นายบรรจง เวียงภักดิ์
นาย นายบรรจง เวียงภักดิ์ บรรจง เวียงภักดิ์

สุขภาพกายดี สุขภาพจิตก็ดี


ความรอบคอบนำมาสู่ความสำเร็จ
คุณรู้จักวัณโรคมากแค่ไหน  
  •  วัณโรค 
วัณโรค  เป็นโรคติดเชื้อที่ติดต่อโดยการสูดเอาอากาศที่มีตัวเชื้อวัณดรคเข้าไป เมื่อ 20 ปีก่อน                                      วัณโรคเป็นหนึ่งในสิบสาเหตุของการตายที่สำคัญสุด แต่เนื่องจากวัณโรคเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้  ปัจจุบันวัณโรคจึงไม่จัดอยู่ในสิบสาเหตุการตายที่สำคัญ
  • เชื้อวัณโรคจัดเป็นเชื้อโรคในกลุ่มเป็นแท่ง (Bacilli) มีความคงทนต่อความแห้งได้  และสามารถแขวนอยู่กับฝุ่นละอองได้นานเชื้อวัฒโรคออกจากร่างกายของผู้ป่วย โดยทางเสมหะ และละอองเสมหะ หรือน้ำลายจากการไอ หรือจาม หรือาจออกมากับน้ำหนองในกรณีป่วยเป็นวัณโรคของต่อมน้ำเหลือง หรือผิวหนัง  การติดต่อจะติดต่อทางลมหายใจสูดดมเอาฝุ่นละอองหรือละอองเสมหะ ที่มีตัวเชื้อโรคแขวนอยู่เมื่อพูดถึงวัณโรค ชาวบ้านทั่วไปมักจะนึกถึงโรคปอด คือวัณโรคปอด แต่ความจริงวัณโรคอาจเป็นได้ในทุก  ๆ อวัยวะของร่างกาย เช่น ลำไส้ ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง ผิวหนังและเยื่อหุ้มสมองเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังเชื่อว่าจะต้องเริ่มต้นจากปอดก่อนเสมอ ที่ไม่พบในปอดก็เพราะซ่อนเร้นอยู่ โดยการฉายเอ็กซเรย์ปอดตรวจไม่พบ หรือการตรวจเสมหะเพื่อหาตัวเชื้อแล้วตรวจไม่พบเท่านั้นอาการแสดงของวัณโรค ระยะแรกจะมีการไอแห้ง ๆ อย่างเดียว อาการจะมากขึ้นเมื่อเนื้อปอดเป็นโรคมากขึ้น ระยะต่อมาไอจะมีเสมหะติดออกมาด้วย และมักจะมีอาการไข้ต่ำๆ โดยเฉพาะในเวลาเย็น และกลางคืน ในระยะที่เป็นกรดมากแล้วอาจมีอาการหายใจหอบ และไอมีเสมหะติดเลือดปนด้วย  จนถึงขั้นไอเป็นลิ่มเลือดได้ ถ้าเชื้อลามไปติดที่เยื่อหุ้มหลอดอาจมีน้ำเกิดเกิดขึ้นในช่องปอด และมีอาการเจ็บอก  น้ำที่เกิดในช่องปอดนี้จะทำให้อาการหอบเกิดมากขึ้นอาการแสดงของวัณโรคที่อวัยวะอื่น เช่น ถ้าเป็นที่ต่อมน้ำเหลือง มักมีไข้ และมีก้อน (ต่อมน้ำเหลือง) ที่พบบ่อยมักจะเป็นที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ต่อมจะโตมากขึ้นจนกลายเป็นฝี และแตกมีน้ำเหลืองซึมออกมาได้ ถ้าเป็นที่เยื่อหุ้มสมองจะมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ คอแข็ง และมีอาการทางสมองเกิดขึ้นด้วยการรักษาจะต้องรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบันเท่านั้น ด้วยการปรึกาาแพทย์ที่ศูนย์วัณโรคปอดโรงพยาบาลหรือคลีนิกแพทย์แผนปัจจุบัน เนื่องจากวัณโรคเป็นโรคที่รักษาหายขาดได้ แต่ต้องใช้เวลานานเป็นปี หรือ 2 ปี ผู้ป่วยจึงต้องมีความอดทนต้องปฏิบัติตัวตามสั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ควรหยุดการรักษาโดยแพทย์ไม่ได้สั่งการป้องกัน1.ทารกที่คลอดจากโรงพยาบาลทุกแห่งและสถานีผดุงครรภ์ทุกแห่ง
  • 1.จะได้รับการฉีดยา BCG  เพื่อป้องกันโรคตั้งแต่หลังคลอดใหม่
    2.สำหรับผู้ใหญ่นั้นอาจขอฉีด BCGได้ตามโรงพยาบาลรัฐบาลหรือเอกชนทุกแห่ง
    3.การไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยวัณโรค
    4.การแนะนำผู้ป่วยให้ปิดจมูกเวลาจะไอ หรือจามตลอดจนไม่ควรถ่มน้ำลายเสมหะเรี่ยราดตามพื้น
    5.ควรตรวจเอ็กซเรย์ปอดเป็นประจำทุกหนึ่งหรือสองปี
    การรักษาวัณโรค
    ปัจจัยสำคัญในการรักษาวัณโรคประกอบด้วย1.การเลือกใช้ยารักษาวัณโรคที่เหมาะสมและถูกต้อง2.ความร่วมมือของผู้ป่วยการเลือกยา
    ที่เหมาะสมโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่รับการรักษาเป็นครั้งแรกจะทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคได้ผลดีถึงร้อยละ  85 หรือมากกว่า แพทย์ผู้รักษาจะต้องแนะนำให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความเป็นไปของวัณโรค  ควรรับยาสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นเวลาปีครึ่งถึงสองปี ผลร้ายของการรับยาไม่สม่ำเสมอ  อาการแพ้ยาและผลข้าเคียงที่อาจพบได้
หลักการเลือกยา
    • 1.ควรพิจารณาใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงและสะดวกในการใช้
      2.มีการแพ้ยาหรือผลข้างเคียงน้อย
      3.ราคาถูก
รายละเอียดเกี่ยวกับยารักษาวัณโรคชนิดต่าง ๆ ที่ใช้บ่อย
    • 1.ไอโซไนอาซิด (Isoniazid, INH) เป็นยาสำหรับรับประทาน มีความสำคัญเพราะประสิทธิภาพสูง  ดูดซึมได้ดีจากทางเดินอาหารซึมเข้าสู่เนื้อของร่างกายทั่วไป มีผลเป็นพิษที่สำคัญต่ำและราคาถูกการแพ้ยาที่สำคัญคือ พิษต่อตับและระบบประสาท พิษต่อตับจะทำให้เกิดตับอักเสบ มักจะเกิดกับคนสูงอายุหรือมีโรคตับอยู่ก่อน พิษต่อระบบประสาทมีประสาทส่วนปลายอักเสบ เวียนศรีษะ ชัก ซึมและประสาทตาอักเสบ
      2.อีแธมบิวตอล (Ethambutal) เป็นยาสำหรับรับประทานมีประสิทธิภาพทัดเทียมหรือดีกว่า PAS แต่อาการแพ้ยามีน้อยกว่าและรับประทานง่าย
      การแพ้ยา ที่สำคัญคือ ประสาทตาอักเสบทำให้มีตาบอดสีหรือตามัว
      3.สเตรพโตมัยซีน (Streptomycin) เป็นยาสำหรับฉีดซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อของร่างกายแต่เข้าสู่น้ำไขสันหลังในระดับต่ำ ขับออกทางไตและส่วนหนึ่งถูกทำลายในร่างกาย
      ผลเป็นพิษที่สำคัญคือต่อประสาทสมองคู่ที่แปดและไต     พิษต่อประสาทสมองคู่ที่แปดทำให้มีอาการเวียนศีรษะ สมรรถภาพการทรงตัวเสื่อม  มีเสียงในหูและอาจทำให้หูหนวก พิษต่อไตทำให้การทำงานของไตเสื่อม  ควรหลีกเลี่ยงหรือใช้ด้วยความระมัดระวังในหญิงมีครรภ์โดยเฉพาะใน 3 เดือนแรก
      4.ริแฟมปิซิน  (Rifampicin)  เป็นยาสำหรับรับประทานมีประสิทธิภาพทั้งในด้านการทำลายและระงับการเจริญของเชื้อวัณโรคดูดซึมได้ดีจากลำไส้ ถูกขับออกทางน้ำดีและปัสสาวะ
ผลเป็นพิษที่สำคัญคือทำให้มีตับอักเสบ    การใช้ยาขนาดสูงแบบเว้นระยะจะทำให้เกิดอาการแบบไข้หวัดใหญ่ เกร็ดเลือดต่ำความดันเลือดต่ำและอันตรายต่อไต
การรักษาวัณโรค    อาจแบ่งออกเป็น
    • 1. การรักษาครั้งแรก
      2. การรักษาในผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษามาก่อนการรักษาครั้งแรกการรักษาครั้งแรกที่ถูกต้องจะทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคร้อยละ 85 หรือมากกว่า ถ้าการรักษาครั้งแรกล้มเหลวจะทำให้การรักษาต่อไปลำบาก ต้องใช้ยาที่มีราคาแพงได้ผลไม่ดีเท่าการรักษาครั้งแรกและผลแทรกซ้อนสูงวิธีการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
      1.การใช้ยาแบบมาตรฐาน
      2.การใช้ยาแบบเว้นระยะ
      3.การใช้ยาระยะสั้น
1. การใช้ยาแบบมาตรฐาน ผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มีเงาผิดปกติขนาดน้อยในภาพรังสีทรวงอก ไม่มีโพรงในปอดตรวจเสมหะไม่พบเชื้อวัณโรคหรือพบจำนวนน้อย ไม่มีพยาธิสภาพในอวัยวะอื่น  การรักษาควรใช้ยาสองขนาด โดยใช้ไอโซไนอาซิดร่วมกับยาอื่นอีกหนึ่งขนานทุกวันเป็นเวลา 1ปีครึ่งถึง 2 ปี เช่น ไอโซไนอาซิด+อีแธมบิวตอล, ไอโซไนอาซิด + พี.เอ.เอส, ไอโซไนอาซิด + ไธอาเซตาโซน การเลือกใช้ยาคู่ใดควรพิจารณาฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ป่วย เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้รับยาสม่ำเสมอครบขนาดและระยะเวลาที่ต้องการผู้ป่วยวัณโรคที่มีเงาผิดปกติขนาดมากในภาพรังสีทรวงอก  มีโพรงในปอด  ตรวจพบเชื้อวัณโรคจำนวนมากในเสมหะหรือมีโรคแทรกเนื่องจากวัณโรคควรใช้ยาสามขนานในระยะ  2-3  เดือนแรกและตามด้วยการใช้ยาสองขนาดจนครบ 1ปีครึ่ง ถึง 2 ปี โดยเพิ่มสเตรพโตมัยซินหรือริแฟมปิซินในระย 2-3 เดือนแรก 2. การใช้ยาแบบเว้นระยะ เป็นวิธีการควบคุมให้ผู้ป่วยได้รับยาสม่ำเสมอ ครบขนาดและระยะเวลาที่ถูกต้อง โดยอาศัยบุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้จ่ายยาแก่ผู้ป่วยเป็นประจำ ซึ่งอาจจะไม่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยที่ขาดแคลนบุคคลากรทางการแพทย์การรักษา ด้วยวิธีนี้ควรเลือกยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อวัณโรค และมีประสิทธิภาพอยู่ได้นาน เช่น สเตรพโตมัยซิน ไอโซไนอาซิด ริแฟมปิซิน 3.  การใช้ยาระยะสั้น  เมื่อลดระยะเวลาในการรักษาพบว่าสามารถควบคุมผู้ป่วยได้ดีขึ้นและอาจผลเป็นพิษจากยา  การรักษาจะได้ผลดีเมื่อใช้ยาหลายขนานในระยะแรกเช่นใช้ยา 4 ขนานใน เดือนแรกและตามด้วยยา 2-3 ขนานจนครบ 6-9 เดือนเช่นใช้สเตรพโตมัยซิน + ไอโซไนอาซิด + ริแฟมปิซิน +  พัยราซินะไมค์ การใช้ยาระยะสั้นวิธีต่าง ๆ ยังจะต้องมีการดัดแปลงแก้ไขด้วยการศึกษาต่อไป วิธีประเมินผลการรักษา o         
      • 1. การตรวจเสมหะหาเชื้อวัณโรค เป็นสิ่งสำคัญที่สุดควรตรวจเสมหะซ้ำเป็นระยะทุก 1-3 เดือน
        2.ผู้ป่วยที่การวินิจฉัยแน่นอน การถ่ายรังสี ทรวงอกซ้ำทุกเดือนไม่มีความจำเป็นการเปลี่ยนแปลงทางรังสีไม่มีความสัมพันธ์ เกี่ยวกับการดำเนินโรคเท่าการตรวจเสมหะหาเชื้อวัณโณอาจถ่ายภาพรังสีทรวงอกซ้ำทุก  3-6 เดือน
        3. อาการทางคลินิก เช่น ไข้ อาการไอ อ่อนเพลีย น้ำหนักลดจะหายไปถ้าการรักษาได้ผล
สาเหตุของการรักษาไม่ได้ผล
สาเหตุที่สำคัญได้แก่การที่ผู้ป่วยได้รับยาไม่ถูกต้อง   รับยาไม่สม่ำเสมอไม่ครบตามตามกำหนดเวลาอันสมควร มีการแพ้ยาเกิดขึ้น นอกจากนี้เกิดจากมีโรคอื่น ร่วมอยู่ด้วยและไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เช่นเบาหวาน พิษสุราเรื้อรัง
การรักษาผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษามาก่อน
ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามาเต็มที่เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า  6  เดือน  และการประเมินผลแสดงการรักษาไม่ได้ผล ควรเปลี่ยนใช้ยาขนานใหม่ที่ผู้ป่วยไม่เคยได้รับมาก่อนอย่างน้อย  2 หรือ 3 ขนาน  โดยอาศัยผลการทดสอบการต้านยาของเชื้อวัณโรค หรือการเปลี่ยนแปลงทางคลินิกผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษาจนครบกระบวนการแล้ว โรคสงบไประยะหนึ่งแล้วกำเริบขึ้นใหม่  การรักษาควรพิจารณาถึงสถานที่ของเชื้อวัณโรคได้หรือไม่ ถ้าสามารถทำการทดสอบได้อาจให้ยาเก่าที่ผู้ป่วยเคยได้รับมาก่อนและรอผลทดสอบการต้านยาของเชื้อวัณโรค ถ้าไม่สามารถทำการทดสอบได้ควรใช้ยาใหม่ที่ผู้ป่วยไม่เคยได้รับมาก่อน 2-3 ขนานอย่างไรก็ตาม การรักษาผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษามาก่อนมีความยุ่งยากและปัญหามาก เนื่องจากต้องใช้ยาที่มีประสิทธิภาพต่ำและผลแทรกซ้อนสูง แนะนำให้ส่งผู้ป่วยให้ผู้ที่มีประสบการณ์รักษาจะดีกว่า
รู้แล้วพี่ๆน้องๆอย่าลืม!ป้องกันนะคร๊าบ ไม่ใช่โรคที่เราต้องมองข้ามกัน ด้วยความปรารถนาดีจาก...นายบรรจง  เวียงภักดิ์ เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคติดต่อ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคติดต่อที่ 6 (ขอนแก่น) 
หมายเลขบันทึก: 129553เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2007 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อยากรู้รายละเอียดก็สอบถามเพิ่มเติมได้นะครับที่ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อที่ 6 ขอนแก่นนะครับ

โทร 0-4324-4590

ก็ขอขอบคุณมาก  ๆ  ค่ะ  สำหรับเบอร์โทรศัำพท์ในการสอบถามข้อมูล
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท