ม.นเรศวร สนับสนุนให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายตั้งใจเรียน


สะสมคะแนนต้นทุน โอเน็ตและจีพีเอเอ็กซ์ เข้าสู่มหาวิทยาลัยรัฐ

 

                                                                                                                             

 

 ม.นเรศวร  สนับสนุนให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายตั้งใจเรียน

เพื่อสะสมคะแนนต้นทุน โอเน็ตและจีพีเอเอ็กซ์  ในการเข้าสู่มหาวิทยาลัยของรัฐ

                 รองศาสตราจารย์ ดร. มณฑล   สงวนเสริมศรี    อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร   รองประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)    คนที่ 1    และประธานอนุกรรมการจัดระบบแอดมิสชั่นส์   ปี 2553  กล่าวถึง    การกำหนดองค์ประกอบของระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือระบบแอดมิสชั่นส์   ประจำปี 2553  ว่า  ระบบการรับเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ผ่านมา  ได้มีการนำระบบเอนทรานซ์เข้ามาใช้และปรับเปลี่ยนมาเป็นระบบแอดมิสชั่นส์    ในปี 2549    โดยใช้ข้อสอบ 7-8 รายวิชาเพื่อให้เลือกเข้าคณะในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ   มีค่าน้ำหนัก    ได้แก่    จีพีเอเอ็กซ์ 10% ผลการเรียนเฉลี่ยรายกลุ่มสาระฯ หรือจีพีเอ 20% คะแนนโอเน็ต 35-70%   รวมถึงคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง  หรือ เอเน็ต 0-35%  ซึ่งพบว่า     นักเรียนส่วนใหญ่ไม่สนใจและไม่ค่อยตั้งใจเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แต่กลับไปมุ่งกวดวิชา    สุดท้ายเมื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัยแล้ว  บางครั้งเกิดอุปสรรคทำให้ไม่สามารถเรียนจบการศึกษาได้                ในส่วนขององค์ประกอบ-ค่าน้ำหนักในระบบแอดมิสชั่นส์ปี 2553 จากมติที่ประชุม ทปอ.ครั้งที่ 4/2550 ประกอบด้วย คะแนนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมในชั้น ม.ปลาย หรือจีพีเอเอ็กซ์ 8    กลุ่มสาระฯ 20%   คะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต 8 กลุ่มสาระฯ   30%  การสอบวัดความถนัดทั่วไป    คือ    การสื่อสาร การคิดการใช้เหตุผล  20%  การสอบวัดความถนัดเฉพาะทาง  หรือการวัดแวว 30%   สำหรับการเข้าสู่มหาวิทยาลัยในประเทศไทยจะประกอบด้วย 9 กลุ่ม รวมประมาณ 600 สาขาวิชา  ได้แก่  1.กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ  2.กลุ่มวิทยาศาสตร์กายภาพเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมพลังงานทรัพยากร  3.กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ 4.กลุ่มสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์  5.กลุ่มสาขาวิชาเกษตรศาสตร์  6.กลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจพาณิชยศาสตร์การบัญชีการจัดการท่องเที่ยวเศรษฐศาสตร์  7.กลุ่มสาขาวิชาครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์  8.กลุ่มสาขาวิชาศิลปกรรมวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์  9.กลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พบว่า บางกลุ่มไม่ต้องการความถนัดทางวิชาชีพ   แต่บางกลุ่มก็ต้องการ     บางกลุ่มก็ต้องการความถนัดที่มีความผสมผสาน     สรุปคือ   กลุ่มความถนัดทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 20-50%    กลุ่มถนัดเชิงวิชาชีพ    0-30%  ทั้งนี้ข้อยุติดังกล่าวเป็นแค่กรอบ ยังต้องทำรายละเอียดข้อสอบอีก คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนธันวาคมนี้อย่างไรก็ตาม  ขอให้นักเรียนทุกคนให้ความสำคัญกับรายวิชาทั้ง 8 กลุ่มสาระฯ  ให้ความสนใจและตั้งใจเรียนให้ดีที่สุด  เพื่อสะสมคะแนนต้นทุนที่ได้ร่ำเรียนมาภายในโรงเรียน  ซึ่งมีค่าน้ำหนักรวมถึง 50% ซึ่งจะเป็นการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่มหาวิทยาลัยของรัฐ และสำเร็จการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้
หมายเลขบันทึก: 128994เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2007 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท