การเขียนวิทยานิพนธ์ : การสร้างรหัสแบบสอบถาม


การสร้างรหัสแบบสอบถามเป็นสิ่งที่สำคัญ

การสร้างรหัสแบบสอบถาม

  มักจะพบข้อบกพร่องหลังจากลงข้อมูลเรียบร้อยแล้ว  พบว่าลงข้อมูลผิดพลาด   จึงจะดำเนินการแก้ไข แต่ปรากฏว่าไม่สามารถระบุได้ว่าแบบสอบฉบับใดที่คีย์ข้อมูลผิดพลาด ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลที่ผิดได้  ดังนั้นเพื่อขจัดปัญหาความสับสนของแบบสอบถาม นิสิต  นักศึกษา จำเป็นต้องเขียนรหัสแบบสอบถาม เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบแบบสอบถามย้อนหลังถ้าเกิดข้อสงสัยหรือลงข้อมูลผิด  ซึ่งการเขียนรหัสแบบสอแบบถามควรเป็นแบบเรียงลำดับ  1 2 3  4..... ไว้บนหัวกระดาษขวาของแบบสอบถาม โดยจำนวนหลักของรหัสแบบสอบถามนั้นจะเท่ากับจำนวนแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาหรือขนากลุ่มตัวอย่างนั้นเอง เช่น แบบสอบถาม มีจำนวน 150 ฉบับ  รหัสแบบสอบถามฉบับแรกคือ  001  ฉบับสุดท้าย 100 บนหัวกระดาษขวาของแบบสอบถาม  ประโยชน์ของการเขียนรหัสแบบสอบถามคือ จะทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลแบบสอบทุกฉบับได้ง่ายในกรณีที่พิมพ์ข้อมูลผิดพลาด เช่น ถ้าพบว่าอายุของผู้ตอบแบบสอบถามแบบสอบชุดที่ 069 เป็น 89 ปี ทำให้ตรวจสอบว่าพิมพ์ผิดหรือไม่ โดยตรวจสอบจากแบบสอบถามชุดที่ 069

 


การสร้างรหัสสำหรับข้อมูล

   หลังจากได้ข้อมูลมาแล้ว ขั้นตอนที่สำคัญอีกประการหนึ่ง การกำหนดตัวแปรและกำหนดรหัสหรือให้ค่าตัวแปร  การกำหนดรหัสมักจะใช้กับข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นส่วนใหญ่  เช่น  เพศ  อายุ  ระดับการศึกษา ความคิดเห็น  ซึ่งในทางปฏิบัติการสร้างหรือกำหนดรหัสจะทำควบคู่กับการออกแบบสอบถาม ในแต่ละคำถามในแบบสอบถาม 1 ข้อ  จะมีตัวแปรอย่างน้อย 1 ตัว และค่าของตัวแปรคือข้อมูล  ซึ่งการสร้างรหัสสำหรับข้อมูลจะขึ้นอยู่ชนิดเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ในที่นี้จะกล่าวถึงการสร้างรหัสของแบบสอบถาม ดังนี้
     1.  การกำหนดขนาดของตัวแปร   ขนาดของตัวแปรแสดงถึงความยาวของตัวแปร ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของข้อมูลหรือตัวแปร  ดังนี้
      1.1  ข้อมูลหรือตัวแปรเชิงปริมาณ  ตัวแปรที่มีค่าเป็นตัวเลข ที่ระบุตามค่าจริง  เช่น ยอดขาย    อายุ  เป็นต้น   กำหนดนั้น  จะกำหนดขนาดตัวแปรให้มีจำนวนหลักอย่างน้อย 2 หลัก
      1.2  ตัวแปรเชิงคุณภาพ  ตัวแปรที่เป็นข้อความ โดยมีการกำหนดและแปลงรหัสเป็นตัวเลขเท่ากับจำนวนตัวแปรที่เลือกเท่านั้น
     2.  การกำหนดรหัสโดยแบ่งตามชนิดของข้อคำถาม  แบ่งได้ดังนี้
      2.1  ข้อคำถามแบบปลายปิด(Closed Form or  Structured Questionnaire) เป็นคำถามที่มีคำตอบให้ตอบให้ผู้ตอบทำเครื่องหมาย   ลงหน้าข้อความหรือตรงกับช่องที่เป็นความจริง หรือความคิดเห็นของท่าน ซึ่งมีหลายรูปแบบ  ได้แก่
        2.1.1  แบบให้เลือกคำตอบที่ตรงกับความเป็นจริงเพียงคำตอบเดียว  จาก 2 คำตอบ  ดังตัวอย่าง
    เพศ  ชาย  หญิง
      จากข้อคำถาม การกำหนดรหัสจะมี 1 ตัวแปร คือ เพศ กำหนดให้เป็น  SEX  ส่วนตัวเลือกข้อความ ชาย กับหญิง ผู้ตอบเลือกได้เพียงคำตอบเดียว คือ  1  หมายถึงเพศชาย และ 2  หมายถึง  เพศหญิง  ซึ่งค่าตัวเลขที่กำหนดเป็นรหัสที่แสดงถึงเพศชายหรือเพศหญิงเท่านั้น ไม่ได้ความว่าหญิงมีมากกว่าชาย แต่อย่างใด
        2.1.2  แบบให้เลือกคำตอบที่ตรงกับความเป็นจริง หรือความคิดเห็น ได้หลายคำตอบ (มากกว่า 1 คำตอบ) ดังตัวอย่าง
   ท่านอ่านหนังสือพิมพ์เล่มใดเป็นประจำ(สามารถเลือกได้มากว่า 1 ข้อ)
    ไทยรัฐ  เดลินิวส์
    มติชน   ข่าวสด
    สยามกีฬา  สยามบันเทิง 
    จากข้อคำถามจะพบว่ามี 6 ตัวแปร  N1 = ไทยรัฐ N2 = มติชน N3 = สยามกีฬา   N4 = เดลินิวส์ N5 = ข่าวสดN6= สยามบันเทิง โดยแต่ละคำตอบจะมีการกำหนดรหัสได้ 2 ค่า คือ  กรณีเลือกตอบ ให้เป็น  1   กรณีไม่ตอบ ให้เป็น  0   เช่น เลือก  ไทยรัฐ  ข่าวสด  สยามกีฬา   การกรอกรหัส จะเป็นดังนี้ 
1 0 1 0 1 0

        2.1.3  แบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale)  โดยให้ผู้ตอบเลือกตอบตามระดับความคิดเห็น  ดังตัวอย่าง
   วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ที่น่าสนใจมากกว่าวิชาคณิตศาสตร์
  เห็นด้วยอย่างยิ่ง  เห็นด้วย  ไม่แน่ใจ  ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
 ระดับความคิดเห็น อาจจะเป็น  มากที่สุด  มาก  ปานกลาง  น้อย  น้อยที่สุด     ซึ่งระดับสเกลขึ้นอยู่กับข้อคำถาม ชื่อเรื่องของที่เราศึกษา และลักษณะของคำถามแบบนี้อาจจัดอยู่ในรูปของตาราง   ดังตัวอย่างที่จะกล่าวต่อไป
 การกำหนดรหัสจะเป็นการเรียงลำดับ สเกลแสดงระดับความคิดเห็นด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง  ดังนี้
ความคิดเห็น รหัส
เห็นด้วยอย่างยิ่ง 5
เห็นด้วย 4
ไม่แน่ใจ 2
ไม่เห็นด้วย 3
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 1

        2.1.4  แบบให้เรียงอันดับความสำคัญ    เป็นคำถามที่มีรายการให้เลือก โดยให้ผู้ตอบให้ความสำคัญจากรายการที่กำหนดให้ แล้วใส่เครื่องหมายหรือตัวเลขเพื่อเรียงลำดับความสำคัญ อาจเรียงจากน้อยสุดไปสำคัญมากที่สุดหรือเรียงจากสำคัญมากที่สุดไปน้อยที่สุด  ดังตัวอย่าง
  โปรดเขียนอันดับยี่ห้อรถที่ท่านชอบมากที่สุด    โดยเขียนอันดับลงในช่องหลังยี่ห้อรถ
   ยี่ห้อรถ   อันดับ   การกำหนดรหัส
   TOYOTA  --------    C1
   ISUSU    --------    C2
   MAZDA  --------    C3
   HONDA  --------    C4
 ถ้า ท่านเลือกยี่ห้อ HONDA รถที่ท่านชอบมากที่สุด  ค่า C4 =  1  รองลงมา  ISUSU ค่า C2= 2
TOYOTA  ค่า C1  = 3  และ MAZDA ค่า C3 = 4   สามารถเขียนได้ ดังนี้
   ยี่ห้อรถ   อันดับ   การกำหนดรหัส
   TOYOTA  3    C1
   ISUSU    2    C2
   MAZDA  4    C3
   HONDA  1    C4
  การกำหนดรหัสหรือตัวแปร สำหรับคำถามลักษณะนี้สามารถทำได้โดยให้จำนวนตัวแปรเท่ากับจำนวนลำดับที่ และให้รหัสหรือค่าของตัวแปรเป็นหมายเลขข้อหน้าทางเลือกหรือหน้าคำตอบ
ดังนี้
3 2 4 1
C1 C2 C3 C4


        2.1.5  แบบเติมคำสั้น ๆ  ลงในช่องว่าง แม้ว่าจะเป็นการเติมคำแต่ก็ไม่ได้จัดเป็นแบบปลายเปิด เพราะส่วนที่จะให้เติมมีความเฉพาะจงจง ดังตัวอย่าง
   อายุของท่าน .........ปี  รายได้ต่อเดือน  ...................บาท
  การกำหนดรหัสหรือตัวแปร  ให้ใส่ตัวเลขที่ระบุตามความเป็นจริง  และจำนวนหลักของตัวเลขให้ส่วนจำนวนที่มากที่สุดของจำนวนที่ระบุไว้ 
      2.2 แบบสอบชนิดปลายเปิด (Opened Form or Structured Questionnaire)  เป็นคำถามที่ไม่ได้กำหนดคำตอบไว้ให้ตอบ แต่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบตอบแบบสอบถาม  โดยใช้คำพูดของตนเอง
ซึ่งในการให้รหัสผู้วิจัยจะต้องพิจารณาคำตอบเดียวกันหรือคล้ายกันเป็นรหัสเดียวกัน  เช่น  เมื่ออ่านคำตอบแล้วพบว่ามีความคิดเห็นต่างกันกัน  5 แบบ อาจให้รหัส   1 2 3 4 5 เป็นต้น

ทองสง่า ผ่องแผ้ว 19/09/2550

หมายเลขบันทึก: 129519เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2007 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท