้เผยแพร่ให้แก่สาธารณะเป็นบริการฟรี    

     สำนักมาตรฐานวุฒิการศึกษาแห่งประเทศนิวซีแลนด์ (The New Zealand Qualifications Authority หรือ NZQA) กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับวุฒิการศึกษาและทำการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ บริหารการสอนระดับชาติ และให้การอนุมัติหลักสูตรที่จัดไว้ให้แก่นักเรียนนักศึกษานานาชาติในโรงเรียนนั้น ๆ     

     สภาผู้ประกอบวิชาชีพครูแห่งประเทศนิวซีแลนด์ (The New Zealand Teachers Council) ทำการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพครู ต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและอนุมัติหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพครูและทำการขึ้นทะเบียนไว้ โรงเรียนเอกชน และของรัฐและโรงเรียนอนุบาลทุกแห่งจ้างครูเฉพาะผู้ที่มีใบอนุญาตที่ยังไม่ขาดอายุหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้สอนได้อย่างจำกัด แต่การขึ้นทะเบียนนี้ไม่เป็นการบังคับสำหรับครูที่สอนในศูนย์เด็กปฐมวัยและสถาบันอุดมศึกษา  

หมายเลขบันทึก: 130950เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2007 15:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 00:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท