มานะ อุนารัตน์
นาย มานะ การจัดการความรู้ อุนารัตน์

บทคัดย่อการประเมินโครงการ


ทอง วิริยะจารุ

 ชื่อเรื่อง       รายงานการประเมินผลโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา  ปีการศึกษา 2548- 2549
ผู้รายงาน    นายทอง  วิริยะจารุ  ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา 
บทคัดย่อ
               รายงานการประเมินผลโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา ปีการศึกษา 2548- 2549  (ปรับปรุง) มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายทางการศึกษาและความจำเป็นในการดำเนินโครงการ  ปัจจัยเบื้องต้นในการดำเนินโครงการ  กระบวนการในการดำเนินโครงการ ผลผลิตของโครงการเมื่อสิ้นสุดโครงการ               การดำเนินกิจกรรมตามโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา ปีการศึกษา 2548- 2549   ประกอบด้วย กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย  กิจกรรมการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์  กิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  กิจกรรมการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา  กิจกรรมการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษา  กิจกรรมการจัดการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ  กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมการจัดการเรียนรู้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน   กิจกรรมการจัดการเรียนรู้การศึกษาปฐมวัย  กิจกรรมการจัดการเรียนรู้การประกันคุณภาพภายใน  กิจกรรมการจัดการเรียนรู้การนิเทศภายใน  และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้โรงเรียนวิถีพุทธ           กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน  820 คน ได้แก่ บุคลากร จำนวน 132  คนนักเรียนชั้น ป.4 - ชั้น ป.6   จำนวน    318  คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 370 คน วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางการกำหนดกลุ่มตัวอย่างและการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง(Purpose Random Sampling)              เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ ฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามเพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น บุคลากรเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม ฉบับที่ 2  เป็นแบบสอบถามเพื่อประเมินประเมินกระบวนการในการดำเนินงาน ด้านการดำเนินงานตามแผน บุคลากรเป็นผู้ตอบแบบสอบถาม  ฉบับที่ 3 ประเมินกระบวนการในการดำเนินงานด้านการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการผู้ตอบแบบสอบถามได้แก่ บุคลากร  นักเรียน และผู้ปกครอง  ฉบับที่ 4 ประเมินผลผลิตเมื่อสิ้นสุดโครงการ ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ บุคลากร  นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน              การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาความถี่  ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและการวิเคราะห์เนื้อหา             
ผลการประเมินโครงการ
              ผลของการวิเคราะห์ สรุปได้ว่า รายงานการประเมินผลโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา  ปีการศึกษา 2548 - 2549  มีดังนี้              1.  การประเมินสภาพแวดล้อม พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา และมีความจำเป็นในการดำเนินโครงการ              2.  การประเมินปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ด้านการวางแผนการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมมากที่สุด ด้านอาคารสถานที่ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านบุคลากร และด้านงบประมาณ มีความเหมาะสมมาก ส่งผลให้โครงการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี              3.  การประเมินกระบวนการ การดำเนินงานตามแผนเป็นไปด้วยดี  สำหรับการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสมมาก ความคิดเห็นของครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ              4.  ผลการประเมินผลผลิตเมื่อสิ้นสุดโครงการ ปรากฏว่ากิจกรรมที่ดำเนินการตามโครงการพัฒนางานวิชาการโรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา ปีการศึกษา 2548 - 2549  สามารถดำเนินงานเป็นไปตามแผนได้อย่างดีมีประสิทธิภาพ ด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สังคมศึกษา ด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปศึกษา ด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้การพัฒนาผู้เรียน ด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้การปฐมวัย     ด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้การนิเทศภายในโรงเรียน ด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้การประกันคุณภาพภายในโรงเรียน  และด้านกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้โรงเรียนวิถีพุทธมีผลการดำเนินงานเหมาะสมมาก  เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากร นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนในการประเมินผลผลิตในแต่ละกิจกรรมมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ              เพื่อให้เกิดความสำเร็จสูงสุด ผู้บริหารโรงเรียนควรสนับสนุนโครงการพัฒนางานวิชาการให้ยั่งยืน ด้วยการม่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเป็นสำคัญ และเน้นให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างหลากหลาย รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณอย่างพอเพียงและต่อเนื่อง

หมายเลขบันทึก: 129354เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2007 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท