Km เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของ สพท.นครพนม เขต 1


ทุกคนรู้สึกตื่นเต้นไปกับการอ่านกราฟธารปัญญาและบันไดแห่งการเรียนรู้
ทุกคนรู้สึกตื่นเต้นไปกับการอ่านกราฟธารปัญญาและบันไดแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร  เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐานองค์กร     และยกระดับสู่องค์กรที่เข้มแข็งมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานระดับใดทั้งในภาครัฐและเอกชน  จึงมีการนำการจัดการความรู้  (Knowledge  Management  :  KM)  มาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในเรื่องต่าง ๆ  เช่น  การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาระบบบริการขององค์กร  พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียน  พัฒนาประสิทธิภาพของบุคลากรในการจัดการเรียนรู้  และเพื่อจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ  โดยเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง  เรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม  เรียนรู้ข้ามหน่วยงาน  เรียนรู้จากความสำเร็จ  เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ  เรียนรู้เพื่อกลับไปปฏิบัติในองค์กร                                     สพท.นครพนม  เขต 1  เป็นหน่วยงานหนึ่งที่เห็นความสำคัญของการจัดการความรู้    จึงได้จัดทำโครงการประชุมปฏิบัติการการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาขึ้น      เมื่อวันที่  13-14  กันยายน  2550    โรงแรมวิวโขง  อ.เมือง  จ.นครพนม  ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย  ครูในโครงการพัฒนานวัตกรรมในโรงเรียน  80  คน  ครูในโครงการขับเคลื่อนการคิดเข้าสู่ห้องเรียน  70  คน  และครูในโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและห้องสมุดมีชีวิต  30  คน   รวม  180  คน                   กิจกรรมแรกของการประชุม  เริ่มต้นด้วยการเกริ่นนำให้ครูมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการความรู้สลับกับนิทานขำขัน  (ก้อม)  โดยวิทยากร  นายเด่นชัย  ไตรยะถา  หัวหน้ากลุ่มนิเทศฯ  สพท.นครพนม  เขต  1  จากนั้นเข้าสู่กระบวนการถอดความรู้ฝังลึกด้วยกลวิธีเรื่องเล่าเร้าพลัง   (เรื่องเล่าความสำเร็จในการปฏิบัติงาน)  ช่วงแรกครูก็ดูสนุกสนานดีพอถึงการวิเคราะห์ขุมความรู้และสังเคราะห์แก่นความรู้ ครูเริ่มออกอาการงอมพระราม  วิทยากร  ศน.จันทร์เพ็ญ  สาแก้ว   และ ศน.รินทิพย์  วารี  จึงยึดผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการยกยอดไปวันที่สองของการประชุมเช้าวันที่สองและวันสุดท้ายของการประชุม  คุณครูมีสีหน้าดีขึ้น  ร่าเริง  คณะวิทยากรจึงเริ่มด้วยการวิเคราะห์ขุมความรู้และสังเคราะห์แก่นความรู้เพื่อสร้างตารางแห่งอิสรภาพ  (ระดับความสำเร็จ 5  ระดับ  หรือ  5  ดาวในการปฏิบัติงานในแต่ละเรื่องที่ทางกลุ่มช่วยกัน ถอดขุม  หรือ  How to”  และสกัดแก่น หรือ  ความสามารถ  เรียบร้อยแล้ว)  อีกรอบ  จากนั้นให้ประเมินตนเองตามตารางแห่งอิสรภาพเพื่อดูระดับการทำงานในปัจจุบัน  (Current) และเป้าหมายความสำเร็จที่ต้องการไปถึง  (Target)  แล้วนำข้อมูลการประเมินไปลงในโปรแกรมธารปัญญา  เพื่อดูระดับความสำเร็จของตนเองเปรียบเทียบกับสมาชิกในกลุ่มในแต่ละสมรรถนะ  ถึงขั้นตอนนี้ทุกคนรู้สึกตื่นเต้นไปกับการอ่านกราฟธารปัญญาและบันไดแห่งการเรียนรู้  ช่วงบ่ายคณะเริ่มย่อยอาหารคุณครูด้วยการนำเสนอการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  สุดท้ายเป็นการแนะนำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน  blog     ซึ่งเป็นการใช้  ICT  ในการจัดการความรู้  ท้ายสุดที่เรียกเสียงฮาได้มากก็คือกิจกรรม     สรุปองค์ความรู้  KM  แบบ  Mind mapping  (หัวปลาตุ๊กแก  กลุ่มที่ 9  เก๋ไก๋ไม่เบา  จริง ๆ แล้วเป็น Tuna Model  นะคะ)   แต่ที่ประทับใจคณะวิทยากรไม่รู้ลืม  คือ  กิจกรรมทบทวนหลังปฏิบัติการ  (After  Action  Review)  ที่เป็นการตรวจสอบการทำงาน  จุดพัฒนา  การให้ข้อเสนอแนะเชิงบวก  คุณครูให้คะแนนโดยรวมที่  8  คะแนน  จาก  10  คะแนน  และชอบกิจกรรมที่ดำเนินการเพราะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และปฏิบัติจริง  ที่เด็ดสุดเสนอให้  หาวิทยากรหน้าใหม่ ๆ  (คงเบื่อคนแก่ละสิ)  OK ...... รับไว้นะคะ  แต่รู้มั๊ยวิทยากรเองเห็นสัจธรรมข้อหนึ่งนะว่า  แค่สองวันที่ฟังวิทยากรยังรู้สึกเบื่อเลย  แล้วที่บ้านละจะเป็นยังไงน้อ ...บอกหน่อยได้ไหม ?....บอกหน่อยได้ไหม ? 
หมายเลขบันทึก: 129269เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2007 12:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท