ประวัติและผลงานของนักเพลงพื้นบ้าน (ตอนที่ 2) ผู้ที่ถูกลืม


บรมครูต้นตำรับแห่งเพลงอีแซวที่ถูกลืม

 

 

ประวัติและผลงานที่ต้องบันทึกไว้

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 90%; text-align: justify" class="MsoNormal">ของนักเพลงพื้นบ้าน ต้นตำรับที่ถูกลืม</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 90%; text-align: justify" class="MsoNormal">ในจังหวัดสุพรรณบุรี (ตอนที่ 2)</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 90%; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 90%; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 90%; text-align: justify" class="MsoNormal">               </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 90%; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>          กาลเวลาผ่านไป แม้ว่าจะมีนักเขียนหลายคนบันทึกข้อความ เรื่องราวของศิลปินพื้นบ้านเอาไว้มากมาย  มีผู้เขียนหลายคน มีเรื่องราวของศิลปินหลายสิบ หลายร้อยคน ที่ถูกบันทึกประวัติและเรื่องราวเอาไว้ในเอกสาร หนังสือ วารสารรวมทั้งตำรา ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาได้อ่านเพื่อประดับความรู้และเพิ่มพูนความรู้กันมานาน  จนมีนักเขียนบางท่านมีรายได้จากหนังสือ จากตำราที่เขียนอย่างเป็นกอบเป็นกำ จนกระทั่งมีนักวิชาการทำการวิจัย เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับข้อสงสัยในเพลงพื้นบ้าน-เพลงอีแซว ไปเที่ยวสืบค้นหา จนได้คำตอบตามที่ท่านตั้งประเด็นสงสัยเอาไว้  นักเพลงได้รับการเปิดตัว พร้อมทั้งประวัติและผลงานมากมาย  แต่จะมีใครบ้างที่เดินทางไปจนถึงต้นตอของนักเพลงตัวจริงที่ใคร ๆ เมื่อครั้งเริ่มต้นฝึกหัดเพลงพื้นบ้านก็กระเสือกกระสนไปหาท่านผู้นี้ เพื่อไปขอฝึกหัด ไปขอบทเพลงเอาไปท่องจำและใช้ในการแสดงเพลงอีแซว เพลงฉ่อย เพลงพวงมาลัย  ฯลฯ ไม่มีตำราเล่มไหน เอ่ยถึงท่าน ไม่มีเอกสารใด ๆ บันทึกเรื่องราวของท่าน  ไม่มีใครเก็บเอาเพียงเสี้ยวหนึ่งของชีวิตนักเพลงพื้นบ้าน อย่างท่านมายกย่อง แต่ท่านผู้นี้คือนักแสดง นักแต่งบทเพลงอีแซว และเพลงพื้นบ้านอื่น ๆ ที่มีผลงานเขียนด้วยลายมือเอาไว้จำนวน 10 กว่าเล่มสมุด (ขนาด 80-100 หน้าปกแข็ง)</p><p></p><p></p><p>         ในบทความที่ผมจะเล่าในตอนที่ 2 นี้ ผมขอเปิดตัวบรมครูเพลงอีแซวเมืองสุพรรณฯตัวจริง (ต้นตำรับแห่งเพลงอีแซว) ที่ถูกลืมอย่างน่าเสียดาย ท่านคือ นายเคลิ้ม  ปักษี บรมครูเพลงพื้นบ้าน เพลงที่ถนัดมากคือ เพลงอีแซว ท่านเกิดเมื่อปีชวด ปี พ.ศ. 2454 รกรากดั้งเดิมเป็นคนหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี คุณพ่อบุ้ง ปักษี เป็นเพลงพื้นบ้านมาก่อน ฝึกหัดเพลงตามพ่อ และฝึกกับนักเพลงพื้นบ้านในละแวกใกล้เคียง จนมีความสามารถเล่นเพลงพื้นบ้านได้หลายอย่าง ครอบครัวย้ายมาปักหลักอยู่ที่บ้านหนองสระ (สระศรีเจริญ) อำเภอดอนเจดีย์ตังแต่วัยหนุ่ม จนได้มีครอบครัวและมีบุตร 1 คน ชื่อจุก ปักษี (ปัจจุบันบวชเป็นพระ) แต่ต้องเลิกรากันไป ต่อมา ปี พ.ศ.2506 ขยับขยายที่อยู่ไปซื้อที่ในบริเวณตลาดดอนเจดีย์ อยู่ที่ท้ายตลาด และมีครอบครัวอีกครั้งอยู่กันมาจนถึงวันที่ท่านเสียชีวิต (เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2522) ตอนนั้นท่านอายุได้ 67 ปี ส่วนภรรยาคือ นางผิน ปักษี ยังมีชีวิตอยู่ ปัจจุบันอายุ 91 ปี (เกิดปี พ.ศ. 2459) มีบุตร-ธิดาด้วยกันรวม 14 คน ยังมีชีวิตอยู่ 9 คน (ชาย 6 หญิง 3 คน) ขอนำชื่อมาเอ่ยถึง 2-3 คน คือ คุณบุญลือ (แจ๋ว) ปักษี, พ.ต. ประสิทธิ์  ปักษี (สัสดีอำเภอศรีประจันต์) ร.ต.อ. ประเสริฐ  ปักษี (ลาออกจากราชการเนื่องจากมีปัญหาเรื่องของสุขภาพ) ครูเคลิ้ม ปักษี ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ 212 หมู่ 5 ตำบลดอนเจดีย์  อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี </p><p>           ครูเคลิ้ม  ปักษี ใช้วิชาความรู้ ความสามารถด้วยการเล่นเพลงอีแซว เป็นช่างตีเหล็กลับมีด และเป็นหมอน้ำมัน ยึดเป็นอาชีพหารายได้หาเลี้ยงครอบครัวและลูก ๆ ทั้ง 14 คนมาได้อย่างมั่นคง  ผมได้รับฟังเรื่องราวทั้งหมดจากบุคคลใกล้ชิดหลายท่านด้วยกัน โดยเฉพาะจากคำบอกเล่าของลูก ๆ ครูเคลิ้มเอง และนักเพลงที่ใกล้ชิดกับท่านมาก ๆ ได้แก่ น้าถุง พลายละหาร, น้าปาน เสือสกุล และ ป้าลุ้ย ตาดี  รวมทั้งลูก ๆ 3 คน (บุญลือ,ประสิทธิ์และประเสริฐ ปักษี) ที่ให้ข้อมูลผมมาอย่างละเอียดยิบ  </p><p>         </p><p>          ลูก ๆ เล่าว่า พ่อเป็นนักเพลงในยุคเริ่มต้น เป็นช่วงแรก ๆ ของการเล่นเพลงอีแซว ไม่ว่าใคร ๆ ที่จะเริ่มหัดเพลง จะต้องมาเอาเพลงที่พ่อไปร้อง  พอตกเย็น มีลูกศิษย์เดินทางมาหา มาฝึกหัดเพลงกันมากมายเต็มไปหมด เวลาจะฝึกหัดเริ่มต้นโดยการจุดตะเกียง นั่งล้อมวงกันร้อง  พ่อจะเกริ่นให้ฟัง แล้วให้คนที่จะหัดร้องตาม บทเพลงในสมุดจะถูกเปิดออกมาร้องตามพ่อ ใครอยากร้องบทไหนก็จดไปท่องเอา  พ่อเขียนเพลงเอาไว้มาก มีทุกเรื่องราว ทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับประวัติ เรื่องประเพณี เรื่องประวัติเสือเจียม  เท่าที่ลูก ๆ จำได้ ก็มี </p><p>       -         ประวัติดอนเจดีย์ (สงครามยุทธหัตถี)</p><p>    -         ประวัติเสือเจียม</p><p>    -         เรื่องราวในตำนานพุทธประวัติ</p><p>    -         เพลงออกตัวชาย-หญิง</p><p>    -         เพลงตับ เล่นเป็นเรื่อง ตับหมานิล ตับเหี้ย</p><p>    -         เพลงร้องในพิธีงานศพ</p><p>    -         เพลงทอดกฐิน  ลอยกระทง  สงกรานต์ ฯลฯ </p><p>              ในยุคที่พ่อเล่นเพลง พ่อจะไม่เล่นมาก พอพ่อได้ทักทายกับคนดูแล้วก็ปล่อยให้คนอื่นเล่นกันไปก่อน พอถึงตาพ่อเล่น พ่อจะเล่นกลอนสด ร้องด้นสด ๆ โต้กับนักเพลงอีกฝ่ายหนึ่งจนไม่มีใครกล้าที่จะต่อคำกับพ่อ เพลงสมัยก่อนเขาประชันกัน ว่ากันแบบเอาแพ้ เอาชนะกันไปข้างหนึ่งเลย ฝ่ายไหนมีเพลงไม่ดีจริงก็ได้อายไปเลย ในยุคนั้นพ่อจะเล่นเพลงอีแซวเป็นหลัก จะมีเพลงอื่น ๆ แทรกบ้างช่วงสั้น ๆ ได้แก่ เพลงเรือ เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย และอีกอย่างหนึ่งเวลาพ่อไปเล่นเพลงที่ไหน พ่อกลับมาจะต้องมีต้นไม้ติดมือกลับมาด้วย ปลูกเอาไว้ในพื้นที่เต็มไปหมด </p><p>              ร.ต.อ.ประเสริฐ ปักษี เล่าว่า ตอนพ่อแต่งเพลงจะบอกให้ผมเป็นคนเขียนลงในสมุด ให้เขียนตัวโต ๆ เวลาที่พ่อท่องเพลงจะนอนหนุนกระป๋องยาสูบ ส่วนเวลาที่จะไปทำการแสดง พ่อก็จะไปนัดหมายกับพวกที่เล่นเพลงด้วยกัน จำนวน 6-8 คน โดยการขี่รถจักรยานไปบอกแล้วก็ให้คนที่อยู่ใกล้ ๆ ไปบอกต่อ ๆ กัน ในยุคนั้นวงเพลงอีแซวของพ่อ ไม่ได้ใช้ตะโพนให้จังหวะ มีแต่ปรบมือ มีฉิ่งและกรับ โดยให้ผู้แสดงเป็นผู้ตีฉิ่ง ตีกรับไปด้วย สถานที่แสดงก็เล่นกันบนพื้นเรียบ ๆ ลานบ้าน สนามหญ้า  อย่างดีก็มีผ้าม่านทำเป็นฉากกั้น หรือส่วนใหญ่ก็เล่นกันโล่ง ๆ นี่แหละ  การแต่งเนื้อแต่งตัวก็ไม่มีอะไรมาก เห็นพ่อนุ่งกางเกงขายาว (กางเกงจีน, กางเกงรัสเซีย) ก็มีนุ่งโจงกระเบนบ้างเหมือนกัน  การดำเนินเรื่องในการแสดงพ่อจะเป็นคนนัดหมายว่างานนี้จะร้องเรื่องนี้ ตับนี้ กลอนแบบนี้ แล้วก็ว่ากันไปเลย  </p><p>         </p><p>          พ.ต.ประสิทธิ์ ปักษี เล่าว่า ในบรรดาลูก ๆ ของพ่อเคลิ้ม 14 คน ที่ยังมีชีวิตอยู่  9 คน ไม่มีใครเล่นเพลงได้อย่างพ่อเลย น่าเสียดายว่า ในยุคนั้นพวกเราไม่ได้สนใจกัน จะมีก็พี่ชายคนที่ 3 ชื่อ พี่อวบ  ปักษี เล่นเพลงเก่งเหมือนพ่อ  แต่ก็ไม่ได้ยึดเป็นงานหลักอย่างพ่อ เล่นอยู่ได้พักหนึ่งก็วางมือไป แต่ก็นับได้ว่าเขาเป็นทายาทคนเดียวที่สืบทอดงานเพลงของพ่อเอาไว้ได้ เพลงของพ่อ เป็นเพลงลึก ไม่มีคำหยาบ ร้องให้คนฟังได้คิด สำหรับ พ.ต.ประสิทธิ์ ปักษี แม้ว่าจะออกตัวว่าไม่ได้ฝึกหัดเอาไว้ แต่ในหัวใจ มีเพลงอีแซวอยู่เต็ม สามารถพูดบทกลอนที่พ่อของเขาเขียนเอาไว้ได้ยาว ๆ หลาย ๆ บท แล้วต่อโทรศัพท์ถึงคุณอวบ พี่ชาย ให้ผมคุยด้วย ผมเลยขอให้ร้องเพลงประวัติดอนเจดีย์ให้ฟัง ผมจดเอาไว้ได้นิดหน่อยเอง ดังนี้ ครับ  </p><p>     พระสั่งให้กระบวนช้าง        จะนั่งอยู่ช้าให้ไปนำช้างมา </p><p>     มีความมุ่งหมายฝ่ายมังจะโรก็ไชโยไชยะ     หวังว่าจะชนะจะได้</p><p>     เป็นนายฝ่ายเจ้าพระยาไชยานุภาพ   เป็นช้างทรงแม่ทัพของฝ่ายไทย </p><p>     เป็นช้างทรงปราบศึก          สูง 6 ศอกเศษ</p><p>     ประมาณหมด 3 เมตร          อีก 5 นิ้ว นะนาย </p><p>          คุณบุญลือ (แจ๋ว) ปักษี  พี่สาวของ พ.ต.ประสิทธิ์ และ ร.ต.อ.ประเสริฐ เล่าให้ผมฟังว่า ในสมัยที่พ่อเล่นเพลง ลูก ๆ รู้สึกอายเขา  เวลาพ่อไปเล่นเพลงแถวใกล้บ้าน รุ่งเช้าไปโรงเรียนไม่อยากที่จะพูดคุยกับเพื่อน ๆ เลย ไม่ชอบอาชีพที่จะต้องเต้นกินรำกิน พ่อสอนให้ร้องฝึกให้พวกลูกๆ ก็ไม่เอา ไม่ยอมฝึกกัน  ผมถามว่า แล้วมาถึงวันนี้ละ รู้สึกอย่างไร  แจ๋วบอกกับผมว่า วันนี้ รู้สึกภาคภูมิใจที่เพลงของพ่อ ลูกศิษย์ของพ่อไปเป็นนักเพลงที่มีชื่อเสียงโด่งดังจนถึงระดับประเทศ ทั้งที่เมื่อก่อนพวกเขาเคยมากินมานอนที่บ้านหนู  บางคนมาช่วยตักน้ำใส่ตุ่ม ตักน้ำรดต้นไม้ให้ด้วย  หนูยังจำได้หมด  ลูกศิษย์ของพ่อคนท้าย ๆ ก็ คือ นกเอี้ยง เสียงทอง (สวัสดิ์ เทียนแจ่ม) และนกเล็ก  ดาวรุ่ง (พยงค์ บุญช่วย)  2 คนนี้ เป็นผู้เก็บตำราบทเพลงของพ่อเอาไว้หลายเล่ม รวมทั้งน้าถุง พลายละหาร ก็มีบทเพลงของพ่อหลายเล่ม ใครอยากได้ไปขอก็เอาไปได้ไม่มีหวง</p><p>          ลูก ๆ ทั้ง 3 คนได้เล่าเรื่องราวเก่า ๆ ของคุณพ่อให้ผมฟังกันอย่างประทับใจ  ผมรู้สึกว่า ผมได้รับบทเรียนที่มีคุณค่าต่อชีวิตเป็นอย่างมากที่วันนี้ ได้มาเรียนรู้ชีวิตของบรมครูนักเพลงอีแซวที่สร้างสรรค์บทเพลงเอาไว้มากมายมหาศาล จนนักเพลงรุ่นหลัง ๆนำเอาไปเป็นอาชีพการแสดงตั้งคณะ ตั้งวงกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน หากินมีรายได้ สร้างฐานะอย่างมั่นคง แม้ว่า ครูเคลิ้ม ปักษี จะล่วงลับไปนานแล้ว ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2522 ด้วยวัย 67 ปีด้วยโรคถุงลมโป่งพอง ครูสูบบุหรี่มากและดื่มกาแฟในตอนเช้า แต่เป็นคนที่ไม่ดื่มเหล้า  ท่านนอนป่วยอยู่ไม่นานเพียง 20 วัน เศษก็เสีย ชีวิตไป อย่างน่าเสียดาย </p><p>          </p><p>          ในวันนี้ที่บ้านเลขที่ 212 หมู่ 5 ตำบลดอนเจดีย์  อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่มีเสียงเพลงอีแซว ไม่มีร่องรอยของนักเพลงผู้ยิ่งใหญ่ มีเพียงภาพถ่ายของครูตั้งอยู่บนหิ้งบูชา และภาพถ่ายขาว-ดำอีกไม่กี่ภาพที่ลูก ๆ เก็บรักษาเอาไว้ ส่วนบทเพลงต้นฉบับ ได้กระจายไปอยู่กับลูกศิษย์ที่สนิทสนมกับครูเก็บรักษาไว้  ถึงแม้ว่าจะไม่มีเสียงเพลง ไม่มีทายาทสืบทอดที่บ้านของครู แต่นักเพลงอีแซว สุพรรณฯ หลายคน หลายคณะมีจุดกำเนิด เป็นนักเพลงอีแซวได้ก็เพราะมีคนทีชื่อ ครูเคลิ้ม ปักษี  และยังมีลูก ๆ ทุกคนที่สามารถเล่าเรื่องราวของคุณพ่อได้อย่างแม่นยำ  สมกับที่ตรงนี้คือ จุดกำเนิดนักเพลงอีแซวตัวจริง  ครับ </p><p>(ชำเลือง  มณีวงษ์ : 2550. ตอนต่อไปพบกับนักเพลงรุ่นบรมครูที่กำลังจะหมดไป) </p><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 130495เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2007 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัดดีครับ เราควรรักษาประเภณีไทยไว้ครับ

ชอบมากครับ ขอสนับสนุน

ภูมิปัญญาท้องถิ่น อิอิ

ดีเจสำลี ดีเจตาต้า
ขอสนับสนุนเพลงอีแซวเพลงพื้นบ้าน  ขอให้อยู่คู่กับคนไทยตลอดไป
  • ยินดีมาก ครับ ที่กอล์ฟเป็นอีกคนหนึ่ง ที่รักความเป็นไทย
  • สำหรับครูชำเลือง มณีวงษ์ จะทำงานเพลงพื้นบ้านตลอดไป ครับ
  • สำหรับ ปังคุง (เอง) คนชอบเพลง ขอให้แบ่งเวลาฟังเพลงอีแซวบ้างนะ นาน ๆ ครั้งก็ได้ อิ อิ
  • ดีเจตาต้า และดีเจสำลี คนที่มีหัวใจเป็นเพลง จัดทีละ 5 เพลงรวด ครูชอบเสียงดีเจตาต้ามาก ฟังเกือบทุกคืน (คืนไหนไม่ได้ฟัง จะไม่ได้ยิน) เสียดาย
  • ขอขอบคุณทุกข้อความที่ให้กำลังใจคนเพลง ช่วยต่อชีวิตและลมหายใจในการทำงานให้ยืนยาวตลอดไป

                          

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท