แรงจูงใจในการพัฒนางานห้องปฏิบัติการให้ได้มาตรฐาน


แรงจูงใจในการพัฒนา

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2550 คุณทรงวุฒิ ทิอ่อน ได้พูดถึงแรงจูงใจในการพัฒนางานห้องปฏิบัติการให้ได้มาตรฐาน โดยกล่าวว่า

การจูงใจ  หมายถึง อิทธิพลภายในของบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องกับระดับการกำหนดทิศทางและการใช้ความพยายามในการทำงานอย่างต่อเนื่อง การจูงใจจึงเป็นสิ่งเร้าซึ่งทำให้บุคคลเกิดความคิดริเริ่ม ควบคุม รักพฤติกรรม และการกระทำ  หรือเป็นสภาพภายในซึ่งเป็นสาเหตุให้บุคคลมีพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายบางประการได้

สิ่งจูงใจ  เป็นปัจจัยที่เป็นการจูงใจในการทำงานมากขึ้น เช่น  ทำให้เกิดความรับผิดชอบในการทำงานมากขึ้น มีโอกาสสำหรับการเจริญเติบโตและการยอมรับของบุคคล  ตลอดจนความรู้สึกต้องการความสำเร็จ

การให้รางวัล  เป็นผลตอบแทนในทางบวก (เป็นที่พอใจ) จากการปฏิบัติงานของบุคคล  หรือเป็นการจูงใจด้วยเงินในรูปของการจ่ายค่าตอบแทน หรือโบนัส  แม้ว่าเงินไม่ใช่สิ่งจูงใจประการเดียวแต่ก็ยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญ

และในส่วนตัวมีความคิดว่า

- คำชื่นชมที่ให้กับเจ้าหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งในงานบริการที่ดี เพราะเป็นเสมือนสิ่งจูงใจให้เจ้าหน้าที่อยากทำดียิ่งขึ้น อยากบริการอย่างสุดใจให้ผู้มารับบริการ อยากแก้ปัญหาให้ผู้มารับบริการพอใจ อยากปรับปรุงบริการให้ดีกว่าที่เป็น คำชื่นชมไม่ควรจะขาดไปจากปากของหัวหน้า หัวหน้าแบบโบราณหวงคำชม ไม่เห็นคุณค่าของคำชม หัวหน้าสมัยใหม่รู้จักที่จะชื่นชมเจ้าหน้าที่อย่างเจาะจงตรงเป้า ชื่นชมด้วยการแสดงออกอย่างจริงใจสอดคล้องกับความดีที่เจ้าหน้าที่ทำ - การให้ความสำคัญ ในด้านสุขภาพของเจ้าหน้าที่ในการตรวจประจำปี / การศึกษาดูงานของเจ้าหน้าที่เพื่อพัฒนาในหน่วยงาน- พัฒนาในทางวิชาการ มีการจัดเก็บเอกสารในการตรวจวิเคราะห์ทุกเครื่องมือและเอกสารในการเบิกจ่ายเป็นต้น

สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่สร้างแรงจูงใจให้เกิดการพัฒนางานห้องปฏิบัติการได้

 

หมายเลขบันทึก: 128967เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2007 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท