นวัตกรรมทางการศึกษา อัรบาอาภาษา


4 ภาษานี้สนุกมากครับ
ความเป็นนวัตกรรม                อัรบาอาภาษาเป็นนวัตกรรม ด้านการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่บูรณาการ วิถีชีวิตชุมชน โดยเน้นภาษาเป็นหลัก ซึ่งสภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนในช่วงเวลาที่ผ่านมา ยังมิได้สอดแทรกวิถีชีวิตของผู้เรียนซึ่งอยู่ในชุมชนมุสลิมอย่างเป็นรูปแบบ ทางโรงเรียนจึงคิดหาวิธีการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบอัรบาอาภาษา อัรบาอาภาษา คือการรวมภาษาสี่ภาษาด้วยกัน คือ ภาษาไทย ภาษาอาหรับ ภาษายาวี ภาษารูมี(มาเล) รวมด้วยกันเพื่อที่จะให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ สื่อสารและนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยเหตุผลเช่นนี้ทางโรงเรียนจึงได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนอัรบาอาภาษาขึ้นที่มาของปัญหาและความต้องการ                ในการจัดการเรียนการสอนจะต้องมีการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เน้นไว้ในมาตรา 22 อย่างชัดเจนว่าการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ  ซึ่งวิธีการสร้างคนให้มีคุณภาพดีนั้น ส่วนใหญ่ก็เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่ามาจากากระบวนการการจัดการศึกษาหรือใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์                          สิ่งที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้การปฏิรูปการศึกษาประสบผลสำเร็จก็คือการปฏิรูป วิธีการเรียนรู้ ของผู้เรียนเสียใหม่ให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีความสุขและได้เรียนรู้ในสิ่งที่เป็นการเจริญงอกงามครบทั้ง 3 ด้าน คือด้านพุทธิพิสัย Cognitive  domain ด้านปฏิบัติพิสัย Psychomotor  domain และด้านจิตพิสัย  Affective  domain ซึ่งถ้าหากจะยึดถือแนวพระราชดำริในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงชี้แนวทางไว้ว่าการให้การศึกษาจะต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง คือความรู้เชิงวิชาการและวิชาชีพ ( Academic  learning)  และส่วนที่สองคือ การพัฒนาด้านจิตใจ ( Spiritual  development )  ก็จะสอดคล้องกับหลักการสอนของวิชาชีพครูข้างตน ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนให้เจริญงอกงามครบทุกส่วนทุกด้านหรืออาจจะกล่าวไว้ว่า  ครูจะต้องสอนให้ผู้เรียนเป็นทั้งคนเก่ง  และคนดี  หรือการจัดการศึกษาก็จะต้องสามารถสร้างพลเมืองของชาติให้เป็นทั้งคนเก่ง  ดี  และมีความสุข และมีความรู้คู่คุณธรรมนั้นเอง                ทางโรงเรียนบ้านหนองแรต  เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชนหนองแรตและจากการสำรวจพบว่าตั้งอยู่ในชุมชนที่นับถือศาสนาอิสลามร้อยเปอร์เซ็นต์  โรงเรียนบ้านหนองแรตได้จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการและอัตลักษณ์ของประชาชน ดังนั้นทางโรงเรียนจึงได้จัดการศึกษาสองหลักสูตรขึ้นมา คือสามัญควบคู่ศาสนาตามแนวทางอิสลาม  รัฐบาลจึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาระดับประถมศึกษาและเชื่อมโยงการเรียนอิสลามศึกษาไปถึงระดับมัธยมศึกษา  โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี  เก่ง  มีสุขภาพแข็งแรง  มีการบริการ  โดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย  ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุขและมุ่งพัฒนาการใช้ภาษาในการสื่อสารไม่ว่าจะเป็น  ภาษาไทย  ภาษาอาหรับ  ภาษายาวี และภาษารูมี  ในการจัดการเรียนการสอนหรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  ครูและบุคลากรทางการศึกษา  มีการพัฒนาตนเองให้มีความรู้  ความสามารถที่จะนำเทคโนโลยีมาพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนอิสลามศึกษาแก่ผู้เรียน  จนเป็นที่ประทับใจของผู้ปกครอง  ผู้เรียนและชุมชน  การจัดการเรียนการสอนจะเน้นด้านการใช้ภาษาทั้ง  4  ภาษาเพื่อที่จะได้สอดคล้องกับสภาพปัญหาปัจจุบันในท่ามกลางความไม่สงบที่เกิดขึ้นใน  3  จังหวัดชายแดนภาคใต้  ตั้งแต่ต้นปี  2547  เป็นต้นมา ผลกระทบทวีความรุนแรงมากยิ่งจนคุณธรรม  จริยธรรมเริ่มจางหายไปจากความรู้สึกนึกคิดของผู้กระทำ  ทำให้ผู้เรียนเกิดความสับสนกับการกระทำของผู้ใหญ่บางกลุ่ม  คลาดแคลงและไม่เข้าใจว่าอะไรคือความถูกต้อง  ทำให้โรงเรียนต้องหันกลับมาทบทวนและประเมินความมีคุณธรรม  จริยธรรมของผู้เรียน  ดังนั้นเพื่อจะให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ง่ายขึ้น   ทางโรงเรียนจึงได้จัดการเรียนรู้แบบอัรบาอาภาษา  เพื่อที่ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเร็วขึ้นและง่ายขึ้น  เพื่อที่สามารถสื่อสารได้อย่างเข้าใจให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาปัจจุบันที่เกิดขึ้น  และสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  อัรบาอาภาษาเป็นรากฐานอันดับแรกที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น  โดยอาจเป็นการเรียนการสอนที่ใช้บัตรคำแต่ละภาษาที่ผู้เรียนได้เข้าใจเร็วยิ่งขึ้น  ซึ่งอัรบาอาภาษาเป็นส่วนหนึ่งที่ผู้เรียนสามารถพัฒนาการเรียนการสอนของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 129260เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2007 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท