คู่มือวิทยากรอบรมฉบับพกพา (ตอน 2)


“ไม่มีใครขึ้นสู่ที่สูงได้ โดยไม่ผ่านบันไดขั้นต่ำก่อน “

                         ช่วงนี้งานมาก....เพราะนักศึกษาใกล้สอบ....เลยขอมาเคลียร์งานกันมาก....ก็เป็นไปตามประสาครูใจดี....ที่ต้องช่วยลูกศิษย์......ครับ

                        มาต่อเรื่องคู่มือการเป็นวิทยากรอบรมต่อสักนิด.....ตอนที่แล้วบอกว่าคนจะเป็นวิทยากรที่ดีต้องมีภูมิรู้ มาเป็นอันดับแรก คือมีความรู้ อย่าทะนงตนว่า เก่ง เรียนสูง หรือมีประสบการณ์มาก นะครับ  วิทยากรที่ดีต้องรู้จักทำตัวให้ต่ำ....พร้อมที่จะรับความรู้ใหม่จากผู้อื่นเสมอ........

                      มีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด.....คำพูดนี้ผู้อ่านคงเคยได้ยินมานานแล้วนะครับใช้ได้ดีกับหัวข้อนี้ทีเดียว  เพราะคนมีความรู้มากแต่ไม่รู้จักการจัดการกับความรู้ที่ตนเองมี ก็คงเป็นวิทยากรที่ดีไม่ได้นะครับ... ผมเคยฟังวิทยากรเก่งๆหลายท่าน มีความรู้มาก อาจเรียกว่า อัจฉริยะในความคิดของผมทีเดียว แต่กลับไม่ประสบผลสำเร็จในการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น...เพราะอะไรหรือครับ.....  ลองอ่านข้อความในย่อหน้าต่อไปซิครับ

                    ภูมิที่สอง คือ ภูมิคิด  ผู้ที่จะเป็นวิทยากรอบรมต้องคิดวิเคราะห์ความจำเป็นของการอบรมได้ว่า  จัดเพื่ออะไร ใครได้ประโยชน์   ทำไมต้อจัด 

                   ประการต่อมา  ต้องคิดวิธีการประยุกต์ทฤษฎีด้านการเรียนรู้ไปใช้ในการอบรมได้ กล่าวคือ ต้องรู้จักวิเคราะห์ผู้ฟัง ว่าเป็นใคร  จำนวน  สถานที่ เพื่อเลือกใช้กระบวนการอบรมที่เหมาะสม  

                  ประการต่อไป  ต้องคิดหาเทคนิควิธีที่จะช่วยให้ตนเอง และผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย  ง่ายต่อการจดจำ    

                  ประการถัดไป  ต้องคิดวางแผนการจัดการอบรมให้มีความสนุกสนานสอดแทรกตลอดการอบรมอย่างเหมาะสม  

                 ประการต่อมา ต้องคิดและฝึกการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพ การควบคุมเสียง การสบตา   การใช้อวัจนภาษาประกอบให้เหมาะสม 

                 ประการต่อมา  วิทยากรต้องคิดวางแผนการใช้สื่อเทคโนโลยี  และโสตทัศนูปกรณ์ ประกอบการอบรม รวมทั้งรูปแบบของเอกสารประกอบการอบรม              

                ประการสุดท้าย  ต้องเลือกกระบวนการอภิปรายที่เหมาะสมกับเนื้อหา  สถานที่  และผู้เข้ารับการอบรม    ต้องคิดสร้างกระบวนการดำเนินการอบรม  แบบฝึก  ที่เหมาะสม จะจัดเป็นรายกลุ่ม  หรือรายเดี่ยว  ตลอดจนวางแผนการประเมินการอบรมในขั้นตอนต่างๆให้ครอบคลุม

              จะเห็นได้ว่าคนที่จะเป็นวิทยากรไม่ใช่เพียงมีความรู้แล้วพูดๆๆๆๆ  แล้วจะประสบผลสำเร็จนะครับ  สรุปง่ายๆ ภูมิคิด ก็คือการที่เราต้องรู้จักวางแผนในการที่จะพูดนั่นเอง มีขั้นตอน และวิเคราะห์งานการพูดอย่างเป็นระบบ ซึ่งการทำครั้งแรกคงไม่สมบูรณ์หรอกครับ.... ต้องหาเวทีทดลองครับ....ทำบ่อยๆ...แล้วจะพัฒนาได้เองครับ....ที่สำคัญต้องเริ่มทำครับ..ถ้าไม่เริ่มก้าวที่ 1 ....... ก้าวต่อไปจะไม่มีนะครับ   .......อย่าลืมติดตามตอนจบครั้งหน้านะครับ......

หมายเลขบันทึก: 129039เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2007 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • เห็นด้วยค่ะอาจารย์
  • วิทยากรบางท่านเก่งมาก   แต่ไม่สามารถจูนกับผู้อบรมได้   ทำให้ผู้อบรมรู้สึกเบื่อหน่าย หันไปคุยกันแทน
  • เป็นวิทยากรดีๆ ไม่ใช่เป็นกันง่ายๆเลยนะคะ
  • แล้วจะมาเรียนรู้ตอนต่อไปค่ะ
ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ.... อย่าพลาดตอนจบนะครับ

สวัสดีครับ อาจารย์

ผมมือใหม่หัดขับครับ อยากได้เทคนิคใหม่ๆให้อาจารแนะนำซักหน่อยครับ ว่างๆผมจะมาเปิดดูใหม่ครับ ว่าอาจารย์จะแนะนำอย่างไรบ้าง

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

ผ่านมา เจอเว็บดีๆ ของทรัพยากรมนุษย์ของประเทศที่มีคุณภาพ ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ขอบคุณมากครับที่มีจิตบริการทั้งที่สภาพสังคมของเราเดี๋ยวนี้พูดถึงแต่เงินเงิน เงิน ทั้งที่เมื่อหมดอายุขัยแล้วเอาอะไรไปไม่ได้แม้แต่นิดเดียว ถ้าทำสิ่งดีๆแบบนี้อาจารย์ยังทำได้อีกนานครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท