การดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิที่มุ่งเน้นชุมชน (COPC)


Community Oriented Primary Care (COPC)

การอบรมผู้บริหาร CUP รุ่นทื่ 4 วันที่ 3 รศ.ดร.ชนินทร์ เจริญกุล ได้เติมเต็มแนวคิดทฤษฎีเรื่อง "การดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิที่เน้นชุมชน (Community Oriented Primary Care: COPC)" ให้กับผู้บริหารเพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาการบริการปฐมภูมิที่พึงปรารถนา ซึ่งความหมายของ COPC คือ

"เป็นกระบวนการที่เป็นระบบในการระบุและพรรณาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของกลุ่มประชากรที่กำหนด นำสู่การปฏิบัติโดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนส่วนใหญ่ ในงาน COPC นั้น ทีมงานนักวิชาชีพด้านสุขภาพจะทำงานร่วมกับสมาชิกของชุมชนในฐานะหุ้นส่วนกันตลอดเวลาในการวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาชุมชน"

โดยแนวคิดของ COPC มุ่งเน้นงานด้านเวชศาสตร์ชุมชนที่คนทำงานที่มาจากทั้งภาคส่วนต่างๆ ต้องตอบคำถามหลัก 5 ข้อ คือ

1. สถานะด้านสุขภาพของประชากรเป็นอย่างไรบ้าง

2. มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดสถานการณ์นั้น

3. ได้มีการดำเนินการอย่างไรบ้างแล้วในการแก้ไขปัญหานั้นๆ ทั้งที่เป็นการดำเนินการโดยชุมชนเอง และโดยระบบบริการสุขภาพ

4. มีอะไรบ้างที่จะสามารถทำได้เพื่อแก้ปัญหา มีข้อเสนออะไร และผลลัพธ์ที่คาดหวัง

5. มีมาตรการที่จำเป็นอะไรบ้างที่จะทำให้มีการเฝ้าระวังด้านสุขภาพและความเจ็บป่วยของชุมชนอย่างต่อเนื่อง และจะประเมินผลได้อย่างไร

นับว่าเป็นแนวคิดที่จะขับเคลื่อนการบริการปฐมภูมิ ซึ่งเป็นบริการด่านแรกที่มีความจำเป็นและสำคัญที่จะทำให้ประชาชนได้รับการบริการทางด้านสุขภาพได้อย่างเหมาะสมตามความจำเป็น แต่อย่างไรก็ตามในการเริ่มต้นของยุคเปลี่ยนผ่าน (อีกครั้ง) ในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพนี้ ผู้บริหาร CUP คงต้องสนุกกับความท้าทายใหม่อีกครั้ง แต่เชื่อมั่นว่คงไม่ยากเกินไปอย่างแน่นอน.....

ท่านคิดเห็นประการใด เล่าสู่กันฟังเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันด้วยนะครับ

ด้วยความเคารพรัก

หมายเลขบันทึก: 129628เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2007 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
-ในการทำงานทุกวันนี้ยังมีข้อจำกัดในการดำเนินงานที่เป็นตัวของตัวเองจึงทำให้การทำงานส่วนใหญ่ทำเพื่อตอบสนองนโยบายของเบื้องบนทำให้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับเรื่องเหล่านั้น ถ้าไม่ทำก็ถูกตำหนิ จึงทำให้การทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนางานในพื้นทำได้ไม่เต็มที่ และอีกประเด็นคือผู้บริหารขององค์กรจะต้องมีวิสัยทัศน์ในการทำงานที่ใช้ขบวนการดูแลสุขภาพแบบ COPC ด้วยครับถึงจะบรรลุเป้าหมายในการดูแลสุขภาพของประชาชน ( จะพยายามทำให้บรรลุเป้าหมายตามที่อาจารย์ตั้งความหวังไว้ )
เป็นกำลังใจให้ครับ และเห็นด้วยว่าผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนางาน พัฒนาคน และพัฒนาองค์กร และเชื่อมั่นในศักยภาพของคนทำงานในพื้นที่ว่าถ้ามีโอกาสในการบริหารจัดการและคิดด้วยตัวเอง จะสามารถตอบสนองปัญหาของพื้นที่และเกิดความสอดคล้องกับระดับนโยบายได้
ด้วยความเคารพรัก 

ผมเห็นด้วยเลยครับแต่จะทำอย่างไรให้หมอเดินดินอย่างเราเข้าใจในหลักการนี้ ผมเชื่อว่าประชาชนจะได้รับการดูแลด้วยใจ..เราทำงานเรามีโอกาสน้อยมากที่จะบอกได้ว่าอะไรคือปัญหาสุขภาพของคนที่เราดูแลอยู่เพราะต้องเอาเวลาไปตอบคำถามของผุ้บริหาร...ทำไห้ประชาชนต้องค้นหาหนทางดูแลสุขภาพของต้องเอง...ซึ่งมันสายเกินไปที่จะช่วยให้เขามีสุข..เพราะเวลาที่เขามาหาเรานั้นหมายถึงอาการที่หนักจนอาจเยี่ยวยาไม่ได้เสียแล้ว....แนวคิดของอ.ชนินทร์เป็นพื้นฐานของการจะทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี...อยู่ดีมีสุข...

สวัสดีครับ ไม่มีรูป กิตติพงษ์
ผมว่าจริงๆ "หมอเดินดิน" ได้ทำงานตามแนวคิดของการมุ่งเน้นชุมชนเป็นหลักอยู่แล้วครับ เพียงแต่อาจจะยังไม่ได้จัดระบบการทำงานที่ต่อเนื่อง และมองให้เป็นองค์รวม ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาภาระงานต่างๆ อย่างที่พี่ๆ ได้เสนอมา
ในปัจจุบัน สปสช. ได้มีแนวคิดในการพัฒนาศักยภาพของการพึ่งตนเองของชุมชนเป็นหลักเพื่อลดต้นทุนค่ารักษาพยาบาลเช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ COPC ซึ่ง PCU โดยผ่านการบริหารของ CUP เองก็คงต้องปรับตัวและพัฒนาศักยภาพตนเองตรงนี้ให้ได้ ซึ่งอาจจะอาศัยเครื่องมือที่ได้มาจากการนำตัวชี้วัดต่างๆ เช่น PCA หรือ PMQA หรืออะไรก็ตามแต่ มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ต่อไป แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือ หัวใจของคนทำงานและผู้บริหารที่ต้องเปิดกว้างยอมรับฟังชุมชนให้มากขึ้น น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีครับ
ด้วยความเคารพรัก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท