เยี่ยมบ้านประสานพัฒนา


เยี่ยมบ้านประสานพัฒนา,เยี่ยมบ้าน
BEST  PRACTICES 

ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนวัดธาราวง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช  เขต 
เยี่ยมบ้านประสานพัฒนา********************************

 

ที่มาของธาราวง      หลังจากแผ่นดินหรูด......สวนของตา ..... กลายเป็นสวนของเพื่อน...สวนของเพื่อนเลื่อนกลายเป็นหาดทราย  ด้วยน้ำป่าไหลหลาก  พัดพาหินดินทรายมาทับถม  ผู้คนสัตว์เลี้ยงล้มตาย  บ้านเรือน  วัด โรงเรียน  สูญหายไปกับสายธารา  ตาเปี้ยนเล่าให้ฟัง  จากเหตุการณ์วันนั้น  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการทำมาหากิน  ความเป็นอยู่ของผู้ปกครอง  นักเรียน  ที่เคยอุดมสมบูรณ์  ต้องประสบกับความเสียหาย  ความพลัดพราก  ความลำบากยากเข็ญ  ขาดแคลน  แม้จะได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงาน องค์กรต่างๆ  แต่ใช่ว่าปัญหาจะหมดไป  ความยากจน  ขาดแคลนยังคงมีให้เห็นอยู่มากมายในครอบครัวของนักเรียน  ผู้ปกครองว่างงาน  จึงรวมกลุ่มมั่วสุมอบายมุข ไม่มีเวลาเอาใจใส่ดูแลลูกหลาน  นักเรียนขาดกำลังใจไร้ที่พึ่ง  เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาในการจัดการเรียนรู้   การดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ของครูทุกคนในโรงเรียน  พวกเราประชุมปรึกษากันหลายครั้ง  หลายประเด็น  ตัดสินใจร่วมกันว่า  เป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  คือ คน  โดยมีความเชื่อว่า  มนุษย์มีศักยภาพที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต  นอกจากจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของคนโดยตรงแล้ว  ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงกลไกและสภาพแวดล้อมที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มที่เพื่อเตรียมคนให้มีคุณลักษณะ  รู้จักคิดวิเคราะห์  รู้จักแก้ปัญหา  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  สามารถเผชิญสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้  นั่นคือ  จะต้องให้ผู้เรียน ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ  มาตรา  ๒๒  ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่  ๒)  พุทธศักราช  ๒๕๔๕   ที่กำหนดไว้ว่า  การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า  ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ  ในการจัดการศึกษาต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้  คุณธรรม  กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา  จะออกมาในเชิงประจักษ์ต่อเมื่อ  ได้ทำตามซุนวู ปราชญ์ชาวจีนโบราณ ที่กล่าวว่า  รู้เขา  รู้เรา  รบร้อยครั้ง  ชนะร้อยครั้ง  นี้คือที่มาของคำว่า  เยี่ยมบ้านประสานพัฒนา

ความมั่นคงของระบบ

                 หลังจากโรงเรียนประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี  ..  ๒๕๑๘  การจัดการเรียนการสอนต้องอาศัยบ้านของผู้ปกครอง  ศาลาวัด  ต่อมาโรงเรียนได้สร้างขึ้นใหม่แทนหลังเดิมจนถึงปัจจุบันโรงเรียนวัดธาราวง  ตั้งอยู่เลขที่  ๓๕๔/  บ้านขุนพัง  หมู่ที่  ๑๑  ตำบลหินตก  อำเภอร่อนพิบูลย์  จังหวัดนครศรีธรรมราช  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช  เขต     สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย  ถึงระดับประถมศึกษาปีที่    มีบุคลากรทั้งหมด  ๑๕  คน  มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด  ๒๗๐  คน  นักเรียนชาย ๑๔๑คน  นักเรียนหญิง  ๑๒๙  คน  สภาพพื้นที่เป็นสังคมชนบท  การคมนาคมในหมู่บ้านยังมีบางส่วนไม่สะดวก  ประชากรมีฐานะปานกลาง  ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่                โรงเรียนวัดธาราวงได้ดำเนินการดูแลช่วยเหลือนักเรียนควบคู่กับการจัดการเรียนรู้มานานแล้ว  ได้ดูแลช่วยเหลือตามสภาพปัญหาของนักเรียน  ช่วยเหลือด้านทุนการศึกษา  เสื้อผ้า  เครื่องเขียนแบบเรียน  และสอนซ่อมเสริมนักเรียนที่เรียนอ่อนส่งเสริมนักเรียนที่เรียนเก่งให้ไปร่วมสอบแข่งขันตามหน่วยงานต่างๆซึ่งศึกษาข้อมูลจากการสังเกต  สอบถามจากครูประจำชั้น  ดูจาก  ..,  ..  ข้อมูลบางอย่างไม่ละเอียด  ทำให้การดูแลนักเรียนไม่ทั่วถึงทุกคน  ทุกด้านและไม่ต่อเนื่อง  จากการประเมินของครู  จะพบปัญหานักเรียนมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์  เช่นการแต่งกายไม่เรียบร้อย  อุปกรณ์การเรียนไม่พร้อม  อ่านหนังสือไม่คล่อง  ไม่ส่งงานไม่ทำการบ้าน  ผลสัมฤทธิ์ยังตกต่ำ  ทิ้งขยะไม่ถูกที่  พูดจาหยาบคาย  ครูและผู้ปกครองไม่ได้ประสานความร่วมมือเท่าที่ควร  แต่ก็ยังน่าภาคภูมิใจที่บุคลากรของโรงเรียนทุกคนในขณะนั้น  พยายามดูแลช่วยเหลือนักเรียน  เมื่อเปรียบเทียบกับผลสัมฤทธิ์กับโรงเรียนอื่นที่อยู่ในเขตพื้นที่เดียวกัน  โรงเรียนวัดธาราวงก็ยังมีผลสัมฤทธิ์ดีกว่า  เป็นเพราะความร่วมมือ  ร่วมใจ  ในการทำงานของบุคลากรในโรงเรียนทุกคน  ที่พยายามค้นหาวิธีการที่ดีที่สุดในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน                ในปีการศึกษา  ๒๕๔๗  โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการระบบดี  โรงเรียนมีคุณภาพได้นำแนวคิดของโครงการและความต้องการของครุที่จะพัฒนางานที่ทำอยู่แล้วให้เป็นระบบเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้น  จึงประชุมบุคลากรทีมพัฒนาโรงเรียน  จากนั้นได้ประชุมบุคลาการในโรงเรียนทั้งหมด  เพื่อทำความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา  โดยใช้ระบบ  โรงเรียนวัดธาราวงดำเนินงานตามโครงสร้างของงานเป็นระบบหลัก    ระบบและระบบสนับสนุน    ระบบ  ดังนี้  งานวิชาการ-          ระบบเรียนรู้-          ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน งานบริหารงานบุคคล-          ระบบพัฒนาบุคลากรและคุณธรรมจริยธรรมงาบบริหารงบประมาณ                -งานบริหารทั่วไป-          ระบบกิจกรรม-          ระบบสารสนเทศ-          ระบบชุมชนสัมพันธ์-          ระบบบริหารจัดการในส่วนของระบบบริหารจัดการได้รวมระบบนำองค์กร  ระบบบริหารงบประมาณ  ระบบบริหารจัดการไว้ในระบบเดียวกัน  และในปีเดียวกัน  โรงเรียนได้ส่งบุคลากรเข้าร่วมรับการอบรมดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช  เขต    เพิ่มเติม  จากการประเมินคนเอง  หลังจากใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนไป    ภาคเรียน  ค้นพบ  จุดอ่อน  จุดแข็ง  ในแต่ละด้าน  ดังต่อไปนี้                การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล  จุดแข็ง  คือ  ครูเยี่ยมบ้านนักเรียนร้อยเปอร์เซ็นต์  และได้บันทึกข้อมูลการเยี่ยมบ้านในแบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน  สมบูรณ์ ครบถ้วนทุกคน  ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในการเยี่ยมบ้านร้อยละ  O  ซึ่งมากกว่าเกณฑ์  ที่โรงเรียนตั้งไว้  จุดอ่อน   ครูไม่ได้นำข้อมูลมาบันทึกในระเบียนสะสม  ( . .) ให้สมบูรณ์ครบถ้วน  ต่อเนื่องทุกคนวิธีคัดกรอง  จุดแข็ง  มีกระบวนการคัดกรองใช้เครื่องมือหลากหลาย  ครูรู้จักนักเรียนเป็นอย่างดี  สามารถสรุปผลการคัดกรองนักเรียนได้ชัดเจน  จุดอ่อน  ขาดข้อมูลสารสนเทศที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็วการดูแลกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา    จุดแข็งครูจัดกิจกรรมตามความสนใจ  แก้ไขตามสภาพปัญหาได้ดีมาก   จุดอ่อนขาดข้อมูลสารสนเทศ                 การพัฒนากิจกรรมโฮมรูม  จุดแข็งครูจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการผู้เรียน  จุดอ่อน  ครูจัดกิจกรรมไม่เต็มที่  เต็มหลักสูตร  เนื่องจากการบริหารเวลาของครูไม่ลงตัวกับภาระงานกิจกรรมหน้าเสาธงในบางครั้ง                 การร่วมมือกับผู้ปกครองด้วยกิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน  จุดแข็งผู้ปกครองให้ความร่วมมือมาประชุมและร่วมทำกิจกรรมร้อยละ  ๙๕   จุดอ่อน  ไม่ทราบผลความพึงพอใจในการประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน  เนื่องจากไม่ได้ทำแบบประเมินผลการประชุม  และครูก็ไม่ได้ ประสาน  กับผู้ปกครอง ติดตามผล เรื่องสัญญาใจที่นักเรียน  ผู้ปกครองร่วมทำไว้ให้จริงจัง                    การสรุปรายงานผลระบบ  จุดแข็ง  ครูรายงานผลการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนทุกคน  จุดอ่อน  ขาดข้อมูลสารสนเทศ 
หมายเลขบันทึก: 129840เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2007 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท